ไม่ได้คาดว่าเรื่องนี้จะยาวมาถึงตอนที่
๕
แต่บังเอิญไปพบเรื่องราวเกี่ยวกับทางรถไฟสายนี้ในหนังสือที่ไม่ได้เคยคิดว่าจะมีกล่าวเอาไว้
คือหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ
พลตรีพระยาอานุภาพไตรภพ
(จำรัส
เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
ที่ได้เอามาเล่าเกี่ยวกับการพัฒนากระสุน Siamese type 66 ใน
Memoir
ฉบับที่แล้ว
(พุธ
๑๖ มกราคม ๒๕๕๖)
หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพ.ศ.
๒๔๗๕
พลตรีพระยาอานุภาพไตรภพก็ถูกให้ออกจากราชการ
ออกได้ไม่นานก็ถูกทางตำรวจกล่าวหาว่าพัวพันกับการส่งคนไปลอบยิงพ.อ.
หลวงพิบูลสงคราม
ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น
และถูกส่งไปกักบริเวณยังจังหวัดทางภาคเหนือ
(เชียงแสน
แม่จัน)
จนกระทั่งปีพ.ศ.
๒๔๗๙
ท่านก็หลุดพ้นจากการกักบริเวณ
และได้เดินทางไปอาศัยอยู่
ณ อ.ศรีราชา
จ.ชลบุรี
ในเดือนตุลาคม
ตอนต้นเรื่อง
"ประวัติเขียนเอง"
ของพลตรี
พระยาอานุภาพไตรภพ
นั้นระบุว่ารวบรวมเมื่อ ๑
เมษายน ๒๔๘๐ ที่บ้านแสวงสงบ
ศรีราชา ชลบุรี
แต่บันทึกดังกล่าวก็มีการเขียนเพิ่มเติมเป็นช่วง
ๆ
เหตุการณ์ช่วงที่ท่านได้ไปดูแลกิจการของบริษัทศรีราชาที่ทำป่าไม้ในภาคตะวันออกในหนังสือระบุว่าเป็นบันทึกต่อเมื่อวันที่
๑ เมษายน ๒๔๙๑
เดือนมกราคม
๒๔๘๕
ท่านได้รับการทาบทามจากนายกรัฐมนตรีให้ช่วยฟื้นฟูกิจการของบริษัทศรีราชา
(หน้า
๑๐๕)
ตรงจุดนี้มีสิ่งที่ต้องขอกล่าวเอาไว้หน่อยก็คือ
กองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ประเทศไทยในเดือนธันวาคม
๒๔๘๔ แต่ในบันทึกหน้า ๑๐๙
กล่าวว่าปีที่ญี่ปุ่นเหยียบดินแดนไทยคือปีพ.ศ.
๒๔๘๖
และในวันที่ ๒๗
มกราคมได้ยกพลขึ้นบกที่ศรีราชา
ซึ่งตรงจุดนี้มีความขัดแย้งเรื่องปีพ.ศ.
กับเหตุการณ์จริงอยู่
เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับทางรถไฟชักลากไม้นั้นอยู่ในหน้า
๑๑๒-๑๑๓
ของหนังสืออนุสรณ์
แต่ผมเห็นว่าถ้าคัดลอกมาให้ดูเฉพาะหน้านั้นคงจะมองไม่เห็นภาพเหตุการณ์ทั้งหมด
ก็เลยคัดลอกมาให้อ่านตั้งแต่หน้า
๑๐๔ ไปจนถึงหน้า ๑๑๗
ส่วนเหตุการณ์ในช่วงนั้นมีอะไรเกิดขึ้นบ้างก็ขอให้อ่านเองจากภาพที่สแกนมาจากต้นฉบับก็แล้วกัน