มาต่อกันที่หัวข้อ
2.4
ในส่วนล่างของหน้าที่
12
ที่เกี่ยวกับระบบวาล์วรอบปั๊มและคอมเพรสเซอร์
เรื่องของระบบ
piping
รอบปั๊มหอยโข่งเคยเล่าไว้ตั้งแต่
Memoir
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๑๒๒ วันพฤหัสบดีที่
๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ เรื่อง
"ฝึกงานภาคฤดูร้อน ๒๕๕๓ ตอนที่ ๖ ระบบ piping ของปั๊มหอยโข่ง"
และใน
Memoir
ที่ตามหลังจากนั้นอีกหลายฉบับ
(เช่นในเรื่อง
"นานาสาระเรื่องการเริ่มเดินเครื่องปั๊มหอยโข่ง"
และบทความในชุด
"Piping
and Instrumentation Diagram (P&ID) รอบอุปกรณ์"
ที่ยกตัวอย่างปั๊มชนิดต่าง
ๆ รวมทั้งคอมเพรสเซอร์)
คำว่า
"block
valve" ที่ปรากฏในเอกสารหมายถึงวาล์วที่ทำหน้าที่ปิดกั้นการไหล
ส่วนจะเป็นชนิดไหนนั้น
(คือจะเป็นชนิด
gate
globe ball plug หรือ
butterfly)
ขึ้นอยู่กับแต่ละระบบ
อุปกรณ์พวกปั๊มและคอมเพรสเซอร์ที่ทำงานต่อเนื่องไม่มีหยุดพัก
มักต้องมีตัวสำรองเอาไว้สำหรับเวลาที่ต้องหยุดเดินเครื่องตัวหลักเพื่อทำการซ่อมบำรุง
ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่ต้องสามารถทำการ
isolate
(แยกออกจากระบบ)
ปั๊มหรือคอมเพรสเซอร์นั้นเพื่อที่จะได้ทำการซ่อมบำรุงได้
(ในช่วงเวลานั้นก็จะหันไปใช้ตัวสำรองทำหน้าที่แทน)
ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมี
block
valve ทั้งด้านขาเขาและขาออก
(ข้อ
2.4.1a)
ปรกติแล้วขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อด้านขาเข้าจะมีขนาดไม่เล็กกว่าจุดต่อท่อด้านขาเข้าของปั๊มหรือคอมเพรสเซอร์
ดังนั้น block
valve ของท่อด้านขาเข้าจึงควรมีขนาดเดียวกับขนาดท่อด้วย
(ข้อ
2.4.1b
และ
2.4.1c)
แต่ในกรณีของแก๊สนั้น
ถ้าแก๊สด้านขาเข้ามีความดันสูง
และโครงสร้างของตัววาล์วนั้นสามารถขังแก๊สความดันสูงไว้ภายในได้
(เช่น
ball
valve)
วาล์วตัวนั้นจึงควรต้องมีระบบระบายแก๊สความดันสูงที่ขังอยู่ภายในออกมาได้
(ข้อ
2.4.1b)
รูปที่
๒๖ ส่วนล่างของหน้าที่
๑๒/๒๒
ของเอกสาร Valve
philosophy
ข้อ 2.4.1d กล่าวว่าขนาดวาล์วทางท่อด้านขาออกควรมีขนาดเดียวกับจุดต่อท่อด้านขาออกของปั๊ม แต่ในกรณีที่มีขนาดที่แตกต่างออกไปก็ควรที่จะมีการระบุเอาไว้ในแบบด้วย (ของเหลวมันอัดปริมาตรให้เล็กลงไม่ได้ แต่แก๊สจะมีปริมาตรลดลงเมื่อความดันสูงขึ้น ดังนั้นขนาดท่อด้านขาออกจึงอาจเล็กลงได้เพื่อรักษาความเร็วในการไหล และท่อที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่าจะทนต่อความดันได้ดีกว่าท่อที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า)
รูปที่
๒๗ หน้าที่
๑๓/๒๒
ของเอกสาร Valve
philosophy
ข้อ
2.4.1e
กล่าวถึงการออกแบบระบบท่อรอบตัวปั๊ม
ซึ่งควรที่จะทำให้สามารถเคลื่อนย้ายตัวปั๊มหรืออุปกรณ์ขับเคลื่อน
(หลัก
ๆ ก็คือมอเตอร์ไฟฟ้า)
ออกไปได้โดยที่ไม่ต้องมีการถอดตัว
block
valve ตรงนี้ไม่เพียงแต่การที่ต้องออกแบบระบบท่อจากตัว
block
valve ด้านขาเข้ามายังตัวปั๊มและจากตัวปั๊มไปยัง
block
valve ด้านขาออกให้มีจุดที่สามารถถอดท่อออกได้โดยไม่ต้องไปยุ่งกับตัว
block
valve ทั้งสองด้าน
แต่ยังต้องมีพื้นที่ว่างในการทำงานทั้งบริเวณรอบข้างและทางด้านบน
(เผื่อไว้สำหรับการทำงานของอุปกรณ์ช่วยยก
ที่ต้องยกปั๊มหรืออุปกรณ์ขับเคลื่อนขึ้นบนก่อนเคลื่อนย้ายออกทางด้านข้าง)
ต่อไปเป็นหน้าที่
13
(รูปที่
๒๗)
ที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งวาล์วกันการไหลย้อนกลับ
(หัวข้อ
2.4.2)
ปั๊มหรือคอมเพรสเซอร์ชนิดลูกสูบ
(reciprocating)
จะมีวาล์วป้องกันการไหลย้อนกลับ
(check
valve) อยู่ในตัวมันอยู่แล้ว
ดังนั้นแม้ว่ามันจะหยุดการทำงาน
ของไหลด้านขาออกที่มีความดันสูงกว่ากว่าด้านขาเข้าก็จะไม่สามารถไหลย้อนกลับมาได้
แต่พวก centrifugal
หรือ
rotary
ที่ทำงานด้วยการใช้การหมุนเหวี่ยงนั้น
งของไหลด้านความดันสูงจะสามารถไหลผ่านตัวอุปกรณ์ได้โดยทำให้ตัวใบพัดนั้นหมุนกลับทิศหรือผ่านช่องว่างระหว่างตัวใบพัดกับตัวเรือน
ดังนั้นการป้องกันไม่ให้มีการไหลย้อนกลับเมื่อปั๊มหรือคอมเพรสเซอร์หยุดทำงานจึงมีความจำเป็น
แต่จะมีข้อยกเว้นนิดนึงสำหรับปั๊มที่ใช้กับของเหลวที่มีอุณหภูมิสูง
(ข้อ
2.4.2.1a)
ที่จะยอมให้มีการไหลย้อนอ้อมผ่านวาล์วกันการไหลย้อนกลับไปยังขาเข้าของปั๊มตัวสำรองได้
(คือวาล์วด้านขาเข้าของปั๊มตัวสำรองต้องเปิดทิ้งเอาไว้ด้วย)
ทั้งนี้เพื่อเป็นการอุ่นปั๊มตัวสำรองให้ร้อนอยู่เสมอพร้อมที่จะใช้งานได้ทันที
เพราะถ้าให้ของเหลวที่ร้อนไหลเข้าปั๊มที่เย็น
จะทำให้เกิดปัญหาเรื่องการขยายตัวของชิ้นส่วนต่าง
ๆ ในปั๊ม
แต่ถ้าให้ตัวปั๊มนั้นขยายตัวจนเข้าที่ที่อุณหภูมิการทำงานของของเหลวนั้น
ปัญหาดังกล่าวก็จะหมดไป
เรื่องการ bypass
วาล์วกันการไหลย้อนกลับนี้เคยเล่าไว้แล้วใน
Memoir
ปีที่
๗ ฉบับที่ ๙๑๙ วันศุกร์ที่
๙ มกราคม ๒๕๕๘ เรื่อง "การ bypass วาล์วกันการไหลย้อนกลับ"
ข้อ
2.4.2.1b
กล่าวถึงระบบท่อด้านขาออกของปั๊มแต่ละดัวที่จำเป็นต้องมีการติดตั้งวาล์วกันการไหลย้อนกลับ
ได้แก่
-
ปั๊มที่มีปั๊มสำรองต่อคู่ขนานกันอยู่
ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการไหลย้อนกลับเวลาที่ปั๊มอีกตัวหนึ่งทำงานอยู่
-
ปั๊มน้ำหล่อเย็น
-
ปั๊มที่มีระบบเริ่มต้นเดินเครื่องอัตโนมัติ
(เพราะปั๊มพวกนี้อาจต้องเปิด
discharge
valve
ทิ้งเอาไว้เพื่อให้พร้อมกับการเริ่มต้นเดินเครื่องอัตโนมัติตลอดเวลา)
-
กรณีที่ปั๊มหยุดทำงานเนื่องจากความผิดปรกติ
ร่วมกับการไม่มีวาล์วกันการไหลย้อนกลับ
สามารถทำให้กระบวนการมีปัญหาได้
ข้อ
2.4.2.1c
กล่าวถึงความจำเป็นที่ต้องมีวาล์วกันการไหลย้อนกลับในกรณีที่การไหลย้อนกลับนั้นสามารถทำให้
-
อุณหภูมิของเหลวที่ไหลย้อนกลับนั้นสูงเกินกว่าอุณหภูมิการทำงานของปั๊ม
200ºF
(ประมาณ
110ºC)
- ทำให้ของเหลวด้านขาออกจากตัวปั๊มนั้นเดือดกลายเป็นไอได้ (สองข้อแรกนี้เกี่ยวข้องกับปั๊มที่ส่งของเหลวให้กับอุปกรณ์เพิ่มอุณหภูมิให้กับของเหลวนั้น เช่นเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนหรือ heater ต่าง ๆ)
- ค่าผลต่างความดันนั้นสูงกว่าค่าผลต่างความดันปรกติของปั๊ม เช่นปั๊มที่ใช้ป้อนของเหลวปริมาณหนึ่งเข้าไปรอในถังในขณะที่ความดันในถังนั้นต่ำอยู่ แล้วหลังจากนั้นความดันในถังนั้นก็เพิ่มสูงขึ้น (จากการทำปฏิกิริยาหรือการอัดแก๊สเพิ่มความดัน หรือด้วยกระบวนการใด ๆ ก็ตามแต่) จึงต้องป้องกันไม่ให้ของเหลวในถังที่มีความดันสูง (ที่อาจสูงเกินกว่าความดันที่ตัวปั๊มจะทนได้) นี้ไหลย้อนเข้ามาในตัวปั๊ม เพราะอาจทำให้ปั๊มเสียหายได้
- ป้องกันการเกิดปรากฏการณ์กาลักน้ำ (ตรงนี้บทความบอกว่าให้ไปดูรายละเอียดในหัวข้อ 2.8.6)
- ใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันภัย "เสริม" ให้กับ block valve ในกรณีที่การไหลย้อนกลับนั้นอาจทำให้เกิดอันตรายให้กับผู้ที่ทำงานกับตัวปั๊มหรือคอมเพรสเซอร์ที่หยุดเดินเครื่องนั้น ที่ต้องเน้นคำว่า "เสริม" ก็เพราะต้องใช้ block valve เป็นอุปกรณ์ปิดกั้นการไหลหลัก ไม่ใช่ตัววาล์วกันการไหลย้อนกลับ
การไว้วางใจให้ block valve ปิดกั้นการไหลในกรณีที่มีการซ่อมบำรุงอุปกรณ์นั้น หลายค่ายเลยไม่แนะนำให้ใช้เพียงแค่ block valve แต่ให้ใช้ slip plate (ในกรณีที่ไม่มีการถอดท่อ โดยสอดเข้าไประหว่างหน้าแปลน) หรือ blind plate (ในกรณีที่มีการถอดท่อ) ร่วมด้วยเสมอ แต่ถึงกระนั้นก็ตามการติดตั้ง blind plate ที่ไม่เรียบร้อย (คือไม่ใส่ประเก็นและ/หรือไม่ปิดให้สนิท) ก็สามารถนำไปสู่หายนะได้ เช่นกรณีการระเบิดบนแท่นขุดเจาะน้ำมัน Piper Alpha ในทะเลเหนือในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ที่มีผู้เสียชีวิตกว่า ๑๖๐ ราย เป็นผลจากการถอดปั๊มไปซ่อมแล้วไม่ปิด blind plate ให้เรียบร้อย
รูปที่
๒๘ หน้าที่
๑๔/๒๒
ของเอกสาร Valve
philosophy
หัวข้อ
2.4.2.2
เรื่องตำแหน่งของการติดตั้งวาล์วกันการไหลย้อนกลับท้ายหน้า
13
มีโผล่มาแค่บรรทัดเดียวแล้วไม่มีข้อมูลอะไร
พอขึ้นหน้าใหม่คือหน้า 14
ก็เป็นเรื่องใหม่คือหัวข้อ
2.4.3
เลย
หัวข้อ
2.4.3
เป็นเรื่องของการละการติดตั้งวาล์วกันการไหลย้อนกลับ
เริ่มจากข้อ a.
ที่กล่าวไว้ว่าเป็นเรื่องยากที่จะกำหนดแนวทาง
แต่ถ้าหากพิจารณาเห็นว่าในระหว่างการเดินเครื่องตามปรกตินั้น
ถ้าหากตัวปั๊มหรือคอมเพรสเซอร์หยุดเดินเครื่องกระทันหัน
หรือการเริ่มเดินเครื่องหรือหยุดเดินเครื่องนั้นไม่ก่อให้เกิดสภาวะผิดปรกติที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานหรือตัวเครื่องจักรได้
ก็อาจจะไม่ติดตั้งวาล์วกันการไหลย้อนกลับด้านขาออกได้
แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาด้วยว่าการไหลย้อนกลับที่เกิดขึ้นนั้นจะไม่ทำให้ตัวอุปกรณ์นั้นได้รับความร้อนหรือความเย็นที่มากเกินกว่าที่ตัวอุปกรณ์จะทนได้
(เช่นพวกที่ส่งของไหลเข้าเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน)
ประเด็นการละวาล์วกันการไหลย้อนกลับตรงนี้น่าจะมาจากการเห็นว่าการติดตั้งวาล์วกันการไหลย้อนกลับนั้นก็เป็นต้นทุนตัวหนึ่ง
(โดยเฉพาะวาล์วขนาดใหญ่)
แต่ที่สำคัญกว่าน่าจะเป็นการที่วาล์วกันการไหลย้อนกลับนั้นเป็นอุปกรณ์ที่ต้องมีการตรวจสอบการทำงานว่าสามารถทำงานได้เรียบร้อยดี
เพราะเคยได้ยินวิศวกรอาวุโสท่านหนึ่งบ่นให้ฟังถึงพฤติกรรมของวาล์วกันการไหลย้อนกลับว่า
"มันจะเปิดเมื่อมันควรจะปิด
และมันจะปิดเมื่อมันควรจะเปิด"
ข้อ
b.
นั้นกล่าวถึงปัจจัยอื่นที่อาจนำมาร่วมในการพิจารณา
เช่น ความจำเป็นในการติดตั้งระบบระบายความดัน
ความสามารถในการเริ่มเดินเครื่องปั๊มตัวสำรองหรือการเดินปั๊มคู่ขนาน
ฯลฯ
การเดินปั๊มสองตัวคู่ขนานกันคือการที่ปั๊มสองตัวส่งของเหลวออกทางท่อไหลออกเดียวกัน
ในกรณีเช่นนี้ถ้ามีการติดตั้งวาล์วกันการไหลย้อนกลับและปั๊มตัวใดตัวหนึ่งนั้นสร้างความดันขาออกได้สูงกว่าอีกตัวหนึ่ง
จะทำให้วาล์วกันการไหลย้อนกลับของปั๊มตัวที่สร้างความดันด้านขาออกนั้นปิดตัวลง
ปั๊มตัวที่สร้างความดันด้านขาออกจะเสมือนกับทำงานโดยที่วาล์วด้านขาออกปิดอยู่คือไม่มีของเหลวไหลผ่านตัวปั๊ม
ซึ่งอาจทำความเสียหายให้กับตัวปั๊มได้
ข้อ
c.
เกี่ยวกับระบบที่ไม่จำเป็นต้องมีวาล์วกันการไหลย้อนกลับ
เช่นในส่วนของ reboiler
หรือระบบ
reflux
ของหอกลั่น
ระบบที่ความดันด้านขาออกประมาณว่าเท่ากับความดันด้านขาเข้า
เช่นปั๊มที่ใช้กับระบบหมุนเวียนของเหลวเพื่อการผสม
(สูบจากด้านหนึ่งของถังเพื่อป้อนกลับเข้าถังใบเดิมอีกทางด้านหนึ่ง)
เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น