ตอนแรกคิดว่าจะจบแค่ภาค
๒ แต่บังเอิญไปเห็นข้อมูลที่ได้เก็บเอาไว้ก็เลยต้องมีต่อภาค
๓ ข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางรถไฟสายนี้มีกระจัดกระจายไปยังแหล่งต่าง
ๆ ภาคนี้ก็เลยถือเป็นการรวบรวมข้อมูลต่าง
ๆ เหล่านั้น (เท่าที่ผมมีอยู่ในขณะนี้)
มาไว้ในที่เดียวกัน
คราวนี้ถือว่าเป็นการดูแผนที่เก่า
ๆ ในอดีตก็แล้วกัน
รูปส่วนใหญ่ได้มาจากราชกิจจานุเบกษา
เป็นแผนที่แนบท้ายประกาศตั้งป่าสงวน
สุขาภิบาล หรือเทศบาล
ซึ่งถ้ายุคสมัยนั้นมีทางรถไฟโฉบผ่านไปแถวนั้น
ก็จะมีเส้นทางปรากฏให้เห็นในแผนที่ด้วย
รูปที่
๑ แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฏีกา
จัดตั้งเทศบาลตำบลศรีราชา
จังหวัดชลบุรี พ.ศ.
๒๔๘๘
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่
๖๒ ตอนที่ ๓๖ วันที่ ๓ กรกฎาคม
พ.ศ.
๒๔๘๘
จะเห็นแนวเส้นทางรถไฟลากไม้จากเกาะลอย
ที่อยู่ทางด้านบนของรูป
ผ่านกลางเขตเทศบาลตำบลศรีราชาตามลูกศรสีแดง
ตรงนี้น่าเป็นจุดสี่แยกตรงโรบินสันศรีราชาในปัจจุบัน
ส่วนตรงลูกศรสีน้ำเงินน่าจะเป็นสามแยกตรงที่ตั้งโรงเรียนดาราสมุทรในปัจจุบัน
พึงสังเกตว่าในเวลานั้นถนนสายสุขุมวิท
(ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓ ในปัจจุบัน)
ช่วงนี้มีชื่อว่า
"ทางหลวงแผ่นดินสายแปดริ้ว-สัตหีบ
(สาย
๒๒)"
ตามแผนที่นี้ทิศเหนืออยู่ทางด้านขวาของแผนที่
รูปที่
๒ แผนที่แนบท้ายกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๗๐ (พ.ศ.
๒๕๐๓)
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๐๔ วันที่
๒๐ ธันวาคม ๒๕๐๓
ประกาศเขตป่าสงวนให้ป่าคลองระเวิง-เขาสมเส็ดเป็นป่าสงวน
จะเห็น
จะเห็นเส้นทางรถไฟลากไม้จากศรีราชาอยู่ที่มุมขวาบนของแผนที่
พร้อมระบุสถานีมนตรี
และสถานีเฉลิมลาภที่เป็นสถานีปลายทาง
ถ้าใช้บ้านบึงตาต้าเป็นจุดอ้างอิง
แผนที่ฉบับนี้ควรจะอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของแผนที่ในรูปที่
๓ และ ๔
รูปที่
๓ แผนที่แนบท้ายกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๒๒๑ (พ.ศ.
๒๕๑๐)
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๘๓ วันที่ ๕
กันยายน ๒๕๑๐
ประกาศเขตป่าสงวนให้ป่าแดงและป่าชุมนุมกลางในเขตอำเภอบ้านบึง
เป็นป่าสงวนแห่งชาติ
จะเห็นแนวเส้นทางรถไฟลากไม้จากศรีราชาผ่านบึงตาต้าทางมุมล่างขวาของแผนที่
รูปที่
๔ แผนที่แนบท้ายกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๔๐๘ (พ.ศ.
๒๕๑๒)
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๒๗ วันที่ ๑
เมษายน ๒๕๑๒
ประกาศเขตป่าสงวนให้ป่าแดงและป่าชุมนุมกลางในเขตอำเภอบ้านบึง
เป็นป่าสงวนแห่งชาติ
โดยประกาศยกเลิกแผนที่ในรูปที่
๓ และให้ใช้ฉบับนี้แทน
โดยยังปรากฎแนวเส้นทางรถไฟลากไม้ทางมุมล่างขวาของแผนที่
รูปที่
๕ แผนที่จังหวัดชลบุรีตีพิมพ์ปีพ.ศ.
๒๕๐๘
ปรากฏเส้นทางรถไฟเล็กลากไม้ที่แยกไปสุดทางที่หนองอีรุณและหันเสด็จใน
รูปที่
๖ รูปนี้นำมาจากแผนที่ที่ปรากฏในเอกสาร
Air
Objective Folder Thailand No. 98.1 (Thailand north area) No. 98.2
(Bangkok area) No. 98.3 (Thailand south area) พิมพ์เมื่อวันที่
๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.
๒๔๘๖
จัดทำโดยหน่วยข่าวกรองทางทหารของสหรัฐ
เพื่อแสดงเป้าหมายในการทิ้งระเบิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่
๒
รูปนี้ตัดมาจากรูปเต็มที่แสดงเส้นทางรถไฟในบริเวณตอนกลางของประเทศไทย
จะเห็นว่ามีการระบุเส้นทางรถไฟลากไม้จาก
อ.ศรีมหาราชา
(A.
Sri Mana Raja ซึ่งที่ถูกต้องคืออ.
ศรีราชา)
และบ้านหุบบอน
(B.Hup
Ban) เอกสารฉบับนี้มีภาพและแผนที่เก่าที่น่าสนใจหลายรูป
โดยเฉพาะแผนที่เส้นทางรถไฟที่แสดงเส้นทางรถไฟที่เคยมีในช่วงนั้น
แต่ปัจจุบันได้สูญหายไปแล้ว
เอาไว้มีเวลาจะค่อย ๆ
นำเอามาให้ดูกัน
รูปที่
๗ ในหน้าถัดไปเป็นแผนที่แนบท้ายกฎกระทรวงฉบับที่
๑,๑๕๖
พ.ศ.
๒๕๒๙
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม
๑๐๓ ตอนที่ ๖๑ วันที่ ๑๖ เมษายน
๒๕๒๙ ซึ่งไปยกเลิกกฎกระทรวงฉบับที่
๗๐ (รูปที่
)
และให้ใช้ฉบับนี้แทน
ปรากฏว่าในแผนที่ยังปรากฏเส้นทางรถไฟที่ชัดเจนมาก
(ทั้ง
ๆ ที่ปีนั้นไม่น่าจะมีเส้นทางรถไฟเหลือแล้ว)
แต่แผนที่นี้น่าจะให้ตำแหน่งเส้นทางรถไฟที่สามารถเทียบเคียงกับสภานที่ต่าง
ๆ ในปัจจุบันได้มากที่สุด