ระบบสาธารณูปโภคหลักของโรงงานได้แก่
น้ำ ไอน้ำ อากาศอัดความดัน
แก๊สเฉื่อย (ปรกติก็คือไนโตรเจน)
ไฟฟ้า
ส่วนทางโรงงานจะผลิตขึ้นใช้เองทั้งหมดหรือจะรับจากแหล่งภายนอกทั้งหมดก็คงต้องพิจารณาเป็นกรณีไป
ตัวอย่างเช่นอากาศอัดความดัน
ที่เห็นกันทั่วไปแต่ละโรงงานก็จะตั้งหน่วยผลิตใช้เองภายใน
(ติดตั้งเครื่องคอมเพรสเซอร์และถังเก็บ)
น้ำใช้ก็จะรับมาจากแหล่งภายนอก
ส่วนจะรับมาในรูปของน้ำดิบ
(น้ำจากแหล่งเก็บจากธรรมชาติโดยตรง)
หรือในรูปของน้ำประปานั้น
ก็คงขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี
เช่นในกรณีของโรงงานที่ตั้งอยู่เป็นกลุ่ม
อาจมีการรับน้ำดิบเข้ามาผลิตเป็นน้ำประปาใช้เองภายในกลุ่มโรงงาน
(จะได้ไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งน้ำใช้กับชุมชน)
ในกรณีของแก๊สไนโตรเจนนั้น
ถ้าเป็นโรงงานที่ตั้งรวมเป็นกลุ่มก็มักจะมีบริษัทที่ผลิตแก๊สเหล่านี้โดยตรงมาตั้งเครื่องกลั่นแยกอากาศ
(เรียกว่า
cold
box) แล้วส่งไปขายให้โรงงานต่าง
ๆ ทางระบบท่อ
แต่ถ้าเป็นโรงงานที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยวก็คงต้องใช้การส่งทางรถบรรทุกในรูปของไนโตรเจนเหลว
นำมาถ่ายเก็บไว้ที่ถังเก็บ
แล้วค่อยระเหยออกมาใช้งาน
ในส่วนของพลังงานไฟฟ้า
ในบ้านเราแต่เดิมทีมักมีปัญหาเรื่องเสถียรภาพของพลังงานไฟฟ้า
(คือไฟฟ้าดับเป็นประจำแบบเอาแน่เอานอนไม่ได้)
ทำให้หลายโรงงานต้องมีการตั้งโรงไฟฟ้าใช้เอง
โดยเฉพาะโรงงานที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากโรงผลิตไฟฟ้า
ปัจจุบัน
ในโรงงานที่ตั้งเป็นกลุ่มนั้นอาจมีการตั้งโรงไฟฟ้าอยู่ในบริเวณเดียวกันเพื่อจ่ายไฟฟ้าให้กับโรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมเป็นหลัก
หรือในกรณีของโรงงานขนาดใหญ่เช่นโรงกลั่นน้ำมันหรือโรงโอเลฟินส์
ก็อาจมีการตั้งโรงไฟฟ้าของตนเองขึ้นมาเพื่อใช้เองภายในโรงงานและจำหน่ายให้กับโรงงานที่ตั้งอยู่ในกลุ่มที่ตั้งเดียวกัน
ในกรณีของโรงโอเลฟินส์นั้นยังมีพลังงานความร้อนเหลือเฟือ
ที่สามารถนำไปใช้ผลิตไอน้ำเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนเครื่องจักรแทนการใช้ไฟฟ้า
(เช่นคอมเพรสเซอร์ที่ใช้อัดแก๊สก่อนเข้าสู่ระบบทำความเย็น)
และจำหน่ายให้กับโรงงานข้างเคียงได้อีก
การซื้อไอน้ำจากโรงงานข้างเคียงก็มีข้อดีตรงที่ไม่ต้องไปแบกรับภาระเรื่องการดูแลระบบผลิตน้ำสำหรับหม้อไอน้ำและตัวหม้อไอน้ำ
แต่ก็อาจเกิดปัญหาได้ถ้าหากโรงงานที่เป็นผู้จ่ายไอน้ำให้นั้นเกิดปัญหาในการเดินเครื่อง
ทำให้ไม่สามารถจ่ายไอน้ำให้ได้
(โดยเฉพาะในกรณีที่ความร้อนที่ใช้ในการผลิตไอน้ำเป็นความร้อนที่ได้มาจากการระบายความร้อนของสารในกระบวนการผลิต)
ดังนั้นการพิจารณาตรงนี้จึงควรพิจารณาจากหลายมุมมอง
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของค่าใช้จ่าย
หรือด้านเสถียรภาพของแหล่งจ่าย
สำหรับโรงงานที่มีการใช้ไอน้ำที่หลายระดับความดัน
ก็ไม่จำเป็นต้องผลิตไอน้ำ
(หรือรับซื้อไอน้ำ)
ที่หลายระดับความดัน
สามารถใช้วิธีการผลิต
(หรือซื้อ)
ไอน้ำที่ระดับความดันสูง
แล้วค่อย ๆ
ปรับลดระดับความดันลงให้เหลือระดับความดันต่าง
ๆ ที่ต้องการใช้งานก็ได้
๖.
ไอน้ำ
(Steam)
ไอน้ำที่ความดันสูงจะมีปริมาตรจำเพาะต่ำ
ทำให้ไม่ต้องใช้ท่อขนาดใหญ่ในการลำเลียง
(ท่อเล็กถูกกว่าท่อใหญ่)
แต่เนื่องจากมันมีอุณหภูมิสูง
ดังนั้นอาจจำเป็นต้องใช้ท่อที่ทนอุณหภูมิสูงได้
(คือราคาท่อแพงขึ้นตามความสามารถในการทนอุณหภูมิสูงของโลหะ)
การส่งไอน้ำไปเป็นระยะทางไกล
ๆ ในรูปของไอน้ำร้อนยวดยิ่ง
(superheated
steam) ยังช่วงลดการควบแน่นของไอน้ำในระบบท่อส่ง
โดยทางผู้รับสามารถเปลี่ยนให้ไอน้ำร้อนยวดยิ่งดังกล่าวเป็นไอน้ำอิ่มตัว
(saturated
steam) ได้ด้วยการฉีดน้ำที่เป็นของเหลวที่ได้จากไอน้ำควบแน่น
(steam
condensate) เข้าไปผสมกับไอน้ำร้อนยวดยิ่งโดยใช้อุปกรณ์ที่ชื่อว่า
desuperheater
น้ำที่ป้อนเข้าหม้อน้ำมักจะมีการเติมสารเคมีต่าง
ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับอุณหภูมิและความดันของไอน้ำที่จะผลิต
ในทางทฤษฎีแล้วไอน้ำที่ระเหยออกมาจากหม้อไอน้ำนั้นควรมีแต่น้ำเท่านั้น
แต่ในความเป็นจริงมันจะมีสิ่งอื่นปนเปื้อนมาได้
เช่นเกลือแร่ต่าง ๆ
ที่สลายตัวกลายเป็นไอหรือติดมาในรูปของหยดละอองน้ำเล็ก
ๆ (carry
over) มากับไอน้ำ
น้ำบริสุทธิ์ที่ไม่มีเกลือแร่ละลายอยู่จะมีค่าการนำไฟฟ้าต่ำมาก
ดังนั้นเราจึงสามารถใช้ค่าการนำไฟฟ้าเป็นตัวบ่งบอกว่าน้ำนั้นมีแร่ธาตุรวมทั้งหมดแล้วเจือปนอยู่มากน้อยเท่าใด
โดยไม่ต้องแยกวิเคราะห์ทุกตัว
ซิลิกาเป็นแร่ธาตุตัวหนึ่งที่ก่อปัญหาได้มากถ้าหากมันเกิดการสะสมในระบบท่อ
ทั้งนี้เพราะมันไม่ละลายในกรดเหมือนกับตะกรันต่าง
ๆ (ที่เป็นคราบหินปูนหรือเกลือ)
พวกตะกรันต่าง
ๆ
ที่สะสมในหม้อไอน้ำหรือในระบบท่อนั้นสามารถล้างออกได้ด้วยการผ่านสารละลายกรด
(ที่มีความเข้มข้นพอที่เหมาะสม)
ให้ไหลเวียนภายในระบบ
เพื่อเข้าไปละลายตะกรันต่าง
ๆ นั้นออกมา
แต่วิธีการใช้กรดละลายนี้ใช้ไม่ได้กับซิลิกา
ไอน้ำที่ควบแน่น
(steam
condensate) จะได้มาจากไอน้ำที่ระดับความดันต่าง
ๆ ที่ควบแน่นจากการใช้งานให้ความร้อนที่อุปกรณ์ต่าง
ๆ
การเก็บรวบรวมไอน้ำที่ควบแน่นที่ต้องระบายออกจากระบบท่อส่งมักจะไม่ค่อยทำกันเนื่องจากแต่ละจุดระบายนั้นมักมีการระบายน้อย
และกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป
๗.
ไนโตรเจน
(Nitrogen)
ในอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน
ปิโตรเคมี
และอุตสาหกรรมเคมีที่เกี่ยวข้องกับสารไวไฟหรือใช้สารไวไฟจำนวนมาก
(ไม่ว่าสารไวไฟนั้นจะเป็นของเหลวหรือแก๊สก็ตาม)
จะมีการใช้ไนโตรเจนในการไล่อากาศออกจากระบบท่อและ
vessel
ต่าง
ๆ ก่อนที่จะป้อนสารไวไฟเหล่านั้นเข้าระบบ
และยังใช้ไนโตรเจนในการไล่ไอระเหยของสารไวไฟที่ค้างอยู่ใน
vessel
ต่าง
ๆ ออกให้หมดก่อนที่จะป้อนอากาศเข้าไปก่อนเปิด
vessel
เพื่อทำการซ่อมบำรุง
ตอนเอาไนโตรเจนไปไล่อากาศออก
เราสามารถไล่ออกสู่บรรยากาศภายนอกได้เลย
เพียงแต่เลือกจุดระบายออกให้อยู่ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทดี
ๆ หน่อย เพื่อที่ว่าเมื่อไล่อากาศออกไปหมดแล้ว
แล้วมีไนโตรเจนรั่วออกมาแทน
จะไม่เกิดการสะสมของแก๊สไนโตรเจนในบริเวณนั้นจนทำให้ผู้ที่ผ่านเข้าไปในบริเวณนั้นได้รับอันตรายจากการขาดอากาศได้
แต่ตอนเอาไนโตรเจนไปไล่ไอระเหยของสารเคมีออกจะวุ่นวายกว่า
เพราะอาจจำเป็นต้องระบายสู่ระบบกำจัด
(เช่นระบบ
flare)
เพื่อไม่ให้ไอสารเคมีที่ไล่ออกมานั้นก่ออันตราย
(จะด้วยจากความเป็นพิษหรือการลุกติดไฟก็ตามแต่)
ภายนอกได้
๘.
น้ำ
(Water)
-
น้ำผ่านการปรับสภาพ
(Treated
water)
ความหมายของน้ำที่ผ่านการปรับสภาพนี้อาจหมายถึงน้ำประปา
หรือน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ
(ที่อาจเป็นแหล่งน้ำบนดินหรือแหล่งน้ำใต้ดิน)
ที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพมาแล้วบางส่วน
(เช่นกำจัดเอาของแข็งแขวนลอยออกไป)
น้ำนี้จะถูกนำไปใช้เป็นน้ำประปาสำหรับการใช้งานทั่วไปในอาคารสำนักงาน
หรือนำไปเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงคุณภาพให้เหมาะสมกับการใช้งานต่อไป
(เช่นเอาไปผลิตเป็นน้ำปราศจากแร่ธาตุละลายอยู่
หรือน้ำสำหรับป้อนเข้าหม้อน้ำ)
- น้ำปราศจากแร่ธาตุละลายอยู่ (Demineralized water)
การทำให้น้ำบริสุทธิ์
ให้ปราศจากแร่ธาตุละลายอยู่
สามารถทำได้ด้วยการกลั่นน้ำซ้ำหลายครั้ง
(เช่นน้ำสำหรับใช้ผสมยาฉีดจะต้องผ่านกระบวนการกลั่นซ้ำถึง
๓ ครั้ง)
หรือการแลกเปลี่ยนไอออน
สำหรับอุตสาหกรรมที่ต้องใช้น้ำบริสุทธิ์ในปริมาณมากเพื่อการผลิต
การใช้การแลกเปลี่ยนไอออนมักจะเหมาะสมกว่า
น้ำบริสุทธิ์ปราศจากแร่ธาตุละลายอยู่นี้อาจนำไปใช้ผสมเข้ากับผลิตภัณฑ์โดยตรง
ใช้ผลิตไอน้ำความบริสุทธิ์สูงเพื่อการฆ่าเชื้ออุปกรณ์ที่ต้องการความสะอาดสูง
(เช่นเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตยาที่เป็นของเหลว)
ค่าการนำไฟฟ้าของน้ำเป็นตัวบ่งบอกปริมาณแร่ธาตุทั้งหมด (ไม่แยกชนิด) ที่ละลายอยู่ในน้ำ ยิ่งค่านี้สูงมากเท่าใดก็แสดงว่าน้ำนั้นมีแร่ธาตุละลายอยูมาก ดังนั้นในการตรวจวัดหรือควบคุมคุณภาพน้ำจึงสามารถใช้ค่าการนำไฟฟ้านี้เป็นตัวบ่งบอกภาพรวมของคุณภาพน้ำนั้นก่อน ถ้าพบว่ามันสูงเกินกว่าที่กำหนดก็เรียกว่ามันไม่ผ่านเกณฑ์ ไม่จำเป็นต้องไปวัดหาปริมาณแร่ธาตุตัวอื่น แต่ถ้ามันผ่านเกณฑ์ก็ค่อยมาดูในรายละเอียดของแร่ธาตุตัวอื่นแต่ละตัวอีกที
-
น้ำดับเพลิง
(Fire
water)
น้ำสำหรับดับเพลิงมีอยู่ด้วยกันสองส่วน
ส่วนแรกคือน้ำที่จะใส่เข้าไปในท่อน้ำดับเพลิง
เรียกว่าพอเปิดวาล์วก็จะมีน้ำไหลออกมาทันที
ส่วนที่สองคือแหล่งน้ำจากภายนอกที่จะไหลเข้ามาในท่อดับเพลิงเมื่อมีการใช้น้ำดับเพลิง
ความแตกต่างของท่อน้ำดับเพลิงจากท่อน้ำทั่วไปคือน้ำที่อยู่ในท่อดับเพลิงนั้นมักจะไม่มีการไหลเป็นเวลานาน
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ของแข็งที่แขวนลอยอยู่ในน้ำตกค้างในระบบท่อและนำไปสู่การกัดกร่อนเฉพาะจุดได้
ส่งผลให้ท่อผุกร่อนได้ง่าย
ประกอบกับการที่ท่อดับเพลิงอาจถูกวางฝังใต้ดิน
(เพื่อป้องกันความเสียหายจากการระเบิด)
ทำให้การตรวจสอบทำได้ยากหรือทำไม่ได้
ด้วยเหตุนี้จึงมีการเติมสารเคมีบางชนิดผสมเข้าไปในน้ำที่จะใส่เข้าไปนอนรอในท่อดับเพลิงนั้น
เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำในท่อกัดกร่อนท่อจากทางด้านใน
และยังต้องทำ cathodic
protection (การให้โลหะอื่นผุกร่อนแทนเหล็ก
หรือใช้การจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงแทน)
เพื้อป้องกันการผุกร่อนของท่อเหล็กจากทางด้านนอกด้วย
แต่ถ้ามีเพลิงไหม้อย่างต่อเนื่อง
ตอนนั้นก็คงไม่ต้องไปสนคุณภาพน้ำแล้ว
ได้น้ำจากแหล่งไหนก็ใช้น้ำจากแหล่งนั้นเลย
ด้วยเหตุนี้บางหน่วยงานจึงมีการสร้างสระน้ำขนาดใหญ่
(ที่อาจเป็นบ่อที่เกิดจากการขุดดินไปถมตำแหน่งอื่น
แล้วใช้สระที่เกิดขึ้นนั้นเป็นบ่อรองรับน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วของโรงงาน
ก่อนจะระบายน้ำนั้นออกไปหรือปล่อยให้มันซึมลงดิน
หรือใช้สำหรับรดน้ำต้นไม้)
ซึ่งนอกจากจะเป็นการปรับปรุงภูมิทัศน์ของที่ทำงานแล้ว
ยังสามารถใช้น้ำจากสระน้ำนั้นเป็นน้ำสำรองในการดับเพลิงได้
เรื่องข้อกำหนดคุณลักษณะที่
Battery
limit ก็คงจะขอจบด้วยตอนที่
๓ ณ ตำแหน่งนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น