ด้วยค่าตั๋วรถไฟไม่ถึง
๑๐ บาท คุณก็สามารถนั่งรถไฟจากกลางเมืองหลวงไปยัง
"พรมแดน"
ได้
แต่ "พรมแดน"
ในที่นี้ไม่ใช่เส้นแบ่งประเทศนะครับ
เป็นชื่อสถานีรถไฟที่อยู่ตรงรอยต่อระหว่างกรุงเทพมหานครกับสมุทรสาคร
รถไฟสายนี้ผมเล็งเอาไว้นานแล้วว่าจะหาโอกาสนั่งเที่ยวเพื่อถ่ายรูปเล่นบรรยากาศสองข้างทาง
เพิ่งจะมีโอกาสตอนต้นเดือนที่ผ่านมา
ที่ลาหยุดพักร้อน (จะได้หลีกคนแน่น
ๆ ในช่วงวันหยุดตามที่ได้รับคำแนะนำมาจากเจ้าหน้าที่ของภาควิชา
ที่มีบ้านอยู่ริมเส้นทางรถไฟสายดังกล่าว)
แล้วจับขบวนเที่ยว
๘.๓๕
น จากวงเวียนใหญ่ไปมหาชัย
ด้วยค่าตั๋วเพียงแค่ ๑๐ บาท
เหตุผลที่ต้องจับรถขบวนนี้ก็เพราะต้องการไปต่อรถไฟเที่ยว
๑๐.๑๐
น ที่สถานีบ้านแหลม
เพราะถ้าออกจากวงเวียนใหญ่ช้ากว่านี้
ก็ต้องรอกันอีกนาน
รถไฟใช้เวลาเดินทางเพียงแค่ชั่วโมงเดียวก็ถึงมหาชัย
แต่ก็ต้องรีบเดินทางต่อไปยังท่าเรือ
(ค่าข้ามฟาก
๓ บาท)
เพื่อข้ามแม่น้ำท่าจีนไปยังสถานีบ้านแหลม
ที่อยู่อีกฟากของฝั่งแม่น้ำ
(ค่ารถจากบ้านแหลมไปแม่กลองก็
๑๐ บาทเหมือนกัน)
รถไฟจากบ้านแหลมไปยังแม่กลองมีเพียงแค่
๔ ขบวนต่อวัน
แต่ดูเหมือนสภาพรางจะได้รับการปรับปรุงให้ดีกว่าช่วงวงเวียนใหญ่มหาชัยมาก
เห็นจากการที่รถนั้นโคลงเครงน้อยกว่าเยอะ
รูปที่
๑ ป้ายสถานีรถไฟพรมแดน
ตอนรถกำลังเคลื่อนตัวออกจากสถานี
การเดินทางครั้งที่สองก็เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
ครั้งนี้เดินทางคนเดียวโดยมีวัตถุประสงค์เพียงแค่ถ่ายรูปและอัดคลิปวิดิโอเส้นทางการเดินทาง
กะว่าไปถึงมหาชัยก่อนเที่ยงสักเล็กน้อย
กินข้าวเที่ยง แล้วก็นั่งรถไฟกลับ
คลิปวิดิโอที่แนบมาด้วย
(ตัดเฉพาะช่วง
๔๐ วินาทีก่อนรถจอดที่สถานีพรมแดน)
ก็เป็นคลิปที่ถ่ายเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
เส้นทางสายนี้ไม่เหมาะกับการจะยื่นมือหรือศีรษะออกไปนอกตัวรถ
เพราะหลายช่วงของเส้นทางนั้น
ป้ายสัญญาณ อาคาร จะอยู่ใกล้ตัวรถมาก
และหลายช่วงเช่นกันที่กิ่งไม้ข้างทางนั้นครูดไปกับขบวนรถตอนรถวิ่งผ่าน
รูปที่
๒ แผนที่ที่ตั้งสถานีรถไฟพรมแดน
ด้านบน (สถานีสามแยก)
เป็นด้านที่มาจากวงเวียนใหญ่
ด้านล่าง (สถานีทุ่งสีทอง)
เป็นด้านที่มุ่งหน้าไปมหาชัย
ถนนใหญ่แนวเฉียงด้านล่างคือถนนพระราม
๒
เส้นทางรถไฟสายนี้
พอเข้าเขตสถานีรางโพธิ์ก็จะเลียบไปกับคลองระหาญที่อยู่ด้านทิศใต้ของทางรถไฟ
ช่วงเส้นทางที่ยังอยู่ในเขตกรุงเทพนั้นบรรยากาศสองข้างทางจะเป็นแบบหนึ่ง
คือเหมือนวิ่งผ่านหลังชุมชนเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น
เป็นบ้านไม้ที่ปลูกชิดติดกันที่เชื่อมต่อกันด้วยทางสัญจรเล็ก
ๆ ที่รถยนต์อาจพอวิ่งผ่านไปได้แค่นั้นเอง
แต่พอใกล้พ้นเขตกรุงเทพแล้วก็เป็นอีกแบบหนึ่ง
กลายเป็นคล้ายกับเป็นดินแดนที่คนไม่พลุกพล่าน
หลายช่วงวิ่งผ่านริมรั้วหมู่บ้านที่เต็มไปด้วยบ้านขนาดใหญ่
บริเวณที่วิ่งผ่านชุมชนนั้น
บ้านเรือนจะอยู่ใกล้กับทางรถไฟมาก
เรียกว่าใกล้แบบยื่นมือออกไปจับหลังคาบ้านได้
เหตุที่เป็นเช่นนี้เดาว่าเป็นเพราะเส้นทางสายนี้เริ่มแรกนั้นเป็นรถไฟที่เอกชนเป็นคนลงทุนสร้างและดำเนินงาน
ก่อนจะมีการควบรวมเป็นของรัฐในภายหลัง
การซื้อที่ดินสำหรับการวางรางจึงไม่กว้างมาก
เว้นแต่บริเวณบางสถานีที่ต้องมีรางให้รถไฟหลีกกัน
แต่ก็มีบางสถานีเหมือนกัน
ที่พอขบวนรถจอดทีก็ต้องจอดแบบขวางถนนเลย
รูปที่
๓ บรรยากาศบ้านริมคลองระหาญ
รถหว่างรถไฟวิ่งจากสถานีสามแยกไปพรมแดน
รูปที่
๕ ขบวนรถกำลังวิ่งผ่านป้ายสถานี
รูปที่
๖ รถไฟกำลังจะหยุดนิ่งแล้ว
สถานีนี้ดีหน่อยตรงที่มีชานชาลาเล็ก
ๆ ให้ผู้โดยสารใช้
แถมราดยางมะตอยให้ด้วย
รูปที่ ๗ จุดตัดถนนเมื่อเคลื่อนตัวออกมาจากสถานีได้เล็กน้อย
รูปที่ ๘ สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ ขณะรอรถไฟเที่ยว ๑๐.๔๐ น ภาพนี้มองจากปลายชานชาลาไปยังทางเข้าสถานี ตลอดชานชาลาก็มีของกินขายเต็มไปหมด
รูปที่ ๘ สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ ขณะรอรถไฟเที่ยว ๑๐.๔๐ น ภาพนี้มองจากปลายชานชาลาไปยังทางเข้าสถานี ตลอดชานชาลาก็มีของกินขายเต็มไปหมด
รูปที่
๙ สภาพชานชาลาสถานี
รูปนี้ถ่ายไว้เมื่อวันพฤหัสบดีที่
๕ กรกฏาคม ๒๕๖๑
เมื่อทดลองเดินทางไปจนถึงแม่กลอง
คลิปวิดิโอนั้นถ่ายด้วยกล้องโทรศัพท์
แต่ไม่ได้ตั้งความละเอียดไว้สูง
(กลัวหน่วยความจำเต็ม)
รูปที่
๓ -
๗
ที่จับออกมาจากคลิปจึงไม่ค่อยชัดเท่าไร
โดยเฉพาะช่วงที่รถวิ่งด้วยความเร็วสูง
แต่ที่เอามาลงไว้ก็เพราะไม่สามารถบันทึกคลิปวิดิโอลงกระดาษได้เมื่อพิมพ์ออกมาเท่านั้นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น