โดเรมี่คนนี้ไม่ใช้น้องสาวแมวโดเรมอน
แต่เป็นเพื่อนกับด้า
(จะแพนด้าหรือบรูด้าเจ้าตัวก็ยังตอบไม่ได้เหมือนกัน
ก็เลยขอเรียกว่า "ด้า"
สั้น
ๆ แทน)
และก็ไม่ได้มาจากโลกอนาคต
โดเรมี่ (ต่อไปขอเรียกสั้น
ๆ ว่า "มี่")
มาจากเมือง
diamond
wall ในขณะที่ด้ามาจากเมือง
durimbutan
(มาจากคำ
durian
+ rambutan)
ทั้งคู่มีอะไรหลาย
ๆ อย่างเหมือนกัน
คือเรียนมาด้วยกันที่เมือง
one
five zeroes น่ารักเหมือน
ๆ กัน (ความน่ารักอยู่ทนทานแต่ความงามเพียงแค่ข้ามคืน)
ทั้งคู่เป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย
(แปลว่า
อก เอว สะโพก แยกไม่ออก)
แม้แต่รูปร่างก็ยังมี
aspect
ratio (อัตราส่วนรอบเอวต่อความสูง)
ที่เท่า
ๆ กัน กล่าวคือถ้า take
limit ก็คงพบว่าวิ่งเข้าหา
1.0
และมีแนวโน้มว่าเมื่อเวลาผ่านไปค่าดังกล่าวก็จะเข้าใกล้
1.0
ขึ้นเรื่อย
ๆ ด้วยอัตราที่ยังตอบไม่ได้ว่าเร็วขึ้นหรือลดลงหรือเป็น
step
change
สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเป็นเพราะการกินอาหารไม่ถูกปาก
(คือสาดเข้าคอหอยไปเลย)
เป็นประจำหรือไม่
ทั้งคู่เป็นโรคกลัวที่แคบ
ๆ เหมือน ๆ กัน
แต่มี่เป็นโรคกลัวความสูงในขณะที่ด้าไม่เป็น
จากที่เติบโตมาท่ามกลางธรรมชาติจากเมืองที่อยู่ริมแม่น้ำ
ทำให้มี่ชอบบรรยากาศที่มีน้ำแม่โขงเคียงข้างท่ามกลางแสงโสมสาดส่องมองเห็นวิวทิวเขา
Ben
More อยู่ตรงหน้าบวกกับดนตรีจากนักเป่าปี่
100
คน
(100
pipers) ร่วมด้วย
อาหารการกินของโปรดก็เป็นอาหารป่าต่าง
ๆ เช่นพวกที่ประกอบด้วย
สิงห์ ช้าง Tiger
Leo อาชา
ช้างทอง เห่าดง
มี่เป็นผู้ที่กลัวเชื้อโรคติดมากับน้ำดื่มมาก
ดังนั้นน้ำที่มี่ดื่มจึงเน้นแต่น้ำสะอาดปราศจากเชื้อโรค
และเพื่อความมั่นใจมี่จึงเน้นแต่การดื่มน้ำที่มีสารฆ่าเชื้อโรค
(พวกเอทานอล)
ผสมอยู่ด้วยเสมอ
ยิ่งพวกที่มีฉลาก (label)
ติดรับรองอยู่ข้างขวด
(ไม่สนว่าจะเป็นสี
Red
Black Blue หรือ
Gold)
ยิ่งชอบมากเป็นพิเศษ
ที่เล่ามาข้างบนก็เพื่อจะให้ผู้อ่านได้รู้จักตัวตนของมี่ที่ผมทะเลาะด้วย
(เป็นประจำ)
เรื่องเกี่ยวกับงานของเขาที่ผมทะเลาะกับเขาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ที่กำลังจะเล่าในช่วงต่อไป
๑.
Fourier-Tranform Infrared
Spectroscopy (FT-IR)
ปรกติที่พบนั้น
ไอออนออกซิเจนที่เกาะอยู่ในโครงร่างผลึกโลหะออกไซด์จะให้การดูดกลืนรังสีอินฟราเรดในช่วงเลขคลื่นที่ต่ำ
(ประมาณ
1000
cm-1 หรือต่ำกว่า)
แต่ถ้าเป็นหมู่ไฮดรอกซิล
-OH
นั้น
ไม่ว่าจะเกิดจากน้ำที่ดูดซับบนพื้นผิวหรือหมู่
C-OH
(ในโครงสร้างโมเลกุลสารอินทรีย์)
จะให้สัญญาณการดูดกลืนที่กว้างเหมือนเนินเขา
(ขนาดจะเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับจำนวน)
ในช่วงประมาณ
2500-3800
cm-1 จะมีโดดเด่นก็พีคของหมู่ไซลานอล
Si-OH
ที่ให้พีคการดูดกลืนที่โดดเด่นที่ประมาณ
3700
cm-1 (ดูรูปที่
๑)
พีคที่อยู่ในช่วงประมาณ
2800-2900
cm-1 นั้นมักจะเป็นพีคของหมู่
methyl
-CH3 และหมู่
methylene
-CH2-
ในบางตัวอย่างนั้นเราสามารถตรวจพบการมีอยู่ของหมู่เหล่านี้ได้ในสารประกอบโลหะออกไซด์ที่เตรียมจากสารประกอบที่มีหมู่อินทรีย์เป็นองค์ประกอบ
เช่นการเตรียม TiO2
(anatase) จากสารประกอบ
titamium
isoproproxide
การที่พบเห็นหมู่ดังกล่าวเกิดจากการเผาไล่ส่วนที่เป็นสารอินทรีย์
(ในที่นี้คือ
isoproproxide)
ไม่สมบูรณ์
ส่วนที่อ้างว่าเป็นสัญญาณของหมู่ไฮดรอกไซด์ที่แทรกตัวในโครงสร้างผลึกนั้นผมว่าข้อสรุปดังกล่าวน่าสงสัยมาก
(ถ้าไม่ได้เกิดจากการแปลภาษาผิด)
งานนี้อาจทดสอบได้ง่าย
ๆ ด้วยการนำสารประกอบไฮดรอกไซด์ไปวัด
FT-IR
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสมบูรณ์ของการเผาไล่นั้นมี
(ก)
อุณหภูมิการเผา
(ข)
ระเวลาที่ใช้
และ (ค)
ปริมาณออกซิเจนและการแพร่เข้าถึง
โดยเฉพาะข้อ (ค)
เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด
เพราะถ้าเราใส่ตัวอย่างในเตาเผาโดยที่รูปแบบการไหลของออกซิเจนนั้นไม่สามารถทำให้ออกซิเจนแพร่เข้าไปทั่วถึงตัวอย่างทุกตำแหน่งได้
ไม่ว่าจะเผาที่อุณหภูมิสูงเท่าใดเป็นเวลานานเท่าใดก็จะไม่สามารถเผาได้สมบูรณ์
และจะตรวจพบว่ามีสารอินทรีย์ตกค้างอยู่ในตัวอย่างได้
(รูปที่
๒)
รูปที่
๑ FT-IR
spectra ของตัวเร่งปฏิกิริยา
(ซ้าย)
TS-PQTM และ
(ขวา)
Ti-MCM-41 จะเห็นพีคของ
Si-OH
แหลมคมขึ้นมาที่ตำแหน่งประมาณ
3700
cm-1 (พัชนี
ฉ่ำมิ่งขวัญ,
"ปฏิกิริยาออกซิเดชันแบบเลือกเกิดของเบนซีนบนตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีส่วนประกอบของไททาเนียม-ซิลิกา",
วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2551)
รูปที่
๒ FT-IR
spectrum ของ
TiO2
(anatase) ที่เตรียมจาก
titanium
isoproproxide ในตัวอย่างนี้ยังปรากฏการคงอยู่ของหมู่
isoproproxide
หรือ
isopropyl
เนื่องจากการเผาทำไม่สมบูรณ์
(จาก
บงกช ปิยานันทรักษ์,
"ปฏิกิริยาการรีดิวซ์โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแบบเลือกเกิดของไนโตรเจนออกไซด์โดยใช้แอมโมเนียบนตัวเร่งปฏิกิริยา
V2O5-WO3-MoO3/TiO2",
วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2554)
รูปที่
๓ FT-IR
spectra ของ
(บน)
Hexane ซึ่งมีหมู่
-CH2-
และ
-CH3
(กลาง)
2,2,3-Trimethylbutane ที่มีหมู่
-CH3
ถึง
5
หมู่แต่ไม่มีหมู่
-CH2-
และ
(ล่าง)
Cyclohexane ซึ่งมีแต่หมู่
-CH2-
ตำแหน่งเส้นประสีแดงคือพีคของหมู่
-CH3
ตำแหน่งเส้นประสีน้ำเงินคือพีคของหมู่
-CH2-
และตำแหน่งเส้นประสีเขียวคือพีคที่หมู่
-CH3
และ
-CH2-
มีร่วมกัน
รูปที่
๓ ข้างบนเป็นสเปกตรัมจากฐานข้อมูลของเครื่อง
Nicolet
ผมนำของ
cyclohexane
(ที่มีแต่หมู่
-CH2)
2,2,3-Trimethylbutane ที่มีหมู่
-CH3
ถึง
5
หมู่แต่ไม่มีหมู่
-CH2-
และ
Hexane
ซึ่งมีทั้งหมู่
-CH2-
และ
-CH3
มาแสดงเปรียบเทียบกัน
จะเห็นว่าตำแหน่งช่วง
2800-2900
cm-1 นั้นเป็นสัญญาณการดูดกลืนของหมู่
-CH
CH2- และ
-CH3
ส่วนข้อมูลข้างล่างก็เป็นข้อมูลตัวเลขที่นำมาจากฐานข้อมูลเดียวกัน
CH-stretching
|
|
CH3
|
2962
& 2872 cm-1 ±
10 (strong)
|
CH2
|
2926
& 2853 cm-1 ±
10 (strong)
|
CH
|
2890
cm-1 ±
10 (weak)
|
CH-deformation
|
|
C-CH3
|
1450
cm-1 ±
20 (medium) asym
|
-CH2-
|
1465
cm-1 ±
20 (medium)
|
-C-CH3
|
1380-1370
cm-1 (strong) sym
|
-C-(CH3)2
|
1385-1380
cm-1 (strong) 1370-1365 cm-1 (strong)
(approximately equal intensity)
|
-C-(CH3)3
|
1395-1388
cm-1 (strong) 1365 cm-1 (medium)
|
-CH-
|
near
1340 (weak)
|
๒.
X-ray photoelectron
spectroscopy (XPS)
การวิเคราะห์ด้วยเทคนิค
XPS
นั้นจะกระทำในภาวะที่เรียกว่าสุญญากาศยวดยิ่ง
(Ultra
high vacuum - UHV) ที่ระดับความดันประมาณ
10-10-10-12
mmHg หรือในช่วง
10-5-10-7
Pa
ซึ่งเป็นภาวะที่มีโมเลกุลแก๊สค้างอยู่บนพื้นผิวตัวอย่างน้อยมากหรืออาจถือว่าไม่มีก็ได้
สิ่งหนึ่งที่เรามักเห็นกับตัวอย่างที่มีพื้นที่ผิวสูงและจับแก๊สได้ดีคือต้องใช้เวลาในการทำสุญญากาศที่นาน
(ที่ผมเคยทำคือถ้าใส่เข้าไป
9
ตัวอย่างก็ต้องรอกันอย่างน้อย
12
ชั่วโมงหรือข้ามคืน)
เพราะถ้าไม่ทำสุญญากาศให้ต่ำเพียงพอ
(คือยังมีแก๊สดูดซับอยู่บนพื้นผิวตัวอย่าง)
เมื่อฉายรังสีเอ็กซ์ลงไปจะเห็นความดันในห้องวิเคราะห์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากตัวอย่างคายแก๊สออกมาจากพื้นผิว
และความดันอาจเพิ่มสูงมากพอจนระบบตัดการทำงานเองได้
(ผมเคยเตือนเรื่องนี้เอาไว้แล้วว่าการวิเคราะห์มันเร่งไม่ได้
ถ้าจะเดินเครื่องอย่างปลอดภัยทำได้อย่างมากประมาณ
30-35
ตัวอย่างต่อสัปดาห์
(วิเคราะห์ต่อเนื่อง
7
วันไม่มีวันหยุด)
แต่ก็มีคนอยากได้ผลเยอะ
ๆ เร็ว ๆ
ผลก็คือมีการลัดขั้นตอนการทำงานทำให้เครื่องเกิดความเสียหายเป็นประจำ
ลองไปอ่านได้ใน Memoir
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๗๐ วันอังคารที่
๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ เรื่อง
"เรื่องของสุญญากาศกับ XPS")
การแปลผลตำแหน่งของพีคก็มีหลายประเด็นที่ต้องระวัง
ปัจจัยที่ทำให้ตำแหน่งพีคเกิดการเลื่อนตัวมีได้หลายปัจจัย
เช่นเลขออกซิเดชันของตัวอย่างเปลี่ยนไป
การต่อ ground
ของระบบที่ไม่ดี
ทำให้ประจุของตัวอย่างไม่ได้รับการสะเทิน
หรือผลจากอะตอมข้างเคียง
แต่ก็มีเหมือนกันที่มีพีคเกิดขึ้นอยู่ใกล้
ๆ กับพีคหลักที่ต้องการวิเคราะห์
แต่พีคเล็ก ๆ
ที่เห็นนั้นอาจไม่ได้เป็นพีคที่เกิดจากการที่ตัวอย่างมีไอออนที่มีเลขออกซิเดชันที่แตกต่างกัน
"ตั้งแต่ต้น"
อาจเกิดจากปัจจัยอื่นได้
เช่น รังสีเอ็กซ์ที่ใช้นั้นไม่ได้มีความยาวคลื่นเพียงค่าเดียว
(กรองเอาเส้นอื่นที่ไม่ใช่เส้น
Kα
ออกได้หมด)
แต่มีรังสีเอ็กซ์ที่มีพลังงานสูงกว่า
(เช่นเส้น
Kβ)ปนอยู่ด้วยเล็กน้อย
ทำให้ photoelectron
ที่เกิดจากเส้น
Kβ
นี้มีพลังงานจลน์สูงกว่า
(หรือเห็นว่ามี
binding
energy ที่ต่ำกว่า)
photoelectron ที่เกิดจากเส้น
Kβ
(หรือเห็นว่ามี
binding
energy ที่สูงกว่า)
ดังนั้นการแปลผลตรงนี้ต้องไม่ไปสรุปว่า
satellite
peak นั้นเกิดจากไอออนที่มีเลขออกซิเดชันที่ต่ำกว่า
ในขณะที่ทำการวิเคราะห์
XPS
นั้นก็มีการเกิด
Auger
electron ด้วย
ดังนั้นในการแปลผลจะดูแต่ค่า
binding
energy ของ
photoelectron
อย่างเดียวไม่ได้
ต้องตรวจดูทุกธาตุในตัวอย่างของเราว่ามันสามารถให้ค่า
photoelectron
และ
Auger
electron ที่ค่า
binding
energy ใดบ้างด้วย
๓.
Electron spin resonance (ESR)
หรือ
Electron
paramagnetic resonance (EPR)
ESR
หรือ
EPR
ก็คือตัวเดียวกัน
แล้วแต่ใครจะเรียกแบบไหน
ผมเองมีพื้นฐาน ESR
เพียงคร่าว
ๆ คือเป็นการวัดการมีอยู่ของ
unpaired
electron (อิเล็กตรอนไร้คู่หรือมี
orbital
ที่มีอิเล็กตรอนเพียงตัวเดียว)
ในกรณีของสารประกอบโควาเลนซ์นั้น
(ที่ไม่มีโลหะทรานซิชันร่วม)
แต่ละ
orbital
จะมีอิเล็กตรอนครบ
2
ตัว
ไม่ว่า orbital
นั้นจะเป็น
orbital
ที่ใช้ในการสร้างพันธะทางเคมี
หรือไม่ได้ใช้ในการสร้างพันธะ
(เช่น
lone
paired electron หรืออิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว)
ในกรณีของโลหะทรานซิชันนั้น
ในสภาพที่เป็นโลหะก็มักจะมี
unpaired
electron อยู่ที่
d
orbital (อาจจะมีอยู่ที่
s
orbital ได้ถ้าเป็นการเติมแบบ
half-filled
และในเวลาที่เกิดเป็นสารประกอบเช่นโลหะออกไซด์นั้นโลหะทรานซิชันก็จะใช้จ่ายอิเล็กตรอนเหล่านี้ให้กับอะตอมออกซิเจน
ที่นี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะจ่ายให้กี่ตัว
(โลหะทรานซิชันมักมีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า)
ทำให้โลหะทรานซิชันมีโอกาสที่จะอยู่ในรูปของ
อะตอม/ไอออนบวก
ที่ มี/ไม่มี
unpaired
electron ได้
มีการพบว่าเมื่อนำเอาสารประกอบออกไซด์ของโลหะไปเผาในอากาศจะสามารถจำแนกโลหะออกไซด์ออกได้เป็น
๓ จำพวกคือ (แนะนำให้ลองไปอ่านหนังสือเล่มนี้
Bond,
G.C., "Heterogeneous Catalysis : Principles and applications",
2nd ed., Chapter 4 pp 38-47, Oxford University Press, 1987.)
(ก)
ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด
ๆ
(ข)
มีการเปลี่ยนแปลงโดยโลหะบางส่วนที่เป็นไอออนบวกถูกออกซิไดซ์ให้มีเลขออกซิเดชันเพิ่มสูงขึ้น
(จำนวน
O2-
เพิ่มขึ้นในขณะที่จำนวนไอออนบวกเท่าเดิม)
ปรากฏการณ์นี้มักเกิดในกรณีที่เลขออกซิเดชันของโลหะทรานซิชันที่เป็นไอออนบวกนั้นยังมีค่าไม่สูงสุด
เช่นในการเผา NiO
จะพบว่า
Ni2+
บางส่วนกลายเป็น
Ni3+
และ
(ค)
มีการเปลี่ยนแปลงโดยสารประกอบโลหะออกไซด์นั้นถูกรีดิวซ์ด้วยการคายแก๊สออกซิเจนออกมา
โดยไอออน O2-
บางส่วนจ่ายอิเล็กตรอนคืนให้กับไอออนบวกที่เป็นโลหะ
และหลุดออกมาในรูปแก๊สออกซิเจน
(จำนวน
O2-
ลดลงในขณะที่จำนวนไอออนบวกเท่าเดิม)
ปรากฏการณ์นี้มักเกิดในกรณีที่เลขออกซิเดชันของโลหะทรานซิชันที่เป็นไอออนบวกนั้นมีค่าสูงสุดแล้ว
เช่นในการเผา MgO
จะพบว่า
Mg2+
บางส่วนกลายเป็น
Mg0
โลหะออกไซด์ในรูปแบบ
(ก)
นั้นจะยังคงคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้าหลังการเผา
ส่วนโลหะออกไซด์ในรูปแบบ
(ข)
จะแสดงคุณสมบัติเป็นสารกึ่งตัวนำพวก
p-type
(เหมือนกับการ
dope
Si ด้วยธาตุหมู่
3
เพราะไอออนของโลหะตัวเดียวกัน
ตัวที่มีเลขออกซิเดชันสูงกว่าที่เกิดจากการออกซิไดซ์จะมีจำนวนอิเล็กตรอนน้อยกว่า)
และโลหะออกไซด์ในรูปแบบ
(ค)
จะแสดงคุณสมบัติเป็นสารกึ่งตัวนำพวก
n-type
(เหมือนกับการ
dope
Si ด้วยธาตุหมู่
5
เพราะไอออนของโลหะตัวเดียวกัน
ตัวที่มีเลขออกซิเดชันต่ำกว่าที่เกิดจากการรีดิวซ์จะมีจำนวนอิเล็กตรอนมากกว่า)
ในการนำเสนอของมี่นั้น
มี่บอกว่าจากเดิมที่ตัวอย่างไม่ให้สัญญาณ
ESR
แต่พอนำไปเผาแล้วให้สัญญาณ
ESR
แสดงว่ามี
oxygen
ion vacancy ซึ่งตรงนี้ผมมีความเห็นว่าเป็นการด่วนสรุปไปหน่อย
ทางที่ดีกว่าคือควรพิจารณาใหม่ว่าตัวอย่างเดิมก่อนเผาไม่มีไอออนที่มี
unpaired
electron แต่พอเผาแล้วตรวจพบการมีอยู่ของ
unpaired
electron (เพราะมีสัญญาณ
ESR)
แสดงว่ามีการเกิดไอออนที่มี
unparied
electron
จากนั้นก็ค่อยไปดูว่าตัวอย่างสารประกอบโลหะออกไซด์ที่นำมาเผานั้นมีโอกาสเกิดการเปลี่ยนแปลงใดบ้างในระหว่างการเผา
ถ้าหากตัวอย่างนั้นสามารถเกิดการสูญเสีย
O2-
ได้
(พวก
n-type)
ก็เป็นไปได้ที่จะเกิด
oxygen
ion vacancy แต่ถ้าตัวอย่างนั้นควรที่จะถูกออกซิไดซ์
(พวก
p-type)
ก็ไม่ควรที่จะมี
oxygen
ion vacancy เกิดขึ้น
(ตัวอย่างการสลายตัวของ
MgO
เมื่อนำไปเผาและปัญหาเกี่ยวกับการแพร่ของออกซิเจนเพื่อเข้าไปเผาสารอินทรีย์ในตัวอย่างนั้นเคยเล่าไว้ใน
Memoir
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๗๗ วันศุกร์ที่ ๑๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เรื่อง
"น้ำหนักหายได้อย่างไร"
หรือที่
http://www.tamagozzilla.blogspot.com/2009/11/mo-memoir-friday-13-november-2552.html)
ขณะนี้อาจถือได้ว่าผมได้เปิดหน้าไพ่ในมือ
(ความเห็นแย้ง
-
เกือบทั้งหมด)
ให้มี่ได้เห็นเต็มที่แล้ว
ถัดจากนี้ต่อไปก็คงเป็นเรื่องที่เขาต้องตัดสินใจเองว่าจะทำอย่างไรต่อไป