ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาทางสถานฑูตสหรัฐอเมริกาอุตส่าห์ให้ความช่วยเหลือด้วยการส่งเจ้าหน้าที่จาก
National
Nuclear Security Administration (NNSA)
มาให้ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมสินค้าที่ใช้ได้สองทาง
หลังจากที่เข้าร่วมฟังการบรรยายอยู่วันครึ่ง
จะไม่เอาเรื่องที่เขาไม่อธิบายมาขยายความต่อก็กระไรอยู่
อันที่จริงการเข้าฟังครั้งนี้ของผมก็เป็นครั้งที่สอง
แตกต่างตรงที่ครั้งแรกนั้นเป็นการให้ความรู้จากเจ้าหน้าที่ของ
European
Union (EU) ที่เป็นต้นความคิดของการควบคุมสินค้าดังกล่าว
(ซึ่งผมเห็นว่าครั้งนั้นจัดดีกว่าครั้งล่าสุดนี้)
สินค้าใช้ได้สองทางนี้ภาษาอังกฤษเรียกว่า
Dual-use
items หรือย่อว่า
DUI
คือสินค้าที่ใช้ได้ทั้งเชิงพาณิชย์และการผลิตอาวุธทำลายล้างสูงที่เรียกว่า
Weapon
of Mass Destruction หรือที่ย่อว่า
WMD
ที่แยกออกเป็นอาวุธ
เคมี นิวเคลียร์ และชีวภาพ
มีทั้งสารตั้งต้น วัตถุดิบ
และอุปกรณ์ต่าง ๆ
ที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิต
ทดสอบ วิจัย ควบคุม ฯลฯ
เนื่องด้วยเจ้าของต้นเรื่องเป็นสหภาพยุโรป
รายชื่อสินค้าดังกล่าวจึงเรียกว่าเป็น
EU
Lists สินค้าเหล่านี้ไม่ได้ห้ามซื้อห้ามขาย
แต่จะขายให้ได้ก็เฉพาะกับผู้ใช้
(ดูทั้งตัวผู้ใช้และประเทศที่อยู่ของผู้ใช้ด้วย)
ที่มีความน่าเชื่อถือว่าจะไม่นำสินค้าดังกล่าวไปใช้ในงานใด
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอาวุธทำลายล้างสูง
เนื่องด้วยตัวผมเองไม่ได้มีความรู้อะไรเกี่ยวกับงานทางด้านนิวเคลียร์หรืออิเล็กทรอนิกส์เท่าใดนัก
ก็เลยจะขอยกตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับทางเคมีก็แล้วกัน
จะว่าไปแล้วอาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีการผลิตอาวุธเคมีนั้นเป็นเทคโนโลยีเก่าที่ย้อนหลังไปจนถึงช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่
๑ หรือเมื่อกว่าร้อยปีมาแล้ว
โดยความเห็นส่วนตัวเห็นว่าการควบคุมการผลิตอาวุธเคมี
โดยเฉพาะการผลิตที่มีเป้าหมายว่าจะนำไปใช้ในเวลาอันสั้นหลังผลิตได้นั้น
จะกระทำได้ยาก
ไม่เหมือนกับการผลิตเพื่อเก็บสะสมเป็นคลังอาวุธ
เพราะกรณีหลังนี้ต้องคำนึงถึงความบริสุทธิ์และเสถียรภาพของผลิตภัณฑ์ที่ต้องเก็บเอาไว้เป็นเวลานาน
ว่าจะไม่กัดกร่อนอุปกรณ์
(หรือหัวรบ)
ที่บรรจุสารเคมีเหล่านั้นเอาไว้
รูปที่
๑ ตัวอย่างเส้นทางที่เป็นไปได้ที่ใช้ในการเปลี่ยน
acetone
เป็น
pinacolone
และต่อไปเป็น
pinacolyl
alcohol
ปัญหาอย่างหนึ่งของ
EU
List ก็คือรายการสินค้าต่าง
ๆ นั้นจำนวนไม่น้อยที่มองดูเผิน
ๆ แล้วก็ไม่เห็นว่ามันน่าจะมีพิษมีภัยอะไร
ตัวอย่างหนึ่งที่เคยเล่าไปแล้วได้แก่ไตรเอทานอลเอมีน
(ดู
Memoir
ปีที่
๗ ฉบับที่ ๘๗๗ วันพฤหัสบดีที่
๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๗ เรื่อง
"ไตรเอทานอลเอมีน (Triethanolamine)")
แอซีโทน
(acetone
H3CC(O)CH3) เป็นสารประกอบคีโตนพื้นฐานที่สุด
แหล่งที่มาสำคัญของแอซีโทนในภาคอุตสาหกรรมมาจากการผลิตฟีนอล
(C6H5OH)
ด้วยกระบวนการคิวมีน
(cumene
process) ที่ทำการสลายโมเลกุลคิวมีนให้กลายเป็นฟีนอลและแอซีโทน
การใช้ประโยชน์จากแอซีโทนในระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีให้เห็นในตำราทั่วไป
มีทั้งการนำไปใช้ทำปฏิกิริยากับฟีนอลเพื่อผลิตเป็น
ฺBisphenol
A (BPA) ที่นำไปใช้ในการผลิตอีพอกซีเรซินและพอลิคาร์บอเนต
ส่วนหนึ่งถูกใช้เป็นตัวทำละลาย
(ที่ระเหยง่าย)
ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารประกอบ
ketene
(ethenone) ซึ่งเมื่อนำไปทำปฏิกิริยากับ
acetic
acid ก็จะได้
acetic
anhydride (ที่นอกเหนือจากการเอาไปทำเส้นใยอะซีเทต
ผลิตยาแอสไพริน ฯลฯ
ยังสามารถเอาไปทำปฏิกิริยากับมอร์ฟีนเพื่อเปลี่ยนมอร์ฟีนเป็นเฮโรอินได้อีก)
สารเคมีตัวหนึ่งที่ผลิตได้จากแอซีโทนแต่ดูเหมือนว่าจะมีการกล่าวถึงกันน้อยกว่ามากได้แก่
pinacolone
ที่เป็นสารเคมีตัวหนึ่งที่ใช้ในการผลิตยาปราบศัตรูพืช
กระบวนการผลิตเริ่มได้จากการนำแอซีโทนมาทำปฏิกิริยาที่มีชื่อว่า
pinacol
coupling reaction ที่เป็นปฏิกิริยาเชื่อมอะตอม
C
ของหมู่คาร์บอนนิล
๒ หมู่ของคีโตนหรืออัลดีไฮด์สองโมเลกุลเข้าด้วยกัน
โดยอะตอม O
ของหมู่คาร์บอนิลแต่ละตัวจะกลายเป็นหมู่
-OH
แทน
ผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ glycol
ที่มีหมู่
-OH
อยู่ที่อะตอม
C
สองอะตอมที่อยู่เคียงข้างกัน
(vicinal
diol) ที่มีชื่อว่า
pinacol
ปฏิกิริยาดังกล่าวเกิดโดยมีโลหะ
Mg
หรือ
Al
เป็นตัวรีดิวซ์อะตอม
O
ของหมู่คาร์บอนิลโดยมี
HgCl2
ทำปฏิกิริยาร่วมด้วย
(รูปที่
๑)
วิธีการผลิต
pinacol
นี้ไม่ใช่วิธีการใหม่
เป็นที่รู้จักกันมานานแล้ว
ดังตัวอย่างสิทธิบัตรประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการจดเอาไว้เมื่อเกือบ
๑๐๐ ปีที่แล้ว (รูปที่
๒ ข้างล่าง)
ถ้าลองไปอ่านดูก็จะเห็นว่าสำหรับนักเคมีทั่วไปแล้ว
มันไม่ได้ทำยากเย็นอะไรนัก
ใช้เพียงแค่เครื่องมือธรรมดา
ๆ เท่านั้นเอง
รูปที่
๒ สิทธิบัตรการผลิต pinacol
จาก
acetone
ในสิทธิบัตรนี้ใช้โลหะ
Al
แทนโลหะ
Mg
ในสภาวะที่มีกรดเจือจางเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาและมีอุณหภูมิที่เหมาะสมหมู่
-OH
ของ
pinacol
จะเกิดปฏิกิริยาที่มีชื่อว่า
pinacol
rearrangement (ไม่ได้เกิด
dehydration
เป็นอีเทอร์)
โดยจะมีการย้ายตำแหน่งของหมู่
-CH3
หนึ่งหมู่
กลายเป็นสารประกอบคีโตนที่มีชื่อว่า
pinacolone
(รูปที่
๑)
แต่ถ้าไม่อยากทำปฏิกิริยาแบบสองขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น
ก็สามารถเลือกใช้การทำปฏิกิริยาแบบขั้นตอนเดียวที่ทำการเปลี่ยนแอซีโทนไปเป็น
pinacolone
เลยก็ได้
ดังเช่นกระบวนการที่มีการจดสิทธิบัตรประเทศสหรัฐอเมริกาเอาไว้ในรูปที่
๓ ข้างล่าง ที่มีการจดเอาไว้หลังสงครามโลกครั้งที่
๒ เสร็จสิ้นไม่นาน
รูปที่
๓ กระบวนการขั้นตอนเดียวในการผลิต
pinacolone
จาก
acetone
โดยไม่ต้องผลิต
pinacol
ขึ้นมาก่อน
เป็นกระบวนการที่มีการคิดค้นขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่
๒
สำหรับคนที่มีพื้นฐานทางด้านเคมีอินทรีย์อยู่บ้าง
คงจะรู้นะครับว่าการรีดิวซ์หมู่คาร์บอนนิลของอัลดีไฮด์หรือคีโตนจะได้หมู่ไฮดรอกซิล
ซึ่งเป็นการเปลี่ยนสารประกอบอัลดีไฮด์หรือคีโตนนั้นให้กลายเป็นแอลกอฮอล์
ในกรณีของ pinacolone
นั้นเมื่อเรารีดิวซ์หมู่คาร์บอนนิลเราจะได้แอลกอฮอล์ที่มี่ชื่อว่า
pinacolyl
alcohol
ที่น่าสนใจคือจากที่ลองค้นหาสิทธิบัตรการผลิต
pinacolone
และ
pinacolyl
alcohol ด้วย
google
ดูนั้นพบว่ามีการจดสิทธิบัตรวิธีการผลิต
pinacolone
กันอย่างหลากหลาย
แต่สำหรับ pinacolyl
alcohol นั้นกลับมีปรากฏน้อยมาก
(ไม่รู้ว่าเป็นเพราะมีการซ่อนเอาไว้ในชื่ออื่นที่ไม่ได้มีการระบุให้เห็นอย่างชัดแจ้งหรือเปล่า)
สิทธิบัตรหนึ่งที่พบก็เป็นเอกสารที่มีการยื่นขอจดเมื่อไม่นานนี้
(รูปที่
๔ ในหน้าถัดไป)
นอกจากนี้แม้ว่าจะมีการกล่าวถึงการนำเอา
pinacolone
ไปใช้งานอย่างหลากหลาย
แต่การนำเอา pinacolyl
alcoholไปใช้งานนั้นกลับมีปรากฏน้อยมากด้วย
โดยบอกแต่เพียงว่าเป็นสารตั้งต้นตัวหนึ่งที่ใช้ในการผลิตอาวุธเคมี
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สารเคมีทั้งสองตัวถูกระบุไว้ใน
EU
List ว่าเป็นสารเคมีควบคุม
โดย pinacolone
อยู่ในรายการที่
1C350.39
(ในฐานะที่สามารถนำไปเปลี่ยนเป็นสารตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตอาวุธเคมีคือ
pinacolyl
alcohol) ส่วน
pinacolyl
alcohol อยู่ในรายการที่
1C350.28
(ในฐานะที่เป็นองค์ประกอบที่ใช้ในการผลิตอาวุธเคมี)
ส่วนอาวุธเคมีที่ใช้
pinacolyl
alcohol เป็นสารตั้งต้นนั้นคือ
nerve
gas ที่มีชื่อว่า
"Soman"
รูปที่
๔ เอกสารยื่นขอจดสิทธิบัตรตัวเร่งปฏิกิริยาที่สามารถรีดิวซ์
pinacolone
ให้กลายเป็น
pinacolyl
alcohol ได้
เรื่องของ
Sarin
และ
Soman
ที่เป็น
nerve
gas เคยเล่าไว้ครั้งหนึ่งใน
Memoir
ปีที่
๕ ฉบับที่ ๕๖๙ วันอาทิตย์ที่
๒๗ มกราคม ๒๕๕๖ เรื่อง "เอา 2,2-dimethylbutane (neohexane) ไปทำอะไรดี"
ทั้ง
Soman
และ
Sarin
เป็นสารที่คล้ายกันคลึงกันมาก
ใช้สารตั้งต้นตัวอื่นที่เหมือนกัน
แตกต่างตรงที่ใช้การผลิต
Sarin
นั้นใช้ไอโซโพรพานอล
(isopropanol
หรือ
2-propanol)
เป็นสารตั้งต้นเท่านั้นเอง
แต่ไอโซโพรพานอลกลับไม่ใช่สารเคมีควบคุม
คิดว่าคงเป็นเพราะไอโซโพรพานอลเป็นสารเคมีที่มีการใช้งานกันทั่วไปอย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวันจนทำให้ควบคุมมันไม่ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น