การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ในธรรมชาติเรียกได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบต่อเนื่อง
กล่าวคือมีค่า y
ได้ทุก
ๆ ค่า x
และอุปกรณ์วัดก็มักจะอ่านการเปลี่ยนแปลงนั้นได้อย่างต่อเนื่อง
แต่เมื่อนำเอาอุปกรณ์ดิจิตอลมาใช้ในการเก็บข้อมูล
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คืออุปกรณ์ดิจิตอลจะทำการอ่านค่าที่อุปกรณ์วัดนั้นวัดได้
"อย่างเป็นจังหวะ"
กล่าวคือเก็บข้อมูลเป็นจุดข้อมูล
(x,
y) ที่แต่ละจุดนั้นห่างกันเป็นระยะ
Δx
แต่เมื่อเราต้องการวิเคราะห์ผล
เราก็มักจะนำเอาข้อมูลที่เป็นจุดแต่ละจุดนั้นมาสร้างเป็นเส้นกราฟที่ต่อเนื่อง
และปัญหาสำคัญก็อยู่ตรงนี้ควรเลือกใช้ค่า
Δx
ที่มีขนาดเท่าใด
ค่า Δx
ที่มีขนาดที่ไม่ใหญ่เกินไปจะทำให้เมื่อนำจุดข้อมูลมาสร้างเป็นกราฟจะได้เส้นกราฟที่ผิดเพี้ยนไปจากความจริง
และค่า Δx
ที่มีขนาดเล็กเกินไปอาจทำให้อุปกรณ์อ่านค่านั้น
(ที่ปรกติอาจต้องอ่านค่าจากอุปกรณ์วัดหลายตัว)
อ่านค่าไม่ทันและสิ้นเปลืองหน่วยความจำในการเก็บข้อมูล
ขนาดของ
Δx
นั้นขึ้นอยู่กับความกว้างของการเปลี่ยนแปลง
ความกว้างในที่นี้คือช่วงตั้งแต่ตรวจพบว่าสัญญาณเริ่มมีการเปลี่นแปลงไปจาก
base
line (เช่นพบจุดเริ่มต้นของการเกิดพีค)
จนกระทั่งสัญญาณนั้นกลับมาอยู่ที่ระดับ
base
line ใหม่
(เช่นพบจุดสิ้นสุดของการเกิดพีค)
เช่นในกรณีของสัญญาณที่เป็นพีค
ระยะ Δx
นั้นต้องแคบพอที่จะให้จำนวนจุดข้อมูลที่มากพอที่จะสามารถสร้างพีคดังกล่าวขึ้นมาได้อย่างถูกต้อง
ไม่ว่าพีคนั้นจะเกิดที่ตำแหน่ง
x
ใดก็ตาม
เพื่อให้เห็นภาพจะขอยกตัวอย่างโดยสมมุติว่าได้ทำการวัดค่าสัญญาณ
y
ในช่วง
x
ตั้งแต่
0
ถึง
6
สัญญาณดังกล่าวประกอบด้วยพีคที่มีการกระจายตัวแบบ
Gaussian
จำนวน
2
พีคด้วยกัน
โดยพีคแรกมีศูนย์กลางอยู่ที่ตำแหน่ง
x
= 1.97 และแอมพลิจูดเท่ากับ
1.0
พีคที่สองมีศูนย์กลางอยู่ที่ตำแหน่ง
x
= 4 และแอมพลิจูดเท่ากับ
1
พีคทั้งสองมีค่าครึ่งหนึ่งของความกว้างที่ตำแหน่งครึ่งหนึ่งของความสูงสูงสุดเท่ากับ
0.03
หน่วย
(hwhm
- half width at half maximum)
กรณีแรกสุดเป็นการจำลองวัดที่กระทำโดยมีช่วงระยะห่างระหว่างจุดข้อมูล
Δx
= 0.05 ดังนั้นตำแหน่งของการวัดจะไม่ตรงกับตำแหน่งยอดของพีคที่
x
= 1.97 (ที่อยู่ที่ตำแหน่ง
x
= 1.97 แต่การวัดทำที่ตำแหน่ง
x
= ..., 1.90, 1.95, 2.00, 2.05, ...)
แต่จะตรงกับตำแหน่งยอดของพีคที่ตำแหน่ง
x
= 4.0 (ที่อยู่ที่ตำแหน่ง
x
= 4.00 โดยการวัดทำที่ตำแหน่ง
x
= ..., 3.90, 3.95, 4.00, 4.05, ...) กราฟของสัญญาณคือเส้น
Signal
สีน้ำเงินในรูปที่
๑ และ ๒
ขั้นตอนต่อไปเป็นการจำลองการใส่
noise
เข้าไปค่า
signal
เพื่อสร้างแบบจำลองค่า
signal
ที่มี
noise
รบกวน
(เส้น
S
+ N)
ด้วยการใช้ฟังก์ชันสุ่มตัวเลขแล้วนำตัวเลขที่สุ่มได้นั้นบวกเข้าไปกับค่า
singal
การสร้างแบบจำลองสัญญาณที่มี
noise
รบกวนนี้ทดลองทำ
2
กรณีด้วยกัน
โดยกรณีแรกเป็นการจำลองการวัด
2
ครั้ง
โดยที่แต่ละจุด x
จะให้มี
noise
ที่เป็นบวก
1
ครั้งและ
noise
ที่เป็นลบ
1
ครั้ง
แล้วนำค่าทั้งสองมาเฉลี่ยเป็นค่า
y
(เส้น
(S
+ N) ในรูปที่
๑ (บน))
กรณีที่สองเป็นการจำลองการวัด
10
ครั้ง
โดยที่แต่ละจุด x
จะให้มี
noise
ที่เป็นบวก
5
ครั้งและ
noise
ที่เป็นลบ
5
ครั้ง
แล้วนำค่าทั้งสองมาเฉลี่ยเป็นค่า
y
(เส้น
(S
+ N) ในรูปที่
๒ (ล่าง))
ถัดไปจะเป็นการทดลองการปรับเรียบข้อมูล
(S
+ N) ด้วยการใช้จุดข้อมูลเฉลี่ย
5,
7 และ
9
จุด
(กราฟเส้น
5
pt, 7 pt และ
9
pt ตามลำดับ)
ในที่นี้เพื่อให้เห็นภาพผลการปรับเรียบชัดเจนขึ้นจึงได้ทำการเลี่อนกราฟแต่ละเส้นให้สูงขึ้นไม่ให้ซ้อนทับกับ
วิธีการปรับเรียบข้อมูลใช้เทคนิค
"ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
(moving
average)" ที่ได้กล่าวไว้เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
(เรื่อง
"การคำนวณเชิงตัวเลข
(๒๐)
การปรับเรียบ
(Smoothing)
ข้อมูล
(ตอนที่
๑)")
รูปที่
๑ เส้นกราฟสีน้ำเงินล่างสุด
(Signal)
คือค่าสัญญาณที่ไม่มีสัญญาณรบกวน
เส้นกราฟสีส้มที่อยู่ถัดไป
(S
+ N) คือสัญญาณที่มีสัญญาณรบกวน
(กราฟสีน้ำเงิน
+
noise) เส้นกราฟ
5pt,
7 pt และ
9
pt ได้จากการนำเอาค่า
(S
+ N) นั้นไปทำการปรับเรียบด้วยการใช้จุดข้อมูล
5,
7 และ
9
จุดตามลำดับ
รูปบนเป็นกรณีของการจำลองค่าการวัด
2
ครั้ง
ที่การวัดแต่ละครั้งนั้นมี
noise
รบกวน
(ให้เป็น
noise
ทางบวก
1
ครั้งและ
noise
ทางลบ
1
ครั้ง)
แล้วนำค่าที่วัดได้นั้นมาเฉลี่ย
ส่วนรูปร่างเป็นกรณีของการจำลองค่าการวัด
10
ครั้ง
ที่การวัดแต่ละครั้งนั้นมี
noise
รบกวน
(ให้เป็น
noise
ทางบวก
5
ครั้ง)
และ
noise
ทางลบ
5
ครั้ง)
แล้วนำค่าที่วัดได้นั้นมาเฉลี่ย
จะเห็นว่าเมื่อทำการวัดโดยมีจำนวนครั้งมากขึ้น
ขนาดของ noise
ที่ปรากฏให้เห็นจะลดลง
ในที่นี้แต่ละจุด x
ห่างกัน
0.05
หน่วย
ในรูปที่
๑ จะเห็นว่าแม้ว่าจะเป็นการคำนวณค่าโดยตรงจากสมการ
(Signal
เส้นสีน้ำเงิน)
แต่ถ้าจุดการคำนวณนั้นไม่ได้ตรงกับตำแหน่งยอดพีค
พอลากเส้นเชื่อมต่อจุด
(ลากแบบเส้นตรง)
ก็จะเห็นว่าพีคแรกที่
x
= 1.97 นั้นมีความสูงที่ลดลง
และเมื่อนำข้อมูลไปทำการปรับเรียน
พีคที่ x
= 1.97 นั้นจะหายไปอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีของรูปบน
(ที่เป็นแบบจำลองการวัดค่าซ้ำ
2
ครั้ง)
ที่พีคที่
x
= 4.0 ก็หายไปอย่างรวดเร็วด้วย
และแม้ว่าจะใช้แบบจำลองข้อมูลที่จำลองค่าที่ได้จากการวัดเฉลี่ย
10
ครั้ง
(รูปที่
1
(ล่าง))
พบว่ายิ่งใช้จุดในการเฉลี่ยค่ามากเท่าใด
พีคทั้งสองพีคก็หายไปอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้เป็นเพราะจำนวนจุดที่เป็นตัวแทนของสัญญาณนั้นมีน้อยกว่าจำนวนจุดที่เป็นตัวแทนของ
base
line
รูปที่
๒ เป็นการคำนวณแบบเดียวกันกับรูปที่
๑ ต่างกันตรงที่ในกรณีของรูปที่
๒ นี้ใช้ Δx
= 0.02 ซึ่งตำแหน่งพิกัด
x
ที่ทำการคำนวณก็ยังไม่ตรงกับตำแหน่งยอดพีคของพีคที่
1
(ที่
x
= 1.97) แต่สิ่งที่ได้ก็คือแม้ว่าจะใช้จำนวนจุดที่เฉลี่ยค่าถึง
9
จุด
ก็ยังบอกได้ว่าข้อมูลนั้นมี
2
พีคหลัก
แต่สิ่งที่ต้องระวังก็คือการเห็นพีคที่เตี้ยลง
แต่กว้างขึ้น
โดยความกว้างของพีคนั้นจะเพิ่มตามจำนวนจุดข้อมูลที่ใช้เฉลี่ยค่า
และถ้านำเอาพีคที่กว้างขึ้นนี้ไปทำ
peak
deconvolution ก็อาจจะหลงไปได้ว่ามันประกอบด้วยพีคมากกว่า
๑ พีคเหลื่อมซ้อนกันอยู่
ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงมันมีอยู่พีคเดียว
รูปที่ ๒ เส้นกราฟสีน้ำเงินล่างสุด (Signal) คือค่าสัญญาณที่ไม่มีสัญญาณรบกวน เส้นกราฟสีส้มที่อยู่ถัดไป (S + N) คือสัญญาณที่มีสัญญาณรบกวน (กราฟสีน้ำเงิน + noise) เส้นกราฟ 5pt, 7 pt และ 9 pt ได้จากการนำเอาค่า (S + N) นั้นไปทำการปรับเรียบด้วยการใช้จุดข้อมูล 5, 7 และ 9 จุดตามลำดับ รูปบนเป็นกรณีของการจำลองค่าการวัด 2 ครั้ง ที่การวัดแต่ละครั้งนั้นมี noise รบกวน (ให้เป็น noise ทางบวก 1 ครั้งและ noise ทางลบ 1 ครั้ง) แล้วนำค่าที่วัดได้นั้นมาเฉลี่ย ส่วนรูปร่างเป็นกรณีของการจำลองค่าการวัด 10 ครั้ง ที่การวัดแต่ละครั้งนั้นมี noise รบกวน (ให้เป็น noise ทางบวก 5 ครั้ง) และ noise ทางลบ 5 ครั้ง) แล้วนำค่าที่วัดได้นั้นมาเฉลี่ย จะเห็นว่าเมื่อทำการวัดโดยมีจำนวนครั้งมากขึ้น ขนาดของ noise ที่ปรากฏให้เห็นจะลดลง ในที่นี้แต่ละจุด x ห่างกัน 0.02 หน่วย
รูปที่ ๒ เส้นกราฟสีน้ำเงินล่างสุด (Signal) คือค่าสัญญาณที่ไม่มีสัญญาณรบกวน เส้นกราฟสีส้มที่อยู่ถัดไป (S + N) คือสัญญาณที่มีสัญญาณรบกวน (กราฟสีน้ำเงิน + noise) เส้นกราฟ 5pt, 7 pt และ 9 pt ได้จากการนำเอาค่า (S + N) นั้นไปทำการปรับเรียบด้วยการใช้จุดข้อมูล 5, 7 และ 9 จุดตามลำดับ รูปบนเป็นกรณีของการจำลองค่าการวัด 2 ครั้ง ที่การวัดแต่ละครั้งนั้นมี noise รบกวน (ให้เป็น noise ทางบวก 1 ครั้งและ noise ทางลบ 1 ครั้ง) แล้วนำค่าที่วัดได้นั้นมาเฉลี่ย ส่วนรูปร่างเป็นกรณีของการจำลองค่าการวัด 10 ครั้ง ที่การวัดแต่ละครั้งนั้นมี noise รบกวน (ให้เป็น noise ทางบวก 5 ครั้ง) และ noise ทางลบ 5 ครั้ง) แล้วนำค่าที่วัดได้นั้นมาเฉลี่ย จะเห็นว่าเมื่อทำการวัดโดยมีจำนวนครั้งมากขึ้น ขนาดของ noise ที่ปรากฏให้เห็นจะลดลง ในที่นี้แต่ละจุด x ห่างกัน 0.02 หน่วย
นั่นแหละครับ
ใน Memoir
ฉบับวันอังคารที่ผ่านมา
(เรื่อง
"รู้ทันนักวิจัย (๙) อยากให้มีพีคก็จัดให้ได้รู้ทันนักวิจัย (๙) อยากให้มีพีคก็จัดให้ได้")
ผมถึงได้กล่าวว่าเวลาที่นิสิตในที่ปรึกษาผมเอาผลการวิเคราะห์ตัวอย่างมาให้ดู
ผมจึงต้องขอดูข้อมูลดิบที่ได้จากการวัดจริง
ไม่ใช่เอาข้อมูลที่ผ่านการปรับแต่งมาเรียบร้อยแล้วมาให้ดู
ทั้งนี้เพื่อเป็นการฝึกให้รู้จักการอ่านสัญญาณ
ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นก่อนที่จะอ่านค่าตัวเลขต่าง
ๆ (ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งพีค
พื้นที่พีค จำนวนพีค ฯลฯ)
ประเด็นเรื่องความกว้างของพีคตรงนี้สำหรับบางคนที่ต้องการพีคกว้าง
ๆ เช่นพวกที่ต้องการความกว้างของพีค
XRD
(X-ray diffraction) เอาไปคำนวณขนาดผลึกด้วย
Scherrer's
equation ที่ใช้ค่าความกว้างของพีคเป็นตัวหารในสมการคำนวณหาขนาดผลึก
ก็อาจชอบก็ได้
เพราะมันทำให้ได้ขนาดผลึกเล็กลง
สามารถคุยได้ว่าเป็นผลึกขนาดนาโน
การวิเคราะห์
FT-IR
(Fourier Transform Infrared spectroscopy)
ก็เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่มักจะพบปัญหาเรื่องความละเอียดของการสแกนที่ไม่ละเอียดมากพอ
ทำให้ตำแหน่งพีคที่วัดได้นั้นมีการเคลื่อนตัว
แต่ผลการเคลื่อนตัวนั้นไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของตัวอย่าง
แต่เกิดจากการสแกนที่หยาบเกินไป
ลักษณะของสัญญาณที่มีการกระโดดขึ้นสูงอย่างรวดเร็วก่อนตกลงกลับมายังตำแหน่งเดิมอย่างรวดเร็วนั้นอาจถูกมองว่าเป็น
"Spike"
ในกรณีของการเก็บข้อมูลที่ใช้
Δx
ที่แคบมากพอก็จะระบุได้เลยว่าสิ่งที่เห็นนั้นเป็น
spike
แต่ในกรณีของการเก็บข้อมูลที่ใช้
Δx
กว้างเกินไป
(แบบมีจุดข้อมูลเพียงไม่กี่จุดในช่วงตั้งแต่เริ่มต้นเกิดพีคจนพีคสิ้นสุด)
จะทำให้เห็นพีคนั้นกลายเป็น
spike
ได้
และเมื่อนำไปทำการปรับเรียบข้อมูลก็จะทำให้พีคนั้นหายไป
เรื่องนี้ยังไม่จบ
ยังมีต่ออีกครับ :)
:) :)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น