ในมาตรา
๓
ของพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ตำบลปทุมวัน อำเภอปทุมวัน
จังหวัดพระนคร ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ.
๒๔๘๒
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม
๕๖ หน้า ๑๓๖๔ วันที่ ๓๐ ตุลาคม
พ.ศ.
๒๔๘๒
(รูปที่
๑)
ระบุชื่อ
"คลองอรชร"
ไว้ว่าเป็นขอบเขตด้านทิศตะวันออกของที่ดินแปลงที่
๑ ที่โอนกรรมสิทธิ์ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และในแผนที่แนบท้ายพระราชบัญญัติฉบับนี้
(รูปที่
๒)
ก็มีการระบุชื่อคลองอรชรในแผนที่
(แผนที่ที่ดาวน์โหลดมาจากเว็บของราชกิจจานุเบกษาไม่ค่อยชัดเท่าไร
แต่เมื่อขยายแล้วก็พออ่านออกได้ว่าเป็นคลองอรชรกับถนนสนามม้า)
รูปที่
๑ มาตรา ๓
ของพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ตำบลปทุมวัน อำเภอปทุมวัน
จังหวัดพระนคร ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ.
๒๔๘๒
(ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม
๕๖ หน้า ๑๓๖๔ วันที่ ๓๐ ตุลาคม
พ.ศ.
๒๔๘๒)
ที่ดินแปลงที่
๑ คือที่ฝั่งหอประชุมจุฬาฯ
ที่ดินแปลงที่สองคือฝั่งด้านสนามกีฬาและตลาดสามย่านไปจนจรดถนนบรรทัดทอง
ที่ดินแปลงที่ ๓
คือแปลงอีกฟากของถนนบรรทัดทอง
ที่ปัจจุบันเป็นตึกแถว
และด้านหลังเป็นคลอง
แต่ในแผนที่แนบท้ายพระราชบัญญัติโอนคลองไผ่สิงห์โต
ให้สภากาชาดไทย พ.ศ.
๒๔๘๕
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม
๕๙ ตอนที่ ๘๑ หน้า ๒๕๘๙ วันที่
๒๙ ธันวาคม พ.ศ.
๒๔๘๕
(รูปที่
๓)
ที่แสดงรูปด้านถนนพระราม
๔ เรียกคลองนี้ว่าคลองสนามม้า
ส่วนถนนที่ขนานไปกับคลองดังกล่าวยังเรียกว่าถนนสนามม้า
คลองไผ่สิงห์โตตามรูปที่
๓ ปัจจุบันดูเหมือนจะเป็นพื้นที่ของโรงพยาบาลจุฬาฯ
ซึ่งไม่มีร่องรอยของคลองหลงเหลือแล้ว
ส่วนปลายคลองไผ่สิงห์โตด้านถนนสนามม้า
น่าจะตรงกับบริเวณโรงอาหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ในปัจจุบัน
รูปที่
๒
แผนที่แนบท้ายพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ตำบลปทุมวัน อำเภอปทุมวัน
จังหวัดพระนคร ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ.
๒๔๘๒
(ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม
๕๖ หน้า ๑๓๖๔ วันที่ ๓๐ ตุลาคม
พ.ศ.
๒๔๘๒)
ในกรอบแดงคือชื่อที่ระบุคลองอรชรและถนนสนามม้า
ปัจจุบันถนนสนามม้ากลายเป็นถนนอังรีดูนังต์
ส่วนคลองอรชรเลียบรั้วจุฬานั้นก็คือถนนอังรีดูนังต์ด้านฝั่งรั้วจุฬานั่นเอง
ที่ยังพอมีอนุสรณ์ให้เห็นอยู่เห็นจะได้แก่สะพานเฉลิมเผ่า
๕๒ (บูรณะปีพ.ศ.
๒๕๐๖)
ที่อยู่สุดถนนอังรีดูนังต์ด้านถนนพระราม
๑ โดยอยู่ระหว่างห้างพารากอนและวัดสระปทุม
(รูปที่
๔)
ซึ่งไม่รู้เหมือนกันว่ามันจะอยู่ไปได้อีกนานเท่าไรและจะมีสักกี่คนที่จะสังเกตเห็นว่าที่ตรงนั้นเคยมีสะพานข้ามคลองอยู่
รูปที่
๓ แผนที่แนบท้ายพระราชบัญญัติโอนคลองไผ่สิงห์โต
ให้สภากาชาดไทย พ.ศ.
๒๔๘๕
(ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม
๕๙ ตอนที่ ๘๑ หน้า ๒๕๘๙ วันที่
๒๙ ธันวาคม พ.ศ.
๒๔๘๕)
ในกรอบแดงคือชื่อที่ระบุคลองสนามม้า
(คลอรอรชร)
และถนนสนามม้า
รูปที่
๔ สามแยกแยกเฉลิมเผ่า
สุดสายถนนอังรีดูนังต์ด้านถนนพระราม
๑ ยังเหลือส่วนที่เคยเป็นสะพานเฉลิมเผ่า
๕๒ บูรณะ ๒๕๐๖ เอาไว้ให้เห็น
(ในกรอบสีแดง)
ส่วนตัวคลองอรชรยังคงพอเหลืออยู่
(ในกรอบสีเหลือง)
ด้านที่เชื่อมต่อกับคลองแสนแสบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น