ทางอีสานที่เคยไปไกลสุดก็ขอนแก่น
แต่นั่นก็เกือบ ๒๐ ปีมาแล้ว
ตอนนั้นขับรถเองจากกรุงเทพ
ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๕-๖
ชั่วโมง มาปีนี้มีโอกาสต้องเดินทางไปขอนแก่นอีกครั้ง
ก็เลยถือโอกาสไปเที่ยวทางอีสานตอนบนบ้าง
แต่ใช้วิธีนั่งเครื่องบินไปลงที่อุดรธานี
แล้วเช่ารถขับจากสนามบิน
ออกจากสนามบินก็เที่ยงกว่าแล้ว
แห่งแรกที่ไปก็คือบ้านเชียง
ลูกเปรยว่าอยากไปดูมนุษย์โบราณ
ก็เลยใช้โอกาสนี้ไปเที่ยวด้วยซะเลย
เพราะตัวเองก็ไม่เคยไป
จากตัวจังหวัดอุดรธานีก็ขับรถมุ่งไปทางตะวันออกสู่อำเภอหนองหาน
ตรงไปบ้านเชียง ก็ราว ๆ ๕๐
กิโลเมตร เที่ยวอยู่ที่นั่นประมาณ
๒-๓
ชั่วโมง
(รวมเวลาที่ไปยืนแทะกินไก่ย่างข้างตลาดในตัวหมู่บ้านด้วย)
ก็ขับรถออกจากบ้านเชียงเพื่อไปหาที่พักแรมที่จังหวัดหนองคาย
ไปถึงหนองคายก็เย็นแล้ว
สิ่งแรกที่ทำก็คือหาที่พัก
ขับรถวนไปวนมาสักพักก็ไปได้ที่พักที่อยู่ปากทางเข้าตลาดท่าเสด็จ
แถมมีที่จอดรถให้ด้วย
ก็เลยกะว่าจะพักที่นั่นสักคืนก่อน
เดินเล่นริมแม่น้ำโขงพร้อมกับถ่ายรูปที่ตลาดท่าเสด็จสักพักก็ได้เวลาหาข้าวเย็นกิน
ตัวอำเภอหนองคายก็อยู่กันเงียบ
ๆ พอตกค่ำก็ดูสงบกันไปทั้งตัวอำเภอ
รูปที่
๑ แผนที่จังหวัดหนองคายจากหนังสือ
"แผนที่
๗๑ จังหวัดประเทศไทย"
เรียบเรียงโดย
ยรรยง จรียภาส สำนักพิมพ์ไมตรีจิต
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ.
๒๕๑๕
พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ.
๒๕๑๕
ที่เลือกรูปนี้มาเพราะเห็นว่าเป็นฉบับที่อยู่ในเวลาที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดมากที่สุด
(เท่าที่หาได้)
อำเภอท่าบ่ออยู่ในกรอบสีเหลือง
ช่วงเวลาที่เดินทางไปถึงก็เป็นช่วงก่อนออกพรรษาไม่กี่วัน
คนก็เลยยังไม่เดินทางมาเที่ยวหนองคาย
แถมยังต้องลุ้นด้วยว่าฝนที่จะมากับพายุวิภานั้นจะรุนแรงแค่ไหน
โชคดีที่พายุลงต่ำ
หนองคายที่อยู่ทางเหนือกว่าก็เลยโดนแค่ขอบ
ๆ ของพายุ ไม่ได้มีฝนตกหนักต่อเนื่องสักเท่าใดนัก
คืนแรกในหนองคายก็เลยถือโอกาสใช้เวลาว่างก่อนนอนค้นหาว่าวันรุ่งขึ้นจะไปเที่ยวที่ไหนดี
ตอนนั้นสิ่งที่นึกได้เกี่ยวกับแม่น้ำโขงคือบั้งไฟพญานาค
(เพราะเป็นช่วงกำลังจะออกพรรษา)
และจะขอไปดูเมืองเวียนจันทน์ที่อยู่อีกฟากของฝั่งโขง
ตรงข้ามกับอำเภอศรีเชียงใหม่
และถ้ามีโอกาสก็จะขอแวะชม
"ดอนแตง"
สักหน่อย
อำเภอโพนพิสัยที่คนเขาแห่กันไปดูบั้งไฟพญานาคนั้นต้องเดินทางเลียบแม่น้ำโขงไปทางตะวันออกของตัวเมืองหนองคายอีกประมาณ
๕๐ กิโลเมตร
ก็เลยใช้โอกาสนี้ขับรถเที่ยวชมภูมิประเทศและแวะดูวิวแม่น้ำโขงเป็นแห่ง
ๆ ไป ถึงอำเภอโพนพิสัยก็เห็นวัดหลาย
ๆ
แห่งเตรียมการจัดงานประเพณีออกพรรษากันและเตรียมรับนักท่องเที่ยวที่จะมาเยือน
ทางผมไม่ได้คิดจะไปดูบั้งไฟอยู่แล้ว
แค่อยากชมทัศนียภาพประเทศไทยและแม่น้ำโขง
แวะถ่ายรูปตามที่ต่าง ๆ
เสร็จก็ขับรถกลับมาที่พัก
ช่วงเช้านี่ยังดีหน่อย
ยังไม่มีฝนตก
ช่วงบ่ายหลังจากพักผ่อนยังที่พักสักครู่
ก็เริ่มเดินทางไปยัง อ.
ศรีเชียงใหม่
คราวนี้มีฝนตกพร่ำ ๆ
สลับกับตกแรงเป็นบางช่วง
แทบไม่มีจังหวะขาดสาย
ขับรถเที่ยวชมภูมิประเทศช่วงฝนตกที่ก็แปลกไปอีกแบบ
เสียตรงที่ว่าไม่สามารถหยุดรถเพื่อแวะถ่ายรูปได้
เส้นทางจากตัวจังหวัดหนองคายไปยัง
อ.
ศรีเชียงใหม่
นั้นมีสองเส้นทาง
เส้นทางแรกเป็นเส้นทางหลักคือต้องขับรถย้อนลงใต้มาตามถนนมิตรภาพ
(สาย
๒)
ก่อน
จากนั้นก็เลี้ยวขวาเข้าถนนสาย
๒๑๑ มุ่งไปยัง อ.
ท่าบ่อ
ก่อนจะเลียบฝั่งโขงไปยัง
อ.
ศรีเชียงใหม่
อีกเส้นหนึ่งเป็นเส้นเลียบแม่น้ำโขงจากตัวจังหวัดไปยัง
อ.
ท่าบ่อ
ชื่อสาย ๒๑๑ เหมือนกัน
ผมเลือกขับตามเส้นทางเลียบลำน้ำโขงนี้
เพื่อจะแวะดูว่า "บ้านโพนสา"
(หรือ
"บ้านพูนสา")
อยู่แถวไหน
และมองเล็งหามุมที่จะแวะถ่ายรูป
"ดอนแตง"
ในเที่ยวกลับด้วย
เที่ยวขับไปศรีเชียงใหม่กว่าจะเจอบ้านโพนสาก็เข้าเขตตัวอำเภอท่าบ่อแล้ว
ก็เลยแวะจอดรถถ่ายรูปป้ายเอาไว้เป็นที่ระลึกสักหน่อยว่ามาถึงแล้ว
แต่ต้องถ่ายจากในรถ
เพราะข้างนอกรถมีทั้งในตกและลมกรรโชกแรงเป็นช่วง
ๆ
รูปที่
๒ บนเส้นทางขับรถสาย ๒๑๑
เลียบลำน้ำโขงจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอท่าบ่อ
พอเข้าเขตตัวอำเภอท่าบ่อจะมีป้ายบอกว่าถึงบ้าน
"โพนสา"
แล้ว
ถ่ายรูปที่ศรีเชียงใหม่เสร็จก็เดินทางกลับ
โดยมีเป้าหมายสุดท้ายคือแวะถ่ายรูปดอนแตงที่เป็นเกาะอยู่กลางแม่น้ำโขง
แนวเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับลาวช่วงแม่น้ำโขงเป็นแนวเส้นเขตแดนที่มันแปลก
ๆ อยู่ ปัญหามันเกิดตั้งแต่ตอนที่ฝรั่งเศสเข้ามายึดลาวแล้ว
ปรกติถ้าเป็นแนวภูเขาก็จะใช้
"สันปันน้ำ"
เป็นเขตแดน
บ้านเราที่มีปัญหาเห็นจะเป็นตรง
"เขาพระวิหาร"
และถ้าเป็นแม่น้ำก็มักจะใช้
"ร่องน้ำ"
เป็นแนวเขต
แต่สำหรับแม่น้ำโขงแล้วดูเหมือนมันจะมั่วไปหมด
เกาะแก่งต่าง ๆ
ดูเหมือนจะกลายเป็นของประเทศลาวไปหมด
จะมียกเว้นอยู่ก็คงเป็นที่
"ดอนแตง"
ที่แหละที่เป็นของไทย
รูปที่
๓ เกาะกลางแม่น้ำโขงในกรอบสี่เหลี่ยมเป็นของประเทศไทย
ผมเข้าใจว่านั่นคือ "ดอนแตง"
ปีพ.ศ.
๒๕๑๘
เป็นปีที่เหตุการณ์ทางการเมืองมีการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ด้วยการที่พรรคคอมมิวนิสต์มีชัยชนะในการรบและเข้าเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในประเทศกัมพูชา
(๑๗
เมษายน)เวียดนาม
(๓๐
เมษายน)
และลาว
พรมแดนประเทศไทยตั้งแต่สามเหลี่ยมทองคำทางภาคเหนือมาถึงอ่าวไทยทางภาคตะวันออกจึงกลายเป็นสิ่งที่ใครต่อใครลุ้นกันว่าจะเป็นแนวรบแนวใหม่หรือไม่
และ "ทฤษฎีโดมิโน
(Domino
theory)" จะเป็นจริงหรือไม่
"ทฤษฎีโดมิโน"
เป็นทฤษฎีด้านการต่างประเทศ
เกี่ยวข้องกับการล้มระบอบการปกครองของประเทศหนึ่งและประเทศที่อยู่ข้างเคียง
ในช่วงสงคราวมเวียดนามนั้นเชื่อกันว่าถ้า
เวียดนาม ลาว กัมพูชา
กลายเป็นคอมมิวนิสต์
ประเทศไทยก็จะเป็นรายถัดไป
ตามด้วย พม่า มาเลเซีย
อินโดนีเซีย ฯลฯ ต่อไปได้
เมื่อ ๓ ประเทศล้มไปแล้ว
ในช่วงบ่ายของวันจันทร์ที่
๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๕๑๘
ระหว่างที่เรือตรวจการตามลำน้ำหมายเลข
๑๒๓ หรือเรือ ล.
๑๒๓
ของหน่วยปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง
(เรียกย่อว่า
นปข.)
แล่นตรวจการณ์อยู่ในลำแม่น้ำโขงในเขตฝั่งไทยนั้น
ได้ถูกระดมยิงจากฝั่งประเทศลาว
กระสุนนัดหนึ่งทำให้พันจ่าตรีปรัศน์
พงษ์สุวรรณ
ที่เป็นผู้ถือท้ายเรืออยู่ในขณะนั้นเสียชีวิต
เรือ ล.
๑๒๓
จึงพุ่งขึ้นเกยตื้นที่ดอนแตง
เหตุการณ์นี้มีผู้ให้รายละเอียดเอาไว้หลายแห่งแล้ว
ถ้าอยากอ่านโดยละเอียดก็ใช้
google
หาได้โดยใช้คำว่า
"วีรกรรมดอนแตง"
ก็จะเจอ
ในที่นี้จึงขอสรุปคร่าว ๆ
ก็คือในวันแรกนั้นทางฝ่ายไทยทำได้เพียงแค่คุ้มกันนำเอาผู้บาดเจ็บและยังมีชีวิตอยู่ของเรือ
ล.
๑๒๓
ออกมาจากเรือได้
ส่วนศพของพันจ่าตรีปรัศน์
นั้นยังต้องทิ้งไว้ที่เรือ
ล.
๑๒๓
ก่อน
ในวันเดียวกันนั้น
พลเรือเอกสงัด ชลออยู่
ผู้บัญชาการทหารเรือและผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น
สั่งการให้นำเอาศพพันจ่าตรีปรัศน์
ออกมาจากเรือให้ได้
ในเช้าวันรุ่งขึ้นทางฝ่ายไทยจึงได้มีการปฏิบัติการทางทหารอีกครั้งเพื่อนำเอาศพพันจ่าตรีปรัศน์
กลับออกมา
แต่ก็ได้รับการขัดขวางจากทางฝั่งลาวอย่างหนัก
ทำให้การกู้ศพพันจ่าตรีปรัศน์
นั้นไม่ประสบความสำเร็จ
ต้องถอนกำลังกลับออกมาก่อน
ถึงตอนนั้นทางพลเรือเอกสงัด
ชลออยู่ จึงได้สั่งการอีกครั้ง
ด้วยประโยคที่ได้กลายเป็นประโยคประวัติศาสตร์ของทหารเรือคือ
"ถ้าไม่ได้ศพคืน
ก็ต้องเพิ่มศพเข้าไป"
และในคืนนั้นเอง
ทีมนักทำลายใต้น้ำจู่โจมของกองทัพเรือก็สามารถเข้าไปนำศพของพันจ่าตรีปรัศน์
กลับออกมาได้
ส่วนฝ่ายลาวนั้นได้ถอนกำลังกลับออกไป
ทำให้ทางฝ่ายไทยสามารถกู้เรือ
ล.
๑๒๓
ออกมาจากดอนแตงได้ในวันรุ่งขึ้น
อีกไม่กี่วันก็จะครบรอบ
๓๘ ปีวีรกรรมดอนแตงของทหารเรือแล้ว
เลยขอเขียนเรื่องนี้เล่าสู่กันฟังสักหน่อย
เที่ยวขับรถขากลับจากศรีเชียงใหม่
ฝนตกหนักขึ้นเรื่อย ๆ
พร้อมลมกรรโชกแรงเป็นระยะ
หาที่แวะถ่ายรูปริมน้ำโขงไม่ได้เลย
ออกจาก อ.
ท่าบ่อ
มุ่งหน้ามายังหนองคายได้สักพักเห็นมีร้านกาแฟอยู่ร้านหนึ่งชื่อร้าน
"Coffee
@ Love" ตั้งอยู่โดยเดี่ยวริมแม่น้ำโขงกลางที่ว่าง
ก็เลยแวะเข้าไปพักกินกาแฟกับขนมเค้ก
ที่ร้านมีแม่ค้าขายของอยู่ที่ร้านเพียงคนเดียว
เลยนั่งพักผ่อนและคุยเรื่องต่าง
ๆ ไปเรื่อย ๆ สักประมาณชั่วโมงก็เดินทางกลับที่พัก
โอกาสนี้ก็เลยถือโอกาสถ่ายรูปแม่น้ำโขงแถวบ้านโพนสาที่เป็นบริเวณที่เกิดเหตุมาให้ชมกัน
แต่ผมก็ไม่รู้ว่าฝั่งตรงข้ามที่เห็นนั้นคือดอนแตงหรือไม่
ถามแม่ค้าเขาก็ไม่ทราบเพราะเขาไปโตที่อื่นตั้งแต่เด็ก
เพิ่งจะย้ายกลับมาอยู่ที่นี่
ถนนสาย
๒๑๑
ช่วงเลียบแม่น้ำโขงจากหนองคายมายังท่อบ่อนี้ตอนที่ขับรถผ่านก็รู้สึกว่ามันแปลก
ๆ คือเป็นถนนเล็ก
(ลาดยางขนาดสองช่องทางจราจร
ไม่มีไหล่ทาง)
ที่ค่อนข้างสูงจากระดับพื้นรอบข้างมาก
(ประมาณ
๓-๔
เมตร)
สอบถามแม่ค้าที่ร้านกาแฟดูก็ทราบความว่าคุณแม่ของเขาเล่าให้ฟังว่าถนนเส้นนี้เดิมเป็นคันกั้นน้ำ
ชลประทานสร้างเอาไว้เพื่อป้องกันน้ำจากแม่น้ำโขงไหลเข้าท่วมเวลาน้ำหลาก
ตัวเขาเองเพิ่มจะมาซื้อที่ตรงนี้เพื่อเปิดเป็นร้านกาแฟได้สักประมาณปีเศษ
ริมฝั่งน้ำโขงก็มีทางเดินสาธารณะสำหรับชมวิว
ผมถือโอกาสในจังหวะที่ฝนซาออกไปถ่ายรูปวิวแม่น้ำโขงที่ระเบียงร้านได้มาสองรูป
แค่นั้นขากางเกงก็เปียกโชกแล้ว
รูปที่
๔ ร้านกาแฟ Coffee
@ Love ที่ไปแวะกินช่วงขับรถจากท่าบ่อกลับมายังหนองคายเมื่อวันที่
๑๖ ตุลาคมที่ผ่านมา
รูปที่
๕ ทั้งบนและล่างคือวิวแม่น้ำโขงในวันฝนตก
ถ่ายจากระเบียงร้าน Coffee
@ Love ที่บ้านโพนสา
อ.
ท่าบ่อ
ร้านนี้ถ้าไปนั่งตรงระเบียงฝั่งแม่น้ำโขงจะมีกอต้นกล้วยบังวิวทิวทัศน์เอาไว้บางมุม
กอกล้วยนี้แม่ค้าเล่าให้ฟังว่าลูกค้าหลายรายบอกว่าควรจะตัดทิ้ง
จะได้ไม่บังวิว
แต่เขาก็ไม่ตัดเพราะต้องใช้ในการบังลม
ลมริมแม่น้ำโขงบางช่วงเวลาจะแรงมาก
ช่วงที่น้ำโขงแห้งลมจะพัดเอาทรายจากฝั่งตรงข้ามเข้ามาในร้าน
การมีต้นไม้บังลมจะช่วยป้องกันฝุ่นทรายเหล่านั้นเอาไว้
วันที่ไปกินกาแฟนั้นขนาดชายคาลึกเข้ามาร่วมห้าเมตรฝนยังสาดเข้าถึง
เราเริ่มเดือนใหม่อุ่นเครื่องกันด้วยเรื่องเบา
ๆ กันก่อนก็แล้วกัน เพราะเรื่องหนัก
ๆ มันยังมีรออยู่เพียบเลย
ทั้งการสอบโครงร่างและการแก้ปัญหา
GC
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น