"ถ้าเป็นเวลาปรกติ
คันนี้เอามาวิ่งบนรางไม่ได้หรอก
เดี๋ยวไฟฟ้ามันลัดวงจร"
ประโยคข้างบนเป็นคำพูดที่เจ้าหน้าที่การรถไฟที่เฝ้าทางข้ามทางรถไฟบอกกับผมในวันที่ผมเอารถรางที่ต่อขึ้นมา
(รูปที่
๑)
ไปฝากเขาไว้ยังตู้ทำการ
รูปที่
๑ รถรางที่ต่อเพื่อใช้ช่วยในการขนของออกจากบ้านที่น้ำท่วม
รูปนี้ถ่ายเมื่อนำไปทดสอบที่ทางรถไฟแถวหนองมน
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้ไปสำรวจหาทางเข้าบ้านสองเส้นทางด้วยกัน
เส้นทางแรกคือเข้าทางด้านสะพานกรุงธนซึ่งพอจะหารถไปส่งยังปากซอยได้
จากนั้นต้องหาเรือต่อเข้าไปในซอยอีกกว่า
๒ กิโลเมตร
เส้นทางที่สองอาศัยแนวทางรถไฟสายใต้
(ซึ่งในขณะนี้งดวิ่งอยู่)
ตามเส้นทางนี้จะต้องเดินตามทางรถไฟจากสะพานพระราม
๖ ลงเนินต่ำไปเรื่อย ๆ
ไปยังหลังวัดเพลงบางพลัดเป็นระยะทางประมาณ
๓ กิโลเมตร โดยระยะประมาณ
๒.๕
กิโลเมตรแรกจะเป็นทางที่แห้ง
และประมาณ ๕๐๐
เมตรสุดท้ายจะมีน้ำท่วมทางเล็กน้อย
(ประมาณแค่ระดับรางหรือ
๑๕ เซนติเมตร)
จากนั้นต้องเดินลุยน้ำลึกประมาณ
๖๐-๘๐
เซนติเมตรเข้าไปอีกประมาณไม่เกิน
๕๐๐ เมตร
ผมตัดสินใจเลือกเส้นทางที่สอง
เพราะเห็นว่าเป็นเส้นทางที่ลุยน้ำน้อยที่สุดและน่าจะเสียเวลาเดินทางโดยรวมน้อยที่สุด
(สำหรับคนที่ยังเดินไหวและไม่รังเกียจที่จะเดินทางไกลนะ)
เมื่อตัดสินใจแล้วก็เลยออกแบบรถรางที่จะใช้เข็นบนทางรถไฟเพื่อใช้ขนออก
แต่เนื่องด้วยเวลา อุปกรณ์
และวัสดุที่มีจำกัด
จึงตัดสินใจหาเศษเหล็กฉากมาต่อเป็นโครง
และไปหาซื้อลูกล้อและล้อประคองมาต่อเป็นรถดังรูป
บ่ายวันวานผมบรรทุกรถรางดังกล่าวใส่ท้ายรถ
จากนั้นขับรถไปจอดที่ถนนริมทางรถไฟ
(กำลังก่อสร้างอยู่)
แล้วเริ่มออกเดินทางจากจุดนั้น
ใช้ไม่ไผ่เข็นรถดังกล่าวไปเรื่อย
ๆ จนถึงจุดถนนข้ามทางรถไฟ
จึงได้นำรถรางดังกล่าวไปบอกกับเจ้าหน้าที่ที่อยู่เฝ้าว่าของวางของเอาไว้สักหน่อยและสอบถามเรื่องระดับน้ำ
เจ้าหน้าที่การรถไฟพอเห็นรถรางที่ผมทำก็บอกว่าแปลกดี
และกล่าวกับผมด้วยประโยคที่ผมขึ้นต้น
Memoir
และบอกผมว่าโชคดีนะที่ช่วงนี้เขาตัดไฟ
ผมก็บอกเขาว่าก็เห็นว่าช่วงนี้การรถไฟงดวิ่งรถไฟสายใต้และมีความจำเป็นต้องเดินทางเส้นทางนี้
ก็เลยต้องขอประกอบรถรางชั่วคราวมาใช้งานหน่อย
แล้วกระแสไฟฟ้ามันเกี่ยวข้องอะไรกับรางรถไฟ
การที่จะไม่ทำให้รถไฟวิ่งชนกัน
(ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งตามกันหรือวิ่งสวนทางกัน)
จำเป็นต้องรู้ว่าทางรถไฟข้างหน้านั้นมีรถไฟวิ่งหรือจอดอยู่หรือเปล่า
ระบบหนึ่งที่มีการนำมาใช้งานกันคือการใช้
"Track
circuit"
"Track
circuit" นั้นจะเป็นการปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปรางรถไฟ
แล้วอาศัยหลักการว่าเวลาที่ไม่มีรถไฟอยู่บนรางกับเวลาที่มีรถไฟอยู่บนรางนั้น
เส้นทางเดินของกระแสไฟฟ้าจะต่างกัน
เพื่อให้เข้าใจง่ายลองดูรูปที่
๒ ข้างล่าง
รูปที่
๒ การทำงานของ track
circuit (รูปจาก
http://cs.wikipedia.org/wiki/Soubor:Track_circuit.png)
รูปที่
๒ ซ้ายนั้นเป็นรูปเมื่อไม่มีรถไฟอยู่บนราง
กระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายจะวิ่งตลอดแนวรางจากปลายข้างหนึ่งไปยังปลายอีกข้างหนึ่ง
(ช่วงระว่างวงจรที่เห็นเป็นสีดำนั้นจะต้องก่อสร้างโดยไม่เปิดโอกาสให้กระแสไฟฟ้าวิ่งข้ามไปได้)
และไปยังสวิตช์ควบคุมสัญญาณไฟให้เปิดสัญญาณไฟเขียว
ซึ่งแสดงว่าทางข้างหน้าว่างอยู่
แต่ถ้ามีรถไฟอยู่บนรางช่วงดังกล่าว
(รูปที่
๒ ขวา)
กระแสไฟฟ้าที่วิ่งอยู่บนรางจะถูกลัดวงจรโดยการไหลผ่านล้อเหล็กข้างหนึ่ง
ผ่านเพลาเชื่อมระหว่างล้อ
ไปยังล้อเหล็กอีกข้างหนึ่ง
กลับไปยังแหล่งจ่าย
ทำให้ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลไปถึงสวิตช์ควบคุมสัญญาณไฟ
ทำให้สัญญาณไฟเปลี่ยนไปเป็นสีแดง
ซึ่งแสดงว่ามีรถไฟอยู่ในรางช้างหน้า
รูปที่
๓ รางรถไฟบริเวณรอยต่อของ
track
circuit สองวงจร
จะเห็นสายไฟของ track
circuit ติดตั้งอยู่
Track
circuit แบบเดิมนั้นจะวางไว้เป็นช่วง
ๆ โดยระหว่างวงจรของ track
circuit
ตรงรอยต่อระหว่างรางนั้นจะต้องมีการป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลข้ามกันได้
เช่นเว้นช่องว่างไม่ให้รางสัมผัสกัน
และใช้วัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้ารองกันไมให้ผิวโลหะสัมผัสกัน
เช่นที่ระหว่างตัวนอตที่ใช้ขันกับเหล็กประกับข้างราง
และระหว่างเหล็กประกับข้างรางกับตัวราง
แต่สำหรับรางที่เชื่อมเหล็กกันต่อเนื่องเป็นเส้นยาวนั้นจะใช้วิธีการที่แตกต่างกันออกไปซึ่งตัวผมเองก็ไม่ค่อยรู้เรื่องตรงนี้เท่าไรนัก
ใครอยากรู้มากกว่านี้ก็ลองไปค้นคว้ากันเองก็แล้วกัน
รถรางที่ถ่อกันอยู่บนรางรถไฟที่ผมเห็นชาวบ้านทั่วไปส่วนใหญ่ใช้กันนั้น
มักจะใช้ตลับลูกปืนเป็นล้อวิ่งและล้อประคอง
และใช้เพลากับตัวรถเป็นไม้
ทำให้ไม่ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรซึ่งจะไปรบกวนการทำงานของ
track
circuit ได้
ตามความรู้สึกของผมแล้ว
บรรยากาศบนทางรถไฟหรือสองข้างทางรถไฟนั้นมันแตกต่างไปจากบรรยากาศสองฝากฝั่งถนนมาก
ผมว่ามันมีทั้งความสงบและธรรมชาติที่มากกว่า
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะมันเป็นเส้นทางที่ไม่ค่อยมีคนใช้เดินนั่นเอง
จะมีก็แต่ผู้ที่อาศัยรถไฟวิ่งไปมาเท่านั้น
และนี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของรถไฟที่การเดินทางโดยรถยนต์ไม่สามารถเทียบเคียงได้