สัปดาห์ที่ผ่านมาเห็นประตูกระจกห้องลิฟต์ที่ผมจอดรถอยู่เป็นประจำ
มันแตกเป็นครั้งที่สอง
ปรกติก็เห็นได้เห็นกระจกที่ใช้ทำผนังกั้นหรือประตูต่าง
ๆ ในอาคารแตกเสียหายก็หลายครั้ง
แต่ประตูที่เห็นแตกนี้แตกต่างออกไปเพราะใช้กระจกนิรภัยทำ
Memoir
ฉบับนี้ก็เลยขอเล่าถึงกระจกนิรภัยสักหน่อย
กระจกนิรภัยที่ผมเคยเห็นนั้นมีอยู่
๓ แบบด้วยกันคือ
๑.
Wire mesh glass
เป็นกระจกที่มีตะแกรงลวดโลหะอยู่ภายใน
กระจกแบบนี้ได้เห็นตอนไปเรียนต่างประเทศ
ไม่เคยเห็นว่ามีการใช้ในเมืองไทย
๒.
Tempered glass
เป็นกระจกนิรภัยที่เวลาแตกแล้วจะแตกทั้งบานเป็นชิ้นเล็ก
ๆ ที่เรียกว่า "เม็ดข้าวโพด"
เศษกระจกที่แตกนั้นต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือใกล้สี่เหลี่ยมให้มากที่สุด
เพราะเป็นรูปทรงที่ทำให้ชิ้นส่วนต่างที่แตกนั้นมีความ
"แหลม"
น้อยที่สุด
กระจกแบบนี้ผลิตได้ด้วยการนำแผ่นกระจกธรรมดาไปเผาให้ร้อน
จากนั้นนำไปเป่าให้เย็นลงด้วยอัตราที่เหมาะสมด้วยอากาศร้อน
ถ้าต้องการให้กระจกสุดท้ายที่ได้นั้นมีรูปร่างแบบใดและขนาดเท่าใดก็ต้องคำนวณเอาไว้ก่อนที่จะนำแผ่นกระจกธรรมดามาเข้ากระบวนการ
เพราะเมื่อผ่านกระบวนการเสร็จแล้วจะไม่สามารถตัดแต่งรูปทรงใด
ๆ ได้อีก
เพราะถ้าพื้นผิวของกระจกชนิดนี้เป็นรอยลึกเพียงนิดเดียว
กระจกจะแตกทั้งบาน
กระจกแบบนี้แต่ก่อนเห็นใช้ทำกระจกรถยนต์ทุกบานรวมทั้งกระจกหน้าด้วย
แต่ตอนนี้สำหรับกระจกหน้าไม่ได้ใช้
tempered
glass แล้ว
เพราะเวลามันแตกจะทำให้คนขับมองทางไม่เห็น
สำหรับรถเก๋งส่วนใหญ่ในปัจจุบันเห็นหันไปใช้ชนิด
laminated
glass กันหมดแล้ว
แต่กระจกด้านข้างและด้านหลังก็ยังใช้ชนิด
tempered
glass อยู่
เพราะ tempered
glass มีข้อดีตรงที่ทุบให้มันแตกออกได้
เวลาเกิดเหตุฉุกเฉินที่ไม่สามารถใช้ประตูเป็นทางเข้าออกได้ก็จะอาศัยช่องทางหน้าต่างเป็นช่องทางหนี
ดังนั้นกระจกที่ใช้ทำกระจกหน้าต่างจึงเป็นกระจกชนิดนี้
พวกกระจกหน้าต่างรถโดยสาร
(ไม่ว่าติดแอร์หรือไม่ติดแอร์)
รถไฟฟ้าหรือรถไฟใต้ดิน
ก็ใช้กระจกแบบนี้ทั้งนั้น
๓.
Laminated glass
เป็นกระจกที่สร้างขึ้นจากกระจกอย่างน้อยสองแผ่นมาประกบให้ติดกันโดยมีฟิล์มพลาสติกใสประสานอยู่ตรงกลาง
ปัจจุบันแผ่นกระจกบานหน้าของรถเก๋งก็เห็นใช้กระจกชนิดนี้กันหมดแล้ว
ข้อดีของกระจกชนิดนี้คือเวลาแตกมันจะเป็นรอยแตกเหมือนกระจกปรกติ
คือไม่เกิดลวดลายไปทั้งบาน
ทำให้คนขับยังมองเห็นทัศนวิสัยข้างหน้าได้อยู่
แต่ก็ไม่หลุดเป็นชิ้นส่วนที่แหลมคมออกมา
เพราะฟิล์มเหนียวที่อยู่ตรงกลางเป็นตัวยึดกระจกเอาไว้
พวกกระจกกันกระสุนปืนก็เป็นกระจกประเภทนี้
เพียงแต่มีการซ้อนกันหลายชั้นมากกว่า
อาจจะใช้แต่แผ่นกระจกหรือใช้พลาสติกใสชนิดอื่นร่วมด้วยก็ได้
กระจกแบบนี้มีข้อเสียการจะทุบให้แตกจนทะลุนั้นทำได้ยาก
ดังนั้นสำหรับช่องทางที่คาดหวังว่าจะใช้เป็นช่องทางออกฉุกเฉิน
(กระจกหน้าต่างบานด้านข้างและบานด้านหลังรถ)
จึงไม่ใช้กระจกชนิดนี้
รูปที่
๑ ป้ายระบุกระจกนิรภัยชนิด
(บน)
tempered (ล่าง)
ชนิด
laminated
รูปที่
๒ (ซ้าย)
กระจกบานประตูที่แตกออก
ลักษณะแตกคือแตกทั้งบานแบบกระจก
tempered
จุดที่เริ่มก่อให้เกิดรอยแตกจะดูได้จากแนวเส้นรอยแตกที่แผ่ออกมาจากจุดที่เริ่มแตก
(ตำแหน่งยึดที่จับประตูด้านล่าง)
ตอนแรกที่เห็นก็แปลกใจว่าทำไมมันยังคงรูปร่างอยู่ได้
แต่พอดูด้านข้าง (ขวา)
ก็เลยรู้ว่าที่มันยังคงรูปอยู่ได้ก็เพราะเป็นกระจกสองบานประกบกันด้วยฟิล์ม
บานด้านขวาคือบานที่แตก
ส่วนบานด้านซ้ายนั้นยังปรกติดีอยู่
รูปที่
๓ (ซ้าย)
ดูเหมือนรอยแตกจะเริ่มจากตำแหน่งยึดที่จับประตูด้านล่าง
เพราะเห็นมีเส้นรอยแตกแผ่ออกมาตามแนวเส้นลูกศรสีเหลือง
ในขณะที่ตำแหน่งยึดที่จับประตูด้านบน
(ขวา)
จะมีแต่เส้นรอยแตกวิ่งผ่านออกไป
กระจกประตูอาคารจอดรถที่ผมเห็นแตกนั้นมันแตกแบบ
tempered
glass คือเวลาที่มันแตกมันจะแตกเป็นชิ้นส่วนเล็ก
ๆ ทั้งบาน
เห็นตอนแรกก็แปลกใจว่าทำไมมันไม่ร่วงหล่นลงมา
พอดูจากทางด้านข้างก็เลยเห็นว่าเขาใช้กระจกสองแผ่นมาประกบกันด้วยฟิล์มเหนียว-ใสตรงกลาง
ทำให้ชิ้นส่วนกระจกเล็ก ๆ
ที่เกิดจากการแตกนั้นไม่ร่วงหล่นลงมายังพื้น
กระจกหน้าต่างตามบ้านและอาคารทั่วไปก็เห็นใช้กระจกแผ่นแบบธรรมดากัน
เพราะมันราคาถูกกว่ากระจกนิรภัย
แต่ถ้าเป็นกระจกที่ใช้เป็นฉากกั้นกันน้ำกระเซ็นไปทั่วห้องน้ำ
ก็ต้องใช้กระจกนิรภัย
เพราะพื้นในห้องน้ำนั้นจัดว่าลื่นกว่าพื้นปรกติ
โอกาสลื่นล้มไปกระแทกกระจกจะสูงกว่า
แนวรอยแตกของกระจกนั้นเมื่อเริ่มขยายตัวแผ่ออกไปจะวิ่งด้วยความเร็วเสียง
ความเร็วเสียงในที่นี้คือความเร็วเสียงในตัวกลางนั้นซึ่งในที่นี้ก็คือกระจก
และความเร็วเสียงในของแข็งก็สูงกว่าความเร็วเสียงในอากาศด้วย
ดังนั้นบางทีเวลาที่เขาตรวจพบรอยร้าวในเนื้อโลหะและไม่ต้องการให้มันขยายตัวออกไป
ก็จะใช้วิธีการเจาะรูที่จุดสิ้นสุดของรอยร้าวหรือดักหน้ารองร้าวนั้นซึ่งก็พอช่วยให้รอยร้าวมาหยุดที่รูดังกล่าวได้
แล้วค่อยดำเนินการซ่อมแซมใหญ่กันเมื่อโอกาสอำนวย
รอยแตกร้าวนี้เมื่อเริ่มวิ่งออกไปก็จะไปเรื่อย
ๆ จนกว่าจะถึงตำแหน่งขอบหรือตำแหน่งที่เนื้อวัสดุไม่ต่อเนื่อง
(เช่นตำแหน่งของรอยแตกร้าวที่เกิดก่อนหน้า)
คุณลักษณะเช่นนี้ทางตำรวจใช้บ่งบอกว่าเวลาที่มีการยิงทะลุกระจกนั้น
นัดไหนเป็นนัดแรกที่ทำการยิง
เพราะรอยแตกร้าวที่เกิดจากกระสุนนัดแรกจะเดินทางไปไกลที่สุด
(คือไปจนถึงขอบกระจก)
ส่วนรอยแตกร้าวที่เกิดจากกระสุดนัดหลังนั้นจะไปสิ้นสุดที่รอยแตกร้าวของกระสุดนัดที่เกิดก่อนหน้า
(รูปที่
๔)
แต่ถ้ากระจกแตกตกลงมาทั้งบาน
ก็คงจะบอกอะไรได้ลำบาก
รูปที่
๔ รอยแตกที่เกิดจากรูที่
๑ (เส้นสีน้ำเงิน)
นั้นไปไกลสุดและไม่ไปหยุดที่รอยแตกรอยอื่น
แสดงว่ารูที่ ๑ นั้นเป็นรูแรกที่เกิด
ส่วนรอยแตกที่เกิดจากรูที่
๒ (เส้นสีม่วง)
นั้นมีรอยมาสิ้นสุดที่แนวรอยแตกที่เกิดจากรูที่
๑ (ตำแหน่ง
ก)
แสดงว่ารูที่
๒ เกิดหลังจากรูที่ ๑
และรอยแตกที่เกิดจากรูที่
๓ (เส้นสีเขียว)
มีรอยมาสิ้นสุดที่รอยแตกที่เกิดจากรูที่หนึ่ง
(ตำแหน่ง
ข)
และรอยแตกที่เกิดจากรูที่
๒ (ตำแหน่ง
ค)
แสดงว่ารูที่
๓ เกิดขึ้นทีหลังรูที่ ๒
ถ้ารูดังกล่าวเกิดจากการยิงกระสุนผ่าน
ก็จะบอกได้ว่ากระสุนนัดแรกเข้าที่รูที่
๑ กระสุนนัดที่สองเข้าที่รูที่
๒ และกระสุนนัดที่สามเข้าที่รูที่
๓
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น