gate
valve และ
globe
valve นั้นใช้
hand
wheel ในการปิด-เปิดวาล์ว
เวลาซื้อวาล์วพวกนี้มาตัว
hand
wheel เองก็ติดมากับตัววาล์ว
เวลาที่นำวาล์วพวกนี้ไปติดตั้ง
ถ้ามันมีพื้นที่พอที่จะติดตั้งวาล์วได้
มันก็มักจะมีพื้นที่พอสำหรับการทำงานของวาล์วเสมอ
(ส่วนจะมีพื้นที่พอสำหรับการใช้
wheel
key ช่วยในการหมุน
hand
wheel หรือเปล่านั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง)
สำหรับวาล์วที่เป็นชนิด
rising
stem ที่ตัว
stem
จะเคลื่อนที่ขึ้นเวลาที่ทำการเปิดวาล์ว
(stem
คือตัวแกนที่ยึด
gate
(หรือ
disc
ในกรณีของ
gate
vavel) หรือ
plug
(ในกรณีของ
globe
valve แต่ถ้ารูปทรงของ
plug
ออกไปทางแนวแบน
ๆ ก็อาจเรียกว่า disc)
เข้ากับตัว
hand
wheel ของวาล์ว)
ก็จำเป็นต้องมีที่ว่างทางด้านบนของ
hand
wheel สำหรับการเคลื่อนที่ขึ้นของตัว
stem
รูปที่ ๑ วาล์วควบคุม (control valve) ตัวนี้ใช้ ball valve เป็น block valve ทั้งสามตัว ตัวที่อยู่ทางด้านขาเข้าและด้าน bypass นั้นไม่มีปัญหาอะไร ตัวที่มีปัญหาคือตัวที่อยู่ทางด้านขาออกที่ตอนประกอบนั้นช่างประกอบไม่ได้สังเกตทิศทางการหมุนของก้านวาล์ว พอติดตั้งเข้าไปแล้วพอจะหมุนเปิดวาล์วปรากฏว่าก้านวาล์วมาชนกับตัววาล์วควบคุม ทำให้ไม่สามารถเปิด ball valve ตัวดังกล่าวได้สุด (ลูกศร 1) ทีมทดสอบมาพบปัญหาดังกล่าวเมื่อมาทดสอบการเดินเครื่องก็เลยต้องทำการแก้ไข พอถอด bolt ยึดหน้าแปลนออก ด้วยน้ำหนักของวาล์วควบคุมก็เลยทำให้ท่อด้านวาล์วควบคุมเคลื่อนต่ำลงเล็กน้อย (ลูกศร 2) นอกจากนี้วาล์วควบคุมตัวนี้ยังมีการติดตั้งที่แตกต่างไปจาก Piping and Instrumental diagram (P&ID) คือติดตัวกรอง (strainer - ลูกศร 3) แทนที่จะติดตั้ง drain valve ตามแบบ P&ID
ball valve นั้นถ้าเป็นวาล์วตัวเล็กก็มักจะมีก้านวาล์ว (handle คือที่สำหรับให้มือจับเพื่อทำการหมุนเปิด-ปิดวาล์ว) ติดตั้งมากับตัววาล์ว แต่ถ้าเป็นวาล์วตัวใหญ่ก็จะแยกชิ้นส่วนมา เวลาจะใช้งานก็ค่อยสวมลงไป เหตุผลที่ต้องแยกชิ้นมาก็เพราะความยาวของก้านวาล์วนั้นมันจะยาวกว่าความยาวของตัววาล์ว และถ้ายิ่งวาล์วมีขนาดใหญ่มากขึ้นขึ้น ความยาวของก้านวาล์วก็จะยาวมากขึ้นไปด้วย (สำหรับวาล์วขนาด 6 นิ้วตัวก้านวาล์วก็ยาวร่วม 1 เมตรแล้ว) ดังนั้นในการติดตั้ง ball valve นั้นจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงพื้นที่ว่างรอบ ๆ ตัววาล์วด้วยเพื่อใช้ในการหมุนเปิด-ปิดวาล์ว
จากการไปตรวจเยี่ยมหน่วยกลั่นแอลกอฮอล์ที่เตรียมการทดสอบการเดินเครื่องมาเมื่อวาน
ก็ได้ไปเป็นปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นที่พบโดยทีมที่มาทำการทดสอบการเดินเครื่อง
หน่วยกลั่นนี้เป็นหน่วยกลั่นขนาดเล็ก
สร้างสำเร็จจากต่างประเทศ
ทำการสอบเสร็จก็ถอดแยกชิ้นส่งมาประกอบใหม่ที่เมืองไทย
ทีมประกอบกับทีมเดินเครื่องเข้าใจว่าเป็นคนละชุดกัน
(มาจากประเทศผู้ออกแบบทั้งคู่)
ตอนมาประกอบคนประกอบก็รีบ
ๆ ทำให้เสร็จจะได้กลับบ้าน
พอทีมเดินเครื่องมาตรวจความเรียบร้อยก็พบว่าระบบมีความบกพร่องหลายตำแหน่ง
(อันที่จริงทางผู้ควบคุมงานก่อสร้างก็ได้รับแจ้งไปก่อนหน้าแล้ว
แต่ดูเหมือนไม่ค่อยใส่ใจ)
เลยต้องมาแก้ปัญหากันหน้างาน
ที่ยกมาให้ดูนี้เป็นเพียงแค่ปัญหาหนึ่งที่พบเท่านั้น
ความเสียหายที่เกิดจากการประกอบผิดนี้ไม่ได้มีเพียงแค่เวลาที่ต้องเสียไป
แต่ยังรวมไปถึง "ปะเก็น
-
gasket"
ที่มักจะต้องเปลี่ยนเวลาที่ต้องถอดหน้าแปลนออกแล้วประกอบใหม่
ถ้าเป็นประเก็นที่ทำจากวัสดุที่มีความยืดหยุ่นและยังไม่เสียรูปร่างก็อาจนำมาใช้ใหม่ได้
แต่ถ้าเป็นชนิด spiral
wound ที่เปลี่ยนรูปร่างถาวรหลังการอัดตัวก็ต้องเปลี่ยนใหม่เลย
เรียกว่าใช้ได้เพียงครั้งเดียวก็ต้องทิ้ง
ดังนั้นการประเมินความคืบหน้าในงานประกอบจึงไม่ควรพิจารณาแค่จำนวนชิ้นงานที่ถูกประกอบเข้าด้วยกัน
แต่ควรครอบคลุมไปถึงความถูกต้องของงานประกอบด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น