การแลกเปลี่ยนความร้อนในโรงงานนั้นมีทั้งการทำเพื่อการประหยัดพลังงาน
คือการนำเอาความร้อนจากสาย
process
fluid ที่ต้องการทำให้เย็นตัวลง
ถ่ายเทให้กับสาย process
fluid ที่ต้องการทำให้ร้อนขึ้น
และการทำให้ process
fluid นั้นมีอุณหภูมิที่เหมาะสม
เช่นการลดอุณหภูมิด้วยน้ำหล่อเย็น
(ความร้อนที่น้ำหล่อเย็นรับไปจะเอาไปปล่อยทิ้งที่หอทำน้ำเย็น)
และการให้ความร้อนด้วยไอน้ำ
(ที่ใช้ความร้อนจากภายนอกมาต้มน้ำให้ร้อน)
การจับคู่
process
fluid ที่จะนำมาแลกเปลี่ยนความร้อนกันนั้น
ปัจจุบันยังคงเป็นโจทย์ที่สำคัญในการออกแบบกระบวนการเพื่อให้กระบวนการผลิตสิ้นเปลืองพลังงานน้อยที่สุด
กล่าวคือทำอย่างไรจึงจะมีการปล่อยความร้อนทิ้งทางสายน้ำหล่อเย็นต่ำสุด
และมีการนำเอาแหล่งพลังงานจากภายนอกมาใช้น้อยที่สุดที่นำมาผลิตไอน้ำ
(หรือตัวกลางอื่นที่ใช้ในการให้ความร้อน
เช่น thermal
oil) เพื่อให้ความร้อน
การจับคู่ระหว่าง
process
fluid
สองสายที่สายหนึ่งต้องการทำให้เย็นตัวลงและอีกสายหนึ่งต้องการทำให้ร้อนขึ้นนั้น
ไม่เพียงแต่ต้องพิจารณาถึงปริมาณความร้อนของสายร้อนที่ต้องดึงออกและของสายเย็นที่ต้องเพิ่มเข้าไป
ถ้าพบว่ามันจับคู่กันได้พอดีก็ต้องมีการพิจารณาต่ออีกว่าปริมาตรการไหลของสายทั้งสองเป็นอย่างไร
เพราะปริมาตรการไหลส่งผลต่อพื้นที่หน้าตัดการไหลในเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน
ที่จะต้องไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป
รูปที่
๑ เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนชนิด
shell
and tube ขนาดเล็กสองตัว
ตั้งในแนวดิ่ง (ลูกศรสีแดงชี้)
ระหว่างการติดตั้ง
ตัวที่อยู่ข้างหลังนั้น A
คือช่องทางไอจากยอดหอกลั่นไหลเข้าส่วน
shell
ของเหลวที่เกิดจากการควบแน่นจะไหลออกทางด้านล่าง
(ท่อทางออกอยู่ใต้พื้น)
ส่วน
B
และ
C
คือช่องทางเข้าออกของหน้ำหล่อเย็นที่ไหลเข้าส่วน
tube
ถ้าพื้นที่หน้าตัดการไหลใหญ่เกินไป
ความเร็วในการไหลจะต่ำ
การถ่ายเทความร้อนจะไม่ดีเพราะมีการเกิดชั้นฟิล์มหุ้มพื้นผิวถ่ายเทความร้อนเอาไว้
แต่ถ้าพื้นที่หน้าตัดการไหลเล็กเกินไป
ความเร็วในการไหลจะสูงเกินไป
ค่าความดันลดคร่อมตัวอุปกรณ์ก็จะสูง
และอาจส่งผลต่อค่าความดันย้อนกลับ
(back
pressure) ของระบบได้
ถ้าอัตราการไหลโดยปริมาตรของ
process
fluid สองสายไม่ต่างกันเท่าใดนัก
ก็อาจใช้เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเพียงเครื่องเดียวได้
แต่ถ้าสายใดสายหนึ่งมีอัตราการไหลที่สูงกว่าอีกสายหนึ่งมาก
ในกรณีนี้อาจต้องใช้เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนสองเครื่องต่อกัน
โดยให้สายที่มีอัตราการไหลต่ำนั้นไหลในเส้นทางอนุกรม
(พื้นที่หน้าตัดการไหลคงที่
โดยไหลเข้าเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเครื่องหนึ่งก่อน
และค่อยไหลเข้าอีกเครื่องหนึ่ง)
และสายที่มีอัตราการไหลสูงนั้นให้ไหลในเส้นทางขนาน
(เพิ่มพื้นที่หน้าตัดการไหล
โดยการแบ่งแยกการไหล
ไหลแบบคู่ขนานเข้าเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนสองเครื่อง
เช่นในรูปที่ ๓-๕)
หรือไม่ก็ทำการจับคู่สายที่มีอัตราการไหลต่ำสาย
(ที่ต้องการรับหรือระบายความร้อนเหมือนกัน)
เข้ากับสายที่มีอัตราการไหลสูงเพียงสายเดียว
รูปที่
๒ อีกตัวอย่างหนึ่งของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนชนิด
shell
and tube ขนาดเล็กตั้งในแนวดิ่ง
A
คือช่องทางเข้า-ออกส่วน
shell
(อีกช่องทางหนึ่งอยู่ทางด้านล่างใต้พื้น)
ส่วน
B
และ
C
คือช่องทางเข้า-ออกส่วน
tube
รูปที่
๓ ตัวอย่าง P&ID
ของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนสองเครื่องวางคู่ขนานกัน
โดยของไหลที่ไหลเข้าส่วน
shell
นั้นถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนเข้าเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแต่ละเครื่อง
โดยของไหลที่ไหลเข้าส่วน
tube
ของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแต่ละเครื่องนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นของไหลชนิดเดียวกัน
(กล่าวคือสายที่มีอัตราการไหลสูง
1
สาย
จับคู่กับสายที่มีอัตราการไหลต่ำ
2
สาย)
ในรูปนี้เข้าใจว่าต้องการสื่อว่าของไหลที่ไหลเข้าส่วน
shell
นั้นไหลจากล่างขึ้นบน
ซึ่งจะแตกต่างไปจากรูปที่
๔ ที่ไหลจากบนลงล่าง
(ดูจากตำแหน่งของ
PSV
ที่ติดตั้งอยู่ทางด้านขาออก)
รูปที่
๔ อีกตัวอย่างหนึ่งของ
P&ID
ของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนสองเครื่องวางคู่ขนานกัน
โดยของไหลที่ไหลเข้าส่วน
shell
นั้นถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนเข้าเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแต่ละเครื่อง
โดยของไหลที่ไหลเข้าส่วน
tube
ของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแต่ละเครื่องนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นของไหลชนิดเดียวกัน
ในรูปนี้ของไหลที่ไหลเข้าส่วน
shell
นั้นไหลจากบนลงล่าง
รูปที่
๕ ตัวอย่าง P&ID
ของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนสองเครื่องวางคู่ขนานกัน
โดยของไหลที่ไหลเข้าส่วน
tube
นั้นถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนเข้าเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแต่ละเครื่อง
โดยของไหลที่ไหลเข้าส่วน
shell
ของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแต่ละเครื่องนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นของไหลชนิดเดียวกัน
รูปที่
๖ ตัวอย่าง P&ID
ของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนสองเครื่องต่ออนุกรมกัน
โดยน้ำหล่อเย็นไหลเข้าส่วน
shell
ของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเครื่องแรก
จากนั้นจึงไหลเข้าส่วน
shell
ของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเครื่องที่สอง
ส่วนของไหลที่ไหลในส่วน
tube
นั้นพอออกจากเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเครื่องแรกก็ไหลต่อเข้าไปในส่วน
tube
ของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเครื่องที่สอง
รูปนี้คำบรรยายแบบมีผิดตรงนี้บอกว่าน้ำหล่อเย็นไหลเข้าส่วน
tube
ทั้ง
ๆ ที่ในรูปน้ำหล่อเย็นไหลเข้าส่วน
shell
รูปที่
๗ ตัวอย่าง P&ID
ของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนสองเครื่องต่ออนุกรมกัน
โดยน้ำหล่อเย็นไหลเข้าส่วน
tube
ของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเครื่องแรก
จากนั้นจึงไหลเข้าส่วน tube
ของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเครื่องที่สอง
ส่วนของไหลที่ไหลในส่วน
shell
นั้นพอออกจากเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเครื่องแรกก็ไหลต่อเข้าไปในส่วน
shell
ของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเครื่องที่สอง
สิ่งหนึ่งที่พึงควรคำนึงคือการจับคู่
process
fluid ที่จะนำมาทำการแลกเปลี่ยนความร้อนเพื่อการประหยัดพลังงาน
ที่ออกมาดูดีบนโปรแกรม
simulation
นั้นไม่ได้หมายความว่าจะนำมาใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ
เพราะมีสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่ไม่มีการรวมเข้าไปในการคำนวณคือ
"ตำแหน่งที่ตั้ง"
ของตัวอุปกรณ์
เพราะถ้าคู่ process
fluid
ที่จะนำมาแลกเปลี่ยนความร้อนกันนั้นต่างอยู่คนละฟากที่ตั้งของตัวโรงงาน
การที่ต้องเดินท่อสาย process
fluid ทั้งสองเป็นระยะทางไกลเพื่อให้มาแลกเปลี่ยนความร้อนกันนั้น
ค่าใช้จ่ายในการเดินท่อ
(รวมทั้งค่าซ่อมบำรุงต่าง
ๆ ที่จะตามมา)
และการสูญเสียพลังงานตามแนวเส้นท่อที่เดิน
คงเป็นสิ่งที่จะหลีกเลี่ยงไม่คำนึงถึงไม่ได้
ความยาวท่อโลหะที่ขายกันอยู่ทั่วไปในท้องตลาดนั้น
แม้ว่าจะไม่มีมาตรฐานกำหนดว่าท่อแต่ละเส้นต้องผลิตออกมายาวเท่าใด
แต่ที่ผลิตจำหน่ายกันก็จะมีความยาวประมาณ
6
หรือ
12
เมตร
สำหรับงานที่ต้องการใช้ท่อที่สั้นกว่านี้ก็ต้องนำท่อยาวนี้มาตัดให้สั้นลง
ในกรณีของงานที่ต้องการท่อที่สั้นกว่าความยาวที่จำหน่ายนี้เป็นจำนวนมาก
(เช่นในกรณีของ
tube
ที่ใช้ในเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบ
shell
and tube) จะเป็นการดีถ้าหากเลือกความยาวท่อที่ตัดแล้วจะไม่มีเศษเหลือ
พื้นที่ผิวสำหรับการแลกเปลี่ยนความร้อนเพิ่มตามจำนวนท่อและความยาวท่อ
ในส่วนของ tube
นั้นการเพิ่มจำนวนท่อจะทำให้ความเร็วในการไหลภายในท่อลดลง
ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อการแลกเปลี่ยนความร้อน
(มีชั้นฟิล์มต้านทานการไหลเกิดขึ้น)
แต่การเพิ่มความยาวท่อจะทำให้คงความเร็วในการไหลเอาไว้ได้
ดังนั้นแทนที่จะใช้เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเพียงเครื่องเดียวที่มีจำนวนท่อมาก
ก็อาจใช้เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนสองเครื่องที่แต่ละเครื่องมีจำนวนท่อน้อยกว่า
แต่นำมาเรียงต่ออนุกรมกัน
(ดังตัวอย่างในรูปที่
๖ และ ๗)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น