"ที่พวกคุณเรียนน่ะ
บางเรื่องมันอยู่ในระดับปริญญาตรีปี
๒ เลยนะ"
ผมพูดประโยคนั้นหลังจากที่นักเรียนที่เข้ารับการสอบสัมภาษณ์เล่าให้ผมฟังว่าที่ค่ายโอลิมปิกวิชาการระดับชาติที่พวกเขาผ่านการคัดเลือกได้เข้าร่วมนั้น
เขาได้เรียนกันถึงระดับไหน
อันที่จริงงานในเช้าวันนั้น
(เมื่อช่วงกลางเดือนที่แล้ว)
มันก็ไม่ใช่หน้าที่ของผมหรอก
เพียงแต่ว่าพอจะถึงเวลาสอบ
กรรมการท่านหนึ่งเกิดมาไม่ได้
ทางส่วนกลางก็ไม่รู้จะทำอย่างไรดี
ก็เลยโทรศัพท์กลับเข้ามาที่ภาควิชา
และบังเอิญว่าในเวลานั้นผมดันเป็นอาจารย์เพียงคนเดียวที่อยู่ตรงนั้น
คือทางคณะ
(ผ่านทางมหาวิทยาลัย)
เปิดช่องทางพิเศษสำหรับรับนักเรียนที่ได้ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพทางวิทยาศาสตร์
(สอวน.
ระดับชาติ)
โดยไม่จำเป็นต้องสอบแข่งขันกับผู้อื่นตามช่องทางการแข่งขันปรกติ
เมื่อผ่านการคัดเลือกของทางมหาวิทยาลัยเข้ามาแล้ว
นักเรียนเหล่านี้ก็ต้องมาสอบสัมภาษณ์เพื่อการเลือกภาควิชาอีกครั้งหนึ่ง
บังเอิญว่าภาควิชาวิศวกรรมเคมีของเรานั้นประกาศรับเพียงแค่
๕ คน
แต่มีนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกจากทางมหาวิทยาลัยนั้นแจ้งความจำนงสนใจเข้าเรียนร่วม
๒๐ คน
ปัญหาของกรรมการสอบสัมภาษณ์ก็คือจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์พิจารณาว่า
๕ คนที่จะรับนั้นควรเป็นใคร
รูปที่
๑ กราฟแสดงการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงค่า
pH
(ชุดที่
๑)
ในการสอบสัมภาษณ์นั้น
ผ่าน-ไม่ผ่าน
ค่อนข้างจะขึ้นอยู่กับกรรมการสอบเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะการให้คะแนนด้านพฤติกรรมและการแสดงออกของผู้เข้ารับการสอบ
เพราะกรรมการแต่ละคนต่างก็มีความคิดที่แตกต่างกันไป
(ขึ้นอยู่กับภูมิหลังของกรรมการแต่ละคน)
ตอนที่ผมเดินทางไปถึงห้องประชุมของคณะกรรมการ
พอทราบว่าต้องทำหน้าที่อย่างนี้ก็ไม่รู้สึกสนุกเลย
ก็เลยตัดสินใจว่าจะลองถามคำถาม
"เคมีพื้นฐาน"
ที่ไม่เกินความรู้มัธยมปลายกับนักเรียนทุกคนที่เข้าสอบก็แล้วกัน
จะได้มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรหน่อยว่าทำไมจึงตัดสินใจเลือกใครและไม่เลือกใคร
และคำถามที่ผมถามเขาก็คือ
"ถ้านำกรดกำมะถัน
H2SO4
เข้มข้น
0.1
M 25 ml ใส่ในบีกเกอร์
จากนั้นค่อย ๆ หยดสารละลาย
NaOH
เข้มข้น
0.1
M ลงไป
ให้เขียนรูปกราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
ของสารละลายในบีกเกอร์กับปริมาณสารละลาย
NaOH
ที่หยดลงไป"
ผมเขียนคำถามนี้ลงในกระดาษ
A4
และส่งกระดาษเปล่าอีกแผ่นให้เขาวาดกราฟ
ผลที่ได้ก็เอามาให้ดูในรูปที่
๑-๓
ลองดูรูปที่นักเรียนเหล่านั้นวาดกันเองก่อนนะ
ในจำนวนนักเรียนที่มาสอบสัมภาษณ์
(ถึงเวลาจริงมาแค่
๑๕-๑๖
คน)
นั้น
(ทุกคนเป็นผู้ที่เข้าร่วมโครงการโอลิมปิกวิชาการระดับชาติ
สอวน.)
เกือบทุกคนเป็นผู้ที่เข้าค่ายวิชาเคมี
มีบางคนเท่านั้นที่มาจากค่ายวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์
รูปที่ผมคัดมาเกือบทุกคนเป็นผู้ที่ผ่านการเข้าร่วมค่ายวิชา
"เคมี"
รูปที่
๒ กราฟแสดงการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงค่า
pH
(ชุดที่
๒)
เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว
ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ยังไม่มีการเปิดช่องทางพิเศษให้กับนักเรียนที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการต่าง
ๆ ในการเข้าเรียนต่อในคณะ
ตอนนั้นดูเหมือนจะมีเพียงแค่ภาคคอมพิวเตอร์ภาคเดียวเท่านั้น
(ถ้าผมจำไม่ผิดนะ)
ในที่ประชุมกรรมการคณะก็มีการถกเถียงกันเรื่องนี้
และคำถามที่เป็นประเด็นสำคัญของการพิจารณาก็คือ
๑.
นักเรียนเหล่านี้
"เก่ง"
กว่านักเรียนทั่วไปที่ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการจริงหรือไม่
ถ้าเขาเก่งจริง
เขาย่อมต้องเหนือกว่าคนอื่นและผ่านการคัดเลือกเข้ามาได้ในการแข่งขันตามช่องทางปรกติที่มีอยู่แล้ว
๒.
ภาควิชาต่าง
ๆ
ในคณะวิศวกรรมศาตร์นั้นไม่ได้ต้องการคนที่เก่งวิชาวิทยาศาสตร์เพียงแค่วิชาใดวิชาหนึ่งเพียงวิชาเดียว
แต่ต้องการคนที่มีความรู้หลายวิชาประกอบเข้าด้วยกัน
โครงการเหล่านี้มุ่งตรงไปที่การพัฒนานักเรียนสำหรับการเรียนต่อทางด้านวิทยาศาสตร์ชั้นสูงเฉพาะสาขา
การไปดึงนักเรียนเหล่านี้ให้เข้าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์จะเป็นการทำให้วัตถุประสงค์ของโครงการนั้นผิดไปหรือไม่
ในช่วงนั้นภาควิชาของเราก็มีนักเรียนที่ได้เข้าร่วมโครงการโอลิมปิกวิชาการ
(ทั้งระดับชาติและนานาชาติ)
ที่มาด้วยการสอบเข้าทางช่องทางปรกติมาศึกษาที่ภาควิชาของเรา
และสิ่งหนึ่ง (ในฐานะผู้สอน)
ก็พบว่ามันก็มีนักเรียนที่
"ไม่ได้"
เข้าร่วมโครงการโอลิมปิกวิชาการ
จำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้ด้อยไปกว่านักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการโอลิมปิกวิชาการ
รูปที่
๓ กราฟแสดงการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงค่า
pH
(ชุดที่
๓)
ช่วงที่ยังมีวิชาแลปเคมีปี
๒ ให้สอนนั้น
ในสัปดาห์แรกของการเรียนผมจะบอกกับนิสิตทุกคนว่า
วัตถุประสงค์ของการสอนการทดลองของผมก็คือให้พวกคุณได้มีโอกาส
"ทำ"
การทดลองด้วยตนเอง
เพราะผมเข้าใจว่าการประเมินโรงเรียนนั้นจะเน้นไปที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัย
ซึ่งเน้นแต่ภาคทฤษฎีเป็นหลัก
ไม่มีการสอบภาคปฏิบัติ
ดังนั้นผมจะไม่แปลกใจหากพวกคุณจะจบ
ม.ปลาย
มาโดยที่ไม่เคยทำการทดลองจริง
ตอนนี้ก็เป็นโอกาสที่ดีที่จะได้ลงมือทำเอง
ไม่ต้องกังวลว่าผลออกมาจะถูกหรือผิด
คนเริ่มฝึกหัดทำมันก็ทำผิดพลาดกันได้ทั้งนั้น
ถ้าไม่เคยลงมือทำเองเลยมันก็จะทำอะไรไม่เป็นสักที
ที่สำคัญคือหลังเรียนแล้วควรจะรู้ว่าที่ถูกต้องนั้นควรทำอย่างไร
สิ่งที่ผมเคยเจอก็คือนิสิตที่สมัยเป็นนักเรียนได้ผ่านการเข้าค่ายอบรมมานั้น
มักจะกังวลว่าถ้าทำผิดแล้วจะเสียคะแนน
และเกรงไปว่าเพื่อร่วมกลุ่ม
(ที่ไม่ได้เข้าค่ายเหมือนตนนั้น)
จะทำได้ไม่ดีเหมือนตนลงมือทำเอง
ก็เลยจะรวบงานทั้งหมดมาไว้ที่ตัวเอง
จนผมต้องเข้าไปบอกว่า
เพื่อนคุณเขาก็เสียค่าเล่าเรียนเหมือนคุณนะ
ดังนั้นเขาควรที่จะมีโอกาสที่จะได้เรียนรู้ด้วยนะ
และหนึ่งในการทดลองแรก
ๆ ที่ผมสอนก็คือการไทเทรตกรด-เบส
วิธีการทดลองก็ไม่มีอะไรมาก
ในกรณีของการใช้อินดิเคเตอร์เป็นตัวบอกจุดยุติผมก็แค่บอกว่าเอาสารตัวหนึ่งใสฟลาสค์
แล้วหยดอินดิเคเตอร์ลงไป
สารอีกตัวหนึ่งใส่บิวเรตแล้วค่อย
ๆ หยดใส่สารที่อยู่ในฟลาสค์
พออินดิเคเตอร์เปลี่ยนสี
(สมบูรณ์)
ก็สิ้นสุดการไทเทรต
ครับ
สิ่งที่ผมบอกไปมีแค่นั้น
แต่พอนิสิตลงมือทำก็มีสารพัดคำถามเข้ามาถามผม
เช่น
๑.
เอาสารไหนใส่ฟลาสค์
(ตัวอย่างหรือสารมาตรฐาน)
และเอาสารใส่บิวเรต
ผมก็จะตอบกลับไปว่าแล้วคุณคิดว่ามันสำคัญไหมที่สารตัวไหนต้องเป็นตัวที่อยู่ในฟลาสค์/บิวเรตเสมอ
ถ้าอยากรู้คำตอบก็ลองทำการทดลองดูเอง
๒.
สารที่จะใช้ในฟลาสค์ควรใช้ปริมาตรเท่าไร
ผมก็จะตอบกลับไปว่า
แล้วคุณคิดว่าปริมาตรของสารที่ใส่ในฟลาสค์จะส่งผลต่อผลการวิเคราะห์ที่ได้หรือไม่
ถ้าอยากรู้คำตอบก็ลองทำการทดลองดูเอง
๓.
ใช้อะไรวัดปริมาตรสารที่จะใช้ฟสาค์
ผมก็จะตอบกลับไปว่า
อยากได้อะไรเล่าครับ
ในแลปนี้มีให้เลือกหลากหลายชนิด
ตั้งแต่บีกเกอร์ กระบอกตวง
ปิเปตแบบต่าง ๆ ขวดวัดปริมาตร
ฯลฯ
แล้วคุณคิดว่าถ้าใช้อุปกรณ์ตวงที่แตกต่างกันจะให้ผลออกมาแตกต่างกันไหม
ถ้าอยากรู้คำตอบก็ลองทำการทดลองดูเอง
๔.
ใช้อินดิเคเตอร์ตัวไหนและควรหยดอินดิเคเตอร์กี่หยด
ผมก็จะตอบกลับไปว่า
เราได้จัดไว้ให้แล้ว ๔ ตัว
แล้วคุณคิดว่าถ้าใช้อินดิเคเตอร์ที่แตกต่างกันจะให้ผลออกมาแตกต่างกันไหม
ส่วนจะหยดกี่หยดนั้นก็ลองดูก็แล้วกัน
(แต่ไม่ใช่เททั้งขวด)
ถ้าอยากรู้คำตอบก็ลองทำการทดลองดูเอง
๕
ผมถามอะไรอาจารย์ไม่เห็นอาจารย์ตอบผมสักข้อเลย
ผมก็จะตอบกลับไปว่า
นี่เป็นวิชาปฏิบัติการ
ให้เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ
ไม่ใช่ด้วยการถาม
ในการไทเทรตด้วยการใช้พีเอชมิเตอร์หาจุดยุติ
ผมก็จะบอกแต่เพียงว่าให้นำสารตัวอย่างใส่ในบีกเกอร์
ที่สำคัญคือระดับของเหลวในบีกเกอร์นั้นต้องท่วมส่วนหัวของ
pH
probe ที่ใช้วัดค่าพีเอช
ถ้าตัวอย่างเข้มข้นสูงก็ไม่ต้องนำมามาก
แต่ใช้การเติมน้ำเจือจางจนระดับของเหลวในบีกเกอร์ท่วมส่วนหัวของ
pH
probe ก่อนเริ่มการไทเทรต
แต่ถ้าสารตัวอย่างนั้นเจือจาง
ก็สามารถนำมาในปริมาณมากจนระดับของเหลวท่วมส่วนหัวของ
pH
probe โดยไม่ต้องมีการเติมน้ำเจือจาง
ตัวอย่างสองตัวอย่างที่ผมนำมาให้นิสิตทำการทดลองเป็นประจำทุกปี
(ไม่ว่าจะเป็นการใช้อินดิเตอร์หรือพีเอชมิเตอร์หาจุดยุติ)
และก่อให้เกิดปัญหากับนิสิตทุกปีก็คือสารละลายกรด
H2SO4
และ
H3PO4
ซึ่งการแปลผลตรงนี้ผมเคยอธิบายเอาไว้ใน
Memoir
ปีที่
๓ ฉบับที่ ๑๘๔ วันเสาร์ที่
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๓ เรื่อง
"การอ่านผลการทดลองการไทเทรตกรด-เบส"
แล้วกรณีของกรดกำมะถัน
(H2SO4)
กราฟการไทเทรตจะออกมาหน้าตาอย่างไรหรือครับ
คำตอบนั้นอยู่ในรูปที่ ๔
ข้างล่างที่ผมนำมาจากรายงานฉบับหนึ่งที่นิสิตทำส่งหลังเสร็จสิ้นการทดลอง
รูปที่
๔ กราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
ระหว่างการทดลองไทเทรตสารละลายกรด
H2SO4
ด้วยสารละลาย
NaOH
ของนิสิตปริญญาตรีปี
๒ ในปีการศึกษา ๒๕๕๔
เป็นไงครับ
มันตรงกับที่คุณเคยคิดเอาไว้ไหม
:)