สิ่งที่ทำงานได้ดี
ที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีปัญหาอะไร
แต่เมื่ออะไรต่อมิอะไรมันมาประจวบเหมาะในเวลาที่เหมาะสม
มันก็เกิดเรื่องได้เช่นกัน
ดังเช่นกรณีตัวอย่างที่นำมาจาก
ICI Safety
Newsletter สองกรณีนี้
เรื่องที่
๑ น้ำมันควบแน่นในท่อไนโตรเจน
เรื่องนี้นำมาจาก
ICI Safety
Newsletter ฉบับที่ ๒๑ เรื่องที่
๔ เดือนสิงหาคม ๑๙๗๐ (พ.ศ.
๒๕๑๓)
ถัง
(Tank) ชนิด
fixed roof tank
นั้นจะต้องมีรูระบายอากาศอยู่ที่ฝาถังด้านบน
เพื่อให้อากาศเหนือผิวของเหลวนั้นไหลออกได้เวลาที่เติมของเหลวเข้าถังหรือเมื่ออากาศร้อน
และให้อากาศภายนอกไหลเข้าไปในถังได้เวลาที่สูบของเหลวออกจากถังหรือเมื่ออากาศเย็น
ทั้งนี้เพื่อรักษาความดันภายในถังไม่ให้สูงหรือต่ำเกินไป
แต่ถ้าของเหลวที่เก็บในถังนั้นเป็นของสารไวไฟที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่าอุณหภูมิห้อง
การให้อากาศไหลเข้า-ออกก็อาจทำให้ส่วนที่เป็นไอเหนือผิวของเหลวภายในถัง
มีความเข้มข้นอยู่ในช่วง
explosive mixture
ได้ ดังนั้นถ้าไอที่มีความเข้มข้นในช่วง
explosive mixture
นี้ระบายออกมาจากรูระบายและพบกับแหล่งพลังงาน
(เช่นความร้อน
เปลวไฟ ประกายไฟ)
ก็จะเกิดไฟลุกไหม้ย้อนกลับเข้าไปในถังและทำให้เกิดการระเบิดขึ้นในถังได้
การป้องกันการเกิดเหตุเช่นนี้ทำได้ด้วยการติดตั้ง
flame arrestor
เพิ่มเข้าไปที่ช่องระบายไอ
(ที่อาจเป็นเพียงแค่
vent หรือ
breather valve)
แต่การติดตั้ง flame
arrestor
นี้ไม่สามารถป้องกันการระเบิดภายในถังที่เกิดจากการจุดระเบิดภายในถังได้
(เช่นจากไฟฟ้าสถิตย์)
ในกรณีเช่นนี้การใช้แก๊สเฉื่อย
(ปรกติก็ไนโตรเจน)
ช่วยในการรักษาความดันภายในถังแทนการปล่อยให้อากาศไหลเข้าออกก็สามารถช่วยได้
อีกวิธีหนึ่งก็คือการไปใช้ถังเก็บแบบ
floating roof tank
ที่ฝาบนนั้นลอยอยู่บนผิวของเหลว
ในกรณีนี้ถ้าเป็นบ้านเรามันก็ไม่มีปัญหา
เพราะมันมีแค่ฝนตก
แต่สำหรับประเทศอากาศหนาวที่มีหิมะตก
แม้แต่ถัง floating
roof ก็ยังต้องมี fixed
roof ครอบทับอีกที
เพื่อป้องกันไม่ให้หิมะสะสมบน
floating roof
จนมีน้ำหนักมากเกินกว่าตัว
roof จะลอยได้
ทำให้มีที่ว่างระหว่างตัว
floating roof และ
fixed roof
ที่ไอเชื้อเพลิงที่ระเหยรอดออกมาตรงรอยต่อต่าง
ๆ สามารถสะสมได้
รูปที่ ๑
ไอน้ำมันควบแน่นทางท่อด้านขาออกของท่อไนโตรเจน
ทำให้ไนโตรเจนไม่สามารถไหลเข้าถังได้
รูปที่
๑ เป็นกรณีของการใช้แก๊สไนโตรเจนเข้าไปแทนที่อากาศ
กล่าวคือเวลาที่ความดันภายในถังลดลง
แก๊สไนโตรเจนก็จะไหลเข้าไป
ป้องกันไม่ให้อากาศไหลเข้า
และเวลาที่ความดันในถังสูงขึ้น
ไอผสมของเชื้อเพลิงกับไนโตรเจนก็จะไหลออกผ่านทางช่องระบาย
แก๊สไนโตรเจนความดันสูงจะต้องผ่านวาล์วลดความดันก่อนจะไหลเข้าถัง
ตำแหน่งที่ติดตั้งวาล์ว
(ไม่ว่าแบบไหนก็ตาม)
ก็เป็นประเด็นหนึ่งที่น่าพิจารณา
คือต้องพิจารณาถึงเรื่อง
ความถี่ในการใช้ การซ่อมบำรุง
และการป้องกันไม่ให้ใครไปยุ่งเกี่ยวโดยไม่ได้รับอนุญาต
กล่าวคือถ้าวาล์วตัวไหนต้องใช้งานบ่อยก็ควรให้เข้าถึงได้ง่าย
(เช่นอยู่ระดับพื้นดินหรือมีทางเดินถาวรเข้าถึง)
หรือถ้าจำเป็นก็อาจต้องใช้ระบบรอกโซ่ช่วยดึงในการหมุนเปิด-ปิด
ตัวไหนที่นาน ๆ
ต้องเข้าไปยุ่งทีก็อาจใช้การก่อนั่งร้านแทนเมื่อต้องเข้าไปยุ่ง
และตัวไหนที่ไม่อยากให้ใครเข้าไปยุ่งปรับเปลี่ยนเล่น
ก็อาจต้องติดตั้งในตำแหน่งที่เข้าถึงได้ยาก
(เช่นต้องสร้างนั่งร้านถึงจะเข้าถึงได้)
หรือติดตั้งระบบล็อกเอาไว้ไม่ให้ปรับเปลี่ยนได้ง่าย
ในเหตุการณ์นี้วาล์วลดความดันอยู่ที่ระดับต่ำ
โดยท่อด้านขาออกถูกยกสูงขึ้นไปและต่อเข้า
tank ณ
ตำแหน่งที่สูงกว่าระดับสูงสุดของของเหลวใน
tank
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ
เมื่ออากาศร้อน
ความดันไอของน้ำมันจะสูงขึ้น
ไนโตรเจนจะหยุดไหล
ไอน้ำมันบางส่วนจะไหลย้อนเข้ามาในท่อไนโตรเจนได้
และเมื่อกาศเย็นลง
ไอน้ำมันที่แพร่เข้ามาในท่อไนโตรเจนจะควบแน่นกลายเป็นของเหลวลงมาสะสมอยู่ทางด้านขาออกของวาล์วลดความดัน
และถ้าปริมาณของเหลวที่สะสมนั้นมากพอ
ความดันที่เกิดจากความสูงของของเหลวด้านขาออกของวาล์วลดความดันก็จะปิดกั้นไม่ให้ไนโตรเจนไหลเข้าถังได้
ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหานี้
วาล์วลดความดันจึงควรติดตั้งที่ตำแหน่งระดับความสูงของหลังคาถัง
และไม่ควรเปิดโอกาสให้มีของเหลวสะสมในท่อด้านขาออกได้
(เช่นด้วยการวางท่อลาดเอียงลงไปในถัง)
เรื่องที่
๒ ไฮโดนเจนจากถังเก็บกรด
เรื่องนี้นำมาจาก
ICI Safety
Newsletter ฉบับที่ ๕๙ เรื่องที่
๖ เดือนธันวาคม ๑๙๗๓ (พ.ศ.
๒๕๑๖)
โปรตอน
(H+)
ที่เกิดจากการแตกตัวของกรด
สามารถดึงอิเล็กตรอนจากอะตอมเหล็กได้
โดยตัวมันเองจะเปลี่ยนเป็นแก๊สไฮโดรเจน
(H2)
ในขณะที่อะตอมเหล็กจะกลายเป็นไอออน
(Fe2+)
เข้ามาอยู่ในสารละลายกรดแทนโปรตอน
แต่การแตกตัวของกรดให้โปรตอนได้นี้
จำเป็นต้องมีสารอื่นมารับโปรตอนจากโมเลกุลกรดก่อน
เช่นน้ำ (H2O)
ที่เมื่อรับโปรตอนแล้วก็จะกลายเป็นไฮโดรเนียมไอออน
(H3O+)
แล้วเจ้าตัวไฮโดรเนียมไอออนนี้จึงไปดึงอิเล็กตรอนจากเหล็กอีกที
แต่สำหรับกรดที่เข้มข้นมาก
ๆ มันจะไม่มีการแตกตัว
(หรือมีการแตกตัวน้อยมาก)
เพราะไม่มีตัวรับโปรตอน
ดังนั้นกรดที่เข้มข้นมาก
ๆ จึงสามารถเก็บในถังเหล็กได้
แต่ตรงนี้ใช่ว่าเหล็กจะไม่สึกกร่อนนะ
เอาเป็นว่าเรียกว่าอัตราการสึกกร่อนนั้นต่ำมากจนอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
(กล่าวคือไม่กระทบต่อความแข็งแรงของถังเก็บแม้ว่าจะใช้งานผ่านไปหลายปี)
ด้วยเหตุนี้เมื่อใช้ถังเหล็กเก็บสารละลายกรดเข้มข้น
ก็ยังควรต้องคำนึงถึงการระบายแก๊สไฮโดรเจนที่อาจเกิดขึ้นจากการที่กรดนั้นไปกัดถังเหล็กเอาไว้ด้วย
รูปที่ ๒
(ซ้าย)
เมื่อท่อ vent
อยู่ต่ำกว่าระดับความสูงสูงสุดของ
tank
แก๊สไฮโดรเจนจะสามารถสะสมใช้
roof ได้
(ขวา)
แต่ถ้าติดตั้ง vent
ที่ตำแหน่งสูงสุดของ
roof
แก๊สไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นจะระบายออกและฟุ้งกระจายออกไปได้ง่าย
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับถังเหล็กที่ใช้เก็บกรดฟอสฟอริก
(H3PO4)
ของโรงงานผลิตปุ๋ยแห่งหนึ่ง
(กรดนี้เป็นตัวให้ธาตฟอสฟอรัส)
ท่อระบายแก๊สไฮโดรเจนที่ฝาถังนั้นไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่งสูงสุดของฝาถัง
แต่อยู่ต่ำลงมาและยื่นออกมาทางด้านข้าง
และเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำฝนไหลเข้าไปในท่อได้
จึงออกแบบปลายท่อให้หันลงล่าง
(รูปที่
๒)
วันหนึ่ง
มีคนงานไปทำงานเชื่อมโลหะในบริเวณดังกล่าว
เปลวไฟจากการเชื่อมโลหะไปจุดระเบิดแก๊สไฮโดรเจนที่ไหลออกมาทางปลายท่อระบายแก๊สไฮโดรเจน
เปลวไฟเดินทางย้อนเข้าไปในท่อและไปจุดระเบิดแก๊สไฮโดรเจนที่สะสมอยู่ใต้หลังคา
ทำให้ฝาถังปลิวออกมา
(จดหมายข่าวไม่ได้บอกว่าการเชื่อมเกิดขึ้นที่ไหน
อาจจะเกิดจากบริเวณที่สูงกว่าแล้วมีสะเก็ดไฟที่กระเด็นตกลงล่างก็ได้
หรือเกิดจากบริเวณข้างเคียงที่อยู่ใกล้กับท่อระบายแก๊สไฮโดรเจนก็ได้)
วิธีการที่ดีกว่าคือการย้ายท่อระบายแก๊สมาอยู่
ณ ตำแหน่งสูงสุดของฝาถัง
และถ้ากลัวน้ำฝนเข้าไปก็อาจใช้การติดตั้งข้องอที่ปลายท่อให้โค้งเป็นตัว
U ลงมาข้างล่าง
หรือไม่ก็ติดตั้งข้อต่อรูปตัว
T
ให้แก๊สระบายออกทางซ้ายและขวา
ตรงนี้ก็อาจมีคนมองว่า
ถ้าเขาติด flame
arrestor ตั้งแต่แรก
เหตุการณ์นี้ก็คงไม่เกิด
แต่ถ้าเรามองย้อนกลับไปตอนที่เขาออกแบบถังเก็บ
ว่าไว้สำหรับเก็บกรดฟอสฟอริก
ซึ่งไม่ติดไฟ
คนออกแบบก็คงจะมองไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องติดตั้ง
flame arrestor
ไว้ที่ท่อระบายแก๊ส
(กรดอนินทรีย์มันไม่ติดไฟ
แต่หลายตัวเป็นตัวจ่ายออกซิเจน
(เช่นกรดไนตริก
HNO3)
ทำให้สารอินทรีย์เกิดปฏิกิริยาการออกซิไดซ์ได้ดีขึ้น
แต่พวกกรดอินทรีย์มันติดไฟได้นะ
โดยเฉพาะพวกกรดไขมัน)
และที่ต้องคำนึงก็คือ
คนออกแบบมักจะเป็นผู้เชี่ยวชาญงานทางด้านการก่อสร้างไม่ก็เครื่องกล
การออกแบบของเขาก็จะเน้นไปที่ความสามารถในการรับแรงเป็นหลัก
ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่ต้องมีเนื่องจากปฏิกิริยาเคมีที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการใช้งานนั้น
จำเป็นที่นักเคมี
(หรือผู้ที่มีความรู้ทางด้านเคมี)
แจ้งให้ผู้ออกแบบทราบก่อนเริ่มการออกแบบ
เพื่อที่เขาจะได้รู้เงื่อนไขเฉพาะที่สำคัญบางข้อก่อนเริ่มงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น