เมื่อตอนต้นเดือนที่ผ่านมามีนิสิตมาขอให้ช่วยอธิบายเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์โรงงานผลิต
HDPE
ของบริษัท
Phillips
ระเบิดที่เมือง
Pasadena
รัฐ
Texas
ประเทศสหรัฐอเมริกาในวันจันทร์ที่
๒๓ ตุลาคม พ.ศ.
๒๕๓๒
(ค.ศ.
๑๙๘๙)
ปัญหาของพวกเขาไม่ได้อยู่ตรงที่ไม่เข้าใจไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ
แต่อยู่ตรงที่ศัพท์แต่ละคำที่ปรากฎในเอกสารนั้นมันหมายถึงอะไร
และอุปกรณ์ที่มีการกล่าวถึงนั้นทำหน้าที่อะไร
เพราะจะว่าไปแล้วเอกสารที่เขาได้มานั้นถ้าเป็นคนที่อยู่ในวงการแล้วก็จะเข้าใจได้ว่าเขากำลังกล่าวถึงอะไรอยู่
แต่ถ้าอยู่นอกวงการหรือไม่เคยเห็นของจริงมาก่อน
(เช่นกลุ่มนิสิตเหล่านั้น)
ก็คงจะอ่านไม่รู้เรื่อง
Memoir
ฉบับนี้ก็เลยถือโอกาสเขาข้อมูลที่ผมมีอยู่
ซึ่งนำมาจากบทความตีพิมพ์ในวารสาร
Loss
prevention bulletin ฉบับที่
97
มาอธิบายให้ฟัง
บทความนี้เป็นบทสรุปของรายงานจัดทำโดยที่ส่งให้กับทางประธานธิบดีของสหรัฐอเมริกาในเดือนเมษายน
ค.ศ.
๑๙๙๐
(พ.ศ.
๒๕๓๓)
ผมได้สแกนบทความดังกล่าวแนบท้าย
memoir
ฉบับนี้มาด้วยแล้ว
ก่อนอื่นเราลองไปดูภาพความเสียหายของเหตุการณ์ก่อน
รูปที่ ๑ เป็นรูปที่ผมนำเอามาจากหน้าปกหนังสือ
"Electrical
and instrumentation safety for chemical processes"
ที่นำรูประหว่างเพลิงกำลังลุกไหม้โรงงานดังกล่าว
ส่วนรูปที่ ๒
เป็นรูปที่ขยายจากกรอบเล็กของรูปที่
๑
ต่อไปจะเข้าสู่เนื้อหาของบทความ
โดยจะอธิบายเฉพาะส่วนที่สำคัญ
ย่อหน้าสีน้ำตาลคือส่วนขยายความที่ผมเขียนเพิ่มเติมเพื่ออธิบาย
ตัวโรงงาน
(The
Plant ในกรอบสีแดง)
โรงงานนี้เป็นโรงงานผลิตพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง
(High
density polyethylene - HDPE) ในเครื่องปฏิกรณ์
(reactor)
ชนิดที่ทางวิศวกรรมเคมีเรียกว่า
"plug
flow reactor" หรือที่บทความกล่าวเป็นภาษาง่าย
ๆ ให้คนทั่วไปเข้าใจได้คือเป็นท่อยาว
ส่วนของตัวเครื่องปฏิกรณ์ผมคาดว่าคือส่วนที่อยู่ในกรอบสีเหลืองในรูปที่
๒ ที่เห็นเป็นท่อขดตั้งเป็นวงขึ้นมาสูงจำนวน
4
วง
ปฏิกิริยาเกิดที่อุณหภูมิและความดันสูงกว่าบรรยากาศปรกติ
(เขาใช้คำว่า
"under
elevated pressure and temperature") โดยให้เอทิลีน
(ethylene
- H2C=CH2) ละลายอยู่ใน
isobutane
ที่ใช้เป็นตัวทำละลาย
ตรงนี้ต้องระลึกเอาไว้ว่า
ที่อุณหภูมิห้องและความดันบรรยากาศนั้น
isobutane
(H3C-CH(CH3)-CH3)
มีสถานะเป็นแก๊สที่หนักกว่าอากาศ
แต่ถ้าอยู่ภายใต้ความดันที่มากพอ
isobutane
ก็จะเป็นของเหลวได้
แม้ว่าอุณหภูมิจะสูงกว่าอุณหภูมิห้อง
และเนื่องจาก isobutane
นั้นเป็นไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว
มันจึงไม่เข้าไปยุ่งอะไรกับการทำปฏิกิริยา
หน้าที่ของมันมีเพียงแค่เป็นตัวทำละลายและเป็นแหล่งรับความร้อนจากปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรซ์ที่เกิด
เมื่อเอทิลีนเกิดการต่อโมเลกุลเข้าด้วยกันเป็นโมเลกุลใหญ่ขึ้น
มันก็จะกลายเป็นผงของแข็งแขวนลอยอยู่ใน
isobutane
ที่ใช้เป็นตัวทำละลายนั้น
การนำเอาผงพอลิเมอร์ออกจาก
reactor
นั้นใช้การระบายออกทางท่อที่อยู่ทางด้านล่าง
(ในบทความเรียกสั้น
ๆ ว่า "leg"
ที่แสดงในรูป
9.1
ของบทความ)
ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด
6
ท่อ
(กล่าวไว้ในส่วน
The
accident)
ท่อระบายพอลิเมอร์นี้ด้านที่ติดกับ
reactor
เป็น
ball
valve ยี่ห้อ
Demco
เปิด-ปิดด้วยระบบนิวเมติกส์
(ใช้อากาศอัดความดัน
ไม่ได้ใช้มือหมุน)
และที่ปลายอีกด้านหนึ่งก็มีวาล์วอีกตัวหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่า
(บทความไม่ได้ให้รายละเอียดใด)
การที่ต้องมีวาล์วคุมสองด้านก็เพราะท่อนี้มีโอกาสอุดตันจากผงพอลิเมอร์
ถ้าท่อใดท่อหนึ่งอุดตัน
ก็จะไปใช้ท่ออื่นแทน
ส่วนพนักงานก็จะทำการเอาสิ่งที่อุดตันออก
เนื้อหาในสองย่อหน้านี้บทความไม่ได้กล่าวไว้
แต่ผมดูจากแบบและเนื้อหาในส่วนอื่นแล้วคาดว่าในการนำสิ่งที่อุดตันออกนั้น
พนักงานต้องทำการปิด ball
valve ตัวบน
(ที่เรียกว่า
Demco
valve ตามยี่ห้อวาล์ว)
และวาล์วตัวล่าง
(ที่เรียกว่า
product
take off valve) และปิดไม่ให้มีเอทิลีนไหลเข้าทาง
ethylene
line (ท่อนี้ผมไม่แน่ใจว่าใช้เพื่ออะไร
-
ช่วยดันผงพอลิเมอร์ให้ออกจากท่อ?)
กระบวนการนี้ในบ้านเราเรียกว่าการ
"isolate
ระบบ"
จากนั้นต้องทำการ
"ถอด"
ท่ออากาศที่ใช้ในการเปิด-ปิดวาล์วตัวบนออก
เพื่อไม่ให้ ball
valve ตัวบนถูกเปิดในขณะที่ทำการถอดท่อระบาย
เมื่อทำการปิดวาล์วแล้วก็ต้องทำการระบายความดันที่ค้างอยู่ในท่อด้วยการเปิด
vent
(purge) valve สองตัว
โดยตัวหนึ่งอยู่ใต้ ball
valve และอีกตัวหนึ่งอยู่เหนือ
product
take off valve การที่ต้องมี
vent
valve
ไว้ที่สองตำแหน่งนี้คาดว่าเป็นเพราะถ้ามีการอุดตันเกิดขึ้นระหว่างกลาง
จะได้ไม่มีความดันแก๊สคงค้างที่ปลายข้างใดข้างหนึ่ง
จากนั้นจึงค่อยทำการถอดท่อส่วนที่อุดตันออก
ท่อส่วนต่ำว่าผิวด้านล่างของ
reactor
มาจนถึงด้านบนของ
ball
valve นั้น
จะเป็นมุมอับถ้าหาก ball
valve ปิด
ทำให้ผงพอลิเมอร์ตกลงมาสะสมและอุดตันบริเวณดังกล่าวได้
การป้องกันการอุดตันทำได้โดยการใช้ตัวทำละลายอัดเข้าไปในบริเวณดังกล่าวให้มีการไหลของตัวทำละลายจากเหนือ
ball
valve เข้าไปใน
reactor
ท่อ
flushing
isobutane line ที่แสดงไว้ในรูปก็เข้าใจว่ามีไว้เพื่อการนี้
การเกิดอุบัติเหตุ
(The
Accident ในกรอบสีเขียว)
ในวันอาทิตย์ที่
๒๒ ตุลาคม
ผู้รับเหมาเข้ารับงานจัดการกับท่อระบายที่อุดตันจำนวน
3
ท่อจากทั้งหมด
6
ท่อ
โดยก่อนหน้านี้พนักงานฝ่ายผลิตของโรงงานเองได้ทำการเตรียมระบบด้วยการปิด
ball
valve (Demco valve) และปลดท่ออากาศที่ใช้ปิด-เปิดวาล์วตัวนี้
และในวันอาทิตย์ก็ทำการจัดการไปได้
1
ท่อโดยไม่มีปัญหาอะไร
ต่อมาในวันจันทร์ที่
๒๓ ตุลาคม ผู้รับเหมาได้เริ่มงานกับท่อระบายท่อที่สอง
โดยพบว่าหลังจากได้นำเอาสิ่งอุดตันออกมาแล้วยังมีสิ่งอุดตันบางส่วนค้างอยู่ที่ระยะประมาณ
30-45
cm ใต้
ball
valve (Demco valve)
ผู้รับเหมาคนหนึ่งจึงเดินทางไปยังห้องควบคุมเพื่อขอความช่วยเหลือจากพนักงานฝ่ายผลิต
(แสดงว่ามีบางส่วนยังอยู่ที่หน้างาน)
จากนั้นก็พบว่ามีไอจำนวนมากรั่วไหลออกมาจากท่อที่เปิดอยู่
ไฮโดรคาร์บอนจำนวน 36,890
kg รั่วออกมาในเวลาอันสั้นและจุดระเบิดขึ้นในเวลาเพียง
2
นาทีหลังการรั่วไหล
และมีการระเบิดใหญ่อีกสองครั้งในเวลา
10
และ
15
นาทีถัดมาเมื่อถัง
isobutane
ขนาด
90,920
ลิตรระเบิด
และตามด้วยการระเบิดครั้งใหญ่อีกครั้งเมื่อ
loop
reactor พังทลายลง
มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด
23
ราย
โดยผู้เสียชีวิตทั้งหมดอยู่ในรัศมี
75
เมตรจากจุดที่เกิดการรั่วไหลครั้งแรก
ในระหว่างการใช้งานนั้น
isobutane
เป็นของเหลวภายใต้ความดัน
ดังนั้นเมื่อรั่วออกมาจึงกลายเป็นไอทันที
แม้ว่า isobutane
จะหนักกว่าอากาศ
แต่เมื่อรั่วออกมาจากอุณหภูมิและความดันที่สูงกว่าอุณหภูมิและความดันบรรยากาศภายนอกไม่มาก
จึงทำให้ isobutane
ไม่ได้ฟุ้งกระจายหายไป
แต่จะกลายเป็นหมอก isobutane
ที่ผสมกับอากาศอย่างพอเหมาะปกคลุมที่พื้น
และเมื่อหมอกผสมระหว่าง
isobutane
และอากาศนี้ไปพบกับแหล่งจุดระเบิด
ก็จะทำให้หมอกนี้เกิดการระเบิดที่เรียกว่า
Unconfined
vapour cloud explosion ได้
เมื่อเกิดอุบัติเหตุเช่นนี้
สิ่งที่เขาต้องหาให้ได้ก็คือ
"เกิดการรั่วไหลได้อย่างไร"
(ส่วนจุดระเบิดได้อย่างไรไม่ค่อยเป็นปัญหา
เพราะในโรงงานเองมีอะไรต่อมิอะไรสารพัดอย่างที่จะจุดระเบิดได้ถ้าเกิดการรั่วไหล)
ตรงนี้มีหลักฐานที่ชี้ไปที่
ball
valve (demco valve) ของท่อระบายที่กำลังแก้ปัญหาการอุดตัน
เพราะปลายด้านหนึ่งของท่อนี้เปิดออกสู่ด้านนอก
ตรงจุดนี้คาดว่าน่าจะมีการต่อท่ออากาศที่ใช้สำหรับปิด-เปิดวาล์วกลับเข้าไป
และคงมีการต่อท่อสลับกัน
คือต่อท่ออากาศสำหรับปิดวาล์วเข้ากับด้านรับอากาศเข้าเพื่อเปิดวาล์ว
และต่อท่ออากาศสำหรับเปิดวาล์วเข้ากับด้านรับอากาศเข้าเพื่อปิดวาล์ว
อันที่จริงในขณะนี้การไหลในท่ออากาศควรเป็นการควบคุมให้วาล์วปิด
แต่เมื่อต่อท่อผิดโดยเอาท่อด้านสั่งปิดวาล์วไปต่อเข้ากับท่อรับอากาศเข้าเพื่อเปิดวาล์ว
วาล์วก็เลยเปิดออก
ทำให้เกิดการรั่วไหลออกมา
สิ่งแวดล้อม
(The
Environment ในกรอบสีส้ม)
ในหัวข้อนี้มีการพูดถึงสองเรื่องคือแร่ใยหิน
(asbestos)
และแหล่งกำเนิดรังสี
(radiation
source) อีก
24
แหล่ง
แร่ใยหินเป็นส่วนประกอบสำคัญของฉนวนความร้อนและปะเก็นกันการรั่วซึม
เนื่องจากทนอุณหภูมิสูงและเฉื่อยต่อสารเคมี
แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น
ฉนวนความร้อนน่าจะเป็นแหล่งที่ใหญ่ที่มีโอกาสมากที่สุดที่จะกระจายแร่ใยหินออกมา
ส่วนแหล่งกำเนิดรังสีนั้นในอุตสาหกรรมมีการใช้ในการวัดระดับของแข็ง/ของเหลวที่บรรจุอยู่ในถัง
ด้วยการยิงรังสีเฉียงจากบนลงล่าง
(ของแข็งและของเหลวดูดกลืนรังสีได้มากกว่าแก๊ส
เมื่อระดับของแข็ง/ของเหลวในถังเปลี่ยนไป
การดูดกลืนรังสีก็เปลี่ยนไป)
และอัตราการไหล
(เช่น
slurry
ที่มีของแข็งแขวนลอยไม่เท่ากัน
จะดูดกลืนรังสีแตกต่างกัน)
การสอบสวน
(The
Investigation ในกรอบสีน้ำเงิน)
ตรงประเด็นนี้รายงานการสอบสวนได้ชี้ให้เห็นข้อบกพร่องต่าง
ๆ ในการออกแบบดังนี้
๑.
ตัวอุปกรณ์ที่ใช้หมุนวาล์วให้ปิด-เปิดนั้น
(acutator)
ไม่มีอุปกรณ์สำหรับล็อคไม่ให้ขยับตัวได้
ประเด็นตรงจุดนี้อยู่ที่
ถ้าหากทำการล๊อคตัว acutator
ไม่ให้ขยับตัวได้
เมื่อมีการต่อท่ออากาศกลับเข้าไป
ไม่ว่าจะต่อถูกหรือต่อผิดก็ตาม
ไม่ว่าท่ออากาศนั้นจะมีอากาศไหลอยู่หรือไม่ก็ตาม
acutator
ก็จะไม่ขยับตัว
วาล์วก็จะไม่ขยับตัว
ระบบปิด-เปิดวาล์วตัวปัญหานั้นของจริงเป็นยังไงผมก็ไม่รู้
แต่ขอยกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงในรูปที่
๓ ในรูปนี้จะมีเฟือง (สีฟ้า)
ที่มีเพลา
(สีเหลือง)
ต่ออยู่กับตัวลูกบอลของวาล์ว
ตัวเฟืองสีฟ้านี้หมุนได้ด้วยการเคลื่อนที่ของก้าน
(สีส้ม)
ที่มีฟันเฟืองขบอยู่กับฟันเฟืองของเฟืองหมุนลูกบอล
ก้านหมุนเฟืองนี้เคลื่อนตัวไปทางซ้ายหรือขวาได้ด้วยแรงดันอากาศในกระบอกสูบ
ดังเช่นในรูปถ้าป้อนอากาศเข้าทาง
"ช่องอากาศเข้า
๑"
ก้านหมุนเฟืองก็จะเคลื่อนตัวไปทางขวา
เฟืองหมุนลูกบอลก็จะหมุนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
(สมมุติว่าเป็นการเปิดวาล์ว)
ถ้าป้อนอากาศเข้าทาง
"ช่องอากาศเข้า
๒"
ก้านหมุนเฟืองก็จะเคลื่อนตัวไปทางซ้าย
เฟืองหมุนลูกบอลก็จะหมุนในทิศทางตามเข็มนาฬิกา
(สมมุติว่าเป็นการปิดวาล์ว)
ถ้าหากสามารถล็อคให้ก้านหมุนวาล์วอยู่กับที่ได้
เมื่อมีแรงดันอากาศเข้ามาไม่ว่าจะทางช่องอากาศเข้า
๑ หรือช่องอากาศเข้า ๒
ก้านหมุนวาล์วก็จะไม่ขยับตัว
๒.
ท่ออากาศที่ใช้ควบคุมให้
ball
valve ปิดหรือเปิดนั้น
เมื่อถอดออกมาแล้วก็สามารถใส่คืนกลับเข้าไปเมื่อใดก็ได้
โดยใครก็ได้ที่อยู่แถวนั้น
๓.
ข้อต่อสำหรับต่อท่ออากาศด้านรับอากาศเข้าเพื่อเปิดวาล์วและด้านรับอากาศเข้าเพื่อปิดวาล์ว
เป็นข้อต่อแบบเดียวกัน
ทำให้ใส่สลับกันได้
ลองกลับไปดูรูปที่
๓ ใหม่ ถ้าหากต่อท่อป้อนอากาศเข้าช่องอากาศเข้า
๑ และช่องอากาศเข้า ๒ สลับกัน
เวลาสั่งปิดวาล์ว วาล์วจะเปิด
เวลาสั่งเปิดวาล์ว วาล์วจะปิด
ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้มีโอกาสที่จะต่อท่อป้อนอากาศเข้าช่องอากาศเข้า
๑ และช่องอากาศเข้า ๒ สลับกันได้
ก็ควรให้ช่องอากาศเข้า ๑
และช่องอากาศเข้า ๒
มีข้อต่อที่แตกต่างกัน
เช่นให้ฝั่งช่องอากาศเข้า
๑ เป็นข้อต่อตัวผู้
ฝั่งช่องอากาศเข้า ๒
เป็นข้อต่อตัวเมีย เป็นต้น
๔.
วาล์วที่ป้อนอากาศเข้าท่ออากาศควบคุมการปิด-เปิด
ball
valve นั้นเปิดค้างอยู่
ดังนั้นเมื่อต่อท่ออากาศเข้าไป
ball
valve ก็จะทำงานทันที
๕.
ตัว
ball
valve เองนั้นสามารถล็อคให้ค้างอยู่ที่ตำแหน่งเปิดหรือปิดก็ได้
โดยปรกติในการซ่อมบำรุงนั้น
เมื่อทำการปิดวาล์วแล้ว
ผู้ปฏิบัติงานจะต้องทำให้วาล์วตัวนั้นเปิดไม่ได้
วิธีการหนึ่งที่ใช้กันก็คือการใช้โซ่คล้องและใช้แม่กุญแจล็อคโซ่นั้นเอาไว้
โดยตัวผู้ปฏิบัติงานจะเป็นผู้ถือลูกกุญแจเอาไว้จนกว่าจะเสร็จสิ้นการซ่อมบำรุง
ในกรณีที่ต้องการให้วาล์วค้างอยู่ในตำแหน่งปิดได้เพียงอย่างเดียว
วาล์วตัวนั้นไม่ควรที่จะสามารถล็อคให้ค้างอยู่ในตำแหน่งเปิดได้
๖.
การออกแบบผังโรงงานนั้น
มีส่วนอาคารที่มีผู้คนทำงานอยู่มาก
อยู่ใกล้กับบริเวณที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดอันตราย
ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือกรณีการระเบิดของโรงงานที่เมือง
Flixborough
ประเทศอังกฤษ
ที่เคยเล่าไว้ใน Memoir
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๑๑๓ วันศุกร์ที่
๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.
๒๕๕๓
เรื่อง "Flixborough
explosion"
เหตุการณ์การระเบิดของบริษัท
Phillips
ครั้งนี้มีสาเหตุเริ่มจากท่อระบายพอลิเมอร์ออกจาก
reactor
เกิดการอุดตัน
ทำให้ต้องมีการ isolate
ท่อเส้นดังกล่าวและไปใช้ท่อสำรองแทน
แต่เกิดความผิดพลาดในขณะทำการกำจัดสิ่งอุดตันออกจากท่อที่เกิดจากอุดตัน
จนทำให้เกิดการรั่วไหลของแก๊สออกจาก
reactor
ตามด้วยการระเบิดที่รุนแรง
ที่น่าสนใจก็คือในกรณีของเหตุการณ์นี้มีการสืบสวนอย่างเป็นทางการ
มีรายงานเผยแพร่ออกสู่สาธารณะ
มีเนื้อหามากพอที่จะนำมาเป็นบทเรียนให้กับผู้เรียนทางวิศวกรรมเคมีได้
แต่ที่น่าเศร้าใจก็คือกรณีเช่นนี้ก็เคยมีการเกิดขึ้นในประเทศไทยก่อนหน้าอุบัติเหตุที่บริษัท
Phillips
เพียงแค่
๑๐ เดือนเศษ (เกิดในเดือนธันวาคม
พ.ศ.
๒๕๓๑)
โดยมีสาเหตุจากท่อระบายพอลิเมอร์ออกจาก
reactor
เกิดการอุดตันเช่นกัน
ทำให้ต้องมีการ isolate
ท่อเส้นดังกล่าวและไปใช้ท่อสำรองแทน
แต่เกิดความผิดพลาดในขณะทำการกำจัดสิ่งอุดตันออกจากท่อที่เกิดจากอุดตัน
จนทำให้เกิดการรั่วไหลของแก๊สออกจาก
reactor
ตามด้วยการระเบิดที่รุนแรง
แต่กรณีของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้นดูเหมือนจะไม่มีรายงานการสอบสวนอย่างเป็นทางการใด
ๆ ออกมา
เป็นแต่เรื่องที่พูดคุยกันระหว่างผู้ที่อยู่ในวงการและโตพอที่จะจำเหตุการณ์ดังกล่าวได้
ผมเองก็เพิ่งจะได้รับทราบสาเหตุของการรั่วไหลของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองไทยหลังจากเหตุการณ์ผ่านไป
๒๔ ปี ๖ เดือน
ทราบจากปากคำของผู้เล่าว่าเป็นข้อมูลที่ใช้กันภายใน
ไม่เผยแพร่ออกสู่สาธารณะ
(แต่ใช้ฝึกอบรมพนักงานเข้าใหม่ทุกคนด้วยหรือไม่นั้นผมไม่ทราบได้)
เรื่องที่เกิดขึ้นในเมืองไทยในปีพ.ศ.
๒๕๓๑
คือเรื่องใดนั้น
ถ้าสนใจก็ย้อนไปอ่านได้ใน
Memoir
ปีที่
๖ ฉบับที่ ๖๔๓ วันศุกร์ที่
๑๒ กรกฎาคม พ.ศ.
๒๕๕๖
เรื่อง "สาเหตุที่แก๊สรั่วออกจาก polymerisation reactor" แล้วก็จะทราบเอง.
รูปที่
๑ ปกหน้าของหนังสือเรื่อง
"Electrical
and instrumentation safety for chemical processes" เขียนโดย
Richard
J. Buschart จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์
van
Norstrand Reinhold, New York ปีค.ศ.
1991 ภาพฉากหลังคือภาพที่ขยายจากกรอบสีเหลือง
รูปที่
๒ ภาพขยายของกรอบเล็กในรูปที่
๑ บริเวณโครงสร้างสูงทางด้านซ้ายบนนั้นคาดว่าเป็นส่วนของ
loop
reactor
รูปที่
๓ ตัวอย่างกลไกการปิด-เปิด
ball
valve ด้วยแรงดันอากาศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น