เนื้อหาในเอกสารฉบับนี้เป็นการปูพื้นฐานสำหรับงานวิจัยที่จะมอบหมายให้นิสิตรหัส
๕๕ ดำเนินการ
โดยจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาคกว้างของปัญหาก่อน
จะได้มองเห็นภาพใหญ่ว่างานที่จะมอบหมายให้ทำนั้นมีความสำคัญอย่างไร
และงานของแต่คนนั้นอยู่ตรงส่วนไหนของภาพใหญ่ทั้งหมด
รายละเอียดแนวทางการทำงานนั้นจะไปปรากฏในบันทึก
"แนวทางหัวข้อการทำวิทยานิพนธ์นิสิตรหัส
๕๕ (ตอนที่
๑)"
ซึ่งคาดว่าจะอีกไม่กี่วันจะตามหลังมา
อีกเรื่องคือเราอาจจะมี
workshop
เล็ก
ๆ เป็นครั้งที่สอง
คราวนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพื้นฐานเครื่อง
GC
และการอ่านผลโครมาโทแกรม
โดยจะนำเอาเนื้อหาใน memoir
ฉบับเก่า
ๆ มาเล่าให้ฟังกัน กำหนดวันคร่าว
ๆ คือพฤหัสบดีที่ ๑๘ ตุลาคม
๒๕๕๕ คงใช้เวลาทั้งเช้าและบ่าย
ส่วนห้องที่จะจัดจะแจ้งให้ทราบอีกที
ผมประมาณว่าจะเปิดโอกาสให้คนนอกกลุ่มที่สนใจเข้าร่วมฟังด้วย
รวมทั้งหมดไม่ควรจะเกิด
๒๐ คน จะพยายามจัดให้มีของว่างให้ทั้งเช้าและบ่าย
(ส่วนข้าวเที่ยงขอไม่เลี้ยงนะ)
๑.
ภาพโดยทั่วไปของการผลิตและการใช้งานอะโรมาติก
ในโรงกลั่นน้ำมันหรือโรงผลิต
aromatic
นั้น
จะใช้กระบวนการ Platinum
reforming หรือที่นิยมเรียกสั้น
ๆ ว่า Platforming
ในการเปลี่ยนไฮโดรคารบอนโซ่ตรงให้กลายเป็นวง
aromatic
กระบวนการนี้จะนำเอาไฮโดรคาร์บอนโซ่ตรงช่วง
C6-C8
มาเปลี่ยนโครงสร้างให้กลายเป็นวง
aromatic
โดย
C6
จะกลายเป็น
Benzene
(C6H6)
C7
จะกลายเป็น
Toluene
(C6H5-CH3)
C8
จะกลายเป็น
Xylene
(C6H4-(CH3)2) เป็นหลัก
โดยมี Ethyl
benzene (C6H5-CH2CH3)
ร่วมอยู่ด้วย
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะเรียก
Reformat
หรือ
BTX
(ย่อมาจากคำหน้าชื่อผลิตภัณฑ์หลักแต่ละตัว)
เบนซีนนั้นใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิต
-
ไซโคลเฮกเซน
(Cyclohexane
- C6H12) โดยการเติมไฮโดรเจนกลับเข้าไปที่วงแหวน
ไซโคลเฮกเซนใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิต
caprolactam
ซึ่งนำไปสู่การผลิตเส้นใยไนลอน
-
เอทิลเบนซีน
โดยนำเบนซีนมาทำปฏิกิริยากับเอทิลีน
เส้นทางนี้เป็นเส้นทางหลักในการผลิตเอทิลเบนซีน
เอทิลเบนซีนที่ได้จะถูกเปลี่ยนไปเป็น
Styrene
(C6H5-CH=CH2)
ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตพอลิสไตรีน
(Polystyrene
- PS)
โรงงานที่ผลิตพอลิสไตรีนก็มักจะมีหน่วยผลิตเอทิลเบนซีนและสไตรีนของตัวเอง
-
คิวมีน
(Cumene
- C6H5-(CH3CHCH3))
โดยนำเบนซีนไปทำปฏิกิริยากับโพรพิลีน
คิวมีนนี้ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตฟีนอล
(Phenol
- C6H5-OH) โดยจะได้อะซีโทน
(acetone
- H3C-CO-CH3) เป็นผลิตภัณฑ์ร่วม
โรงงานที่ผลิตฟีนอลก็มักจะมีหน่วยผลิตคิวมีนของตัวเองเช่นเดียวกัน
-
มาเลอิกแอนไฮดราย
(Maleic
anhydride - C4H2O3)
ซึ่งผลิตจากปฏิกิริยา
gas
phase partial oxidation เบนซีนโดยตรง
มาเลอิกแอนไฮดรายนี้ใช้การผลิตพอลิเอสเทอร์ไม่อิ่มตัว
(Unsaturated
polyester - มีพันธะคู่
C=C
อยู่ในโมเลกุล)
แต่เส้นทางนี้กำลังถูกแทนที่ด้วยเส้นทางที่เริ่มจากไฮโดรคาร์บอน
C4
ผลิตภัณฑ์จากเบนซีนสี่ตัวข้างต้นเป็นการใช้งานหลักของเบนซีนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
นอกจากนี้ยังมีการใช้งานเบนซีนในรูปของสารเร่งออกเทนในน้ำมันแก๊สโซลีน
(ขอเรียกน้ำมัน
"แก๊สโซลีน"
แทนน้ำมัน
"เบนซิน"
เนื่องจากเกรงว่าจะไปสับสนกับเบนซีนที่สะกดคล้าย
ๆ กัน)
แต่เนื่องจากเบนซีนจัดว่าเป็นสารก่อมะเร็ง
มาตรฐานน้ำมันในปัจจุบันจึงกำหนดให้ปริมาณเบนซีนในน้ำมันแก๊สโซลีนไว้ไม่เกิน
1%
(โดยน้ำหนัก)
ลดลงจากเดิมที่ยอมให้มีได้ถึง
3%
สารเคมีแต่ละตัวหน้าตาเป็นอย่างไรก็เอารูปมาให้ดูแล้ว
ที่เรียกไซลีนว่าเป็น ออโธ
เมตา หรือพารา แทนที่จะเรียกเป็น
1,2-
1,3- หรือ
1,4-
หรือชื่อสามัญนั้นก็เพราะในวงการเขาเรียกกันอย่างนี้
ไม่ได้ใช้ระบบ IUPAC
๓.
การใช้งานโทลูอีน
โทลูอีนนั้นมีที่ใช้งานน้อยกว่าในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
โดยใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิต
-
กรดเบนโซอิก
(Benzoic
acid - C6H5-COOH)
ซึ่งเป็นปฏิกิริยาออกซิไดซ์หมู่
-CH3
ให้กลายเป็น
-COOH
-
ฟีนอล
ซึ่งเป็นการออกซิไดซ์เพื่อตัดหมู่
-CH3
ให้กลายเป็น
-OH
แต่การผลิตฟีนอลด้วยเส้นทางนี้ต่ำกว่าเส้นทางผ่านทางคิวมีนมาก
เนื่องจากโทลูอีนมีความเป็นพิษที่ต่ำกว่าเบนซีนมาก
จึงถูกนำไปใช้เป็นตัวทำละลายและสารเร่งออกเทนในน้ำมันแก๊สโซลีน
(น้ำมันแก๊สโซลีนของบ้านเรายอมให้มีอะโรแมติกรวมทั้งหมดได้ถึง
35%
โดยน้ำหนัก)
๔.
การใช้งานไซลีน
ไซลีนที่ผลิตได้นั้นมีอยู่ด้วยกัน
3
ไอโซเมอร์คือ
ออโธไซลีน (ortho-xylene
หรือ
o-xylene
หรือ
1,2-dimethyl
benzene) เมตาไซลีน
(meta-xylene
หรือ
m-xylene
หรือ
1,3-dimethyl
benzene) และพาราไซลีน
(para-xylene
หรือ
p-xylene
หรือ
1,4-dimethyl
benzene) ไซลีนที่อยู่ในรูปไซลีนผสมทั้งสามไอโซเมอร์นี้เรียกว่า
mixed-xylene
ใช้เป็นตัวทำละลายหรือสารเพิ่มออกเทนในน้ำมันแก๊สโซลีน
แต่ก็ยังมีการแยกออกแต่ละไอโซเมอร์ออกมาเพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีดังนี้
ออโธไซลีนใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตฟาทาลิกแอนไฮดราย
(phthalic
anhydride) โดยผลิตจากปฏิกิริยา
gas
phase partial oxidation ออโทไซลีนกับอากาศโดยตรง
ส่วนใหญ่ของฟาทาลิกแอนไฮดรายที่ผลิตได้นั้นจะนำไปผลิตเป็น
plasticizer
สำหรับผสมกับ
PVC
เพื่อผลิตเป็นหนังเทียม
เมตาไซลีนไม่มีการใช้งานที่เด่นชัดในการใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
พาราไซลีนใช้เป็นสารตั้งต้นในการกรดเทอฟาทาลิก
(C6H4(COOH)2)
โดยผลิตจากปฏิกิริยา
liquid
phase partial oxidation พาราไซลีนกับอากาศโดยตรง
กรดเทอฟาทาลิกที่ได้จะนำไปผลิตเป็นพอลิเอสเทอร์โดยทำปฏิกิริยากับเอทิลีนไกลคอล
(ethylene
- HO-CH2-CH2-OH) หรือเอทิลีนออกไซด์
(C2H4O)
จะได้พอลิเมอร์ที่เรียกว่าพอลิเอทิลีนไกลคอล
(Polyethylene
terephthalate) หรือที่เรียกย่อ
ๆ ว่า PET
ซึ่งมีทั้งเกรดเป็นเส้นใยที่นำมาทำเสื้อผ้าที่เราสวมใส่
(ที่เรียกว่าเส้นใยพอลิเอสเทอร์)
และที่นำไปเป่าเป็นขวดบรรจุของเหลวต่าง
ๆ
๕.
เชื้อเพลิง
ตัวทำละลาย หรือสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
อะโรมาติกที่กล่าวมานั้นสามารถนำไปใช้เป็น
เชื้อเพลิง ตัวทำละลาย
หรือสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ก็ได้
แต่การจำหน่ายเพื่อเป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะได้ราคาที่ดีกว่า
ในบรรดาอะโรมาติกที่กล่าวมาข้างต้นนั้น
โทลูอีนและเมตาไซลีนเป็นสารที่มีความต้องการใช้งานเป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีน้อยที่สุด
ด้วยเหตุนี้จึงได้มีความพยายามที่จะเปลี่ยนสารทั้งสองตัวนี้ให้กลายเป็นสารตัวอื่นที่สามารถนำไปเป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้
๖.
Xylene isomerisation
กระบวนการ
xylene
isomerisation เป็นการเปลี่ยนเมตาไซลีนไปเป็นออโธไซลีนหรือพาราไซลีน
ในกระบวนการนี้จะมีการตัดหมู่
-CH3
หมู่หนึ่งออกจากวงแหวน
และนำไปเชื่อมต่อใหม่ที่อีกตำแหน่งหนึ่งของวงแหวนเดิม
(ที่ไม่ใช่ตำแหน่ง
meta)
ก็จะทำให้ได้ออโธไซลีนหรือพาราไซลีน
แต่ถ้าหมู่
-CH3
ที่ถูกตัดออกมานั้นไปเชื่อมต่อเข้ากับไซลีนอีกโมเลกุลหนึ่ง
ก็จะทำโมเลกุลไซลีนเดิมกลายเป็นโทลูอีน
(เพราะเหลือ
-CH3
เพียงแค่หมู่เดียว)
ส่วนไซลีนอีกโมเลกุลนั้นก็จะกลายเป็น
trimethylbenzene
ไป
๗.
Toluene disproportionation
reaction
โทลูอีนสองโมเลกุลสามารถทำปฏิกิริยากัน
โดยที่โมเลกุลหนึ่งนั้นจะถูกตัดเอาหมู่เมทิล
-CH3
ออกและนำหมู่
-CH3
ที่ตัดออกมานี้ไปต่อเข้ากับโทลูอีนอีกโมเลกุลหนึ่ง
ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์คือเบนซีนและไซลีน
ไซลีนที่ได้นั้นจะประกอบด้วยไอโซเมอร์สามตัวรวมกัน
ซึ่งจะนำไปเข้ากระบวนการ
xylene
isomerisation
ต่อเพื่อเปลี่ยนเมตาไซลีนให้กลายเป็นออโธไซลีนหรือพาราไซลีนอีกที
ส่วนเบนซีนที่ได้นั้นก็สามารถนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้ดังที่กล่าวไว้ในข้อ
๒.
ปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาหนึ่งที่ทำให้มีการผลิตเบนซีนเพิ่มขึ้น
นอกเหนือไปจากปฏิกิริยา
Platforming
๘.
ปัญหาของเบนซีน
เมื่อร่างกายของคนเราได้รับสารเคมีเข้าไป
ร่างกายจะขับออกโดยการเปลี่ยนสารประกอบนั้นให้กลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำได้
เพื่อที่จะได้ระบายออกผ่านทางปัสสาวะ
เนื่องจากโมเลกุลอะโรมาติกเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว
ดังนั้นเมื่อร่างกายรับเข้าไปก็จะไปสะสมในไขมัน
ในการขับโมเลกุล อะโรมาติกออกจากร่างกาย
ร่างกายจะต้องทำการออกซิไดซ์โมเลกุลเหล่านี้ให้เกิดหมู่ฟังก์ชันที่มีขั้ว
เพื่อที่จะได้ละลายน้ำได้
และเข้าสู่ระบบโลหิตก่อนจะไปถูกขับออกทางปัสสาวะผ่านทางไต
สารประกอบอะโรมาติกที่มีหมู่อัลคิลเกาะอยู่นั้น
ร่างกายจะทำการออกซิไดซ์หมู่อัลคิลให้กลายเป็นหมู่ที่มีขั้ว
(เช่นเปลี่ยนหมู่
-CH3
ให้กลายเป็น
-COOH)
แทนที่จะทำการออกซิไดซ์วงแหวนโดยตรง
ทั้งนี้เพราะการออกซิไดซ์หมู่อัลคิลนั้นทำได้ง่ายกว่าการออกซิไดซ์วงแหวน
แต่เนื่องจากเบนซีนไม่มีหมู่อัลคิลเกาะอยู่
ดังนั้นการขับเบนซีนออกจากร่างกายจึงต้องพึ่งปฏิกิริยาการออกซิไดซ์วงแหวนโดยตรง
ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการออกซิไดซ์วงแหวนเบนซีนนี้ถูกจัดว่าเป็นสารก่อมะเร็ง
ในอดีตนั้นเบนซีนส่วนที่เกินความต้องการของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีสามารถผลักเข้าสู่การผลิตน้ำมันแก๊สโซลีนได้
แต่ในปัจจุบันเนื่องจากมีการจำกัดปริมาณเบนซีนในน้ำมันแก๊สโซลีนให้ต่ำลงไปอีก
และในบางกระบวนการนั้นก็ได้มีการใช้สารตั้งต้นตัวอื่นมาใช้แทนเบนซีน
(เช่นการผลิตมาเลอิกแอนไฮดรายที่เปลี่ยนจากเบนซีนไปเป็นไฮโดรคาร์บอน
C4)
ทำให้การใช้งานเบนซีนนั้นถูกจำกัดมากยิ่งขึ้น
และนี่คือโจทย์ที่เราได้รับมาว่าจะจัดการอย่างไรกับเบนซีนส่วนเกินนี้
หวังว่าตอนนี้พวกคุณคงจะได้เห็นภาพกว้าง
ๆ
ของเรื่องราวทั้งหมดแล้วว่างานที่จะมอบหมายให้ทำนั้นเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง
คอยติดตามตอนต่อไปก็แล้วกัน