วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2560

จากแลปเคมีมาเป็นอาคารศิลปวัฒนธรรม (ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำ ตอนที่ ๑๒๖) MO Memoir : Saturdy 14 January 2560

๓๐ กว่าปีที่แล้วตอนเข้าเรียนปี ๑ ถ้าไม่นับการเดินไปเอาผลคอมพิวเตอร์ที่ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ที่ตอนโน้นยังตั้งอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยที่อาคารข้างสมาคมนิสิตเก่า ที่กลายเป็นหอศิลปในปัจจุบัน การเดินไปเรียนแลปเคมีที่อาคารเคมี ๑ ก็น่าจะเป็นการไปเรียนนอกคณะที่ไกลที่สุด (คือมันอยู่อีกฟากหนึ่งของสนามฟุตบอล)
 
แต่หลังจากคณะวิทยาศาสตร์สร้างอาคารใหม่เสร็จ อาคารเคมี ๑ นี้ก็ปิดตัวลง ได้รับการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เป็นห้องเรียนแลปเคมีที่ชั้นล่าง กลายมาเป็นอาคารศิลปวัฒนธรรมที่มีส่วนจัดแสดงนิทรรศการอยู่ชั้นล่าง ส่วนชั้นบนนั้นก็กลายเป็นห้องประชุมและห้องแสดงดนตรีไป
 
อันที่จริงอาคารหลังนี้และอีกหลายหลังในจุฬา และอีกหลายหลังในประเทศไทย รวมทั้งศาลาเฉลิมไทยที่ถูกทุบไปแล้ว ต่างมีประวัติร่วมกันและเกี่ยวพันไปถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ โดยมีผู้ให้คำจำกัดความว่าเป็น "งานสถาปัตยกรรมคณะราษฎร" ตรงนี้ขอเก็บเอาไว้เล่าในสัปดาห์หน้า (ขอเวลารวบรวมภาพถ่ายก่อนครับ)
 
รูปที่นำมาในดูนั้น รูปที่ ๑ ถึง ๑๒ เป็นรูปที่ถ่ายไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๘ ด้วยตั้งใจว่าจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับอาคารหลังนี้ แต่ก็ไม่ได้เขียนซะ ส่วนรูปที่ ๑๓ ถึง ๑๖ เป็นรูปที่ถ่ายมาเมื่อวาน วันนี้ก็ดูรูปไปเล่น ๆ ก็แล้วกันนะครับเผื่อใครอยากจะรำลึกถึงความหลังสมัยที่ยังได้มาเรียนที่อาคารนี้


รูปที่ ๑ เดิมอาคารนี้คืออาคารเคมี ๑ ชั้นล่างเป็นห้องปฏิบัติการเคมีห้องใหญ่สำหรับให้นิสิตปี ๑ มาเรียน ตอนผมเรียนปฏิบัติการเคมีเมื่อปี ๒๕๒๗ ก็ยังเรียนที่อาคารนี้ แต่หลังจากที่ทางคณะวิทยาศาสตร์สร้างอาคารเรียนใหม่เสร็จ ห้องปฏิบัติการเคมีก็ย้ายออกไป และมีการปรับปรุงอาคารนี้เป็นอาคารศิลปวัฒนธรรมในปัจจุบัน

รูปที่ ๒ เดินเข้าด้านหน้าอาคารก็จะเป็นบันไดเดินขึ้นไปตรงกลาง ก่อนจะแยกซ้าย-ขวาขึ้นไปทางด้านบน ประตูห้องที่เห็นปัจจุบันใช้เป็นห้องประชุมและจัดการแสดง (เช่นดนตรี) แต่เดิมนั้นชั้นบนเป็นห้องอะไรก็ไม่ทราบเหมือนกันเพราะไม่เคยเข้าไปใช้ แต่ดูจากสภาพห้องแล้วเดิมน่าจะเป็นห้องบรรยาย


รูปที่ ๓ ชั้นล่างของอาคารเดิมเป็นห้องปฏิบัติการเคมีห้องใหญ่ สำหรับให้นิสิตปี ๑ มาเรียนวิชาปฏิบัติการเคมี ผมเองก็เรียนที่ห้องนี้ รูปนี้เป็นประตูทางด้านซีกตะวันออกของอาคาร ปัจจุบันใช้เป็นส่วนจัดแสดงนิทรรศสถาน เป็นส่วนนิทรรศการหมุนเวียน รูปนี้ถ่ายเอาไว้เมื่อกรกฎาคม ๒๕๕๘ ตอนนั้นห้องนั้นไม่มีการจัดแสดงอะไร แต่เมื่อวานแวะไปเยี่ยมชมใหม่ก็มีการจัดแสดงนิทรรศการแล้ว (รูปที่ ๑๔-๑๗)


รูปที่ ๔ รูปนี้ถ่ายตอนขึ้นบันไดมาชั้น ๒ แล้วเดินเลี้ยวซ้ายมา ด้านซ้ายของภาพจะเป็นถนนด้านหน้าอาคาร บันไดขึ้นชั้น ๒ จะอยู่ทางด้านขวาของภาพ


รูปที่ ๕ บรรยากาศถนนหน้าอาคารเมื่อมองลงมาจากระเบียบชั้น ๒ ทางด้านขวาจะเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์


รูปที่ ๖ บนชั้น ๒ จะเป็นส่วนของห้องสมุดดนตรีไทยและส่วนจัดแสดงนิทรรศการ


รูปที่ ๗ บรรยากาศทางเข้าห้องสมุดดนตรีไทยและส่วนจัดแสดงนิทรรศการ


รูปที่ ๘ ป้ายบอกชื่อ และเครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบเก่า


รูปที่ ๙  เครื่องเล่นแผ่นเสียงที่ตั้งแสดงอยู่หน้าห้อง


รูปที่ ๑๐ บางส่วนของสิ่งของที่นำมาจัดแสดง


รูปที่ ๑๑ ระเบียงทางเดินด้านข้างห้องโถงบนชั้น ๒ ประตูห้องด้านซ้ายปัจจุบันเป็นห้องประชุมที่ใช้จัดแสดงต่าง ๆ (ทางเข้าในรูปที่ ๒) เห็นบรรยากาศตึกเก่า ๆ แบบนี้ คิดว่าตอนกลางคืนน่าจะเอาไปใช้เป็นฉากแต่งนิยายสยองขวัญได้ดี


รูปที่ ๑๒ ระเบียงทางเดินเดียวกับรูปที่ ๑๐ แต่ถ่ายย้อนออกมาเพื่อจะเก็บภาพหน้าต่างอาคารแบบเก่า ๆ เอาไว้เป็นที่ระลึกหน่อยครับ ในสมัยที่ยังไม่มีการติดเครื่องปรับอากาศภายในอาคารจนเป็นเรื่องปรกติ การสร้างอาคารที่มีหน้าต่างเยอะ ๆ ก็ถือว่าเป็นเรื่องปรกติเหมือนกัน


รูปที่ ๑๓ เมื่อวานแวะผ่านไปที่อาคารนีอีกที ตอนนี้ชั้นล่างพอเดินเข้าไปแล้วเลี้ยวขวา จะเห็นร้านกาแฟอยู่ทางขวามือ


รูปที่ ๑๔ ส่วนฝั่งตรงข้ามกับร้านกาแฟที่เคยเป็นห้องแลปเคมีห้องใหญ่ ตอนนี้มีการจัดจัดแสดงนิทรรศการ จากห้องแลปใหญ่ห้องเดียวถูกแบ่งกั้นเป็นสองส่วน ช่วงนี้มีนิทรรศกาลภาพเขียนและงานศิลปเกี่ยวกับในหลวงรัชกาลที่ ๙ เปิดให้เข้าชมฟรีในวันธรรมดาเวลา ๙.๐๐ - ๑๗..๐๐ น


รูปที่ ๑๕ บรรยากาศภายในห้องแสดงในปัจจุบัน แต่ก่อนบริเวณนี้เต็มไปด้วยโต๊ะแลปเคมี


รูปที่ ๑๖ ผลงานของนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


รูปที่ ๑๗ คำบรรยายมุมล่างขวาของภาพเขียนว่า "เกาะรถยนต์พระที่นั่งส่งเสด็จ วันทรงดนตรี ๒๐ กันยายน ๒๕๐๕ สุรพล วิรุฬห์รักษ์ ๘ กันยายน ๒๕๕๙"


รูปที่ ๑๘ ด้านข้างอาคารคณะศิลปกรรมศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น: