"การเข้าไปใช้ชีวิตกลางแจ้งทางต้นน้ำเพชรบุรี
สองพี่น้อง ท่าลิงลม
ตลอดจนแดนกระหร่างนั้น
นับว่าเป็นยุคแรก ๆ
ของพวกเรานักนิยมไพรผู้กำลังคลั่งในเรื่องปืนและป่าอย่างเข้าเส้นเลือดด้วยกันทุกคน
บ้างก็เป็นตากล้องมือฉกาจ
ต้องการถ่ายภาพศิลป์เมื่อยามสาวกระเหรี่ยงเปลือยกายอาบน้ำต่อหน้าต่อตา
บ้างก็ไปวิสาสะไต่ถามถึงทุกข์สุขของชาวกระเหรี่ยงซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับที่ตั้งแคมป์
น้ำนั้นลึกแค่เช่าหรือจะสูงกว่าบ้างเป็นบางตอน
หากแต่กรวดหินที่เกลื่อนอยู่ใต้น้ำนั้นทำให้ต้องประคับประคองตัวเดินกันอย่างลำบาก
ด้วยมันลื่นเหลือประมาณ
เผลอ ๆ ก็ผวาลงในน้ำเปียกปอนกันไป
เรียกเสียงเฮฮาครึกครื้นกันเป็นที่สราญรมย์
..."
ข้อความในย่อหน้าข้างต้นนำมาจากเรื่อง
"เสือดาวเพชฌฆาต"
โดย
ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์ ในหนังสือ
"พรายตะเคียนทอง"
พิมพ์ครั้งที่
๒ มกราคม ๒๕๕๑ สำนักพิมพ์บ้านหนังสือ
สำหรับผู้ที่อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับป่าที่เขียนโดยนักเขียนท่านนี้
ก็จะพบว่าป่าแห่งหนึ่งที่ปรากฏอยู่เป็นประจำคือป่าต้นน้ำเพชร
ช่วงก่อนจะมีการสร้างเขื่อนแก่งกระจาน
รูปที่
๑ แผนที่ "Indochina
and Thailand 1:250,000" จัดทำโดย
the
Army Map Service (PV), Corps. of Engineers, U.S. Army ฉบับชื่อ
"HUA
HIN" หรือ
"หัวหิน"
ฉบับข้อมูลปีค.ศ.
๑๙๕๑
(พ.ศ.
๒๔๙๔)
ก่อนที่จะมีการสร้างเขื่อนแก่งกระจานไม่กี่ปี
และ (๑)
(๒)
(๓)
(๔)
และ
(๕)
คือตำแหน่งของแม่น้ำเพชรบุรีที่ให้ไว้เป็นจุดเปรียบเทียบกับตำแหน่งในรูปที่
๒ และ ๓ โดย (๒)
คือเขาจ้าว
และ (๓)
คือเขาไม้รวก
ที่เป็นที่ตั้งของเขื่อนแก่งกระจาน
รูปที่
๒ แผนที่ "Siam
1 inch to 1 mile / revised from air photographs by 4 Indian Field
Survey Company" จัดทำโดยกองทัพอังกฤษในอินเดียในปีค.ศ.
๑๙๔๕
(พ.ศ.
๒๔๘๘)
หรือปีที่สงครามโลกครั้งที่
๒ สิ้นสุด แผนที่นี้ให้ชื่อ
"THA
LING LOM" คือ
"บ้านท่าลิงลม"
ที่ปัจจุบันกลายเป็นส่วนของอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนแก่งกระจานในปัจจุบัน
ในเรื่องเดียวกันนี้
ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์
ยังได้บรรยายสภาพของป่าต้นเพชรและสภาพลำน้ำเอาไว้อีกว่า
"...
ป่าต้นน้ำเพชรสมัยก่อนนั้นแสนทุรกันดาร
ต้องใช้เรือมาดเป็นพาหนะ
หรือไม่ก็ต้องว่าจ้างเกวียนคลานรอนแรมกันไป
..."
"ลำน้ำเพชรที่ใสแจ๋ว
จนมองเห็นฝูงปลาแหวกว่ายกันทั่วไปหมด
มีทั้งปลาตะเพียน ปลาสูบ
ปลางารู อันเป็นอาหารพิเศษของเราอีกชนิดหนึ่ง
เนื่องจากเจ้าเพ็ชรราชฯ
ทรงนำเอาอวนยาวร้อยเมตรไปด้วย
พวกที่ต้องการแสดงฝีมือประมงก็ลงตีอวนกันเป็นที่สนุกสนานเพลิดเพลิน
ปลาที่ได้นับร้อยตัวใหญ่เท่าแขนขา
เราแบ่งให้พวกชาวกระเหรี่ยงทั้งหมู่บ้านนั้นด้วย
เพราะพวกเขาขาดเครื่องมือในการจับปลา"
ข้อมูลบนหน้าเว็บของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตกล่าวเอาไว้ว่า
การสร้างเขื่อนแก่งกระจานเริ่มในปีพ.ศ.
๒๕๐๔
และมาแล้วเสร็จในปีพ.ศ.
๒๕๐๙
โดยตัวเขื่อนตั้งอยู่ระหว่างบริเวณเขาเจ้า
(ตำแหน่งที่
๒ ในแผนที่)
และเขาไม้รวกประชิดกัน
(ตำแหน่งที่
๓ ในแผนที่)
อ่างเก็บน้ำมีพื้นที่
46.5
ตารางกิโลเมตร
ความจุ 710
ล้านลูกบาศก์เมตร
นอกจากปลาแล้ว
ในเรื่อง "ล่าจระเข้"
ในหนังสือเล่มเดียวกันนี้
ชาลี
เอี่ยมกระสินธุ์ยังได้บันทึกเอาไว้ว่าลำน้ำเพชรนี้ยังมีจระเข้ด้วย
"เราปักหลักกางเต็นท์เหนือลำน้ำเพชร
สองพี่น้อง
ซึ่งอยู่ห่างจากฟากฝั่งของหมู่บ้านกระเหรี่ยงประมาณสองร้อยเมตร
แต่ในยามนั้นน้ำตื้นเพียงแค่น่องหรือโคนขา
สามารถข้ามไปมาสะดวกมาก
ในลำน้ำนั้นก็เต็มไปด้วยปลากระสูบ
ปลางารู ปลาตะเพียน
แหวกว่ายกันอยู่เป็นฝูง
พวกเราลงอวนกันในตอนเย็นได้ปลามามากพอที่จะแบ่งปันให้ชาวกระเหรี่ยงเอาไปกิน
และทำเค็มตากแห้งได้อย่างจุใจ
ในตอนพลบค่ำ
เรานั่งล้อมวงอยู่รอบกองไฟ
ขณะที่พรานอาวุโสอย่างเจ้าคุณสุรพันธ์ฯ
และเจ้าเพ็ชรราชฯ
ประทับบนแคร่ไม้ไผ่และเสวยพระกระยาหารอย่างเบิกบานพระทัย
ข้าพเจ้านั่งติดอยู่กับ
ม.ร.ว.ดิลกลาภ
ซึ่งไม่ดื่มเหล้า
ถัดไปก็เป็นเจ้าบุญวัฒน์
อธิบดีกรมตำรวจลาว
ที่ลงอวนกันมาจนหน้าดำหน้าแดง
ท่านดื่มนิดหน่อย
ข้าพเจ้าถามถึงเรื่องจระเข้
เพราะรู้มาว่าในลำน้ำเพชรนี้ก็มีจระเข้อยู่หลายแห่ง"
เรื่องเกี่ยวกับจระเข้ในลำน้ำเพชรนี้
ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์
ยังกล่าวเอาไว้เรื่อง
"พรายน้ำที่สองพี่น้อง"
ที่เล่าเหตุการณ์เมื่อต้องไปนั่งห้างที่อยู่เหนือลำน้ำเพชรในคืนเดือนหงายคืนหนึ่งเอาไว้ดังนี้
(จากหนังสือ
"ป่าอาถรรพ์"
ฉบับพิมพ์ครั้งที่
๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ โดยสำนักพิมพ์บ้านหนังสือ)
"ท่ามกลางแสงสว่างอย่างนั้น
ข้าพเจ้ามิได้สนใจในการล่ามากกว่าจะสงสัย
เพราะกระเหรี่ยงตีบอกกับข้าพเจ้าว่าต้นน้ำเพชร์นี้มีวังจระเข้
วันดีคืนดีมันอาจเพ่นพ่านมาหาเหยื่อตามวิสัย
"คุณชาย
ห้างกลางน้ำของเรานี่สูงกว่าน้ำไม่กี่เมตรนะ"
"คุณชาลีกลัวอะไร
ห้างแน่นหนา ปลาว่ายกันสลอน"
คุณชายดิลกลาภเอนร่างหนุนย่ามเผื่อเอาแรงไว้รอยิงสัตว์ในตอนดึก
"กระเหรี่ยงตีมันบอกว่าต้นน้ำเพชร์นี่มีจระเข้
มีวัง""
สุดท้ายการนั่งห้างในคืนนั้นก็ไม่ได้ยิงสัตว์
แต่ได้ยิงอะไรถ้าอยากรู้ก็ลองไปหาหนังสือนี้อ่านเองเองนะครับ
เทศกาลสัปดาห์หนังสือก็น่าจะยังพอมีขายอยู่
รูปที่
๓ ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณเขื่อนแก่งกระจานในปัจจุบัน
(ภาพจาก
google
map)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น