ก่อนอื่นก็คงต้องขอออกตัวก่อนเลยว่าเรื่อง
Reciprocating
compressor
สำหรับแก๊สนั้นเป็นเรื่องที่ผมเองก็ไม่มีประสบการณ์อะไรมากไปกว่าคอมเพรสเซอร์อัดอากาศตัวเล็ก
ๆ ที่ใช้ในห้องแลปที่ใช้กับเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟ
และปรกติก็ไม่ได้ทำอะไรกับมันมากไปกว่าการระบายน้ำออกจากถังเก็บอากาศเป็นระยะ
แต่จะเก็บเอาสิ่งที่มีนั้นซุกเอาไว้ก็เห็นว่าจะไม่เกิดประโยชน์อะไร
สู้เอามาเผยแพร่ดีกว่าเผื่อมีคนจำเป็นต้องใช้
จะได้พอมีข้อมูลบ้างว่าต้องไปหาความรู้เรื่องอะไรบ้าง
อุปกรณ์พวก
Reciprocating
(ไม่ว่าจะเป็นปั๊มหรือคอมเพรสเซอร์)
มันมีข้อดีตรงที่มันเพิ่มความดันได้มากด้วยการอัดเพียงขั้นตอนเดียวเมื่อเทียบกับพวก
Centrifugal
แต่มันไปมีข้อเสียตรงที่มันให้การไหลที่ไม่ราบเรียบและยังมีการเสียดสีระหว่างกระบอกสูบและลูกสูบ
การทำให้การไหลราบเรียบขึ้นนั้นทำได้ด้วยการมีหลายกระบอกสูบที่มีจังหวะการทำงานเหลื่อมล้ำกัน
หรือไม่ก็มีถัง buffer
ส่วนการเสียดสีนั้นก็ไปแก้ปัญหาด้วยการหล่อลื่น
data
sheet หน้าที่
๑ เป็นการสอบถามข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับแก๊สที่จะทำการอัด
(เช่น
ความดันด้านขาเข้า ความดันด้านขาออก
อัตราการไหล อุณหภูมิ
ค่าความจุความร้อน (cp
และ
cv)
แบบฟอร์มที่แนบมานี้เป็นแบบฟอร์มเมื่อกว่า
๓๐ ปีที่แล้วของบริษัทในสหรัฐอเมริกา
หน่วยอุณหภูมิที่ใช้จึงเป็นองศาฟาเรนไฮต์
แต่จุดที่อยากให้สังเกตคืออุณหภูมิอ้างอิงที่เขาใช้
คือเขาใช้ที่ "60
องศาฟาเรนไฮต์"
และคำย่ออีกคำที่ปรากฏคือ
BHP
ซึ่งมาจาก
Break
Horse Power ซึ่งก็คือกำลังที่ส่งออกจริง
ซึ่งเท่ากับกำลังที่หน่วยต้นกำลังผลิต
หักลบด้วยงานที่ต้องเอาชนะความเสียดทาน
เพื่อให้เห็นภาพค่า
BHP
จะขอยกตัวอย่างสมมุติกรณีของเครื่องยนต์ที่ใช้กับรถยนต์
ถ้าเราเอาเครื่องยนต์มาเดินตัวเปล่า
แล้ววัดแรงที่ต้องใช้ในการทำให้เพลาเครื่องยนต์หยุดหมุน
เราก็จะได้ค่ากำลังของเครื่องยนต์ค่าหนึ่ง
แต่ถ้าเราเอาเครื่องยนต์นั้นมาต่อเข้ากับระบบเกียร์
ซึ่งระบบเกียร์นี้ต่อเข้ากับระบบส่งกำลังไปยังล้อ
ดังนั้นถ้าทำให้ล้อหยุดหมุนเครื่องยนต์ก็จะหยุดหมุนตามไปด้วย
และถ้าเราวัดแรงที่ทำให้ล้อหยุดหมุน
เราก็จะได้กำลังของเครื่องยนต์ที่ส่งไปถึงล้อ
ค่านี้คือค่า BHP
ซึ่งจะต่ำกว่าค่าที่วัดจากเพลาด้านขาออกของเครื่องยนต์
เพราะมันมีการสูญเสียพลังงานในช่วงที่มันต้องส่งกำลังผ่านระบบเกียร์และระบบส่งกำลังไปยังล้อ
อุปกรณ์พวก
centrifugal
นั้นพลังงานจากมอเตอร์ไฟฟ้ามันส่งตรงไปยังใบพัดโดยตรง
(อาจมีการสูญเสียบ้างเล็กน้อยตรงระบบรองลื่น)
แต่ในกรณีของอุปกรณ์พวก
reciprocating
นั้น
มันจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนการเคลื่อนที่แบบหมุนของเพลามอเตอร์ไฟฟ้าไปเป็นการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงของลูกสูบ
และยังมีการเสียดสีกันระหว่างตัวลูกสูบ
(หรือแหวนลูกสูบ)
กับผนังกระบอกสูบอีก
(อุปกรณ์พวก
centrifugal
นั้นมันไม่มีการสัมผัสกันระหว่างใบพัดกับตัวเรือน)
ดังนั้นพลังงานที่มอเตอร์ไฟฟ้าส่งออกมาเพื่ออัดแก๊สจึงมีการสูญเสียไปส่วนหนึ่ง
นอกจากนี้ใน
data
sheet หน้า
๑ บรรทัดที่ ๔๓ และ ๔๙
ยังมีการกล่าวถึง v-belt
ซึ่งก็คือสายพานรูปตัว
V
การส่งกำลังการหมุนจากเพลามอเตอร์ไปยังอุปกรณ์อาจทำโดยการต่อตรงเพลามอเตอร์เข้ากับเพลาอุปกรณ์
(พวก
centrifugal
pump มันทำแบบนี้)
ซึ่งต้องใช้ความละเอียดในการจัดแนวแกนกลางของเพลามอเตอร์และเพลาอุปกรณ์ให้อยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน
การต่อตรงนี้ทำให้เพลาอุปกรณ์หมุนด้วยความเร็วรอบเดียวกันกับเพลามอเตอร์
แต่ในกรณีที่เราต้องการให้เพลาอุปกรณ์หมุนด้วยความเร็วรอบที่แตกต่างไปจากเพลามอเตอร์
ก็จำเป็นต้องมีระบบทดรอบ
ซึ่งอาจเป็นระบบเฟืองทดรอบ
โซ่ (แบบที่รถมอเตอร์ไซค์ใช้กัน)
หรือสายพาน
(แบบที่เห็นกันทั่วไปในโรงงาน)
สายพานที่ใช้ในการส่งกำลังก็มีรูปร่างพื้นที่หน้าตัดหลายรูปแบบ
ขึ้นอยู่กับรูปแบบการทำงาน
รูปแบบตัว V
(อันที่จริงมันก็ไม่เหมือนตัว
V
ซะทีเดียว
เพราะด้านล่างมันไม่แหลม
แต่มันแคบกว่าด้านบน)
ก็เป็นรูปแบบหนึ่งที่ใช้พื้นผิวด้านข้างสองด้านของสายพานในการรับ-ส่งกำลังระหว่างมูเล่
รูปที่
๑ หน้าที่ ๑ ของ Reciprocating
compressor data sheet
เป็นเรื่องปรกติที่เวลาที่เราอัดแก๊สนั้น
อุณหภูมิของแก๊สที่ถูกอัดจะสูงขึ้น
ถ้าเป็นอุปกรณ์พวก Centrifugal
ก็มักต้องมีอุปกรณ์ระบายความร้อนเพื่อลดความร้อนของแก๊สขาออกแยกต่างหาก
แต่ในกรณีของ Reciprocating
compressor
นั้นสามารถออกแบบให้มีช่องสำหรับให้ของเหลวระบายความร้อนไหลผ่านรอบ
ๆ กระบอกสูบ
ทำนองเดียวกับเครื่องยนต์รถที่มีช่องให้น้ำหล่อเย็นไหลผ่านรอบ
ๆ กระบอกสูบ เพื่อไม่ให้เครื่องยนต์ร้อนเกินไป
(มุมล่างขวาของ
data
sheet หน้าที่
๒)
ประเด็นที่สำคัญประเด็นหนึ่งที่ควรพึงระลึกในการทำงานกับแก๊สความดันสูงคือ
"ความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยา"
แก๊สบางชนิดเช่นอากาศ
ที่ความดันปรกติก็ไม่ได้มีความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยากับสารประกอบไฮโดรคาร์บอนหนัก
(เช่นพวกจารบี
หรือน้ำมันหล่อลื่น)
เท่าใดนัก
แต่ถ้าอากาศถูกอัดให้มีความดันสูงมากขึ้น
มันจะมีความว่องไวสูงมากขึ้น
ตรงนี้จะสังเกตได้จากอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบอากาศอัดความดัน
เช่น pressure
regulator จะมีการระบุไว้ว่า
"ไม่ให้ใช้น้ำมันหล่อลื่น"
อะเซทิลีนก็เป็นแก๊สตัวหนึ่งที่ระเบิดได้ง่ายขึ้นจากการสลายตัวของมันเองที่ความดันสูง
แก๊สพวกโอเลฟินส์ (เช่นเอทิลีน)
ก็สามารถที่จะเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรซ์เป็นโมเลกุลใหญ่ขึ้นเมื่อถูกอัด
(ผลจากความดันและอุณหภูมิที่สูงขึ้นจากการอัด)
กลายเป็นคราบสกปรกสะสมในระบบได้
ด้วยการที่อุปกรณ์ที่ทำงานแบบ
Reciprocating
นั้นมีการเสียดสีกันระหว่างผนังกระบอกสูบกับลูกสูบ
(หรือแหวนลูกสูบ
ที่ทำหน้าที่ป้องกันการรั่วซึมระหว่างลูกสูบกับผนังกระบอกสูบ)
จึงจำเป็นที่ส่วนนี้ต้องได้รับการหล่อลื่น
และกลไกการเปลี่ยนการเคลื่อนที่แบบหมุนให้กลายเป็นการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงแบบกลับไปกลับมา
(หรือตรงข้ามกันเช่นในกรณีของเครื่องยนต์รถที่เปลี่ยนการเคลื่อนที่แบบเส้นตรงกลับไปกลับมให้กลายเป็นการหมุน)
จะทำงานด้วยการใช้ระบบข้อเหวี่ยง
ชิ้นส่วนเหล่านี้จึงต้องการการหล่อลื่น
ในกรณีที่เป็นปั๊มของเหลวนั้น
การหล่อลื่นระหว่างผนังกระบอกสูบกับลูกสูบนั้นอาจใช้ตัวของเหลวที่ทำการสูบอัดนั้นเป็นสารหล่อลื่นได้
แต่ใช้ไม่ได้ในกรณีที่เป็นคอมเพรสเซอร์อัดแก๊ส
แต่ในส่วนของระบบข้อเหวี่ยงก็ยังต้องการการหล่อลื่นอยู่
และในบางระบบก็ต้องการปั๊มน้ำมันหล่อลื่นในการจ่ายน้ำมันหล่อลื่นด้วย
(เช่นใน
data
sheet หน้า
๓ ตรงหัวข้อ Lubricant
และหน้า
๔ ตรงหัวข้อ Utility
consumption)
รูปที่
๒ หน้าที่ ๒ ของ Reciprocating
compressor data sheet
รูปที่
๓ หน้าที่ ๓ ของ Reciprocating
compressor data sheet
รูปที่
๔ หน้าที่ ๔ ของ Reciprocating
compressor data sheet
รูปที่
๕ หน้าที่ ๕ ของ Reciprocating
compressor data sheet
รูปที่
๖ หน้าที่ ๖ ของ Reciprocating
compressor data sheet
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น