เมื่อวันอังคารได้รับการติดต่อจากสมาชิกรุ่นแรก
ๆ ของกลุ่มที่จบไปตั้งแต่ปีพ.ศ.
๒๕๔๒
บังเอิญว่าเขาเป็นสาวชาวชุมพร
และสมาชิกปี ๑
ของเราขณะนี้ก็มีสาวชาวชุมพรอยู่หนึ่งคน
วันนี้ก็เลยขอนำภาพในอดีตเกี่ยวกับจังหวัดชุมพรและจังหวัดข้างเคียงมานำเสนอเพื่อให้เขากลับไปสืบค้นว่าเป็นสถานที่ที่ไหน
จากที่ได้ศึกษาประวัติสงครามโลกครั้งที่สองดู
ผมว่าผมได้เห็นอะไรแปลก ๆ
หลายอย่างที่ทำให้มุมมองทางประวัติศาสตร์ของผมแตกต่างไปจากเดิม
อังกฤษกับฝรั่งเศสประกาศสงครามกับเยอรมัน
ด้วยเหตุผลที่ว่าเยอรมันรุกรานโปแลนด์
แต่โปแลนด์ถูกกระนาบทั้งสองด้าน
โดยเยอรมันบุกทางตะวันตก
และรัสเซียบุกทางตะวันออก
ทั้งสองฝ่ายมาเจอกันและแบ่งประเทศโปแลนด์ออกเป็น
๒ ส่วน
แต่อังกฤษกับฝรั่งเศสไม่ยักประกาศสงครามกับรัสเซีย
(แสดงให้เห็นว่าเลือกปฏิบัติต่อเยอรมัน)
ปล่อยให้เยอรมันกับรัสเซียยึดโปแลนด์อยู่ร่วม
๒ ปีก่อนที่สองชาตินี้จะแตกคอกัน
ตอนเยอรมันบุกฝรั่งเศสและถล่มเกาะอังกฤษนั้น
รัสเซียก็เป็นประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ที่ส่งวัตถุดิบสำหรับผลิตอาวุธ
และอาหารให้กับเยอรมัน
ความทารุณที่ฮิตเลอร์กระทำต่อชนชาติอื่นในเขตยุโรปตะวันออกก็ไม่ได้เหนือไปกว่าสิ่งที่สตาลินกระทำ
(เผลอ
ๆ สตาลินจะเหนือกว่าซะด้วย
เพราะสตาลินเริ่มต้นก่อนฮิตเลอร์จะมามีอำนาจ)
แต่ฝ่ายที่เรียกตัวเองว่าฝ่ายพันธมิตรกลับทำเป็นมองไม่เห็น
อังกฤษกับฝรั่งเศสกลัวเยอรมันจะบุก
กลัวจะต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของชนชาติอื่น
แต่ตัวอังกฤษเองก็ได้ใช้วิธีการเดียวกันเข้ายึดอินเดีย
พม่า และคาบสมุทรมาเลเซีย
ฝรั่งเศสเองก็ใช้วิธีการเดียวกันในการเข้ายึดดินแดนในคาบสมุทรอินโดจีน
(ยังมีกรณีของเนเธอร์แลนด์ที่ปกครองอินโดนีเซียอยู่)
อเมริกามองไม่เห็นเหตุผลที่จะช่วยอังกฤษขับไล่ญี่ปุ่นออกจากพม่าหรือคาบสมุทรมาเลเซีย
เพราะการกระทำของอังกฤษต่อดินแดนเหล่านี้ก็ไม่ต่างอะไรกับการที่เยอรมันกระทำต่อดินแดนต่าง
ๆ ในยุโรปในขณะนั้น
แต่ในขณะเดียวกันอเมริกาก็โกรธแค้นญี่ปุ่นที่ยึดเอาฟิลิปปินส์ที่เป็นเมืองขึ้นของตัวเองไป
สิ่งที่อเมริกาช่วยอังกฤษกับจีนคือ
ไม่ให้พ่ายแพ้ต่อกองทัพญี่ปุ่น
แต่ก็ไม่ได้ให้การสนับสนุนมากพอที่จะเอาชนะกองทัพญี่ปุ่นได้
เพราะยังต้องการให้ญี่ปุ่นคงกำลังทัพเอาไว้ในจีน
ไม่ให้ขนทหารไปรบในสมรภูมิแปซิฟิก
ถ้ามองจากมุมมองของคนในดินแดนเหล่านี้
จะเห็นว่าการรบที่เกิดขึ้นรอบ
ๆ
บ้านเรานั้นเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประเทศมหาอำนาจที่จะเข้ามากอบโกยทรัพยากรในดินแดนเหล่านี้
ไม่ได้กระทำไปเพื่อประชาชนในดินแดนเหล่านี้เลย
พอสิ่งเดียวกันนี้จะเกิดขึ้นกับประเทศตัวเองบ้าง
กลับทำตัวโวยวาย
(จะว่าไปแล้วสิ่งที่เยอรมันหรือรัสเซียทำกับดินแดนปกครองในยุโรปก็ไม่ได้แตกต่างไปจากสิ่งที่มหาอำนาจตะวันตกกระทำต่อเมืองขึ้นในทวีปอื่น
ๆ)
ทหารชาติตะวันตกที่ถูกนำไปสร้างทางรถไฟที่กาญจนบุรีก็เป็นทหารที่ถูกส่งมาเพื่อปกป้อง
"เมืองขึ้น"
ของตนเอง
การรบในพม่านั้นอังกฤษก็ใช้ทหารอินเดียเป็นหลัก
ในขณะเดียวกันเมื่อญี่ปุ่นยึดสิงคโปร์ได้
ก็ได้มีการรับสมัครทหารอินเดียที่เคยอยู่กับอังกฤษ
ให้มาร่วมกับกองทัพญี่ปุ่นในการรบกับกองทัพอังกฤษที่ปกครองอินเดีย
สมรภูมิในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้จึงเป็นสมรภูมิที่ถูกลืม
ไม่ค่อยจะถูกกล่าวถึงในประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สอง
จะมีบ้างก็เป็นการสร้างทางรถไฟสายมรณะ
การยึดพม่า
และการสร้างเส้นทางเชื่อมระหว่างอินเดียกับจีนโดยผ่านทางตอนเหนือของพม่า
ทราบมานานแล้วว่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองกรุงเทพถูกทิ้งระเบิด
แรก
ๆ
ก็คิดว่ามีเฉพาะกรุงเทพกับสะพานข้ามแม่น้ำแควเท่านั้นที่โดนทิ้งระเบิด
ต่อมาก็ทราบว่าสนามบินที่เชียงใหม่ก็โดนด้วย (เคยเล่าไว้ในเรื่องเมื่อเชียงใหม่ถูกทิ้งระเบิด)
กลางเดือนที่แล้วไปพบเอกสารชุดหนึ่งใน
www.scribd.com
ชื่อ
"Eastern
Air Command" (รูปที่
๑)
พอลองเปิดอ่านดูก็พบว่ามีรายงานปฏิบัติการการโจมตีทางอากาศต่อเส้นทางรถไฟในประเทศไทย
พร้อมทั้งมีภาพถ่ายทางอากาศด้วย
ดังนั้น
Memoir
ฉบับนี้ก็เลยถือโอกาสนำภาพส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยมาให้ดูกันเล่น
ๆ
รูปที่
๑
หน้าปกเอกสารที่มีข้อมูลเกี่ยวกับปฏิบัติการทางอากาศในสมรภูมิเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ฉบับวันที่ ๓๐ มีนาคมหนา ๗๒
หน้า ส่นวฉบับวันที่ ๑
มิถุนายนหน้า ๖๔ หน้า
ในเอกสารฉบับวันที่
๑ มิถุนายน ปึค.ศ.
๑๙๔๕
(พ.ศ.
๒๔๘๘)
หน้า
๔๑
ได้แสดงแผนที่ประเทศไทยพร้อมเส้นทางรถไฟและสะพานข้ามแม่น้ำที่ถูกทิ้งระเบิดทำลายและไม่สามารถใช้การได้
เชื่อว่าหลายคนคงจะแปลกใจที่เห็นแผนที่ฉบับนี้แสดง
"เส้นทางรถไฟ"
จาก
จ.ชุมพร
ไปยัง จ.ระนอง
ทางรถไฟสายนี้กองทัพญี่ปุ่นสร้างในช่วงสงครามโลกโดยใช้การเกณฑ์แรงงานชาวบ้าน
สร้างไปตามแนวถนนเพชรเกษม
ต่อมาหลังสงครามสิ้นสุดได้ถูกรื้อทิ้งไป
(เอาไว้วันหลังจะข้อมูลเส้นทางรถไฟสายนี้ที่รวบรวมได้มาเล่าให้ฟัง
ช่วงนี้ไม่ค่อยมีเวลาเขียน)
รูปที่
๒ แผนที่แสดงสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำที่ถูกทำลาย
จากเอกสารฉบับวันที่ ๑
มิถุนายนปีพ.ศ.
๒๔๘๘
หน้า ๔๑
รูปที่
๓ ภาพขยายเส้นทางสายใต้ของรูปที่
๑ ช่วง จ.
ประจวบคีรีขันธ์
ถึง จ.
สุราษฎร์ธานี
รูปที่
๒ แสดงสะพานที่ถูกทำลาย
สายเหนือมีที่ ชุมทางบ้านดารา
(อุตรดิตถ์)
บางมูลนาก
(พิจิตร)
นครสวรรค์
หนองวิวัฒน์ (อยุธยา)
การทำลายเส้นทางสายเหนือเพื่อหยุดการส่งกำลังบำรุงของกองทัพญี่ปุ่นไปยังภาคเหนือของประเทศไทย
ซึ่งส่งต่อไปยังตอนกลางของพม่าและตอนใต้ของจีน
ส่วนเส้นทางสายใต้นั้นมีการทำลายทางรถไฟสายใต้ทำเพื่อตัดการส่งกำลังบำรุงไปยังมาเลเซียและสิงคโปร์และทางใต้สุดของประเทศพม่า
โดยมีการทำลายสะพานพระราม
๖ (กรุงเทพ)
ตามด้วยที่ราชบุรี
แต่ในรูปที่ ๓ ผมขยายเฉพาะช่วง
จ.ประจวบคีรีขันธ์
ไปจนถึง จ.สุราษฎร์ธานี
เพราะมีภาพรายงานการทิ้งระเบิดไว้ในเอกสารฉบับวันที่
๓๐ มีนาคม ปีค.ศ.
๑๙๔๕
เริ่มจากสะพานแห่งแรกในแผนที่ระบุว่าเป็นที่
Kui
คาดว่าเป็น
กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
พอเทียบกับแผนที่ที่บอกว่าอยู่ต่ำกว่าเส้นรุ้งที่
12
องศาเหนือก็เลยขอเดาว่าน่าจะเป็นบริเวณระหว่างสถานีคั่นกระไดกับสถานีประจวบคีรีขันธ์
รูปที่
๔ เป็นแผนที่บริเวณสถานีรถไฟปากตะโก
จ.ชุมพร
ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นสะพานที่ถูกทิ้งระเบิดที่แสดงในรูปที่
๕
รูปที่
๖ นั้นภาษาอังกฤษบอกว่า Ban
Tak Kam คาดว่าภาษาไทยน่าจะเป็นบ้านท่าข้าม
แต่ไม่รู้เหมือนกันว่าจะเป็นที่จังหวัดไหน
คงต้องหาสะพานที่มีเส้นทางรถไฟวิ่งเลียบแม่น้ำก่อนที่จะเลี้ยวหักตัดข้ามแม่น้ำ
ส่วนรูปที่
๗ นั้นเป็นสะพานที่ บ้านลำเลียง
จ.ระนอง
คำบรรยายภาพบอกว่าได้รับความเสียหายหนัก
(แต่ผมดูไม่ค่อยออก)
ส่วนถนนที่อยู่เคียงข้างนั้นคิดว่าคงเป็นถนนเพชรเกษม
รูปที่
๘ก -
๘ง
นั้นคำบรรยายภาษาอังกฤษบอกว่าเป็นที่ชุมพร
ผมสงสัยว่าอาจจะเป็นที่
อ.หลังสวน
รูปนี้เป็นภาพต่อเนื่อง ๔
ภาพของการทิ้งระเบิดแบบ
"Skip
bomb" คือการบินระดับต่ำ
จากนั้นปลดระเบิดให้ลอยตกไปข้างหน้า
ซึ่งเมื่อระเบิดตกกระทบพื้นจะมีการกระดอนหลายครั้งก่อนเข้ากระทบเป้า
(เหมือนแผ่นกระเบื้องกระดอนไปบนผิวน้ำ)
ในรูปที่
๘ นี้แม้ว่าทางรถไฟฟากหนึ่งของสะพานถูกทำลาย
แต่ตัวสะพานยังคงอยู่
จึงยังต้องทำการทำลายสะพานให้ได้
เพราะการซ่อมสะพานทำยากกว่าการซ่อมรางและใช้เวลานานกว่าด้วย
ตำแหน่งปัจจุบันของสะพานนี้เดาว่าเป็นตำแหน่งก่อนถึงสถานีหลังสวนที่แสดงในรูปที่
๙
ส่วนสะพานที่
จ.สุราษฎร์ธานี
นั้นคิดว่าน่าจะเป็นสะพานข้ามแม่น้ำตาปีที่
อ.พุนพิน
(สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานีตั้งอยู่ที่
อ.พุนพิน
ไม่ใช่อ.เมือง)
ตามแผนที่ในรูปที่
๑๐
รูปที่
๔ (บน)
ตำแหน่งของสถานีรถไฟปากตะโก
(ล่าง)
สะพานที่คาดว่าน่าจะเป็นสะพานที่ถูกทิ้งระเบิดทำลาย
รูปที่
๕ สะพานรถไฟในเขต อ.
ทุ่งตะโก
จ.
ชุมพร
(ตำแหน่งที่แสดงในรูปที่
๔)
รูปซ้ายคำบรรยายบอกว่าระเบิดเจาะทะลุพื้นสะพานลงไประเบิดในน้ำข้างล่าง
ส่วนรูปขวาแสดงบริเวณส่วนของรางที่ได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิด
จะเห็นว่ารางไม่ถึงกับขาด
แต่พื้นดินใต้รางปลิวหายไป
ถ้ารูปทั้งสองเป็นการถ่ายต่อเนื่องกันแสดงว่ารูปซ้ายและรูปขวาแสดงคนละฝั่งฟากของสะพาน
(ดูจากทิศทางเงาของสะพานที่ปรากฏในแม่น้ำ
รูปซ้ายเงาจะไปทางขวา
ส่วนรูปขวาเงาจะไปทางซ้าย)
รูปที่
๖ การทิ้งระเบิดสะพานที่บ้าน
"ท่าข้าม"
(เดาเอาจากคำภาษาอังกฤษ)
ซึ่งไม่แน่ใจว่าเป็นที่ไหน
แต่จากรูปดูเหมือนว่าระเบิดจะพลาดเป้าไปอย่างฉิวเฉียด
รูปที่
๗ การทิ้งระเบิดสะพานที่บ้านลำเลียง
จ.ระนอง
ดูเหมือนว่าทางรถไฟสายนี้จะสร้างเลียบไปกับถนนเพชรเกษม
รูปที่
๘ก การทิ้งระเบิดสะพานที่ชุมพร
ในวงกลมคือตำแหน่งระเบิดตกครั้งแรก
ส่วนในกรอบสีเขียวข้างบนสงสัยว่าเป็นลูกหนึ่งที่พลาดเป้า
รูปที่
๘ข การทิ้งระเบิดสะพานที่ชุมพร
(ต่อ)
ในวงกลมคือตำแหน่งระเบิดตกกระดอน
รูปที่
๘ค การทิ้งระเบิดสะพานที่ชุมพร
(ต่อ)
ในวงกลมคือตำแหน่งระเบิดตกกระดอน
รูปที่
๘ง การทิ้งระเบิดสะพานที่ชุมพร
(ต่อ)
ในวงกลมคือตำแหน่งระเบิดตก
รูปที่
๙ สถานีรถไฟหลังสวน จ.
ชุมพร
ที่วงกลมคือสะพานที่สงสัยว่าเป็นสะพานที่ถูกทิ้งระเบิดในรูปที่
๘
รูปที่
๑๐ สะพานรถไฟข้ามแม่น้ำตาปีก่อนถึงสถานนีสุราษฎร์ธานี
(แต่อยู่ใน
อ.
พุนพิน)
หายหน้าหายตาไปหลายวันเพราะวุ่นวายไปหมดทั้งสัปดาห์
แถมยังต้องไปนั่งฟังการอบรมนอกสถานที่อีก
๒ วัน Memoir
ฉบับนี้ก็เลยไม่มีเนื้อหาวิชาการอะไร
มีแต่ภาพถ่ายเก่า ๆ
ที่บังเอิญไปค้นเจอมา
ก็เลยเก็บเอามาเล่าสู่กันฟัง