"พี่
ช่วยดูนี่ให้หน่อย"
เช้าวันหนึ่งระหว่างที่ผมจะเดินไปเอาน้ำร้อนเพื่อชงกาแฟ
หัวหน้าภาควิชาที่นั่งอยู่บนบริเวณนั้นก็เรียกผม
พร้อมกับยื่นกระดาษปึกหนึ่งให้ดู
สิ่งที่อยู่ในกระดาษปึกนั้นคือรายชื่ออุปกรณ์ต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทางวิศวกรรมเคมี
ไม่ว่าจะเป็น ท่อ วาล์ว ปั๊ม
เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน
ฯลฯ แต่เมื่อพิจารณาจากรายละเอียดโครงสร้างหรือวัสดุที่ใช้ทำ
(หรือเคลือบผิว)
เห็นได้ชัดว่ามันแตกต่างไปจากอุปกรณ์ที่ใช้กันในงานทั่วไป
กล่าวคือถ้าไม่ทนต่อการกัดกร่อนสูง
ก็มีการป้องกันการรั่วไหลในระดับที่สูง
หรือไม่ก็ทนอุณหภูมิสูง
ผมดูเสร็จผมก็ตอบกลับไปว่า
"จะเอาไปผลิตอาวุธเคมีเหรอ"
พอตอบเสร็จแกก็ตอบกลับมาว่า
"พี่ดูออก
งั้นพี่ช่วยไปแทนที"
และนั่นก็คือเหตุการณ์เมื่อช่วงต้นปี
๒๕๕๗ และทำให้ผมได้เกี่ยวข้องกับงานดังกล่าวจนถึงวันนี้
และอันที่จริงจดหมายเชิญนั้นเขาไม่ได้เชิญผมหรอก
เขาเชิญหัวหน้าภาควิชาในขณะนั้นต่างหาก
แต่ผมถูกส่งไปแทน ก็เลยได้อยู่ยาว
และเนื่องจากกฎหมายจะเริ่มบังคับใช้ในวันที่
๑ มกราคม ๒๕๖๓ ที่กำลังจะถึง
ก็เลยคิดว่าจะขอเขียนเรื่องนี้เอาไว้หน่อยกันลืม
รูปที่
๑ จดหมายที่ทำให้ผมได้เข้าไปร่วมกับงานนี้
สินค้าที่ใช้ได้สองทาง
ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Dual-Use
Items" หรือบางทีก็เรียกย่อว่า
DUI
หรือบางทีก็เรียกว่า
"Dual
Use Goods and Technologies"
ซึ่งจะว่าไปแล้วผมว่าคำหลังมันทำให้คนฟังมองเห็นภาพชัดเจนกว่าว่า
สิ่งนี้มันเป็นทั้งสิ่งของที่จับต้องได้
(tangible)
และจับต้องไม่ได้
(intangible)
ซึ่งได้แก่
ซอร์ฟแวร์ เทคโนโลยี และความรู้
ตามนิยามของมันคือ
"สิ่งที่สามารถนำไปใช้ในการผลิตสินค้าในเชิงพาณิชย์ทั่วไป
และสามารถใช้ในการผลิตอาวุธทำลายล้างสูงได้"
ทีนี้ก็มาดูว่า
"อาวุธทำลายล้างสูง"
หรือ
"Weapon
of Mass Destruction" หรือที่ย่อว่า
WMD
นั้นคืออะไร
อาวุธในกลุ่มนี้อาวุธ
นิวเคลียร์ (Nuclear),
ชีวภาพ
(Biological)
และเคมี
(Chemical)
หรือที่ย่อว่า
NBC
สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาวุธเหล่านี้มันครอบคลุมหลายด้านไม่ว่าจะเป็น
องค์ความรู้ เทคโนโลยีการผลิตตัวอาวุธ
เทคโนโลยีการผลิตระบบนำส่งอาวุธ
(เช่นตัวจรวดและระบบนำร่อง)
การควบคุมคุณภาพ
การจำลองกระบวนการการทำงาน
ฯลฯ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต
แต่ยังครอบคลุมไปถึงวัสดุสำคัญ
(เช่นวัสดุที่ทนแรงดึงสูงพิเศษ
ทนอุณหภูมิสูงพิเศษ
ทนการกัดกร่อนสูง
ทนต่อการทำงานในสภาวะที่มีการแผ่รังสีสูง)
ที่ใช้ในการผลิตเครื่องจักรเหล่านั้นด้วย
ปัญหามันเกิดจากการที่มีบาง
"Item"
(ขอใช้คำนี้โดยหมายความครอบคลุมทั้ง
วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักร
ซอร์ฟแวร์ องค์ความรู้ ฯลฯ)
ที่สามารถใช้งานได้ทั้งกระบวนการเชิงพาณิชย์ในทางสันติ
และผลิตอาวุธทำลายล้างสูง
มันก็เลยทำให้ประเทศผู้ผลิต
Item
เหล่านี้เกรงว่า
ถ้ามีการส่งออกไปยังผู้รับที่คิดในทางไม่ดี
แทนที่ Item
เหล่านี้จะถูกนำไปใช้เพื่อประโยชน์ในทางสันติ
มันจะถูกกลับไปใช้สร้างอาวุธทำลายล้างสูงแทน
ก็เลยมีการรวมกลุ่มประชุมกัน
เพื่อพิจารณาว่าสินค้าใดบ้างที่ตกอยู่ในหมวดหมู่นี้
แล้วก็ทำรายชื่อออกมา
โดยการพิจารณานั้นมีการแยกกลุ่ม
(Regime)
เป็น
Australia
Group (AG) ที่พิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาวุธเคมีและชีวภาพ
Nuclear
Suppliers Group (NSG)
ที่เน้นไปในส่วนของสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาวุธนิวเคลียร์
และ Missile
Technology Control Regime (MTCR) ที่เกี่ยวข้องกับระบบอาวุธนำวิธี
ที่ต่อมาได้มีการนำรายชื่อของทั้ง
๓ กลุ่มมารวมกันในการตกลงที่เรียกว่า
Wassenaar
Agreement โดยมีการจัดหมวดหมู่ใหม่และแบ่งออกเป็น
๑๐ กลุ่ม (Technical
category) โดยใช้เกณฑ์ทางด้านเทคนิค
และมีการกำหนดหมายเลขรหัส
ที่เรียกว่า EU
List ดังแสดงในตารางที่
๑ ข้างล่าง โดยในส่วนงานวิศวกรรมเคมีนั้น
ก็จะอยู่ใน Category
1 และ
2
เป็นหลัก
เลข
1
: หมายถึงอยู่ใน
Category
1 คือเป็นกลุ่มวัสดุพิเศษอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
อักษร
C
: หมายถึงเป็น
Material
หรือวัตถุดิบ
เลข
3
: หมายถึงรายการนี้มาจาก
Australia
Group (AG)
เลข
50
: คือกลุ่มของสารเคมีที่สามารถนำไปใช้ในการผลิตอาวุธเคมี
(คือมีสารอยู่หลายตัวด้วยกัน)
เลข
46
ที่อยู่หลังจุดทศนิยม
:
คือรายการที่
46
ของสารที่อยู่ในกลุ่มที่สามารถนำไปใช้ในการผลิตอาวุธเคมี
อีกตัวอย่างหนึ่งได้แก่กรณีของไฮโดรเจนฟลูออไรด์
(Hydrogen
Fluoride - HF หรือกรดกัดแก้ว
เพราะมันละลายแก้วได้ รวมทั้ง
SiO2
ด้วย)
ที่เป็นสารเคมีตัวหนึ่งที่ทางญี่ปุ่นเข้มงวดการส่งออกไปยังเกาหลีใต้ในขณะนี้
จนเป็นเรื่องสงครามการค้าระหว่างประเทศทั้งสองที่กำลังเป็นข่าวอยู่
สารตัวนี้ใช้ในการผลิตสารกึ่งตัวนำ
แต่ในขณะเดียวกันมันก็ใช้สำหรับผลิตอาวุธเคมีบางตัวด้วย
(กลุ่มของ
nerve
agent หรือสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท)
ตัวนี้ก็จะมีรหัส
1C350.24
แต่ใช่ว่าผลิตภัณฑ์อะไรก็ตามที่มีสารเหล่านี้อยู่จะถูกควบคุมนะครับ
ต้องดูหมายเหตุ (Note)
ที่ให้ไว้ต่อท้ายแต่
Item
ด้วย
เช่นในกรณีของสารในกลุ่ม
1C350
ก็จะมีหมายเหตุประกอบ
๔ ข้อดังแสดงในรูปที่ ๒
ข้างล่าง เช่น Note
1 นั้นถ้าเป็นการส่งออกไปยังประเทศที่ไม่อยู่ในกลุ่มสนธิสัญญาอาวุธเคมี
จะไม่ควบคุมถ้าความเข้มข้นไม่เกิน
10
wt% แต่ใน
Note
2 นั้นให้ได้ถึง
30
wt% ถ้าเป็นการส่งออกไปยังประเทศที่อยู่ในกลุ่มสนธิสัญญาอาวุธเคมี
ส่วนใน Note
4
นั้นไม่ควบคุมถ้าหากเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคที่ใช้ในครัวเรือน
รูปที่
๒ หมายเหตุต่อท้ายรายการสารในกลุ่ม
1C350
หรืออย่างเช่นรายการ
2B350.b.5
(ดูรูปที่
๓ ประกอบ)
"2B350" จะหมายถึงพวกอุปกรณ์ต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตทางเคมี
อักษร "b"
หมายถึงใบพัดกวน
(agitagor)
ที่ใช้ควบคู่กับ
vessel
ในหัวข้อ
2B350.a
และเลข
"5"
ตัวสุดท้ายหมายถึงทำจากโลหะแทนทาลัมหรือโลหะผสมของแทนทาลัม
(Tantalum
or tantalum alloys)
แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าใบพัดกวนทั้งชิ้นต้องทำจากโลหะแทนทาลัมหรือโลหะผสมของแทนทาลัมจึงจะเข้าเกณฑ์
แม้ว่ามันจะมีเพียงเฉพาะ
"พื้นผิวที่สัมผัสกับสารเคมีโดยตรง"
ที่ทำจากโลหะดังกล่าว
ก็จะเข้าเกณฑ์ไปด้วย
รูปที่
๓ รายการในหมวด 2B350
เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ต่าง
ๆ ที่ใช้ในกระบวนการผลิตทางเคมี
ไม่ว่าจะเป็น ท่อ วาล์ว ปั๊ม
เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน
ฯลฯ แต่ในรูปนี้ยกมาเพียงแค่สองรายการแรกคือตัว
vessel
และใบพัดกวน
แต่มันก็มีเคยกรณีอยู่เหมือนกัน
ที่มีการทำให้ Item
นั้น
ถ้าว่ากันตามตัวอักษรแล้ว
ไม่น่าจะเข้าเกณฑ์ถูกควบคุม
การส่งออก ทั้งที่ในความเป็นจริงนั้นตัว
Item
นั้นเดิมที่มันมีคุณสมบัติที่อยู่ในเกณฑ์ต้องถูกควบคุม
แต่ผู้ส่งออกทำการดัดแปลงบางอย่างทำให้บางคุณสมบัติไม่เข้าเกณฑ์
จะได้ส่งออกได้ง่าย
โดยทางผู้รับสามารถทำให้
Item
ที่ได้รับไปนั้นกลับกลายเป็นสินค้าควบคุมได้โดยง่าย
ด้วยการเปลี่ยนหรือดัดแปลงเพียงเล็กน้อยต่อ
Item
ที่ได้รับมา
ประเด็นนี้เป็นปัญหาอยู่เหมือนกันว่าจะทำการตรวจสอบและพิสูจน์ได้อย่างไร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสิ่งนั้นเป็นซอร์ฟแวร์
ประเด็นนี้เอาไว้ค่อยมาเล่าในวันหลัง
เพราะตอนที่ไปดูงานที่ญี่ปุ่นเมื่อช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
ผมก็ได้ตั้งคำถามนี้กับตัวแทนจาก
Ministry
of Economy, Trade and Industry (METI) ของประเทศญี่ปุ่นที่มาให้ความรู้
และเขาก็ได้ยกตัวอย่างกรณีหนึ่งที่คล้ายคลึงกัน
สำหรับฉบับนี้คงขอเปิดตัวซีรีย์เรื่องนี้เพียงแค่นี้ก่อน
ตอนต่อไปค่อยมาดูกันว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราเลย
เพราะกฎหมายเรื่องนี้มันเกี่ยวข้องกับการที่ประเทศที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงเหล่านี้จะมาลงทุนในประเทศไทย
หรือการที่ไทยจะซื้อเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้งาน
และยังครอบคลุมไปถึงการที่คนไทยจะไปเรียนต่อด้านที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงเหล่านี้ในสถาบันต่างประเทศ
และการที่มหาวิทยาลัยต่างประเทศจะร่วมมือทำวิจัยกับสถาบันการศึกษาในประเทศไทยด้วย
ซึ่งอีกไม่นาน
สถาบันการศึกษาของไทยก็ต้องมีการออกมาตรการรองรับเรื่องนี้เช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น