ป่าทางภาคตะวันออกเคยเป็นผืนป่าผืนใหญ่ผืนหนึ่งของประเทศไทย
ไล่จากชายฝั่งทะเลชลบุรีทางตะวันตกไปจนเข้าเขตแดนประเทศเพื่อนบ้านทางตะวันออก
จากชายทะเลระยองทางด้านทิศใต้ไปจนจรดฝั่งด้านใต้ของดงพญาเย็น
แต่เมื่อเวลาผ่านไป
จากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นเรื่อย
ๆ และการพัฒนาพื้นที่ทางการเกษตรเพื่อการส่งสินค้าออก
ทำให้พื้นที่ป่าภาคตะวันออกลดน้อยลงไปเรื่อย
ปัญหาหนึ่งของภาคตะวันออกคือไม่มีแม่น้ำสายใหญ่
มีเพียงแม่น้ำบางปะกงอยู่ทางด้านทิศเหนือและแม่น้ำเล็ก
ๆ สายสั้น ๆ ไหลลงทะเลทางด้านทิศใต้
นอกนั้นเป็นเพียงลำคลองเล็ก
ๆ ที่อาศัยน้ำซับที่ผืนดินซึมซับเอาไว้เมื่อมีฝนตกในแต่ละครั้ง
ทำให้พอมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดปี
แต่เมื่อพื้นที่ป่าลดลง
จากป่าไม้เปลี่ยนเป็นพืชไร่และพืชทางการเกษตรที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยงทั้งปี
ประกอบกับปริมาณน้ำฝนที่ลดต่ำลง
ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำในบางปี
ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกที่เห็นการพัฒนาอ่างเก็บน้ำหลายแหล่งทางภาคตะวันออก
และโครงการอ่างเก็บน้ำคลองสียัดก็เป็นหนึ่งในโครงการเหล่านี้
รูปที่
๑ แผนที่ทางหลวงประเทศไทยในปีพ.ศ.
๒๕๓๕
บริเวณตอนกลางของภาคตะวันออกยังมีความเป็นป่าอยู่
อำเภอท่าตะเกียบยังไม่มีปรากฏในแผนที่เลย
ผมผ่านไปแถวท่าตะเกียบเป็นครั้งแรกก็กว่าสิบปีแล้ว
ตอนนั้นเพื่อแวะไปเยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติเขาอ่างฤาไนย
จนเมื่อปลายปี ๒๕๕๓
เมื่อแวะไปอีกครั้งก็พบว่าเส้นทางที่เคยขับรถนั้นโดนน้ำท่วมไปแล้ว
(รูปที่
๑๑ และ ๑๒)
เนื่องจากโครงการอ่างเก็บน้ำคลองสียัดสร้างเสร็จ
น้ำที่สะสมเอาไว้ในอ่างก็ท่วมเส้นทางเดิมจนมิด
จนต้องมีการตัดเส้นทางใหม่อ้อมบริเวณที่น้ำท่วม
(รูปที่
๓)
มาสงกรานต์ปีนี้
หลังจากไปแวะนอนระยองมาคืนนึง
ต่อด้วยเขาสอยดาวอีกคืน
ขากลับก็วางแผนขับจากเขาสอยดาวขึ้นไปทางเหนือจนถึงวังสมบูรณ์
จากนั้นก็ตัดออกทางตะวันตกมุ่งผ่านเขาอ่างฤาไนยเข้าสู่ท่าตะเกียบ
ที่เลือกเส้นทางนี้ก็เพราะไม่ต้องการอ้อมขึ้นไปเหนือแล้ววงลงใต้ใหม่
อีกอย่างก็คืออยากแวะดูบรรยากาศข้างทางเส้นทางสายรองดูบ้าง
พอเข้าเขตท่าตะเกียบก็คิดจะแวะพักกินน้ำแข็งไสร้านข้างทางที่อยู่ทางริมทางสาย
๓๒๕๙ ด้านตะวันออกของอ่างเก็บน้ำ
ตอนที่แวะไปที่นั่นเมื่อปลายปี
๒๕๕๓ นั้น ก็จอดรถแวะพักกินน้ำแข็งไสที่ร้านนี้
พร้อมกับชมธรรมชาติเส้นทางถนนหายไปในอ่างเก็บน้ำ
แต่พอแวะไปปีนี้ก็ไม่มีร้านดังกล่าวแล้ว
แต่ได้เห็นอย่างอื่นแทน
นั่นก็คือถนนสายที่จมน้ำไปแล้ว
กลับโผล่ขึ้นมาใหม่
เพราะน้ำในอ่างมันลดต่ำลงไปเยอะ
รูปที่
๒ แผนที่ภาคตะวันออกในปัจจุบัน
โดนบุกรุกเข้าไปทำสวนยาง
สวนผลไม้ ไร่มันสำปะหลัง
ฯลฯ กันเต็มไปหมด
จนช้างป่าต้องมาหาอาหารกินในไร่ในสวนของชาวบ้าน
ช้างมันไม่ได้บุกรุกที่ทำกินของชาวบ้านหรอก
ชาวบ้านต่างหากที่ไปบุกรุกที่ทำกินของช้าง
บริเวณอ่างเก็บน้ำคลองสียัดอยู่ที่อำเภอท่าตะเกียบในกรอบสีส้มที่แสดงในรูป
รูปที่
๓ รูปนี้เป็นภาพถ่ายดาวเทียม
ทางหลวงสาย 3259
เดิมจะอยู่ตรงแนวเส้นสีเหลือง
แต่พอสร้างเขื่อนกั้นน้ำทำให้เส้นทางช่วงหนึ่งจมใต้น้ำ
เลยต้องมีการสร้างเส้นทางใหม่เลี่ยงอ้อมทางด้านใต้
เส้นทางที่ไปถ่ายรูปมาเมื่อวันพุธที่
๑๖ ที่ผ่านมาคือเส้นทางช่วงแนวเส้นสีเหลืองที่จมน้ำไป
พอน้ำแห้งมันก็เลยโผล่ขึ้นมาใหม่
รูปที่
๔ คราวนี้ขับรถจากด้านตะวันตกไปทางตะวันออก
(ขวาไปซ้ายในรูปที่
๓)
ผ่านโรงพยาบาลท่าตะเกียบมาได้สักหน่อยจะเจอป้ายเตือนว่าอีก
1.5
กิโลเมตรมีน้ำท่วมทาง
รูปที่
๕ ขับรถมาในถนนที่เคยจมน้ำ
มองไปด้านซ้ายเป็นบริเวณพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง
เห็นตอไม้ใหญ่ที่เขาตัดไปก่อนน้ำท่วมถึง
ตอนนี้หญ้าขึ้นเขียวขจีแสดงว่าค่อนข้างแล้ง
ทั้ง ๆ ที่เมื่อเดือนตุลาคม
๒๕๕๖ ที่ผ่านมายังมีข่าวอยู่เลยว่าน้ำมากจนล้นเขื่อนออกทาง
spillway
รูปที่
๖ ขับมาเรื่อย ๆ
จนเห็นสะพานข้ามคลองสียัดเดิมทอดตัวอยู่ข้างหน้า
พื้นถนนแม้ว่าจะจมน้ำมานานแต่ก็ยังมียางมะตอยปกคลุมอยู่
เว้นแต่มีหลุมบางแห่ง
ส่วนไหล่ทางก็ยังดูดีอยู่
รูปที่
๗ สะพานข้ามคลองสียัดเดิม
ตัวคอนกรีตมีร่องรอยการผุกร่อนไปบ้าง
ผิวไม่เรียบเหมือนเดิม
รูปที่
๘ ข้ามพ้นมายังอีกฝั่งของสะพาน
ถนนทางด้านนี้ยางมะตอยหายไปหมดแล้ว
(ไม่รู้เหมือนกันว่าหายไปเพราะอะไร)
เหลือแต่ผิวดินลูกรังและหินคลุก
รูปที่
๙ กำลังจะขึ้นฝั่งตะวันตก
บริเวณที่น้ำขึ้นสูงสุดคือบริเวณที่เลยแนวถนนลาดยางสิ้นสุดขึ้นไปหน่อย
ในกรอบสีเหลืองคือเสาไฟฟ้าสองต้นที่จะใช้เป็นจุดเทียบอ้างอิงระดับน้ำกับรูปที่
๑๒
รูปที่
๑๐ พ้นมาอีกฝั่งหนึ่งแล้วก็เลยขอมองย้อนกลับไปสักหน่อย
รูปที่
๑๑ รูปนี้ถ่ายเอาไว้เมื่อวันเสาร์ที่
๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
คราวนั้นขับรถจากด้านตะวันออกไปยังด้านตะวันตก
เป็นช่วงที่เขื่อนสียัดเพิ่งจะสร้างเสร็จได้ไม่นาน
เพราะก่อนหน้านั้นเคยผ่านไปเส้นทางดังกล่าว
ก็ยังไม่เห็นว่าจะมีอะไร
รูปที่
๑๒ ถ่ายเอาไว้ในวันเสาร์ที่
๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เช่นเดียวกัน
พอขับเลยป้ายในรูปที่ ๑๑
มาสักหน่อยก็จะพบกับเส้นทางที่หายไปในอ่างเก็บน้ำ
ภาพนี้เป็นการมองจากด้านตะวันออกไปยังด้านตะวันตกในทิศทางเดียวกับรูปที่
๑๐ แต่รูปนี้จะอยู่สูงกว่า
ดูได้จากเสาไฟฟ้าทางด้านขวาของรูปในกรอบสีเหลืองเทียบกับรูปที่
๙
วันนั้นก็เลยถือโอกาสขับรถไปพร้อมกับถ่ายรูปเส้นทางดังกล่าวไปเรื่อย
ๆ เพราะเชื่อว่าเส้นทางนี้คงจะไม่มีการซ่อมบำรุงใด
ๆ อีกแล้ว
และเชื่อว่าแต่ละครั้งที่มันโดนน้ำท่วมและลดแห้งลง
สภาพเส้นทางก็คงจะทรุดโทรมลงเรื่อย
ๆ จนในที่สุดก็รถก็คงจะไม่สามารถวิ่งผ่านได้
และน่าจะเหลือแต่สิ่งก่อสร้างที่เคยเป็น
"สะพานข้ามคลองสียัด"
ที่เป็นสิ่งเตือนให้รู้ว่าบริเวณดังกล่าวนั้นเคยมีถนนตัดผ่าน
ท้ายสุดนี้ก็ขอแสดงความยินดีกับสายน้อยร้อยห้าสิบเซนต์จากเมืองวัดป่ามะม่วงและสาวน้อยร้อยห้าสิบเซนต์จากเมืองโอ่งมังกร
ที่ผ่านการสอบปกป้องวิทยานิพนธ์ไปได้ด้วยดี
แต่ก็อย่าลืมทำการทดลองที่ติดค้างอยู่ให้เสร็จด้วยก็แล้วกัน
ส่วนอีกสองคนที่เหลือก็อดทนหน่อย
เหลือเวลาอีกเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้นเอง
ก็จะเป็นการพิสูจน์ตนเองว่าสิ่งที่ได้ศึกษาและลงมือปฏิบัติมาตลอดเวลา
๒ ปีนั้น จะส่งผลอย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น