สงสัยตั้งแต่ได้เห็นมาตั้งนานแล้วว่าเอาหัวรถจักรคันนี้มาจอดทิ้งไว้ตรงนี้ทำไม
(รูปที่
๑)
ผ่านไปทีไรก็ไม่เห็นมีใครไปยุ่งอะไรกับมัน
และแม้ว่าจะอยู่ใกล้กับป้ายโฆษณาร้าน
แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่เกี่ยวอะไรกับร้านนั้น
รูปที่
๑ หัวรถจักรไอน้ำ
(ที่คงเป็นหัวรถจักรที่ใช้ในช่วงที่ยังมีการชักลากจูงไม้)
ที่ถูกนำมาจอดทิ้งไว้ทางด้านริมคลองทางด้านทิศใต้ของสวนสุขภาพศรีราชา
เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา
ระหว่างแวะไปค้นดูหนังสือเก่า
ๆ ในห้องสมุดมหาวิทยาลัย
ได้ได้พบกับหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ
"ทัศนาสารไทย
จังหวัดชลบุรี"
ฉบับของสำนักวัฒนธรรมทางศิลปกรรม
สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
หนังสือเล่มที่ห้องสมุดมีนี้ไม่มีการระบุว่าพิมพ์โดยใครและพิมพ์เมื่อใด
แต่หนังสืออีกเล่มหนึ่งในชุดเดียวกันที่เป็นของจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้นมีการระบุไว้ที่ปกหลังว่า
จัดพิมพ์โดยโรงพิมพ์ภักดีประดิษฐ์
ถนนหลังวังบูรพา พระนคร
โดยนายเฉลิม พันธุ์ภักดี
ผู้พิมพ์และผู้โฆษณา เลขที่
๒๐ โทร 29715
พ.ศ.
๒๔๙๙
ดังนั้นหนังสือเล่มจังหวัดชลบุรีก็น่าจะจัดพิมพ์ในเวลาเดียวกัน
หนังสือเล่มนี้มีบันทึกเรื่องราวที่น่าสนใจของจังหวัดชลบุรีเอาไว้หลายอย่าง
เหมือนกับเป็นการแนะนำตัวจังหวัดและสถานที่ท่องเที่ยว
ที่หลายแห่งนั้นไม่มีให้เห็นหรือแทบจะไม่เป็นที่รู้จักกันแล้วในปัจจุบัน
ยกเว้นแต่ในหมู่ผู้สูงวัยที่เกิดทันได้เห็น
เอาไว้จะค่อย ๆ ย่อยออกมาเล่าให้ฟัง
แต่วันนี้ขอเป็นเรื่องเกี่ยวกับรถไฟลากไม้ก่อน
รูปที่
๒
ในหน้าแรกของหนังสือเป็นแผนที่เส้นทางการเดินทางจากพระนครไปสัตตหีบ
(สะกดตามแผนที่)
ในแผนที่นี้ปรากฏเส้นทางรถไฟลากไม้อยู่
อ.โพธิ์
ที่ปรากฏในแผนที่คือ อ.บ้านโพธิ์
จ.ฉะเชิงเทรา
ในปัจจุบัน
หลักฐานภาพถ่ายเก่าแสดงให้เห็นว่าในอดีตนั้นเคยมีสะพานรถไฟจากชายฝั่งไปยังเกาะลอยเพื่อใช้ในการขนถ่ายไม้ลงเรือ
บริเวณจากชายฝั่งไปยังเกาะลอยนั้นถ้าใครได้ไปตอนน้ำลงสุดจะเห็นชัดว่าน้ำแห้งลงไปมากจนเดินเรือไม่ได้
จะมีบริเวณที่น้ำยังลึกพอที่จะเอาเรือเข้าเทียบได้ตลอดเวลาก็ที่เกาะลอย
ดังนั้นเพื่อที่จะขนถ่ายสิ่งของลงเรือได้ตลอดเวลา
(โดยไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำขึ้นน้ำลง)
ก็ต้องไปสร้างท่าเรือที่เกาะลอยและสร้างเส้นทางลำเลียงไปยังเกาะลอย
สะพานที่เราเห็นกันในปัจจุบันนั้นเป็นสะพานที่สร้างขึ้นภายหลังสะพานรถไฟและอยู่คนละตำแหน่งกัน
คำถามก็คือแล้วสะพานรถไฟเดิมนั้นอยู่ที่ตำแหน่งใด
คำตอบของคำถามดังกล่าวปรากฏอยู่ในแผนผังเทศบาลตำบลศรีราชา
ขนาดมาตราส่วน ๑ :
๔๐๐๐
ที่จัดทำโดยกรมโยธาเทศบาล
ที่แนบมาในตอนท้ายของหนังสือดังกล่าว
(รูปที่
๓)
รูปที่
๔ ภาพขยายตอนบนของแผนผังในรูปที่
๓
แผนที่ของกรมโยธาเทศบาลฉบับนี้ไม่มีการระบุว่าจัดทำไว้เมื่อปีพ.ศ.ใด
แต่เมื่อถูกนำมาตีพิมพ์ในหนังสือที่จัดพิมพิ์ในปีพ.ศ.
๒๔๙๙
ก็แสดงว่ามันต้องถูกจัดทำช่วงปีพ.ศ.
๒๔๙๙
หรือก่อนหน้านั้น
ในแผนที่นี้ปรากฏตำแหน่งเส้นโรงเลื่อยและเส้นทางรถไฟไปยังเกาะลอย
ตัวคลองที่อยู่ทางด้านทิศเหนือของโรงเลื่อยนั้นในแผนที่ปัจจุบันแทบไม่เห็นแล้ว
แต่ตำแหน่งที่ตั้งปัจจุบันของโรงสูบน้ำของเทศบาลก็ตรงอยู่กับตำแหน่งที่เป็นปากคลอง
(และอยู่คนละฟากคลองที่หัวรถจักรจอดอยู่)
บริเวณที่เป็นโรงเลื่อยเดิมก็กลายเป็นห้างสรรพสินค้า
พอเทียบตำแหน่งสะพานรถไฟในแผนที่กับภาพถ่ายดาวเทียมจาก
google
earth ก็พบว่าแนวสะพานนั้นควรจะอยู่ตรงบริเวณเส้นประสีเหลืองในรูปที่
๖ โดยจุดตั้งต้นสะพานนั้นอยู่ตรงบริเวณที่มีหัวรถจักร
(รูปที่
๑)
จอดทิ้งอยู่
และนี่ก็คงเป็นสาเหตุที่ว่า
(ที่ผมคาดเดาเอาเอง)
ว่าทำไมจึงมีหัวรถจักรจอดทิ้งเอาไว้ตรงนั้น
ก็คงเป็นเพราะตรงนั้นมันเคยมีเส้นทางรถไฟเดิมอยู่
(ไม่ใช่การยกหัวรถจักรจากที่อื่นมาตั้งโชว์เหมือนที่อยู่หน้าเทศบาล)
พอเส้นทางรถไฟถูกรื้อออกไปโดยไม่มีการขนย้ายหัวรถจักรคันดังกล่าวไปด้วย
มันก็เลยถูกทิ้งเอาไว้ตรงนั้น
ในหนังสือทัศนาสารกล่าวถึงสะพานนี้ไว้ในหัวข้อเกาะลอยว่า
"ที่เกาะนี้มีสะพานยาวทอดจากริมฝั่งทะเล
ยื่นล้ำต้วเกาะออกไปอีกหลายร้อยเมตร
รวมความยาวของสะพานซึ่งทอดจากชายฝั่งออกไปประมาณ
๑,๔๐๐
เมตร ตรงกลางสะพานวางรางรถไฟเล็ก
ๆ ขนาดเท่ารถไฟเล็กในงานฉลองรัฐธรรมนูญ
สำหรับบรรทุกไม้จากโรงเลื่อยที่ตั้งอยู่ในป่ามาลงเรือ
เพื่อส่งออกไปจำหน่ายนอกเขตจังหวัดชลบุรี
ผู้ที่จะไปเที่ยวเกาะลอยอาจจะอาศัยสะพานนี้เดินไปได้
เพราะสองข้างทางรถไฟมีไม้สะพานทอดออกไปกว้าง
พอเดินได้อย่างสบายโดยไม่ต้องกลัวตก
น่าเสียดายที่สะพานนี้ถูกพายุพัดพังทลายลงไปเสียหลายแห่ง
เมื่อพ.ศ.
๒๔๙๖
และในปัจจุบันกำลังสร้างขึ้นใหม่ยังไม่ตลอดถึงตัวเกาะ
การที่จะเดินไปเที่ยวชมเกาะลอยจึงทำไม่ได้เหมือนอย่างแต่ก่อน"
รูปที่
๕ ภาพขยายตอนกลางของแผนผังในรูปที่
๓
รูปที่
๖ ภาพถ่ายดาวเทียมจาก
google
earth เทียบกับรูปที่
๕
แนวเส้นประสีเหลืองคือแนวสะพานรถไฟเดิมที่ตั้งต้นจากบริเวณที่มีหัวรถจักรจอดทิ้งอยู่
โรงเลื่อยเดิมกลายเป็นห้างแปซิฟิค
พาร์ค ศรีราชา
รูปที่
๗ ภาพขยายตอนล่างของแผนผังในรูปที่
๓
รูปที่
๘ ภาพขยายบริเวณกรอบสีเหลืองในรูปที่
๗ แผนที่นี้แสดงให้เห็นว่าบริเวณดังกล่าวเสมือนกับเป็นเกาะเล็ก
ๆ อีกเกาะหนึ่งแบบเกาะลอย
มีการระบุฃื่อสถานที่ว่า
"แหลมฟาน"
ปัจจุบันบริเวณนี้เป็นท่าเรือที่ใช้สำหรับการเดินทางไปยังเกาะสีชัง
ข้อความนี้ช่วยระบุว่าหนังสือฉบับนี้พิมพ์หลังปีพ.ศ.
๒๔๙๖
ซึ่งเป็นปีที่สะพานรถไฟดังกล่าวได้รับความเสียหายจากพายุ
ก่อนที่ท้ายสุดจะถูกรื้อทิ้งไป
หนังสือเล่มนี้ยังได้เล่าถึงบรรยากาศบริเวณรอบสะพานดังกล่าวเอาไว้ว่า
"ที่โขดหินตามชายหาดใกล้
ๆ สะพานยาวนี้ ท่าจะพบเด็กรุ่นสาวเป็นจำนวนมาก
มาเที่ยวหาหอยนางรม
วิธีหาหอยของเชาไม่มีอะไรมาก
นอกจากกระป๋องใส่น้ำใบ ๑
กับค้อนเหล็กปลายแหลมด้ามแบน
ๆ คล้ายไขควงอัน ๑ เท่านั้น
เมื่อมีของสองอย่างนี้แล้วก็ไปเที่ยวนั่งทุบเปลือกหอยนางรม
ซึ่งจับติดแน่นอยู่กับโขดหินที่ชายหาด
พอทุบเปลือกหอยแตกก็เอาปลายค้อนแซะตัวหอยออกมาใส่กระป๋องน้ำ
เมื่อเห็นว่าได้มากพอควรก็นำไปขายที่ตลาด
วันหนึ่งเด็กรุ่นสาวเหล่านี้อาจหาเงินได้คนละหลาย
ๆ บาททีเดียว
นับว่าเป็นรายได้อย่างหนึ่งของเด็กรุ่นสาวในตำบลศรีราชา
โดยไม่ต้องลงทุนแต่อย่างไร"
บันทึกนี้แสดงให้เห็นว่าการเก็บหอยแต่ก่อนนั้นไม่ได้เก็บมาทั้งเปลือก
คือทุบเปลือกให้แตกแล้วเอาแต่ตัวมาขาย
ซึ่งจะว่าไปก็เป็นการดีเหมือนกัน
เพราะเป็นการคืนเปลือกหอยให้ทะเล
ส่วนเด็กหนุ่มรุ่นราวคราวเดียวกับเด็กสาวเหล่านั้น
เขาใช้ช่วงชีวิตเวลาเดียวกันนั้นไปทำอะไร
หนงสือไม่ยักจะบอกเล่าเอาไว้
ในหนังสือดังกล่าวยังมีภาพของสถานที่เที่ยวสถานที่หนึ่งในอำเภอศรีราชาที่ระบุว่าเป็น
"แหลมฟาน"
(รูปที่
๗ -
๙)
ที่ปัจจุบันเป็นท่าเรือสำหรับการเดินทางข้ามไปยังเกาะสีชัง
และถ้าพิมพ์หาใน google
ก็จะเจอแต่รีวิวร้านอาหาร
ไม่ใช่สถานที่สำหรับออกไปชมวิวทิวทัศน์
สำหรับภาพที่ปรากฏในหนังสือนั้นผมงสัยว่าอาจไม่ใช่ภาพถ่ายของ
"แหลมฟาน"
แต่เป็นภาพที่ไปยืนอยู่ที่แหลมฟานแล้วถ่ายวิวทิวทัศน์ที่มองเห็นจากแหลมฟานเข้าหาฝั่งมากกว่า
เรื่องเล่าเบา
ๆ ในสัปดาห์หยุดยาว ๔
วันก็คงมีเพียงแค่นี้
รูปที่
๙ ภาพ "แหลมฟาน"
ที่ปรากฏในหนังสือทัศนาสารไทย
จังหวัดชลบุรี