ปฏิกิริยา
halogenation
ส่วนที่เป็นสายโซ่ไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว
(การแทนที่อะตอม
H
ของพันธะ
C-H
ด้วยอะตอมฮาโลเจน)
ของสารอินทรีย์นั้น
ในตำราเคมีอินทรีย์จะกล่าวถึง
Cl
กับ
Br
เป็นหลัก
(เพราะ
F
เกิดปฏิกิริยารุนแรงมากส่วน
I
ก็เฉื่อยมากจนไม่ทำปฏิกิริยา)
แต่ปฏิกิริยาจะเกิดได้ก็ต้องมีแสงหรือความร้อนช่วย
และเมื่อเกิดได้แล้วก็จะเป็นการเกิดแบบไม่เลือกเกิดเสียด้วย
กล่าวคือเกิดได้กับทุกพันธะ
C-H
ของสายโซ่ไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว
และยังสามารถเกิดการแทนที่ได้หลายตำแหน่งด้วย
ด้วยเหตุนี้ในกรณีที่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีการแทนที่ด้วยอะตอมเฮไลด์เพียงอะตอมเดียว
ณ ตำแหน่งที่เฉพาะเจาะจง
จึงต้องเตรียมด้วยวิธีการอื่นที่ไม่ใช่การทำปฏิกิริยากับฮาโลเจนโดยตรง
รูปที่
๑ ภาพรวมของปฏิกิริยาการสังเคราะห์
α-Pyrrolidinopentiophenone
ด้วยการที่อะตอมเฮไลด์มีค่า
electronegativity
ที่สูงกว่าอะตอม
C
มาก
จึงทำให้อะตอม C
ตัวที่มีอะตอมเฮไลด์เกาะอยู่
(เพียงแค่
1
หรือ
2
ตัว)
มีความเป็นขั้วบวกที่เด่นชัด
จนสามารถทำปฏิกิริยากับอะตอมอื่นที่มีขั้วลบหรือมีอิเล็กตรอนคู่โดยเดี่ยวได้ง่ายขึ้น
ประกอบกับการที่ไอออนของเฮไลด์นั้นมีความหนาแน่นประจุที่ต่ำ
(เนื่องจากมีประจุเพียงแค่
-1
และยังมีฃนาดไอออนที่ใหญ่อีก)
จึงทำให้ไอออนของเฮไลด์เป็น
leaving
group ที่มีเสถียรภาพสูง
(leaving
group
คือหมู่ที่ต้องหลุดออกมาจากโครงสร้างโมเลกุลเดิมเมื่อเกิดปฏิกิริยา
ถ้าหากหมู่นี้มีเสถียรภาพสูง
ปฏิกิริยาก็จะดำเนินไปข้างหน้าได้ดีเพราะเมื่อมันหลุดออกมาแล้วมันไม่มีแนวโน้มที่จะกลับคืนโมเลกุลเดิมของมัน)
ปฏิกิริยา
nucleophilic
substitution อะตอมเฮไลด์ด้วย
neclueophile
ตัวอื่นจึงเกิดได้ง่าย
รูปที่
๒ วิธีการสังเคราะห์
α-Pyrrolidinopentiophenone
ในระดับห้องปฏิบัติการ
(จากบทความเรื่อง
1-(4-Methylphenyl)-2-pyrrolidin-1-yl-pentan-1-one
(Pyrovalerone) analogs. A promising class of monoamine uptake
inhibitors โดยPeter
C. Meltzer†, David Butler, Jeffrey R. Deschamps และ
Bertha
K. Madras ในวารสาร
J
Med Chem. 2006 February 23; 49(4): 1420–1432)
อันที่จริงบทความนี้มีการสังเคราะห์สารหลายหลายชนิดด้วยวิธีการพื้นฐานเดียวกัน
(เปลี่ยนเฉพาะแค่สารตั้งต้นบางตัว)
แต่ก็มีบางกรณีที่พันธะ
C-H
บางพันธะในส่วนที่เป็นสายโซ่ไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวของโมเลกุลบางชนิด
มีความว่องไวในการทำปฏิกิริยาสูงกว่าพันธะ
C-H
พันธะอื่นที่อยู่ในสายโซ่ไฮโดรคาร์บอนเดียวกัน
จึงทำให้สามารถเลือกแทนที่อะตอม
H
ของพันธะ
C-H
ที่มีความว่องไวสูงกว่านั้นได้โดยที่ไม่ไปเกิดกับพันธะ
C-H
ตรงตำแหน่งอื่นที่มีความว่องไวต่ำกว่า
และหนึ่งในตำแหน่งดังกล่าวนั้นคือตำแหน่งอัลฟาไฮโดรเจนอะตอม
(α-Hydrogen
atom) ของอัลฟาคาร์บอนอะตอม
(α-Harbon
atom) ที่อยู่เคียงข้างหมู่คาร์บอนิล
(carbonyl
-C(O)-)
(ถ้าเพิ่งจะมาอ่านเจอบทความนี้แล้วยังไม่รู้ว่าอัลฟาไฮโดรเจนอะตอมและอัลฟาคาร์บอนอะตอมคืออะไร
ขอแนะนำให้ย้อนไปอ่าน Memoir
ปีที่
๑๐ ฉบับที่ ๑๔๔๔ วันอาทิตย์ที่
๒๔ กันยายน ๒๕๖๐ เรื่อง
"ความเป็นกรดของอัลฟาไฮโดรเจนอะตอม
(α-Hyrogen atoms)" เพื่อเป็นพื้นฐานก่อนได้)
ตัวอย่างเช่นในกรณีของ
butyl
phenyl ketone (หรือ
valerophenone)
ในรูปที่
๑ ถ้าเราเอามาทำปฏิกิริยากับ
Br2
โดยมีแสงหรือความร้อนเป็นตัวกระตุ้น
การแทนที่อะตอม H
ด้วย
Br
ก็จะเกิดขึ้นอย่างหลากหลาย
ณ ตำแหน่งอะตอม H
ใดก็ได้ในส่วนของสายโซ่หมู่อัลคิล
-CH2-CH2-CH2-CH3
แต่ถ้าใช้การควบคุมอุณหภูมิการทำปฏิกิริยาและใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาช่วย
ก็จะสามารถเลือกแทนที่อะตอม
H
เฉพาะตรงตำแหน่งอัลฟาไฮโดรเจนอะตอมได้
ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นที่ตำแหน่งนี้เรียกว่า
alpha
halogenation
ที่เกิดได้ด้วยการใช้กรดหรือเบสที่มีความแรงที่เหมาะสมเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
ผลิตภัณฑ์ที่ได้เรียกว่าอัลฟาฮาโลคีโตน
(α-halo
ketone) การใช้กรดกับเบสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยามีกลไกการเกิดที่ต่างกัน
แต่ได้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายเดียวกัน
ตัวอย่างของวิธีการดังกล่าวแสดงไว้ใน
General
Procedure B ในรูปที่
๒
การทำปฏิกิริยาตาม
General
Procedure B ในรูปที่
๒ นั้นใช้ AlCl3
(สารนี้เป็นกรดลิวอิสตรง
Al3+)
เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
อุณหภูมิเริ่มต้นการทำปฏิกิริยาอยู่ที่อุณหภูมิของอ่างน้ำแข็ง
(ก็ที่
0ºC)
เพื่อที่จะลดโอกาสการเกิดการแทนที่ที่อะตอม
H
ที่ไม่ใช่อัลฟาไฮโดรเจนอะตอม
จึงมีการแบ่งการเติม Br2
ออกเป็นสองส่วน
ส่วนแรก 10%
เติมลงไปทั้งหมดทันที
(คงเพื่อเป็นการทดสอบว่าปฏิกิริยาเกิดที่
0ºC
ได้หรือไม่
ถ้าพบว่าปฏิกิริยามันไม่เกิด
ก็ค่อย ๆ เพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้น)
หลังจากผ่านไป
10
นาทีจึงค่อย
ๆ เติม Br2
ส่วนที่เหลือ
(อีก
90%)
ด้วยการค่อย
ๆ หยดลงไปในช่วงเวลา 5
นาที
รูปที่
๓ สิทธิบัตรประเทศสหรัฐอเมริกาที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์
α-Pyrrolidinopentiophenone
พึงสังเกตข้อความในกรอบสี่เหลี่ยมสีแดง
ที่ระบุสรรพคุณของสารดังกล่าวเอาไว้ว่าเป็นสารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางที่ดี
โดยไม่มีผลข้างเคียงที่ไม่ต้องการเช่นการกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตหรือไปกดการทำงานของระบบดังกล่าว
(แต่ไม่ได้แปลว่าไม่มีผลข้างเคียงใด
ๆ กับระบบอื่นของร่างกายเลยนะ)
อัลฟาโบรโมคีโตนที่ได้จากการเติม
Br
จะมีตำแหน่งอะตอม
C
ที่มีความเป็นขั้วบวกอยู่สองตำแหน่งด้วยกันและอยู่เคียงข้างกัน
คืออะตอม C
ของหมู่คาร์บอนิล
และอะตอม C
ที่มีอะตอม
Br
เกาะอยู่
อะตอม C
ทั้งสองตัวนี้สามารถทำปฏิกิริยากับ
nucleophile
ได้
ดังนั้นถ้ามี nucleophil
เช่น
amine
(NHR1R2) เข้ามาทำปฏิกิริยา
จึงมีโอกาสเกิดปฏิกิริยาได้กับอะตอม
C
ทั้งสอง
(แต่ในกรณีของ
butyl
phenyl ketone นี้
การเข้าที่ตำแหน่งอะตอม C
ของหมู่คาร์บอนิลน่าจะยากกว่าเพราะมีหมู่
phenyl
ที่มีขนาดใหญ่อยู่เคียงข้างที่เรียกกว่า
steric
hindrance effect และถ้า
amine
มีขนาดโมเลกุลใหญ่ด้วย
การแทนที่ที่ตำแหน่งอะตอม
C
ของหมู่คาร์บอนิลก็จะยากขึ้นไป)
ตัวอย่างการทำปฏิกิริยาแทนที่อะตอม
Br
ด้วยหมู่เอมีนแสดงไว้ใน
General
Procedure C ในรูปที่
๒
ในกรณีที่
amine
คือ
pyrrolidine
ผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ
α-Pyrrolidinopentiophenone
(ในบทความเรียกว่า
2-Pyrrolidin-1-yl-1-phenylpentan-1-one
(4d)) การเตรียมด้วยการใช้
General
procedure B และ
C
ตามรูปที่
๒ ให้ผลได้ (yield)
เพียง
51%
(ไม่รู้ว่าเป็นเพราะปฏิกิริยาเกิดไม่สมบูรณ์หรือมีผลิตภัณฑ์อื่นร่วม)
สารตัวนี้ใน
wikipedia
กล่าวว่ามีการนำไปใช้เป็นส่วนผสมใน
recreational
drug ที่เรียกว่า
"Flakka"
ที่เพิ่งจะเป็นข่าวเมื่อเร็ว
ๆ นี้ในบ้านเราในชื่อ "ยาซอมบี้"
สารตัวนี้ไม่ใช่สารใหม่
มีการสังเคราะห์และศึกษากันมานานกว่า
๕๐ ปีแล้ว
รูปที่
๔
สิทธิบัตรประเทศสหรัฐอเมริกาอีกฉบับหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์
α-Pyrrolidinopentiophenone
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น