ช่วงสายของวันจันทร์
ณ ที่ทำการอุทยาน
ระหว่างที่เดินทางเข้าไปสอบถามเส้นทางไปน้ำตกทีลอซู
ผมได้เห็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้กำลังจัดชุดออกเดินทางไปตรวจตราความเรียบร้อยในป่า
บางคนสะพายเป้ บางคนสะพายมีด
บางคนสะพายปืนลูกซอง
และบางคนสะพายปืน HK33
ผืนป่าด้านตะวันตกของประเทศไทย
ตามแนวเทือกเขาถนนธงชัยที่แบ่งกั้นระหว่างประเทศไทยกับสหภาพพม่า
เดิมเคยเป็นผืนป่าใหญ่ยาวตั้งแต่ตอนเหนือของประเทศไทยลงมาจนถึงชุมพร
เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่าต่าง
ๆ นานาชนิด
รวมทั้งถูกใช้เป็นฉากในนิยายเพชรพระอุมาของพนมเทียน
รูปที่
๑ อนุสาวรีย์เจ้าหน้าที่ป่าไม้
ที่เสียชีวิตในการพิทักษ์รักษาป่า
หน้าที่ทำการอุทยาน เขาอ่างฤาไนย
ถ่ายเมื่อ พค ๒๕๕๓
ผมได้มีโอกาสไปเขาอ่างฤาไนยครั้งแรกเป็นตอนก่อนที่จะมีการสร้างเขื่อนโครงการอ่างเก็บน้ำคลองสียัด
การไปครั้งหลังสุดเมื่อสามปีที่แล้วปรากฏว่าน้ำเต็มอ่างและถนนเส้นเดิมจมน้ำหายไป
ครั้งหลังสุดนี้ได้มีโอกาสไปแสดงความเคารพอนุสาวรีย์เจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่เสียชีวิตในการพิทักษ์รักษาป่า
อนุสาวรีย์ดังกล่าวตั้งอยู่ริมถนนฝั่งตรงข้ามหน้าที่ทำการอุทยาน
เขาอ่างฤาไนย
ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่ที่ไปเที่ยวตามอุทยานแห่งชาติต่าง
ๆ นั้น มักจะไปเพื่อชมความงาม
ความสวยงาม หรือให้ได้ชื่อว่าได้ไปถึง
ได้เป็นเห็น
สิ่งที่ต้องการก็คือความสะดวกสะบายในการเดินทาง
ที่พัก และการกินอาหาร
รวมทั้งสิ่งที่เรียกว่า
"ธรรมชาติอันบริสุทธิ์"
แต่จะมีสักกี่คนที่จะรำลึกถึงการเสียสละของเจ้าหน้าที่ป่าไม้
ที่ต้องเสียสละชีวิตในการปกป้องทรัพยากรอันมีค่าเหล่านั้นเอาไว้
กรณีการเสียชีวิตที่เกรียวกราวที่สุดของเจ้าหน้าที่ป่าไม้
ที่อุทิศชีวิตเพื่อปกป้องผืนป่าและสัตว์ป่าจากการทำลายล้าง
เห็นจะได้แก่กรณีของ สืบ
นาคะเสถียร
หัวหน้าหน่วยรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
ผู้เดิมพันด้วยการเอาชีวิตตนเองแลกกับชีวิตของป่าและสัตว์ป่าที่เหลือ
ในเช้ามืดวันที่ ๑ กันยายน
พ.ศ.
๒๕๓๓
คนตายไปไม่สามารถนำทรัพย์สิน
เงินทอง ลาภ ยศ สรรเสริญติดตัวไปได้
สิ่งที่จะคงเหลืออยู่ก็มีเพียงคุณงามความดีที่เขาได้สร้างไว้
และอุดมการณ์ของเขาให้คนรุ่นหลังได้รับรู้
การเสียชีวิตของ สืบ นาคะเสถียร
ทำให้เกิดความตื่นตัวในการอนุรักษ์ป่าและสัตว์ป่าอย่างใหญ่หลวงในประเทศไทย
รูปที่
๒ โปสเตอร์ชีวิตและผลงานของ
สืบ นาคะเสถียร ติดไว้ ณ
ที่ทำการอุทยานทางเข้าน้ำตกทีลอซู
โปสเตอร์ในรูปที่
๒
ข้างบนเป็นโปสเตอร์ที่แขวนไว้ในที่ทำการอุทยานที่ผมเข้าไปติดต่อขอเข้าชมน้ำตกทีลอซู
ผมไม่รู้ว่าจะมีนักท่องเที่ยวสักกี่คน
(โดยเฉพาะผู้ที่อายุยังไม่เกิน
๓๐ ปี)
ที่จะสนใจโปสเตอร์ดังกล่าวหรือจะสนใจว่าสืบคือใคร
ที่เขียนเรื่องนี้ก็เพื่อเป็นที่ระลึกและให้คาระวะแก่บุคคลผู้ยอมสละชีวิตตนเอง
เพื่อให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันได้มีโอกาสได้เห็นธรรมชาติและป่าไม้ที่งดงาม
ประโยคที่นำมาเป็นหัวข้อบทความในวันนี้
เป็นประโยคที่สืบพูดเป็นประจำในการไปบรรยายในที่ต่าง
ๆ ในการเดินทางไปประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ
ป่าไม้และสัตว์ป่า
จนคนทั่วไปรู้จักเขาและจดจำเขาได้
กล่าวกันว่าเป็นประโยคที่พูดออกมาจากหัวใจของเขา
"ผมขอพูดในนามของสัตว์ป่าทุกตัว"
สืบ
นาคะเสถียร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น