ทิ้งไปกว่าสองอาทิตย์
ฉบับนี้คงเป็นตอนสุดท้ายของ
Pyrolysis
and waste heat recovery section แล้ว
เนื้อหาในส่วนนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ
operation
guideline หรือแนวทางในการเดินเครื่อง
อนึ่ง
ขอทบทวนหน่อยว่า
เอกสารที่นำมาเล่าสู่กันฟังนี้เป็นเอกสารเมื่อ
๓๐ ปีเศษที่แล้ว
ดังนั้นอาจมีบางอย่างแตกต่างไปจากวิธีการปฏิบัติปัจจุบันได้
แต่ยังเชื่อว่าหลักการในหลาย
ๆ เรื่องนั้นยังคงอยู่
หลังจากที่ป้อน
feed
(วัตถุดิบ)
จนได้อัตราการไหลตามต้องการ
และปรับอุณหภูมิด้านขาออกจากขดท่อ
(coil
outlet temperature) ให้ได้ระดับความร้อนที่ต้องการแล้ว
ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการปรับแต่งปริมาณอากาศที่เหมาะสมสำหรับการเผาไหม้เชื้อเพลิง
ตรงนี้ต้องขออธิบายเพิ่มเติมเรื่องวิธีการป้อนอากาศเข้าสู่ห้องเผาไหม้หน่อย
วิธีการป้อนอากาศเข้าสู่บริเวณที่ทำการเผาไหม้เชื้อเพลิงนั้นมีอยู่ด้วยกัน
๒ รูปแบบ รูปแบบแรกใช้การอัดอากาศเข้าไปหรือที่เรียกว่า
forced
draft (เช่นใช้พัดลมเป่าอากาศ)
วิธีการนี้จะทำให้ความดันในห้องเผาไหม้นั้น
"สูงกว่า"
ความดันด้านนอก
ดังนั้นต้องระวังเวลาที่เปิดประตู
(ที่เรียกว่า
peep
door) เพื่อตรวจสอบสภาพการเผาไหม้ภายในห้องเผาไหม้
เพราะเปลวไฟจะแลบออกมาช่องที่เปิดได้
วิธีนี้มีข้อดีตรงที่อุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมปริมาณอากาศ
(คือตัวพัดลมอัดอากาศ)
นั้นไม่ต้องเผชิญกับแก๊สร้อน
รูปแบบที่สองใช้การดูดอากาศออกทางด้านปล่อง
ซึ่งอาจใช้พัดลมดูดแก๊สร้อนทางปากปล่อง
(ดูตัวอย่างในรูปที่
๑)
หรือใช้คุณสมบัติของอากาศร้อนเองที่ลอยขึ้นสู่ด้านบนและใช้ประตูปิดเปิดที่เรียกว่า
"damper"
(ดูตัวอย่างในรูปที่
๒)
คุมความกว้างของช่องทางให้แก๊สร้อนไหลออก
ซึ่งจะไปส่งผลต่ออัตราการไหลของอากาศเข้าห้องเผาไหม้อีกที
รูปแบบที่สองนี้เรียกว่า
induced
draft วิธีการนี้ทำให้ความดันในห้องเผาไหม้นั้น
"ต่ำกว่า"
ความดันบรรยากาศข้างนอก
ทำให้ลดโอกาสที่เปลวไฟในห้องเผาไหม้จะแลบออกมาเวลาที่เปิดประตูตรวจสอบสภาพการเผาไหม้ในห้องเผาไหม้
แต่จะมีข้อเสียคืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมอัตราไหลของแก๊สร้อนนั้นต้องเผชิญกับแก๊สร้อนอยู่ตลอดเวลา
ในเอกสารที่ผมมีนั้นทาง
Lummus
ใช้วิธีการแบบ
induced
draft (คือให้ความดันในห้องเผาไหม้ต่ำกว่าความดันบรรยากาศข้างนอก)
ในการควบคุมปริมาณอากาศสำหรับการเผาไหม้
โดยแนะนำให้รักษาความดันภายในห้องเผาไหม้นั้นให้ต่ำกว่าความดันอากาศข้างนอกในช่วง
0.05
- 0.1 นิ้วน้ำ
หรือประมาณ 1.2
- 2.5 มิลลิเมตรน้ำ
(คือความดันที่เทียบเท่ากับความสูงของน้ำ
0.05
- 0.1 นิ้ว)
ถ้าค่าความดันนี้สูงเกินไป
(หมายถึงต่ำกว่าความดันบรรยากาศมากขึ้นไปอีก)
จะทำให้อากาศไหลเข้าไปมากเกินไป
ในทางกลับกันถ้าค่าความดันนี้ต่ำกว่าไป
(หมายถึงใกล้เคียงกับความดันบรรยากาศหรือสูงกว่า)
จะเพิ่มโอกาสที่จะเกิดอันตรายจากเปลวไฟพุ่งออกมาเมื่อเปิดประตูตรวจสอบสภาพการเผาไหม้ภายใน
โดยปริมาณออกซิเจนที่หลงเหลือจากการเผาไหม้
(ที่มาจากอากาศส่วนเกินที่เรียกว่า
excess
air) ในแก๊สร้อนที่ออกทางปากปล่อง
ควรอยู่ในช่วงระหว่าง 2-3%
ในระหว่างการเดินเครื่องนั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีการเกิด
"coke"
สะสมในระบบ
ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของขดท่อใน
radiation
zone เองหรือที่ตัว
transfer
line exchanger (TLE) และเมื่อ
coke
สะสมมากถึงระดับหนึ่งก็ต้องหยุดการเดินเครื่องเพื่อกำจัด
coke
ออก
เพราะ coke
ไปขัดขวางการส่งผ่านความร้อนผ่านผนังท่อ
ทำให้ผิวท่อในส่วน radiation
zone ร้อนจัดเกินไป
หรือการลดอุณหภูมิที่
transfer
line exchanger ทำได้ไม่ดี
รูปที่
๑ ตัวอย่างของ Fired
process heater ที่ใช้พัดลมดูดอากาศควบคุมปริมาณอากาศสำหรับการเผาไหม้
ตัวอย่างปัจจัยที่บ่งบอกว่ามีการสะสมของ
coke
ในระบบมากเกินไปได้แก่
-
อุณหภูมิผิวท่อใน
radiation
zone นั้นสูงเกินไป
(เช่นไต่ไปถึงระดับ
1100ºC)
-
ความดันลดระหว่างทางเข้า
radiant
section และที่ทางออกของ
TLE
สูงเกิน
15
psi
-
อุณหภูมิแก๊สด้านขาออกของ
TLE
นั้นสูงเกินกว่า
590ºC
(อุณหภูมิแก๊สด้านขาออกของ
TLE
นี้ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตด้วยนะ
ค่าตัวเลขนี้คิดว่าเป็นกรณีที่ใช้แนฟทาเป็นวัตถุดิบ)
รูปที่
๒ ตัวอย่างของ Fired
process heater ที่ใช้
"damper"
ควบคุมปริมาณอากาศสำหรับการเผาไหม้
ระยะเวลาเดินเครื่องจนถึงเวลาที่ต้องทำการกำจัด
coke
นั้นเรียกว่า
"Run
length"
ระยะเวลานี้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบที่ใช้และรูปแบบการเดินเครื่อง
เอกสารของ Lummus
นั้นกล่าวว่าในกรณีที่ใช้
gasoline
เป็นวัตถุดิบ
ระยะเวลา Run
length ที่
30
วันถือว่ายอมรับได้
(คือต้องกำจัด
coke
ทุก
ๆ ประมาณ 30
วัน)
ในกรณีที่ใช้อีเทนเป็นวัตถุดิบนั้นสามารถยืดระยะเวลา
Run
length ไปได้ถึง
60
วัน
แต่ทั้งนี้จะต้องคอยควบคุมปริมาณสารประกอบกำมะถัน
(ทำหน้าที่เป็น
catalsyt
poison ที่ไปช่วยลดการเกิด
coke
บนผิวท่อ)
ให้อยู่ที่ระดับ
100
ppm
การกำจัด
coke
ที่สะสมในท่อในส่วนของ
radiation
zone ทำได้ด้วยการป้อน
ไอน้ำ+อากาศ
หรือ ไอน้ำ เข้าแทนที่ไฮโดรคาร์บอน
coke
นั้นสามารถทำปฏิกิริยากับไอน้ำที่อุณหภูมิสูงกลายเป็นแก๊ส
และเผาไหม้กับอากาศกลายเป็น
CO2
การใช้
ไอน้ำ+อากาศ
นั้นจะนิยมกว่าเพราะทำได้ง่ายและใช้เวลาสั้นกว่า
แต่สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงคือปฏิกิริยาระหว่าง
coke
กับออกซิเจนที่ป้อนเข้าไปนั้นเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน
ที่อุณหภูมิต่ำเกินไปปฏิกิริยาจะไม่เกิด
แต่ถ้าใช้อุณหภูมิสูงเกินไป
ความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้
coke
ก็สามารถทำให้เนื้อโลหะของท่อนั้นเสียหายได้
ในเอกสารของ
Lummus
นั้นแนะนำให้ทำการกำจัด
coke
(ที่เรียกว่า
decoking)
ทันทีที่ตัดไฮโดรคาร์บอนออกจากระบบ
(คือปิดการไหลของไฮโดรคาร์บอนที่ใช้เป็น
feed
และป้อน
ไอน้ำ+อากาศ
เข้าแทนที่ทันที)
วิธีการนี้ช่วยลดเวลาในการให้ความร้อนแก่ขดท่อ
ในระหว่างการเผาไหม้นี้จะคอยตรวจสอบอุณหภูมิแก๊สร้อนด้านขาออกจากขดท่อ
(coil
outlet temeperature) ให้อยู่ในช่วงระหว่าง
704
- 850ºC
โดยค่าที่เหมาะสมคือที่ระดับ
800ºC
ที่อุณหภูมิต่ำเกินไปการเผาไหม้
coke
จะเกิดได้ไม่ดี
แต่ถ้าอุณหภูมิสูงเกินไปจะมีอัตราการเผาไหม้ที่เร็วเกินไปจนอาจทำให้อุณหภูมิผิวโลหะของท่อสูงเกินกว่า
1100ºC
ได้
ในช่วงเริ่มแรกนั้นจะผสมอากาศที่ความเข้มข้น
10%
เข้ากับไอน้ำ
และตรวจวัดปริมาณ CO2
ที่เกิดขึ้นในแก๊สที่ออกมาจาก
radiation
zone ในช่วงแรกของการเผาไหม้จะมี
CO2
ออกมาในปริมาณมาก
และค่อย ๆ ลดต่ำลง เมื่อปริมาณ
CO2
ที่วัดได้ลดต่ำกว่า
1%
ก็ให้เพิ่มสัดส่วนอากาศอีก
10%
เป็น
20%
พอพบว่าปริมาณ
CO2
ที่เกิดขึ้นลดต่ำลงอีกก็ให้เพิ่มปริมาณอากาศขึ้นอีก
10%
และทำอย่างนี้ไปเรื่อย
ๆ จนกระทั่งสัดส่วนของอากาศเป็น
60%
ก็จะถือว่ากำจัด
coke
ได้สมบูรณ์
แต่เฉพาะ
coke
ในท่อในส่วนของ
radiation
zone เท่านั้นที่ถูกเผา
coke
ส่วนที่อยู่ใน
TLE
ยังคงอยู่
อุณหภูมิในส่วนของ
transfer
line exchanet (TLE) นั้นไม่มากพอที่จะทำให้
coke
ที่สะสมที่นี่เกิดการลุกไหม้ได้
และที่สำคัญก็คือ TLE
ไม่ได้ออกแบบมาให้รับอุณหภูมิสูง
(ด้าน
shell
นั้นมีน้ำหล่อตลอดเวลา)
การทำความสะอาด
TLE
จึงต้องใช้การเปิดออกเพื่อทำความสะอาด
(เช่นใช้น้ำความดันสูงฉีดไล่
coke
ที่เกาะอยู่)
กล่าวคือพอเผา
coke
ในท่อใน
raidation
zone เสร็จแล้ว
ก็หยุดการทำงานของ fired
process heater แล้วค่อยทำความสะอาด
TLE
อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพึงระลึกไว้ก็คือท่อในส่วน
radiation
zone ที่ต้องรับอุณหภูมิสูง
และยังต้องแบกรับน้ำหนักของตัวเอง
(โดยเฉพาะท่อที่วางตัวในแนวดิ่ง)
มีโอกาสที่จะเสื่อมสภาพเนื่องจาก
"creep
- ความคืบ"
creep เป็นความเสียเมื่อโลหะต้องรับแรง
"ที่แม้ว่าจะไม่มากพอที่จะดึงให้เนื้อโลหะขาดจากกัน"
แต่ต้องรับแรงนั้น
"ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน"
ที่อุณหภูมิสูงนั้นความสามารถในการรับแรงดึงสูงสุดที่ทำให้เนื้อโลหะขาดจากกันนั้นจะลดลง
แต่น้ำหนักของท่อโลหะไม่ได้เปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ
ดังนั้นขนาดของแรง (คือน้ำหนักท่อ)
ที่ตัวท่อโลหะต้องแบกรับ
จะเข้าใกล้ขนาดของแรงดึงสูงสุดที่ท่อนั้นจะรับได้
ณ อุณหภูมินั้น
โอกาสที่ท่อจะเสียหายเนื่องจากการเกิด
creep
ก็จะมากไปด้วย
ยิ่งเป็นท่อที่ต้องรับความดัน
เช่นท่อน้ำที่ใช้ในการผลิตไอน้ำความดันสูง
โอกาสเกิดการฉีกขาดตามแนวยาวเนื่องจาก
creep
ก็จะมากขึ้น
อีกปัญหาหนึ่งที่เกิดจาก
coke
คือการที่
coke
ที่เกาะอยู่บนผิวท่อนั้นหลุดร่อนออกมา
ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาท่ออุดตัดได้โดยเฉพาะตำแหน่งข้องอที่อยู่ด้านล่าง
การหลุดร่อนนี้มีโอกาสเกิดขึ้นถ้าตัวท่อนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
เช่นเมื่อระบบมีปัญหา
หรือต้องทำการหยุดการเดินเครื่องเป็นช่วงเวลาหนึ่ง
(ปิดการให้ความร้อน)
ก่อนที่จะกลับไปเริ่มการทำงานใหม่
(ให้ความร้อนใหม่)
(หมายเหตุ
:
วิธีการหนึ่งในการกำจัดสนิมบนผิวท่อด้านในคือการใช้ไอน้ำให้ความร้อนแก่ท่อ
สนิมเหล็กและเนื้อเหล็กนั้นมีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวที่ไม่เท่ากัน
อุณหภูมิที่เพิ่มสุงทำให้ทั้งสนิมเหล็กและเนื้อเหล็กขยายตัว
แต่ด้วยอัตราการขยายที่ไม่เท่ากัน
สนิมเหล็กจึงหลุดร่อนออกมาจากผิวท่อเหล็ก)
coke
เป็นสารประกอบที่เป็นของแข็งที่มีค่าอัตราส่วนอะตอม
C:H
ที่สูง
(คือมี
C
มากแต่
H
น้อย)
ส่วนค่านี้จะมากน้อยเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาใช้และสภาวะการทำงาน
coke
ที่มีอัตราส่วน
C:H
ต่ำ
(คือมีอะตอม
Hเยอะ)
จะเผาไหม้ได้ง่ายกว่า
coke
ที่มีอัตราส่วน
C:H
สูง
(ยิ่งสัดส่วน
C:H
เพิ่มสูงขึ้นหรือมีอะตอม
H
ลดลง
coke
จะมีโครงสร้างเข้าใกล้
graphite
มากขึ้น
จะเผาทำลายได้ยากขึ้น)
ในกรณีของการใช้อีเทนเป็นสารตั้งต้น
แม้ว่าจะเกิด coke
น้อยกว่าการใช้สารตั้งต้นที่เป็นแนฟทาหรือ
gas
oil แต่
coke
ที่เกิดจากอีเทนจะมีค่าอัตราส่วน
C:H
ที่สูงกว่า
จึงมีความแข็งที่มากกว่าและเผาทำลายได้ยากกว่า
และอาจทำให้ heater
tube นั้นเสียหายได้ถ้าหาก
heater
tube มีอุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็วโดยที่ไม่ได้มีการกำจัด
coke
ก่อน
ส่วน coke
ที่เกิดจากแนฟทาและ
gas
oil นั้นมีค่าอัตราส่วน
C:H
ที่ต่ำกว่า
(คือมีสัดส่วน
H
สูง)
จึงมีความหนาแน่นที่ต่ำกว่าและเผาไหม้ได้ง่ายกว่า
เนื้อหาในส่วน
Pyrolysis
and waste heat recovery คงจะจบเพียงแค่นี้
ครั้งต่อไปก็จะเป็นส่วนของ
Quench
water system
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น