จากตอนที่
๑๕ Deethanization section (วันศุกร์ที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๙)
ผลิตภัณฑ์ยอดหอที่ประกอบด้วยสารประกอบ
C2
ที่กลั่นแยกได้จะถูกส่งไปยังหน่วย
Acetylene removal section (ตอนที่ ๑๖ วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๙)
ก่อนที่จะทำการแยกอีเทนและเอทิลีนออกจากกันที่หน่วย
Ethylene fractionation section (ตอนที่ ๑๗ วันพฤหัสบดีที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๙)
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากก้นหอกลั่นแยก
C2
ออกจากไฮโดรคาร์บอนตัวที่หนักกว่านั้นจะถูกส่งมายังหน่วย
Depropanization
section นี้
เพื่อทำการกลั่นแยกผลิตภัณฑ์
C3
(โพรเพน
(C3H8)
โพรพิลีน
(H3C-CH=CH2)
และเมทิลอะเซทิลีน
(H3C-CCH2))
ออกจากไฮโดรคาร์บอน
C4
และตัวที่หนักกว่า
สายป้อนที่ป้อนเข้าหอกลั่นแยก
C3
ประกอบด้วย
condensate
stripper bottom (เข้าที่
tray
ที่
22
ที่มาของสายนี้จะอยู่ในตอนต่อไปคือ
C3
hydrogenation และ
Depropanization
section) และผลิตภัณฑ์จากก้นหอ
deethanizer
(เข้าที่
tray
ที่
16
- ที่มาของสายนี้ดูได้จากตอนที่
๑๕ Deethanization
section) เนื่องจาก
reboiler
ของหน่วยนี้มีโอกาสที่จะเกิด
fouling
สูง
(คราบสกปรกเกาะสะสมบนพื้นผิวแลกเปลี่ยนความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาการพอลิเมอร์ไรซ์)
จึงควรต้องมีการติดตั้ง
rebolier
สำรอง
และเพื่อลดการเกิด fouling
จึงมีการเติมสารยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาการพอลิเมอร์ไรซ์
(polymerization
inhibitor) เข้าไป
(แผนผังในรูปที่
๑ ทำการเติมสารยับยั้งเข้าไปในสายป้อนที่มาจาก
condensate
stripper แต่แผนผังในรูปที่
๒ ทำการเติมเข้าไปยังสายจากก้นหอ
depropanization
ที่ป้อนไปยัง
reboiler)
ปริมาณการฉีดสารยับยั้งอยู่ที่ประมาณ
0.01%
ของปริมาณรวมของสายป้อนที่ป้อนเข้าหอกลั่นแยก
C3-C4
(depropanizer column)
reboiler
ก้นหอ
depropanizer
ได้รับความร้อนจากไอน้ำความดันต่ำ
ถ้าความร้อนที่ให้นั้นต่ำเกินไปจะทำให้มี
C3
หลุดปนมากับผลิตภัณฑ์
C4
ก้นหอมากขึ้น
แต่ถ้าให้มากเกินไปก็จะทำให้มี
C4
หลุดปนไปกับผลิตภัณฑ์
C3
ยอดหอมากขึ้นแทน
โดยทั่วไปจะคุมอุณหภูมิเอาไว้ที่ประมาณ
80ºC
เนื่องจากไฮโดรคาร์บอนตั้งแต่
C3-C4
นั้นสามารถทำให้เป็นของเหลวได้ที่อุณหภูมิห้องโดยใช้เพียงแค่ความดันเพียงอย่างเดียว
ดังนั้นความดันในการทำงานของหน่วยนี้จึงค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับหน่วยที่อยู่ก่อนหน้า
การใช้ความดันที่ต่ำลงช่วยลดความร้อนที่ต้องใช้ในการต้มผลิตภัณฑ์ก้นหอให้เดือดกลายเป็นไอและยังช่วยลดการเกิด
fouling
และยังช่วยให้ค่าความสามารถในการระเหยกลายเป็นไอสัมพัทธ์
(relative
volatility) ระหว่าง
C3
และ
C4
เพิ่มมากขึ้น
ทำให้แยก C3
ออกจาก
C4
ได้ง่ายขึ้น
(มองในแง่หอกลั่นคือมีจำนวน
tray
ลดลง
และทำให้หอกลั่นเตี้ยลง)
แต่การใช้ความดันที่ต่ำนั้นจะทำให้ปริมาตรจำเพาะของส่วนที่เป็นไอในหอกลั่นเพิ่มมากขึ้น
(เพิ่ม
vapour
loading) จะทำให้หอกลั่นต้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ใหญ่ขึ้น
(เพื่อควบคุมความเร็วในการไหลขึ้นของส่วนที่เป็นไอไม่ให้สูงเกินไป)
และอาจทำให้ไม่สามารถใช้น้ำหล่อเย็นในการควบแน่นผลิตภัณฑ์ไอที่ยอดหอได้
(ต้องเปลี่ยนไปใช้
propylene
refrigerant แทน
ที่มีต้นทุนสูงกว่า)
ดังนั้นการเลือกความดันการทำงานที่เหมาะสมจึงต้องนำเอาปัจจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์มาพิจารณาถึงความคุ้มค่าด้วย
การควบคุมความดันภายในหออาศัยการวัดความดันที่ก้นหอ
และส่งสัญญาณการควบคุมไปการระบายแก๊สทิ้งที่
reflux
drum และอัตราการไหลของ
coolant
เข้า
condenser
ยอดหอ
(ไหลเข้ามากก็จะช่วยลดความดันด้วยการควบแน่นไอระเหย)
ความดันภายในหอกลั่นขึ้นอยู่กับอัตราการให้ความร้อนที่
reboiler
ถ้าให้ความร้อนมากก็จะเกิดไอมาก
ความดันก็จะสูงขึ้น
โดยความดันจะเพิ่มจากบริเวณก้นหอแล้วค่อยขึ้นไปทางด้านบน
ดังนั้นการวัดความดันที่ก้นหอจึงให้การตอบสนองที่รวดเร็วกว่าการวัดความดันที่ยอดหอ
(ปรกติความดันที่ก้นหอกลั่นก็สูงกว่าที่ยอดหอกลั่นอยู่แล้ว)
การควบคุมปริมาณ
C4
ที่จะหลุดรอดออกไปกับผลิตภัณฑ์
C3
ยอดหอ
นอกจากจะใช้การควบคุมปริมาณความร้อนที่ให้กับ
reboiler
ก็ยังสามารถใช้อัตราการ
reflux
ช่วยได้ด้วยส่วนหนึ่ง
กล่าวคือถ้าเพิ่มอัตราการ
reflux
ก็จะช่วยลดปริมาณ
C4
ที่จะหลุดรอดออกไปกับผลิตภัณฑ์
C3
ยอดหอ
แต่ถ้าป้อน reflux
มากเกินไปก็จะทำให้อุณหภูมิภายในหอลดต่ำลง
และทำให้มี C3
หลุดรอดออกไปกับผลิตภัณฑ์
C4
ก้นหอมากเกินไปแทนได้
ในกรณีที่หอกลั่นที่นำมาให้ดูเป็นตัวอย่างนี้ทำงานที่สภาวะที่เหมาะสม
ผลิตภัณฑ์ยอดหอที่ได้ควรที่จะ
(ก)
มีปริมาณไฮโดรคาร์บอน
C4
และที่หนักกว่า
ไม่เกิน 30
ppm (โดยปริมาตร)
(ข)
มีปริมาณไฮโดรคาร์บอน
C2
ไม่เกิน
1000
ppm (โดยปริมาตร)
(ค)
ความเข้มข้นโพรเพนอยู่ที่ระดับ
2-6
vol%
(ง)
โดยส่วนที่เหลือคือโพรพิลีน
ตัวอย่างที่ยกมาแสดงนี้ทำงานที่อุณหภูมิยอดหอประมาณ
12ºC
(ดังนั้น
coolant
ที่ใช้ที่เครื่องควบแน่นจะต้องมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่านี้)
และที่ก้นหอมีความดันประมาณ
117
psig ที่อุณหภูมิประมาณ
80ºC
ณ
จุดนี้ต้องขอบันทึกเอาไว้หน่อยว่า
รูปแผนผังของหน่วยต่าง ๆ
ที่นำมาแสดงนั้น
ถ้าสังเกตจะพบว่าตัวเลขและความสัมพันธ์ระหว่างอุปกรณ์ต่าง
ๆ ที่แสดงในรูปแผนผังอย่างง่าย
(ที่มีเพียงหน้าเดียว)
และแผนผังที่มีรายละเอียดมากกว่า
(ที่ต้องแยกออกเป็นสองหน้า)
นั้นมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง
ทั้งนี้เป็นเพราะแผนผังอย่างง่ายนั้นเป็น
flow
diagram ต้นแบบของกระบวนการโดยรวม
ใช้เป็นตุ๊กตาในการวางระบบ
เพราะเมื่อนำมาทำการออกแบบจริงโดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของโรงงาน
(เช่นระบบสารณูปโภคต่าง
ๆ ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์
การประหยัดพลังงาน
การเริ่มเดินเครื่อง
การควบคุมกระบวนการ ฯลฯ)
จะพบว่าควรมีการเปลี่ยนแปลง
แก้ไข และ/หรือปรับปรุง
flow
diagram ต้นแบบเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง
รูปที่
๑ ตัวอย่างแผนผังหน่วย
Depropanization
section
รูปที่
๒ อีกแผนผังหนึ่งของหน่วย
Depropanization
section
รูปที่
๓ อีกแผนผังหนึ่งของหน่วย
Depropanization
section (ต่อจากรูปที่
๒)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น