Memoir ฉบับนี้นำมาจากเอกสารคำสอนวิชา ๒๑๐๕-๒๗๐ เคมีวิเคราะห์ เรื่อง "Practical laboratory (4) : ควรใช้สารตัวอย่างในปริมาณเท่าใด" ซึ่งเผยแพร่ให้นิสิตป.ตรี ปี ๒ เมื่อวันจันทร์ที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๓
ในการทดลองนั้นนิสิตป.ตรี ได้รับตัวอย่างที่เป็นน้ำปลา (แจกให้ไปทั้งขวด) เพื่อหาปริมาณ Cl- ด้วยการตกตะกอนกับสารละลาย AgNO3 แล้วกรองตะกอน AgCl ที่ได้ไปชั่งน้ำหนัก หรือโดยการไทเทรตกับสารละลาย AgNO3 (วิธีการของ Mohr) หรือหา AgNO3 ที่เหลือจากการตกตะกอน AgCl (วิธีการของ Volhard)
สารตัวอย่างอีกตัวได้แก่น้ำทะเลเพื่อหาปริมาณ SO42- โดยการตกตะกอนกับสารละลาย BaCl2 แล้วกรองเอาตะกอน BaSO4 ไปชั่งน้ำหนัก
ความยากอย่างแรกของการทดลองเหล่านี้คือ "ไม่ได้กำหนดว่านิสิตจะต้องใช้ตัวอย่างในปริมาตรเท่าใด"
ถ้านิสิตใช้ตัวอย่างมากเกินไป ปริมาณรีเอเจนต์ต่าง ๆ ที่เตรียมเอาไว้ก็จะไม่พอใช้ หรือทำให้สิ้นเปลืองมาก
ในทางตรงกันข้ามถ้านิสิตใช้ตัวอย่างน้อยเกินไป ความคลาดเคลื่อนจากการวัดจะส่งผลต่อค่าที่วัดได้มาก
เนื้อหาใน Memoir นี้เป็นการให้แนวทางสำหรับทดลองหาปริมาตรที่เหมาะสมสำหรับสารตัวอย่างที่ควรนำมาใช้ในการวิเคราะห์แต่ละครั้ง ซึ่งเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อพวกคุณ เพราะเป็นเรื่องปรกติที่เรามักต้องทำการวิเคราะห์สารตัวอย่างโดยที่ไม่รู้ว่าความเข้มข้นของสารที่ต้องการวัดนั้นอยู่ในระดับใด (เช่นควรต้องนำสารตัวอย่างกี่ไมโครลิตร (ในกรณีที่เป็นของเหลว) หรือมิลลิลิตร (ในกรณีที่เป็นแก๊ส) มาฉีด GC)
อย่างที่ได้กล่าวไว้ในห้องเรียนแล้วว่าสิ่งที่อยู่ในตำราเรียนนั้นออกแบบมาเพื่อให้ง่ายต่อการสอนและการเรียน ตัวอย่างต่าง ๆ ที่อยู่ในบทเรียน (ไม่ว่าจะเป็นภาคทฤษฎีหรือภาคปฏิบัติ) นั้นเป็นตัวอย่างที่มักออกแบบมาเพื่อให้สะดวกแก่ผู้สอนในการจัดเตรียมอุปกรณ์ สารเคมี ฯลฯ และให้ความสะดวกแก่ผู้เรียนในการเรียน ซึ่งจะเห็นได้ว่ามักจะระบุปริมาณสารตัวอย่างที่ต้องใช้ และปริมาณรีเอเจนต์ต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในแต่ละขั้นตอนเอาไว้อย่างละเอียด
แต่ในการทำงานจริงนั้นปัญหาพบกันเป็นประจำคือเราต้องเผชิญกับตัวอย่างที่เราไม่ทราบว่ามีความเข้มข้นของสารต้องการที่วิเคราะห์อยู่ในระดับใด ทำให้เราไม่สามารถบอกได้เลยว่า "ควรใช้สารตัวอย่างในปริมาณเท่าใด" ในการวิเคราะห์ และที่สำคัญคือคำตอบของปัญหานี้ไม่อยู่ในตำราเรียนซะด้วย
ในกรณีที่เราพอจะทราบก่อนแล้วว่าตัวอย่างนั้นมีสารที่ต้องการวิเคราะห์อยู่ประมาณเท่าใด การกำหนดปริมาณตัวอย่างที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์ก็จะทำได้ง่ายขึ้น
แต่สำหรับตัวอย่างที่เราไม่มีประสบการณ์มาก่อน เรามักไม่ทราบระดับความเข้มข้นของสารที่ต้องการวิเคราะห์ในสารตัวอย่าง ทำให้ไม่สามารถกำหนดปริมาณสารตัวอย่างที่ต้องนำมาวิเคราะห์ได้ ทำให้อาจต้องมีการทำการทดลองหลายครั้งเพื่อให้ผลการวิเคราะห์นั้นถูกต้อง
ตัวอย่างของปัญหานี้ที่พวกคุณประสบมาก็คือการหาความเข้มข้นของเกลือในน้ำปลา และความเข้มข้นของซัลเฟตในน้ำทะเล
ความเข้มข้นของเกลือในน้ำปลานั้นขึ้นอยู่กับสูตรส่วนผสมของผู้ผลิตแต่ละราย แต่สูตรส่วนผสมที่อยู่ข้างขวดนั้นก็เป็นสูตรส่วนผสมของ เกลือ + ปลา + อื่น ๆ (เช่น กากปลา น้ำตาล ผงชูรส) ที่ใช้ในการหมัก ไม่ใช่ความเข้มข้นของแต่ละสารที่อยู่ในน้ำปลาที่ได้ ส่วนความเข้มข้นของซัลเฟตในน้ำทะเลนั้นก็ยังขึ้นกับแหล่งที่ทำการเก็บและช่วงระยะเวลาที่ทำการเก็บอีก
ในที่นี้จึงจะให้แนวทาง (ผมเขียนขึ้นจากประสบการณ์ของตนเอง ดังนั้นอย่าไปคาดหวังว่าจะหาได้ในหนังสือใด) ในการประมาณปริมาณสารตัวอย่างที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์ โดยจะใช้ตัวอย่างจากการทดลองหาปริมาณคลอไรด์ในน้ำปลาและปริมาณซัลเฟตในน้ำทะเลที่พวกคุณได้ทำกันไปแล้ว
๑. การประมาณความเข้มข้นของสารตัวอย่าง (เชิงคุณภาพ)
สิ่งแรกที่เราพอจะทำได้ก็คือประมาณ (เชิงคุณภาพ) ก่อนว่าสารตัวอย่างนั้นมีสารที่เราต้องการวิเคราะห์อยู่ในปริมาณมากหรือน้อย ซึ่งเราทำได้โดยเอาสารตัวอย่างมาในปริมาณหนึ่งแล้วทดลองหยดรีเอเจนต์ลงไป แล้วสังเกตปริมาณตะกอนที่เกิดขึ้น ถ้าเห็นตะกอนเกิดขึ้นหนาแน่นมากก็แสดงว่าความเข้มข้นของสารที่ต้องการวิเคราะห์นั้นสูง แต่ถ้าเห็นว่าเกิดขึ้นเบาบางก็แสดงว่าความเข้มข้นของสารที่ต้องการวิเคราะห์นั้นต่ำ
แต่วิธีนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ที่ทำการวิเคราะห์ว่าเคยวิเคราะห์ตัวอย่างที่มีความเข้มข้นในระดับใดมาบ้าง สำหรับผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์หรือมีประสบการณ์น้อยนั้นอาจใช้วิธีเตรียมสารละลายที่ทราบความเข้มข้นของสารที่ต้องการวิเคราะห์ขึ้นมาก่อน จากนั้นจึงหยดรีเอเจนต์ลงไป แล้วค่อยเปรียบเทียบปริมาณตะกอนที่เกิดขึ้นระหว่างสารตัวอย่างและสารละลายที่เราเตรียมขึ้นมา
อีกวิธีการหนึ่งที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ในแลปของเราคือการใช้การวัดค่าการนำไฟฟ้า ซึ่งถ้าสารละลายมีค่าการนำไฟฟ้าก็สูงแสดงว่ามีไอออนอยู่มาก
แต่การแปลผลค่าการนำไฟฟ้าก็ต้องระวังให้ดี เพราะเป็นการวัดค่าการนำไฟฟ้าของไอออนที่เราต้องการตกตะกอนและไอออนที่เราไม่ต้องการตกตะกอน
ในกรณีของน้ำปลานั้นเราอาจถือได้ว่าไอออนส่วนใหญ่ที่อยู่ในน้ำเป็น Na+ และ Cl- ที่มาจากการละลายของเกลือ NaCl ดังนั้นถ้าเห็นค่าการนำไฟฟ้าสูงก็แสดงว่าความเข้มข้นของเกลือ NaCl ควรจะสูงตามไปด้วย
แต่ในกรณีของน้ำทะเลนั้นเราไม่ทราบว่าประกอบด้วยไอออนอะไรบ้าง รู้แต่ว่ามี Na+ และ Cl- ในปริมาณที่มาก แต่ไอออนที่เราต้องการวัดคือซัลเฟต (SO42-)
นอกจากนี้ค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายยังขึ้นอยู่กับน้ำหนักของไอออนด้วย (ที่จำนวนประจุเท่ากัน) กล่าวคือสารละลายที่ประกอบด้วยไอออนที่เบากว่าจะเห็นว่ามีค่าการนำไฟฟ้าสูงกว่าสารละลายที่ประกอบด้วยไอออนที่หนักกว่า (คุณควรเห็นค่าการนำไฟฟ้าของสารละลาย NaCl สูงกว่าของสารละลาย KI ที่ความเข้มข้นโดยโมลเท่ากัน)
ว่าง ๆ ก็ลองไปคิดดูเล่น ๆ ว่าน่าจะมีวิธีการอื่นอีกได้ไหม
๒. ปริมาณที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ (เชิงปริมาณ)
ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดปริมาณสารตัวอย่างที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์คือระดับความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์
ลองนึกภาพคุณใช้กระบอกตวงขนาด 100 ml ตวงของเหลวปริมาตร 10 ml กับ 50 ml
ความคลาดเคลื่อนในการอ่านระดับของเหลวที่ขีด 10 ml และ 50 ml นั้นจะเท่ากัน ในที่นี้สมมุติว่าคลาดเคลื่อนในระดับ 0.05 ml
ความคลาดเคลื่อนในระดับ 0.05 ml จากปริมาตรทั้งหมด 10 ml หมายถึงความผิดพลาดในการวัด 0.5% ในขณะที่ความคลาดเคลื่อนในระดับ 0.05 ml จากปริมาตรทั้งหมด 50 ml หมายถึงความผิดพลาดในการวัดเพียง 0.1% หรือน้อยกว่าในกรณีของการวัดปริมาณ 10 ml ถึง 5 เท่า
ดังนั้นถ้าจะตวงของเหลวปริมาณ 10 ml โดยใช้กระบอกตวง การตวงโดยใช้กระบอกตวงขนาด 10 ml จะให้ความผิดพลาดที่ต่ำกว่าการใช้กระบอกตวงขนาด 100 ml เพราะว่ากระบอกตวงขนาด 10 ml มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า เมื่อปริมาตรของเหลวเปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อยก็จะสังเกตเห็นการเปลี่ยนระดับความสูงของของเหลวได้ง่ายกว่าการใช้กระบอกตวงขนาด 100 ml ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า
ในกรณีของการชั่งน้ำหนักนั้น (แลป gravimetric) ปัจจัยที่มีส่วนในการกำหนดความถูกต้องคือน้ำหนักของอุปกรณ์ที่ใช้เก็บตะกอนและความละเอียดของเครื่องชั่งที่ใช้
เครื่องชั่งที่พวกคุณใช้งานนั้นเป็นเครื่องชั่งความละเอียด 5 ตำแหน่ง (ระดับ 0.01 mg) แต่การชั่งให้ถูกต้องถึงตำแหน่งที่ 5 (0.01 mg) นั้นต้องใช้ความระมัดระวังสูง และที่ผ่านมานั้นในระดับการทำงานของพวกคุณนั้นคาดหวังความถูกต้องได้อย่างมากที่สุดคือตำแหน่งที่ 4 (0.1 mg) หรืออาจเพียงแค่ตำแหน่งที่ 3 (0.001 g) ด้วยซ้ำ
ดังนั้นน้ำหนักของตะกอนที่ตกได้ ควรมีค่ามากเพียงพอที่จะทำให้ความคลาดเคลื่อนจากการชั่งนั้นไม่ส่งผลที่มีนัยสำคัญต่อน้ำหนักที่ชั่งได้
ตัวอย่างเช่นได้ตะกอน 1 g ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.001 g ถือว่าผิดพลาดไป 0.1% แต่ถ้าได้ตะกอน 0.05 g ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.001 g จะผิดพลาดไปถึง 2%
แต่ต้องไม่ลืมนะว่าความผิดพลาดในการชั่งน้ำหนักมีโอกาสเกิดสองครั้งคือตอนที่ชั่ง crucible เปล่ากับตอนที่ชั่ง crucible ที่มีตะกอนอยู่
อีกปัจจัยหนึ่งคือน้ำหนักของตะกอนที่ตกได้ควรมากพอที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของ crucible ได้ชัดเจน ที่ผ่านมามีบางรายนั้นตกตะกอนได้น้อยมาก เมื่อนำ crucible ก่อนเก็บตะกอนและหลังจากตะกอนไปชั่งน้ำหนัก ปรากฏว่าน้ำหนัก crucible รวมกับตะกอนกลับน้อยกว่าน้ำหนัก crucible เปล่าเสียอีก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการทำงานนั้นมีความคลาดเคลื่อนสูงมาก
และในการกรองที่ใช้กระดาษกรอง (ตะกอนซัลเฟต) และต้องทำการเผากระดาษกรองทิ้งไปนั้น ในความเป็นจริงนั้นตัวกระดาษกรองสำหรับงานเคมีวิเคราะห์เองก็ไม่ได้สลายตัวเป็นแก๊สไปหมด ยังมีเถ้าหลงเหลืออยู่บ้างแต่ก็น้อยมาก (ตามมาตรฐานที่ยอมรับกัน) ดังนั้นปริมาณตะกอนที่ตกได้ก็ควรมากเพียงพอที่จะกลบน้ำหนักของเถ้าที่หลงเหลือหลังการเผากระดาษทิ้งไปด้วย
การทดลองเรื่องการไทเทรตด้วยการตกตะกอน (precipitation titration) นั้นจะง่ายกว่าเพราะว่าพวกคุณทราบระดับความเข้มข้นของเกลือในน้ำปลามาแล้ว (จากการทดลอง gravimetric)
แต่การทดลองมีปัญหามากอันหนึ่งคือวิธีการของ Volhard ที่ต้องใส่สารละลาย AgNO3 ให้มากเกินพอ
บางกลุ่มนั้นใช้ความเข้มข้นที่ได้จากแลป gravimetric แล้วกะว่าใส่เกินพอเพียงแค่ 1 ml ก็พอ
แต่ปรากฏว่าที่คิดว่าใส่เกินพอนั้นกลับกลายเป็นใส่ไม่มากเพียงพอ เพราะความเข้มข้นที่ได้จากแลปก่อนหน้านั้นเป็นความเข้มข้นที่ต่ำเกินไป
ถ้าคุณใส่สารละลาย AgNO3 มากเกินพอไปเพียงเล็กน้อย ปริมาณสารละลาย SCN- ที่ใช้ในการไทเทรตก็จะน้อยกว่าการใส่สารละลาย AgNO3 มากเกินพอไปมาก ซึ่งตรงจุดนี้ก็จะไปส่งผลถึงขนาดความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์ในการอ่านตัวเลขจากบิวเรต ซึ่งเป็นเหมือนกับการอ่านตัวเลขจากกระบอกตัวที่กล่าวมาข้างต้น
ตัวอย่างเช่นถ้าคุณหยดสารละลาย SCN- เพียงแค่ 1 ml การอ่านตัวเลขบนบิวเรตของคุณอาจมีความคลาดเคลื่อนในระดับ 0.01 ml แต่ถ้าใส่สารละลาย AgNO3 มากเกินพอมากขึ้น คุณอาจต้องหยดสารละลาย SCN- เพิ่มขึ้นเป็น 10 ml แต่ความคลาดเคลื่อนในการอ่านตัวเลขบนบิวเรตก็ยังอยู่ที่ระดับ 0.01 ml เช่นกัน แต่ความคลาดคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ขนาด 0.01 ml จาก 1 ml นั้นมันหมายถึงความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์ 1% ในขณะที่ความคลาดคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ขนาด 0.01 ml จาก 10 ml นั้นมันหมายถึงความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์เพียงแค่ 0.1% หรือน้อยกว่า 10 เท่า
มาถึงตรงจุดนี้อาจมีคนสงสัยว่าถ้าเช่นนั้นเปลี่ยนไปใช้บิวเรตขนาด 100 ml เลยดีไหมจะได้ใช้สารละลาย AgNO3 มากเกินพอได้มาก ๆ
แต่บิวเรตยิ่งมีขนาดใหญ่ขึ้น ความละเอียดของสเกลก็จะยิ่งน้อยลง ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ในการอ่านค่าแต่ละขีดบนบิวเรตก็จะสูงกว่าการใช้บิวเรตขนาดเล็กที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า
ส่วนเรื่องของการไทเทรตกรด-เบสนั้นขอเก็บเอาไว้ก่อน เอาไว้รอให้พวกคุณส่งรายงานกันก่อนแล้วจะเขียนเรื่องนี้อีกครั้ง
หมายเหตุ
1. การหาปริมาณคลอไรด์และซัลเฟตด้วยการตกตะกอนและนำตะกอนไปชั่งน้ำหนัก
ปริมาณ chloride ในสารละลายตัวอย่างสามารถหาได้โดยการตกตะกอน chloride ด้วยสารละลาย AgNO3 ในสารละลายที่มีสภาพที่เป็นกรดเพื่อป้องกันการตกตะกอนร่วมของแอนไอออนบางชนิด ปฏิกิริยาการตกตะกอนคือ
Ag+ + Cl- --> AgCl (ตะกอนขาว)
ตะกอน AgCl สามารถละลายได้ใน NH4OH แต่ละลายได้น้อยในสารละลาย HNO3 เจือจาง ตะกอน AgCl เมื่อกระทบกับแสงสว่าง ที่ผิวจะกลายเป็นสีม่วงอ่อนหรือดำ เพราะเกิดการสลายตัวให้โลหะเงิน การกรองตะกอน AgCl ทำได้โดยการกรองผ่าน sintered glass filter crucible เบอร์ 3 หรือเบอร์ 4
ส่วน Sulfate (SO42-) สามารถหาปริมาณได้ในรูปของ barium sulfate (BaSO4) โดยการตกตะกอนด้วย barium chloride (BaCl2) ดังสมการ
SO42- + Ba2+ ---> BaSO4 (ตะกอนสีขาว)
ตะกอน BaSO4 ที่ได้มีลักษณะละเอียดสีขาว ละลายน้ำได้น้อยมาก
2. การหาปริมาณคลอไรด์ด้วยการไทเทรต
ก) Volhard method
วิธีการนี้เป็นการหาปริมาณ chloride โดยอ้อม โดยปริมาณของ chloride ในสารตัวอย่างจะถูกตกตะกอนด้วยสารละลายมาตรฐาน AgNO3 ในปริมาณที่แน่นอนให้มากเกินพอ ดังสมการ
Ag+ + Cl- --> AgCl (ตะกอนขาว)
เมื่อ chloride ตกตะกอนหมดแล้ว จะมี Ag+ หลงเหลืออยู่ในสารละลาย ซึ่งจะถูกไทเทรตด้วยสารละลายมาตรฐาน NH4SCN เกิดเป็นตะกอน AgSCN (Silver thiocyanate) ดังสมการ
Ag+ + SCN- --> AgSCN
โดยมี ferric alum เป็น indicator ดังสมการ
SCN- + Fe+ --> Fe(SCN)2+ (สารละลายสีแดง)
ข) Mohr's method
วิธีการนี้เป็นการหาปริมาณ chloride โดยตรง โดยอาศัยปฏิกิริยาการตกตะกอนของเกลือ AgCl ที่เกิดขึ้น ที่จุดยุติ Ag+ ส่วนเกินที่เติมเข้าไป จะทำปฏิกิริยากับ CrO42- (Chromate ion) เกิดเป็นตะกอนอิฐสีแดงของ Ag2CrO4 (Silver chromate) ดังสมการ
Ag+ + Cl- --> AgCrO4 (ตะกอนสีแดงอิฐ)
บันทึกช่วยจำของกลุ่มวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะออกไซด์ บันทึกความจำของวิศวกรเคมีผู้ลงมือปฏิบัติ (mo.memoir@gmail.com)
วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ควรใช้สารตัวอย่างในปริมาณเท่าใด MO Memoir : Thursday 6 July 2553
ป้ายกำกับ:
การตกตะกอน,
การทดลอง,
การไทเทรต
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ตัวเร่งปฏิกิริยาและการทดสอบ
- การกำจัดสีเมทิลีนบลู
- การคำนวณพื้นที่ผิวแบบ Single point BET
- การคำนวณพื้นที่ผิวแบบ Single point BET ตอนที่ ๒ ผลกระทบจากความเข้มข้นไนโตรเจนที่ใช้
- การจำแนกตำแหน่งที่เป็นกรด Brönsted และ Lewis บนพื้นผิวของแข็งด้วยเทคนิค Infrared spectroscopy และ Adsorbed probe molecules
- การจำแนกตำแหน่งที่เป็นเบส Brönsted และ Lewis บนพื้นผิวของแข็งด้วยเทคนิค Infrared spectroscopy และ Adsorbed probe molecules
- การใช้ข้อต่อสามทางผสมแก๊ส
- การใช้ Avicel PH-101 เป็น catalyst support
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๑ ขั้นตอนของการเกิดปฏิกิริยาบนตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๒ การดูดซับบนพื้นผิวของแข็ง
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๓ แบบจำลองไอโซเทอมการดูดซับของ Freundlich
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๔ แบบจำลองไอโซเทอมการดูดซับของ Langmuir
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๕ แบบจำลองไอโซเทอมการดูดซับของ Temkin
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๖ แบบจำลองไอโซเทอมการดูดซับของ BET
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๗ ตัวอย่างไอโซเทอมการดูดซับของ BET
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๘ ตัวอย่างไอโซเทอมการดูดซับของ BET (๒)
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๙ ตัวอย่างไอโซเทอมการดูดซับของ BET (๓)
- การเตรียมตัวอย่างตัวเร่งปฏิกิริยาแบบผงให้เป็นแผ่นบาง
- การทดสอบตัวเร่งปฏิกิริยา - ผลแตกต่างหรือไม่แตกต่าง
- การทำปฏิกิริยา ๓ เฟสใน stirred reactor
- การบรรจุ inert material ใน fixed-bed
- การปรับ WHSV
- การปั่นกวนของแข็งให้แขวนลอยในของเหลว ตอนที่ ๑ ผลของความหนาแน่นที่แตกต่าง
- การปั่นกวนของแข็งให้แขวนลอยในของเหลว ตอนที่ ๒ ขนาดของ magnetic bar กับเส้นผ่านศูนย์กลางภาชนะ
- การปั่นกวนของแข็งให้แขวนลอยในของเหลว ตอนที่ ๓ ผลของรูปร่างภาชนะ
- การผสมแก๊สอัตราการไหลต่ำเข้ากับแก๊สอัตราการไหลสูง
- การระบุชนิดโลหะออกไซด์
- การลาก smooth line เชื่อมจุด
- การเลือกค่า WHSV (Weight Hourly Space Velocity) สำหรับการทดลอง
- การวัดความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง (อีกครั้ง)
- การวัดปริมาณตำแหน่งที่เป็นกรด-เบสบนพื้นผิวของแข็งด้วย GC
- การวัดปริมาณตำแหน่งที่เป็นกรด-เบสบนพื้นผิวของแข็งด้วย GC (๒)
- การวัดพื้นที่ผิว BET
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๑)
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๒)
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๓)
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๔)
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๕)
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๖)
- การไหลผ่าน Straightening vane และโมโนลิท (Monolith)
- เก็บตกจากการประชุมวิชาการ ๒๕๕๗ ตอนที่ ๑
- เก็บตกจากการประชุมวิชาการ ๒๕๕๗ ตอนที่ ๒
- ข้อควรระวังเมื่อใช้ออกซิเจนความเข้มข้นสูง
- ข้อพึงระวังในการแปลผลการทดลอง
- ค่า signal to noise ratio ที่ต่ำที่สุด
- จลนศาสตร์การเกิดปฏิกิริยาบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๑ Volcano principle
- จลนศาสตร์การเกิดปฏิกิริยาบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๒ แบบจำลอง Langmuir
- จลนศาสตร์การเกิดปฏิกิริยาบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๓ แบบจำลอง Langmuir-Hinshelwood
- จลนศาสตร์การเกิดปฏิกิริยาบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๔ แบบจำลอง Eley-Rideal
- จลนศาสตร์การเกิดปฏิกิริยาบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๕ แบบจำลอง REDOX
- ตอบคำถามเรื่องการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยา
- ตัวเลขมันสวย แต่เชื่อไม่ได้
- ตัวเลขไม่ได้ผิดหรอก คุณเข้าใจนิยามไม่สมบูรณ์ต่างหาก
- ตัวไหนดีกว่ากัน (Catalyst)
- แต่ละจุดควรต่างกันเท่าใด
- ท่อแก๊สระบบ acetylene hydrogenation
- น้ำหนักหายได้อย่างไร
- ปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจนและการแทนที่ไฮโดรเจนของอะเซทิลีน
- ปฏิกิริยาอันดับ 1 หรือปฏิกิริยาอันดับ 2
- ปฏิกิริยาเอกพันธ์และปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ในเบดนิ่ง
- ปั๊มสูบไนโตรเจนเหลวจากถังเก็บ
- ผลของแก๊สเฉื่อยต่อการเกิดปฏิกิริยา
- เผาในเตาแบบไหนดี (Calcination)
- พลังงานกระตุ้นกับปฏิกิริยาคายความร้อนในเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่ง
- เมื่อแก๊สรั่วที่ rotameter
- เมื่อพีคออกซิเจนของระบบ DeNOx หายไป
- เมื่อเส้น Desorption isotherm ต่ำกว่าเส้น Adsorption isotherm
- เมื่อ base line เครื่อง chemisorb ไม่นิ่ง
- เมื่อ Mass Flow Controller คุมการไหลไม่ได้
- เรื่องของสุญญากาศกับ XPS
- สแกนกี่รอบดี
- สมดุลความร้อนรอบ Laboratory scale fixed-bed reactor
- สรุปการประชุมวันพฤหัสบดีที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๓
- เส้น Cu Kα มี ๒ เส้น
- เห็นอะไรไม่สมเหตุสมผลไหมครับ
- อย่าลืมดูแกน Y
- อย่าให้ค่า R-squared (Coefficient of Determination) หลอกคุณได้
- อุณหภูมิกับการไหลของแก๊สผ่าน fixed-bed
- อุณหภูมิและการดูดซับ
- BET Adsorption-Desorption Isotherm Type I และ Type IV
- ChemiSorb 2750 : การเตรียมตัวอย่างเพื่อการวัดพื้นที่ผิว BET
- ChemiSorb 2750 : การวัดพื้นที่ผิวแบบ Single point BET
- ChemiSorb 2750 : ผลของอัตราการไหลต่อความแรงสัญญาณ
- Distribution functions
- Electron Spin Resonance (ESR)
- GHSV หรือ WHSV
- Ion-induced reduction ขณะทำการวิเคราะห์ด้วย XPS
- MO ตอบคำถาม การทดลอง gas phase reaction ใน fixed-bed
- MO ตอบคำถาม การวัดความเป็นกรด-เบสบนพื้นผิวของแข็ง
- Monolayer หรือความหนาเพียงชั้นอะตอมเดียว
- NH3-TPD - การลาก base line
- NH3-TPD - การลาก base line (๒)
- NH3-TPD - การไล่น้ำและการวาดกราฟข้อมูล
- NH3-TPD ตอน ตัวอย่างผลการวิเคราะห์ ๑
- NH3-TPD ตอน ตัวอย่างผลการวิเคราะห์ ๒
- Physisorption isotherms Type I และ Type IV
- Scherrer's equation
- Scherrer's equation (ตอนที่ 2)
- Scherrer's equation (ตอนที่ ๓)
- Scherrer's equation (ตอนที่ ๔)
- Supported metal catalyst และ Supported metal oxide catalyst
- Temperature programmed reduction ด้วยไฮโดรเจน (H2-TPR)
- Temperature programmed reduction ด้วยไฮโดรเจน (H2-TPR) ภาค ๒
- UV-Vis - peak fitting
- XPS ตอน การแยกพีค Mo และ W
- XPS ตอน จำนวนรอบการสแกน
- XRD - peak fitting
คณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรมเคมี
- การแก้ปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์สามัญปัญหาเงื่อนไขค่าเริ่มต้นด้วยระเบียบวิธี Bogacki-Shampine และ Predictor-Evaluator-Corrector-Evaluator (PECE)
- การแก้ปัญหาสมการอนุพันธ์สามัญ ด้วย ODE solvers ของ GNU Octave ตอนที่ ๑
- การแก้ปัญหาสมการอนุพันธ์สามัญ ด้วย ODE solvers ของ GNU Octave ตอนที่ ๒
- การแก้ปัญหาสมการอนุพันธ์สามัญ ด้วย ODE solvers ของ GNU Octave ตอนที่ ๓
- การแก้สมการเชิงอนุพันธ์สามัญด้วยการใช้ Integrating factor
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๑)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๑๐)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๑๑)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๑๒)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๑๓)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๒)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๓)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๔)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๕)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๖)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๗)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๘)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๙)
- การคำนวณค่าฟังก์ชันพหุนาม
- การปรับเรียบ (Smoothing) ข้อมูล (ตอนที่ ๑)
- การปรับเรียบ (Smoothing) ข้อมูล (ตอนที่ ๒)
- การปรับเรียบ (Smoothing) ข้อมูล (ตอนที่ ๓)
- การหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร x และ y
- ข้อพึงระวังในการใช้ฟังก์ชันพหุนามในการประมาณค่าในช่วง
- ข้อพึงระวังในการใช้ฟังก์ชันพหุนามในการประมาณค่าในช่วง (๒)
- ข้อพึงระวังในการใช้ฟังก์ชันพหุนามในการประมาณค่าในช่วง (๒) (pdf)
- ข้อพึงระวังในการใช้ฟังก์ชันพหุนามในการประมาณค่าในช่วง (๓)
- ข้อสอบเก่าชุดที่ ๑
- ข้อสอบเก่าชุดที่ ๒
- ค่าคลาดเคลื่อน (error)
- จำนวนที่น้อยที่สุดที่เมื่อบวกกับ 1 แล้วได้ผลลัพธ์ไม่ใช่ 1
- ใช่ว่าคอมพิวเตอร์จะคิดเลขถูกเสมอไป
- ตัวเลขที่เท่ากันแต่ไม่เท่ากัน
- ตัวอย่างการแก้ปัญหา สมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วยระเบียบวิธีนิวตัน-ราฟสัน
- ตัวอย่างการแก้ปัญหา สมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วยระเบียบวิธี Müller และ Inverse quadratic interpolation
- ตัวอย่างการแก้ปัญหา สมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วยระเบียบวิธี successive iteration
- ตัวอย่างการแก้ปัญหา สมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วยระเบียบวิธี successive iteration (pdf)
- ตัวอย่างการแก้ปัญหา สมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วย Function fzero ของ GNU Octave
- ตัวอย่างการคำนวณหาพื้นที่ใต้กราฟ ด้วยระเบียบวิธี Gaussian quadrature
- ตัวอย่างการคำนวณหาพื้นที่ใต้กราฟ ด้วยระเบียบวิธี Gaussian quadrature (pdf)
- ตัวอย่างผลของรูปแบบสมการต่อคำตอบของ ODE-IVP
- ตัวอย่างเพิ่มเติมบทที่ ๑
- ตัวอย่างเพิ่มเติมบทที่ ๒
- ตัวอย่างเพิ่มเติมบทที่ ๓
- ตัวอย่างเพิ่มเติมบทที่ ๔
- ทบทวนเรื่องการคูณเมทริกซ์
- ทบทวนเรื่อง Taylor's series
- ทศนิยมลงท้ายด้วยเลข 5 จะปัดขึ้นหรือปัดลง
- บทที่ ๑ การคำนวณตัวเลขในระบบทศนิยม
- บทที่ ๒ การแก้ปัญหาระบบสมการพีชคณิตเชิงเส้น
- บทที่ ๓ การแก้ปัญหาระบบสมการพีชคณิตไม่เชิงเส้น
- บทที่ ๔ การประมาณค่าในช่วง
- บทที่ ๕ การหาค่าอนุพันธ์
- บทที่ ๖ การหาค่าอินทิกรัล
- บทที่ ๗ การแก้ปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ ระบบสมการปัญหาเงื่อนไขค่าเริ่มต้น
- บทที่ ๘ การแก้ปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ ระบบสมการปัญหาเงื่อนไขค่าขอบเขต
- บทที่ ๙ การแก้ปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์ย่อย
- ปฏิกิริยาคายความร้อนใน CSTR (ตอนที่ ๑)
- ปฏิกิริยาคายความร้อนใน CSTR (ตอนที่ ๒)
- เปรียบเทียบการแก้ปัญหาสมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วย solver ของ GNU Octave
- เปรียบเทียบการแก้ Stiff equation ด้วยระเบียบวิธี Runge-Kutta และ Adam-Bashforth
- เปรียบเทียบระเบียบวิธี Runge-Kutta
- เปรียบเทียบ Gauss elimination ที่มีและไม่มีการทำ Pivoting
- เปรียบเทียบ Gauss elimination ที่มีและไม่มีการทำ Pivoting (Spreadsheet)
- ฟังก์ชันแกมมา (Gamma function) และ ฟังก์ชันเบสเซล (Bessel function)
- เมื่อ 1 ไม่เท่ากับ 0.1 x 10
- ระเบียบวิธี Implicit Euler และ Crank-Nicholson กับ Stiff equation
- เลขฐาน ๑๐ เลขฐาน ๒ จำนวนเต็ม จำนวนจริง
- Distribution functions
- LU decomposition ร่วมกับ Iterative improvement
- LU decomposition ร่วมกับ Iterative improvement (pdf)
- LU decomposition ร่วมกับ Iterative improvement (Spreadsheet)
- Machine precision กับ Machine accuracy
เคมีสำหรับวิศวกรเคมี
- กรด-เบส : อ่อน-แก่
- กรด-เบส : อะไรควรอยู่ในบิวเรต
- กราฟการไทเทรตกรดกำมะถัน (H2SO4)
- กราฟการไทเทรตกรดกำมะถัน (H2SO4) ตอนที่ ๒
- กราฟการไทเทรตกรดที่ให้โปรตอนได้ ๒ ตัว
- กราฟการไทเทรตกรดที่ให้โปรตอนได้ ๓ ตัว
- กราฟการไทเทรตกรดไฮโปคลอรัส (HOCl)
- กราฟอุณหภูมิการกลั่นของน้ำมันเบนซิน (Gasoline distillation curve)
- กลิ่นกับอันตรายของสารเคมี
- การกำจัดสีเมทิลีนบลู
- การเกิดปฏิกิริยาเคมี
- การเจือจางไฮโดรคาร์บอนในน้ำ
- การใช้ pH probe
- การใช้ Tetraethyl lead นอกเหนือไปจากการเพิ่มเลขออกเทน
- การดูดกลืนคลื่นแสงของแก้ว Pyrex และ Duran
- การดูดกลืนแสงสีแดง
- การเตรียมสารละลายด้วยขวดวัดปริมาตร
- การเตรียมหมู่เอมีนและปฏิกิริยาของหมู่เอมีน (การสังเคราะห์ฟีนิลบิวตาโซน)
- การทำน้ำให้บริสุทธิ์สำหรับห้องปฏิบัติการ
- การทำปฏิกิริยาของโพรพิลีนออกไซด์ (1,2-Propylene oxide) ตอนที่ ๑
- การทำปฏิกิริยาของโพรพิลีนออกไซด์ (1,2-Propylene oxide) ตอนที่ ๒
- การทำปฏิกิริยาของหมู่ Epoxide ในโครงสร้าง Graphene oxide
- การทำปฏิกิริยาต่อเนื่องของผลิตภัณฑ์
- การเทของเหลวใส่บิวเรต
- การน๊อคของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน และสารเพิ่มเลขออกเทนของน้ำมัน
- การเปลี่ยนพลาสติกเป็นน้ำมัน
- การเปลี่ยนเอทานอล (Ethanol) ไปเป็นอะเซทัลดีไฮด์ (Acetaldehyde)
- การเรียกชื่อสารเคมี
- การลดการระเหยของของเหลว
- การละลายของแก๊สในเฮกเซน (Ethylene polymerisation)
- การละลายเข้าด้วยกันของโมเลกุลมีขั้ว-ไม่มีขั้ว
- การวัดความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง (อีกครั้ง)
- การวัดปริมาณ-ความแรงของตำแหน่งที่เป็นกรดบนพื้นผิว
- การวัดปริมาณตำแหน่งที่เป็นกรด-เบสบนพื้นผิวของแข็งด้วย GC
- การวัดปริมาตรของเหลว
- การหาความเข้มข้นสารละลายมาตรฐานกรด
- การหาจุดสมมูลของการไทเทรตจากกราฟการไทเทรต
- การอ่านผลการทดลองการไทเทรตกรด-เบส
- การอ่านผลการทดลองการไทเทรตกรด-เบส (ตอนที่ ๒)
- การอ่านผลการทดลองการไทเทรตกรด-เบส (ตอนที่ ๓)
- แก๊สมัสตาร์ดกับกลิ่นทุเรียน
- ข้อควรระวังเมื่อใช้ออกซิเจนความเข้มข้นสูง
- คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับงานเคมีวิเคราะห์
- ความกระด้าง (Hardness) ของน้ำกับปริมาณของแข็งทั้งหมด ที่ละลายอยู่ (Total Dissolved Solid - TDS)
- ความดันกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี
- ความเป็นกรดของหมู่ไฮดรอกซิล (Hydroxyl group) ตอนที่ ๑
- ความเป็นกรดของหมู่ไฮดรอกซิล (Hydroxyl group) ตอนที่ ๒
- ความเป็นกรดของอัลฟาไฮโดรเจนอะตอม (alpha-Hydrogen atom) ตอน กรดบาร์บิทูริก (Barbituric acid)
- ความเป็นกรดของอัลฟาไฮโดรเจนอะตอม (alpha-Hydrogen atoms)
- ความเป็นขั้วบวกของอะตอม C และการทำปฏิกิริยาของอีพิคลอโรไฮดริน (epichlorohydrin)
- ความเป็นไอออนิก (Percentage ionic character)
- ความสัมพันธ์ระหว่างสีกับชนิดและปริมาณธาตุ
- ความสำคัญของเคมีวิเคราะห์และเคมีอินทรีย์ในงานวิศวกรรมเคมี
- ความเห็นที่ไม่ลงรอยกับโดเรมี่
- ค้างที่ปลายปิเปตไม่เท่ากัน
- คำตอบของ Cubic equation of state
- จากกลีเซอรอล (glycerol) ไปเป็นอีพิคลอโรไฮดริน (epichlorohydrin)
- จากเบนซาลดีไฮด์ (Benzaldehyde) ไปเป็นกรดเบนซิลิก (Benzilic acid)
- จากโอเลฟินส์ถึงพอลิอีเทอร์ (From olefins to polyethers)
- จาก Acetone เป็น Pinacolone
- จาก Alkanes ไปเป็น Aramids
- จาก Aniline ไปเป็น Methyl orange
- จาก Benzene ไปเป็น Butter yellow
- จาก Hexane ไปเป็น Nylon
- จาก Toluene และ m-Xylene ไปเป็นยาชา
- ดำหรือขาว
- ตกค้างเพราะเปียกพื้นผิว
- ตอบคำถามแบบแทงกั๊ก
- ตอบคำถามให้ชัดเจนและครอบคลุม
- ตำราสอนการใช้ปิเปตเมื่อ ๓๓ ปีที่แล้ว
- ไตรเอทานอลเอมีน (Triethanolamine)
- ถ่านแก๊ส หินแก๊ส แก๊สก้อน
- ทอดไข่เจียวให้อร่อยต้องใช้น้ำมันหมู
- ทำไมน้ำกระด้างจึงมีฟอง
- ที่แขวนกล้วย
- เท่ากับเท่าไร
- โทลูอีน (Toluene)
- ไทโอนีลคลอไรด์ (Thionyl chloride)
- นานาสาระเคมีวิเคราะห์
- น้ำด่าง น้ำอัลคาไลน์ น้ำดื่ม
- น้ำดื่ม (คิดสักนิดก่อนกดแชร์ เรื่องที่ ๑๑)
- น้ำตาลทราย ซูคราโลส และยาคุมกำเนิดสำหรับผู้ชาย
- น้ำบริสุทธิ์ (Purified water)
- ไนโตรเจนเป็นแก๊สเฉื่อยหรือไม่
- บีกเกอร์ 250 ml
- แบบทดสอบก่อนเริ่มเรียนวิชาเคมีสำหรับนิสิตวิศวกรรมเคมี
- ปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจนและการแทนที่ไฮโดรเจนของอะเซทิลีน (Hydrogenation and replacement of acetylenic hydrogen)
- ปฏิกิริยาการผลิต Vinyl chloride
- ปฏิกิริยาการออกซิไดซ์
- ปฏิกิริยา alpha halogenation และการสังเคราะห์ tertiary amine
- ปฏิกิริยา ammoxidation หมู่เมทิลที่เกาะอยู่กับวงแหวนเบนซีน
- ปฏิกิริยา Benzene alkylation
- ปฏิกิริยา Dehydroxylation
- ปฏิกิริยา Electrophilic substitution ของ m-Xylene
- ปฏิกิริยา Nucleophilic substitution ของสารประกอบ Organic halides
- ประโยชน์ของ Nitric oxide ในทางการแพทย์
- ปัญหาการสร้าง calibration curve ของ ICP
- ปัญหาการหาความเข้มข้นสารละลายกรด
- ปัญหาของไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัว
- โป้ง ชี้ กลาง นาง ก้อย
- ผลของค่าพีเอชต่อสีของสารละลายเปอร์แมงกาเนต
- ผลของอุณหภูมิต่อการแทนที่ตำแหน่งที่ 2 บนวงแหวนเบนซีน
- ฝึกงานภาคฤดูร้อน ๒๕๕๓ ตอนที่ ๑ อธิบายศัพท์
- พีคเหมือนกันก็แปลว่ามีหมู่ฟังก์ชันเหมือนกัน
- ฟลูออรีนหายไปไหน
- ฟอสฟอรัสออกซีคลอไรด์ (Phosphorus Oxychloride)
- ฟีนอล แอซีโทน แอสไพริน พาราเซตามอล สิว โรคหัวใจ และงู
- มุมมองที่ถูกจำกัด
- เมทานอลกับเจลล้างมือ
- เมื่อคิดในรูปของ ...
- เมื่อตำรายังพลาดได้ (Free radical polymerisation)
- เมื่อน้ำเพิ่มปริมาตรเองได้
- เมื่อหมู่คาร์บอนิล (carbonyl) ทำปฏิกิริยากันเอง
- รังสีเอ็กซ์
- เรื่องของสไตรีน (คิดสักนิดก่อนกด Share เรื่องที่ ๑)
- แลปการไทเทรตกรด-เบส ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา ๒๕๖๐
- ศัพท์เทคนิค-เคมีวิเคราะห์
- สรุปคำถาม-ตอบการสอบวันศุกร์ที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๒
- สีหายไม่ได้หมายความว่าสารหาย
- เสถียรภาพของอนุมูลอิสระ (๑)
- เสถียรภาพของอนุมูลอิสระ (๒)
- เสถียรภาพของอนุมูลอิสระ (๓)
- หมู่ทำให้เกิดสี (chromophore) และหมู่เร่งสี (auxochrome)
- หลอกด้วยข้อสอบเก่า
- อะเซทิลีน กลีเซอรีน และไทออล
- อะโรมาติก : การผลิต การใช้ประโยชน์ และปัญหา
- อัลคิลเอมีน (Alkyl amines) และ อัลคิลอัลคานอลเอมีน (Alkyl alkanolamines)
- อีเทอร์กับการเกิดสารประกอบเปอร์ออกไซด์
- อุณหภูมิ อัตราการเกิดปฏิกิริยา สมดุลเคมี
- เอา 2,2-dimethylbutane (neohexane) ไปทำอะไรดี
- เอาเบนซีนกับเอทานอลไปทำอะไรดี
- เอา isopentane ไปทำอะไรดี
- เอา maleic anhydride ไปทำอะไรดี
- เอา pentane ไปทำอะไรดี
- ไอโซเมอร์ (Isomer)
- ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์กับพอลิโพรพิลีน
- Acentric factor
- Aldol condensation กับ Cannizzaro reaction
- Aldol condesation ระหว่าง Benzaldehyde กับ Acetone
- A-Level เคมี ปี ๖๖ ข้อพอลิเอทิลีน
- Beilstein test กับเตาแก๊สที่บ้าน
- Benzaldehyde กับปฏิกิริยา Nitroaldol
- BOD และ COD
- BOD หรือ DO
- Carbocation - การเกิดและเสถียรภาพ
- Carbocation - การทำปฏิกิริยา
- Carbocation ตอนที่ ๓ การจำแนกประเภท-เสถียรภาพ
- Chloropicrin (Trichloronitromethane)
- Compressibility factor กับ Joule-Thomson effect
- Conjugated double bonds กับ Aromaticity
- Cubic centimetre กับ Specific gravity
- Dehydration, Esterification และ Friedle-Crafts Acylation
- Electrophilic addition ของอัลคีน
- Electrophilic addition ของอัลคีน (๒)
- Electrophilic addition ของ conjugated diene
- Electrophilic substitution ตำแหน่งที่ 1 บนวงแหวนเบนซีน
- Electrophilic substitution ตำแหน่งที่ 2 บนวงแหวนเบนซีน ตอน ผลของอุณหภูมิการทำปฏิกิริยา
- Electrophilic substitution ตำแหน่งที่ 3 บนวงแหวนเบนซีน
- Electrophilic substitution ตำแหน่งที่ 3 บนวงแหวนเบนซีน ตอน การสังเคราะห์ 2,4-Dinitrophenol
- Esterification of hydroxyl group
- Gibbs Free Energy กับการเกิดปฏิกิริยาและการดูดซับ
- Halogenation ของ alkane
- Halogenation ของ alkane (๒)
- HCl ก่อน ตามด้วย H2SO4 แล้วจึงเป็น HNO3
- I2 ในสารละลาย KI กับไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว
- Infrared spectrum interpretation
- Interferometer
- IR spectra ของโทลูอีน (Toluene) เอทิลเบนซีน (Ethylbenzene) โพรพิลเบนซีน (Propylbenzene) และคิวมีน (Cumene)
- IR spectra ของเบนซีน (Benzene) และไซลีน (Xylenes)
- IR spectra ของเพนทีน (Pentenes)
- Kjeldahl nitrogen determination method
- Malayan emergency, สงครามเวียดนาม, Seveso และหัวหิน
- MO ตอบคำถาม การวัดความเป็นกรด-เบสบนพื้นผิวของแข็ง
- Nucleophile กับ Electrophile
- PAT2 เคมี ปี ๖๕ ข้อการไทเทรตกรดเบส
- Peng-Robinson Equation of State
- Phenol, Ether และ Dioxin
- Phospharic acid กับ Anhydrous phosphoric acid และ Potassium dioxide
- pH Probe
- Picric acid (2,4,6-Trinitrophenol) และ Chloropicrin
- PV diagram กับการอัดแก๊ส
- Pyrophoric substance
- Reactions of hydroxyl group
- Reactions of hydroxyl group (ตอนที่ ๒)
- Redlich-Kwong Equation of State
- Redlich-Kwong Equation of State (ตอนที่ ๒)
- Soave-Redlich-Kwong Equation of State
- Standard x-ray powder diffraction pattern ของ TiO2
- Sulphur monochloride และ Sulphur dichloride
- Thermal cracking - Thermal decomposition
- Thiols, Thioethers และ Dimethyl thioether
- Van der Waals' Equation of State
- Vulcanisation
ประสบการณ์ Gas chromatograph/Chromatogram
- 6 Port sampling valve
- กระดาษความร้อน (thermal paper) มี ๒ หน้า
- การแก้ปัญหา packing ในคอลัมน์ GC อัดตัวแน่น
- การฉีดแก๊สเข้า GC ด้วยวาล์วเก็บตัวอย่าง
- การฉีดตัวอย่างที่เป็นของเหลวด้วย syringe
- การฉีด GC
- การใช้ syringe ฉีดตัวอย่างที่เป็นแก๊ส
- การดึงเศษท่อทองแดงที่หักคา tube fitting ออก
- การตั้งอุณหภูมิคอลัมน์ GC
- การติดตั้ง Integrator ให้กับ GC-8A เพื่อวัด CO2
- การเตรียมคอลัมน์ GC ก่อนการใช้งาน
- การปรับความสูงพีค GC
- การวัดปริมาณไฮโดรเจนด้วย GC-TCD
- ข้อสังเกตเกี่ยวกับ FPD (ตอนที่ ๒)
- ข้อสังเกตเกี่ยวกับ FPD (Flame Photometric Detector)
- โครมาโทกราฟแยกสารได้อย่างไร
- ชนิดคอลัมน์ GC
- ตรวจโครมาโทแกรม ก่อนอ่านต้วเลข
- ตัวอย่างการแยกพีค GC ที่ไม่เหมาะสม
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๑
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๒
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๓
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๔
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๕
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๖
- ทำไมพีคจึงลากหาง
- ผลกระทบของน้ำที่มีต่อการวัดคาร์บอนไดออกไซด์ ตอนที่ ๑
- ผลกระทบของน้ำที่มีต่อการวัดคาร์บอนไดออกไซด์ ตอนที่ ๒
- ผลกระทบของน้ำที่มีต่อการวัดคาร์บอนไดออกไซด์ ตอนที่ ๓
- พีคที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างน้ำกับ packing ในคอลัมน์ GC
- พีคประหลาดจากการใช้อากาศน้อยไปหน่อย
- มันไม่เท่ากันนะ
- เมื่อความแรงของพีค GC ลดลง
- เมื่อจุดไฟ FID ไม่ได้
- เมื่อพีค GC หายไป
- เมื่อพีค GC ออกมาผิดเวลา
- เมื่อพีค GC ออกมาผิดเวลา(อีกแล้ว)
- เมื่อเพิ่มความดันอากาศให้กับ FID ไม่ได้
- เมื่อ GC ถ่านหมด
- เมื่อ GC มีพีคประหลาด
- ลากให้ผ่านหรือไม่ให้ผ่าน
- สัญญาณจาก carrier gas รั่วผ่าน septum
- สารพัดปัญหา GC
- สิ่งปนเปื้อนในน้ำ DI
- สิ่งปนเปื้อนในน้ำ DI (ตอนที่ ๒)
- Chromatograph principles and practices
- Flame Ionisation Detector
- GC-2014 ECD & PDD ตอนที่ ๗ ข้อสังเกตเกี่ยวกับ ECD (Electron Capture Detector)
- GC detector
- GC - peak fitting ตอนที่ ๑ การหาพื้นที่พีคที่เหลื่อมทับ
- GC principle
- LC detector
- LC principle
- MO ตอบคำถาม การแยกพีค GC ด้วยโปรแกรม fityk
- MO ตอบคำถาม สารพัดปัญหาโครมาโทแกรม
- Relative Response Factors (RRF) ของสารอินทรีย์ กับ Flame Ionisation Detector (FID)
- Thermal Conductivity Detector
- Thermal Conductivity Detector ภาค 2
สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items - DUI)
- การก่อการร้ายด้วยแก๊สซาริน (Sarin) ในรถไฟใต้ดินกรุงโตเกียว MO Memoir : Friday 6 September 2567
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๐ ฟังก์ชันเข้ารหัสรีโมทเครื่องปรับอากาศ
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๑ License key
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๒ สารเคมี (Chemicals)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๓ ไม่ตรงตามตัวอักษร (สารเคมี)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๔ ไม่ตรงตามตัวอักษร (Heat exchanger)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๕ Sony PlayStation
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๖ เส้นใยคาร์บอน (Carbon fibre)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๗ The Red Team : Centrifugal separator
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๘ The Blue Team : Spray drying equipment
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๙ เครื่องสลายนิ่วในไตด้วยคลื่นกระแทก (Lithotripter)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑ ตัวเก็บประจุ (Capacitor)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๒๐ เรซินแลกเปลี่ยนไอออน (Ion-exchange resin)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๒๑ ไม่ตรงตามตัวอักษร (Aluminium tube)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๒๒ เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า (Defibrillator)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๒๓ เครื่องยนต์ดีเซล
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๒ เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๓ เครื่องแปลงความถี่ไฟฟ้า (Frequency Changer)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๔ อุปกรณ์เข้ารหัส (Encoding Device)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๕ Insulated Gate Bipolar Transistor (IGBT)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๖ Toshiba-Kongsberg Incident
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๗ รายงานผลการทดสอบอุปกรณ์
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๘ Drawing อุปกรณ์
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๙ ซอร์ฟแวร์ควบคุมการทำงานอุปกรณ์
- เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนสำหรับเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์
- แคลเซียม, แมกนีเซียม และบิสมัท กับการผลิตอาวุธทำลายล้างสูง
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๑
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๑๐
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๒
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๓
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๔
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๕
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๖
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๗
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๘
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๙
API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๐)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๑)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๒)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๓)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๔)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๕)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๖)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๒)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๓)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๔)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๕)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๖)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๗)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๘)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๙)
โน๊ตเพลง
- "กำลังใจ" และ "ถึงเพื่อน"
- "ใกล้รุ่ง" และ "อาทิตย์อับแสง"
- "คนดีไม่มีวันตาย" "หนึ่งในร้อย (A Major) และ "น้ำตาแสงใต้ (A Major)"
- "ความฝันอันสูงสุด" และ "ยามเย็น"
- "จงรัก" และ "ความรักไม่รู้จบ"
- "ฉันยังคอย" และ "ดุจบิดามารดร"
- "ชาวดง" และ "ชุมนุมลูกเสือไทย"
- "ตัดใจไม่ลง" และ "ลาสาวแม่กลอง"
- "เติมใจให้กัน" และ "HOME"
- "แต่ปางก่อน" "ความรักไม่รู้จบ" "ไฟเสน่หา" และ "แสนรัก"
- "ทะเลใจ" "วิมานดิน" และ "เพียงแค่ใจเรารักกัน"
- "ที่สุดของหัวใจ" "รักล้นใจ" และ "รักในซีเมเจอร์"
- "ธรณีกรรแสง" และ "Blowin' in the wind"
- "นางฟ้าจำแลง" "อุษาสวาท" และ "หนี้รัก"
- "แผ่นดินของเรา" และ "แสงเทียน"
- "พรปีใหม่" และ "สายฝน"
- "พี่ชายที่แสนดี" "หลับตา" และ "หากรู้สักนิด"
- เพลงของโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- "มหาจุฬาลงกรณ์" "ยูงทอง" และ "ลาภูพิงค์"
- "ยังจำไว้" "บทเรียนสอนใจ" และ "ความในใจ"
- "ร่มจามจุรี" และ "เงาไม้"
- "ลมหนาว" และ "ชะตาชีวิต"
- "ลองรัก" และ "วอลซ์นาวี"
- "ลาแล้วจามจุรี"
- "วันเวลา" และ "โลกทั้งใบให้นายคนเดียว"
- "วิหคเหินลม" และ "พรานทะเล"
- "สายชล" และ "เธอ"
- "สายใย" และ "ความรัก"
- "สายลม" และ "ไกลกังวล"
- "สายลมเหนือ" และ "เดียวดายกลางสายลม"
- "หน้าที่ทหารเรือ" และ "ทหารพระนเรศวร"
- "หนึ่งในร้อย" และ "น้ำตาแสงใต้"
- "หากันจนเจอ" และ "ลมหายใจของกันและกัน"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น