เครื่อง
Micromeritic
ChemiSorb 2750 เป็นเครื่องที่เราใช้ในการวิเคราะห์ตัวอย่างด้วยเทคนิค
Temperature
Programmed แบบต่าง
ๆ รวมทั้งการวัด Physisorption
และ
Chemisorption
ที่ผ่านมานั้นผู้ที่เข้าไปใช้เครื่องมักจะอิงวิธีการใช้ตามคู่มือฉบับ
"ภาษาไทย"
ฉบับย่อที่ในขณะนี้ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่ามีที่มาอย่างไรและใครเป็นคนจัดทำ
คู่มือภาษาไทยฉบับย่อดังกล่าวเขียนเฉพาะวิธีการวิเคราะห์แบบให้ทำตามเป็นข้อ
ๆ ไปโดยไม่มีคำอธิบายใด ๆ
และที่สำคัญคือคู่มือภาษาไทยฉบับย่อดังกล่าว
"ไม่มี"
การกล่าวถึงการสอบเทียบหรือ
calibrate
เครื่องเอาไว้ด้วย
บังเอิญช่วงเร็ว
ๆ
นี้ทางกลุ่มเรามีความจำเป็นต้องไปใช้เครื่องดังกล่าวเครื่องหนึ่งในการวิเคราะห์หาพื้นที่ผิว
BET
แบบ
single
point (เอาไว้เล่าทีหลัง)
อีกครั้งหลังจากไม่ได้เข้าไปใช้มาหลายปี
สิ่งที่ผมพบก็คือวิธีการใช้เครื่องในปัจจุบันที่สมาชิกของกลุ่มเราเข้ารับการอบรมนั้น
"แตกต่าง"
ไปจากสิ่งที่เราเคยปฏิบัติกันมาก่อนหน้า
และที่สำคัญก็คือวิธีการใช้เครื่องในปัจจุบันมันตามคู่มือภาษาไทยฉบับย่อแตกต่างไปจากสิ่งที่คู่มือฉบับภาษาอังกฤษต้นฉบับที่มากับเครื่องนั้นระบุไว้
ประเด็นที่สำคัญคือวิธีการเตรียมตัวอย่างก่อนการวิเคราะห์และการสอบเทียบก่อนการวัด
แต่ใน Memoir
ฉบับนี้จะกล่าวถึงเฉพาะการเตรียมตัวอย่างก่อนการวิเคราะห์ก่อน
โดยจะอิงตามคู่มือใช้งานของเครื่องที่ผมสแกนแนบมาด้วย
เรื่องการเตรียมตัวอย่างก่อนการวิเคราะห์นี้เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ในบันทึกปีที่
๓ ฉบับที่ ๒๒๖ วันเสาร์ที่
๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๕๕๓
เรื่อง "การวัดพื้นที่ผิว BET"
ขอให้กลับไปอ่านบันทึกฉบับดังกล่าวด้วย
เริ่มจากหน้า
3-12
เรื่อง
"Performing
a Physisorption Analysis" ในหัวข้อ
"Degassing
the Sample"
ในย่อหน้าแรก
(กรอบสีแดง)
จะระบุเอาไว้ว่าตัวเครื่องนั้นสามารถให้ผลการวัดที่ไว้วางใจได้เมื่อพื้นที่ผิวรวมทั้งหมดของตัวอย่างอยู่ในช่วง
0.1-199
m2 เมื่อเทียบกับพื้นผิวทั้งหมดของตัวอย่าง
แต่การวิเคราะห์นั้นจะทำได้ถูกต้องมากขึ้นและรวดเร็วมากขึ้นถ้ามีการปรับปริมาณตัวอย่างให้พื้นที่ผิวที่จะทำการวัดนั้นตกอยู่ในช่วง
0.5-25
m2
การปรับพื้นที่ผิวทั้งหมดที่วัดได้เพื่อให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมนั้นกระทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนน้ำหนักตัวอย่างที่ใช้
ถ้าเราไม่ทราบแต่แรกว่าตัวอย่างของเรามีพื้นที่ผิวเท่าใด
การวัดครั้งแรกก็คงต้องเป็นการทดลองไปก่อน
ถ้าพบว่าค่าที่วัดได้นั้นอยู่นอกช่วงที่เหมาะสมก็ค่อยมาปรับน้ำหนักตัวอย่างที่จะวัดในครั้งต่อไป
สำหรับตัวอย่าง
TiO2
ที่เราทำการวัดนั้นเราทราบคร่าว
ๆ ว่าควรจะมีพื้นที่ผิวอยู่ในช่วงประมาณ
60-100
m2/g (ขึ้นอยู่กับว่าผ่านการเผากี่ครั้งที่อุณหภูมิเท่าใด)
ดังนั้นถ้าว่ากันตามคำแนะนำของผู้ผลิตเครื่องแล้ว
ปริมาณ TiO2
ที่เราควรใช้ในการวิเคราะห์แต่ละครั้งนั้นควรอยู่ในช่วงประมาณ
0.1-0.2
g เท่านั้นเอง
ในย่อหน้าที่สองของหัวข้อ
"Degassing
the Sample" นี้
(กรอบสีเขียว)
กล่าวไว้ว่าน้ำหนักที่ถูกต้องของตัวอย่างนั้นส่งผลต่อความถูกต้องของค่าพื้นที่ผิว
(m2/g)
ที่วัดได้
โดยนำหนักที่ถูกต้องของตัวอย่างนั้นควรเป็นน้ำหนักของตัวอย่างที่ปราศจาก
"ไอน้ำ"
ถ้าจะว่ากันตามนี้การชั่งน้ำหนักตัวอย่างที่ดีที่สุดคือการชั่ง
"หลังจาก"
วัดพื้นที่ผิวเสร็จแล้ว
กล่าวคือก่อนเอาตัวอย่างใส่
sample
cell ก็ใช้ทำการชั่งน้ำหนัก
sample
cell เปล่า
(รวมทั้งจุกอุด)
ก่อน
จากนั้นใส่ตัวอย่างลงไป
เมื่อเอา sample
cell ที่บรรจุตัวอย่างเรียบร้อยแล้ว
(พร้อมจุกอุด)
ไปชั่ง
น้ำหนักที่ชั่งที่เพิ่มขึ้นมาจะเป็นน้ำหนักประมาณของตัวอย่าง
และเมื่อทำการวิเคราะห์เสร็จสิ้นแล้วเมื่อทำการถอด
sample
cell ออกจากเครื่องก็ให้รีบใช้จุกอุดปลายเปิดทั้งสองข้างของ
sample
cell ทันที
ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวอย่างจับความชื้นจากอากาศที่แพร่เข้าไปใน
sample
cell จุกที่ใช้ในการอุดนี้ต้องเป็นตัวเดียวกันกับที่ใช้ตอนชั่ง
sample
cell เปล่าด้วย
ในกรณีของเรานั้นการทำตามขั้นตอนดังกล่าวอาจจะยุ่งยาก
แต่ถ้าหากตัวอย่างของเรานั้นไม่ได้ชอบจับความชื้นเท่าใดนัก
การอบตัวอย่างให้แห้งและรีบบรรจุลง
sample
cell และ/หรือนำ
sample
cell
ที่บรรจุตัวอย่างเรียบร้อยแล้วไปอบแห้งอีกครั้งแล้วค่อยนำมาชั่งน้ำหนักอีกครั้งก็น่าจะทำให้ได้ค่าน้ำหนักตัวอย่างที่แท้จริงได้
(อย่าลืมชั่งน้ำหนัก
sample
cell เปล่าก่อนด้วย)
แต่ถ้าเป็นการทำ
Temperature
programmed reduction (TPR) หรือ
Temperature
programmed oxidation (TPO)
เราจะมาชั่งน้ำหนักหลังการวิเคราะห์เสร็จไม่ได้
เพราะตัวอย่างมีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักเนื่องจากถูกรีดิวซ์
(น้ำหนักลดลง)
หรือถูกออกซิไดซ์
ตั้งแต่ส่วนท้ายหน้า
3-12
ไปจนสุดหน้า
3-13
นั้นก็เป็นการอธิบายวิธีใช้เครื่อง
แต่เรื่องสำคัญอีกเรื่องที่จำเป็นต้องกล่าวย้ำอีกทีนั้นอยู่ในหน้า
3-14
ในหัวข้อ
"Degassing
Consideration"
ขั้นตอนการไล่แก๊สนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะการไล่น้ำออกจากตัวอย่างเท่านั้น
แต่ยังรวมถึงการไล่แก๊สเดิมที่อยู่ในรูพรุนของตัวอย่าง
(เช่นอากาศ)
เพื่อแทนที่ด้วยแก๊สที่จะใช้ในการดูดซับ
(ในกรณีของการวัดพื้นที่ผิวแบบ
single
point BET เราใช้แก๊ส
N2
30% ใน
He)
อุณหภูมิและเวลาที่ต้องใช้ในการไล่แก๊สนั้นต้องเพียงพอที่จะไล่แก๊สเดิมออกจากรูพรุนได้หมด
ในคู่มือนั้นกล่าวว่าการใช้อุณหภูมิที่สูงจะทำให้ไล่แก๊สได้เร็ว
โดยที่อุณหภูมินั้นตัวอย่างยังจะต้องมีเสถียรภาพอยู่
(ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากความร้อน)
ตัว
heating
mantle ของเครื่องนั้นสามารถให้ความร้อนได้สูงถึง
400ºC
(กรอบสีน้ำเงิน)
การหาว่าควรใช้อุณหภูมิไล่แก๊สสูงเท่าใดและควรใช้เวลานานเท่าใดนั้นต้องใช้การทดสอบ
โดยปรับเปลี่ยนอุณหภูมิและเวลาที่ใช้ไปเรื่อย
ๆ จนพบว่าได้ค่าพื้นที่ผิวไม่เปลี่ยนแปลง
(ถ้าไล่แก๊สออกไม่หมดจะได้พื้นที่ผิวต่ำเกินไป)
(กรอบสีส้ม)
จากประสบการณ์ที่กลุ่มเราเคยใช้กับ
TiO2
นั้นพบว่าอุณหภูมิที่ใช้ไล่แก๊สควรอยู่ในช่วง
200-250ºC
และเวลาที่ใช้ไล่แก๊สควรอยู่ที่ประมาณ
4
ชั่วโมง
แต่ถ้าเป็นการวัด
NH3-TPD
นั้นต้องระวังเรื่องอุณหภูมิที่ใช้
เพราะมันส่งผลต่อโครงสร้างของตำแหน่งที่เป็นกรดบนพื้นผิว
ถ้าอุณหภูมิสูงมากไปจะทำให้ตำแหน่งกรด
Brösted
(หมู่
-OH)
บนพื้นผิวสลายตัวเปลี่ยนเป็นตำแหน่งกรด
Lewis
ได้
ทำให้ความแรงที่วัดได้นั้นเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิที่ใช้ในการไล่แก๊ส
โดยส่วนตัวแล้วถ้าเป็นการวัด
NH3-TPD
ผมเองไม่อยากจะให้ไล่แก๊สที่อุณหภูมิสูงเกินไป
แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีการพิจารณากันทีละตัวอย่างไป
โดยอาศัยอุณหภูมิการทำงานของตัวอย่างนั้นเป็นหลัก
ผมจะทยอยเขียนเรื่องนี้ออกมาเพื่อเป็นบันทึกของกลุ่มเรา
แต่อาจจะใช้เวลาหน่อย
ดังนั้นในขณะนี้ก่อนที่ใครจะไปใช้เครื่อง
ChemiSorb
2750 (ที่เราเรียกว่าเครื่อง
TPx)
วิเคราะห์ตัวอย่างใด
ๆ ก็ให้มาปรึกษาผมก่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น