เมื่อวานได้เล่าถึงกรณีกราฟการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
กรณีของกรดที่แตกตัวให้โปรตอนได้
2
ตัว
โดยได้แสดงให้เห็นว่าเราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
ที่เด่นชัดได้กี่ครั้งนั้น
ขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างการแตกตัวครั้งแรกและครั้งที่สองว่ามีมากน้อยเพียงใด
มาวันนี้จะลองเอาโปรแกรมเดิมมาคำนวณกรณีของกรดที่แตกตัวให้โปรตอนได้
3
ตัวบ้าง
โดยกรดที่เลือกมาเป็นตัวอย่างคือ
phophoric
acid (H3PO4) citric acid และ
ethylenediaminetetraacetic
acid (EDTA) โครงสร้างโมเลกุลของ
citric
acid และ
EDTA
แสดงในรูปที่
๑ ส่วนค่าคงที่การแตกตัวแสดงไว้ในตารางที่
๑
รูปที่
๑ โครงสร้างโมเลกุลของ
Citric
acid และ
Ethylenediaminetetraacetic
acid (EDTA)
ตารางที่
๑ ค่าคงที่การแตกตัวของกรดต่าง
ๆ ที่ใช้ในการคำนวณมีดังนี้
การคำนวณเริ่มโดยสมมุติว่านำสารละลายกรดแต่ละชนิดเข้มข้น
0.1
M ปริมาตร
100
ml มาไทรตกับสาระลายเบสแก่ที่มีความเข้มข้นOH-
0.1M
เนื่องจากโปรแกรมที่นำมาใช้คำนวณนั้นใช้ได้กับกรดที่ให้โปรตอนได้สูงสุด
3
ตัว
แต่ในกรณีของ EDTA
นั้นสามารถให้โปรตอนได้
4
ตัว
ดังนั้นในกรณีของกราฟ EDTA
จึงได้สมมุติว่าการแตกตัวครั้งที่
4
นั้นน้อยมากและไม่ได้นำมาคิดคำนวณ
กราฟผลการคำนวณค่า pH
และอัตราการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
(d(pH)/d(V)) ที่หยดเบสลงไปที่ปริมาตรต่าง
ๆ กันแสดงไว้ในรูปที่ ๒ ข้างล่าง
รูปที่ ๒ ผลการคำนวณ (บน) การเปลี่ยนแปลงค่า pH (ล่าง) ค่าอัตราการเปลี่ยนแปลงค่า pH ของกรดที่แตกตัวให้โปรตอนได้ ๓ ตัว ความเข้มข้นของกรดเริ่มต้น 0.1 M ปริมาตร 20 ml ไทเทรตด้วยเบสแก่ที่ให้โปรตอนได้ตัวเดียวเข้มข้น 0.1 M เนื่องจากโปรแกรมที่ใช้นั้นสามารถคำนวณได้ถึงกรดที่แตกตัวให้โปรตอนได้ 3 ตัว ไฟล์ spread sheet ของ OpenOffice ดาวน์โหลดได้ที่ https://terpconnect.umd.edu/~toh/models/Titration.html ในกรณีของ EDTA จึงสมมุติว่าการแตกตัวครั้งที่ 4 นั้นน้อยมาก และไม่ได้นำมาคำนวณ
รูปที่ ๒ ผลการคำนวณ (บน) การเปลี่ยนแปลงค่า pH (ล่าง) ค่าอัตราการเปลี่ยนแปลงค่า pH ของกรดที่แตกตัวให้โปรตอนได้ ๓ ตัว ความเข้มข้นของกรดเริ่มต้น 0.1 M ปริมาตร 20 ml ไทเทรตด้วยเบสแก่ที่ให้โปรตอนได้ตัวเดียวเข้มข้น 0.1 M เนื่องจากโปรแกรมที่ใช้นั้นสามารถคำนวณได้ถึงกรดที่แตกตัวให้โปรตอนได้ 3 ตัว ไฟล์ spread sheet ของ OpenOffice ดาวน์โหลดได้ที่ https://terpconnect.umd.edu/~toh/models/Titration.html ในกรณีของ EDTA จึงสมมุติว่าการแตกตัวครั้งที่ 4 นั้นน้อยมาก และไม่ได้นำมาคำนวณ
จากรูปที่
๒ จะเห็นว่าในกรณีของกรดฟอสฟอริกนั้น
เนื่องจากค่า Ka1
และ
Ka2
แตกต่างกันอยู่มาก
แต่ก็ไม่ได้มีค่าคงที่การแตกตัวที่ต่ำมากดังเช่นค่า
Ka3
ทำให้เราเห็นกราฟการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
ที่เด่นชัดเพียง
2
ครั้ง
คือตอนที่ไทเทรตโปรตอนตัวแรก
(20
ml) และตอนที่ไทเทรตโปรตอนตัวที่สอง
(40
ml) ส่วนตัวที่สามนั้นมองไม่เห็น
กรณีของ
citric
acid นั้นค่า
Ka1
และ
Ka2
มีค่าใกล้เคียงกัน
แถมยังมีค่าค่อนข้างสูงทั้งคู่
ในขณะที่ค่า Ka3
นั้นก็ไม่ได้ต่ำอะไรมากมายนั้น
จึงส่งผลให้กราฟการไทเทรตในช่วงโปรตอนตัวที่หนึ่งและสองนั้นไม่ชัดเจน
เป็นเพียงแค่เส้นกราฟไต่ขึ้นไปเรื่อย
ๆ แต่ไปชัดเจนเอาตอนการไทเทรตโปรตอนตัวที่สาม
(ที่ปริมาตร
60
ml)
ethylenediaminetetraacetic
acid หรือ
EDTA
นั้นมีค่าคงที่การแตกตัวสองค่าแรก
(Ka1
และ
Ka2)
ที่สูงและอยู่ใกล้กัน
ในขณะที่ค่า Ka3
นั้นอยู่ทิ้งห่างออกไป
ผลก็คือทำให้ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
ของการไทเทรตโปรตอนตัวแรก
แต่ไปเห็นชัดตอนไทเทรตโปรตอนตัวที่สอง
แต่การเปลี่ยนแปลงตรงนี้ก็ไม่ได้คมชัดนักเพราะได้รับผลจากการแตกตัวของโปรตอนตัวที่สาม
และไปเป็นการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
ที่เด่นชัดตอนไทเทรตโปรตอนตัวที่สาม
ตัวอย่างที่ยกมานี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าจำนวนครั้งการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
ที่เด่นชัดในระหว่างการไทเทรตนั้นขึ้นอยู่กับค่าคงที่การแตกตัวในแต่ละครั้งว่ามีค่ามากน้อยและแตกต่างกันเท่าใด
แม้แต่กรดที่แตกตัวให้โปรตอนได้
3
ตัวก็ยังมีสิทธิเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัดเพียงครั้งเดียว
คือครั้งสุดท้ายได้ (เช่นกรณีของ
citric
acid ที่ยกมาให้ดู)
กราฟรูปข้างล่างเป็นผลการทดลองของนิสิตปริญญาตรีปี
๒ กลุ่มหนึ่ง เมื่อ ๖ ปีที่แล้ว
ที่ได้ทดลองไทเทรตน้ำอัดลมยี่ห้อหนึ่ง
(เป็นน้ำรส
lemonade)
ที่มีการแต่กลิ่นและรสด้วย
citric
acid ลองเทียบดูกับกราฟในรูปที่
๒ เองนะครับว่ากราฟที่ได้จากการทดลองจริงกับที่ได้จากการคำนวณ
มีความแตกต่างหรือใกล้เคียงกันมากน้อยเพียงใด
รูปที่
๓ กราฟการไทเทรตน้ำอัดลมรส
lemonade
ยี่ห้อหนึ่งด้วยสารละลาย
NaOH
เข้มข้น
0.1
M (จากรายงานผลการทดลองของนิสิตวิศวกรรมเคมีปี
๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๔)
พึงสังเกตลักษณะการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
เทียบกับกราฟในรูปที่
๒
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น