ที่หายหน้าหายตาไปกว่าอาทิตย์ก็เป็นเพราะได้มีโอกาสเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นด้วยทุนของประเทศสหรัฐอเมริกา
ผ่านทางกรมการค้าต่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ ฯ
การเดินทางครั้งนี้เป็น
workshop
เตรียมการสำหรับกฎหมายควบคุมสินค้าสองทาง
(Dual
Used Item - DUI) ที่จะบังคับใช้ในเดือนมกราคมที่จะถึงนี้
งานนี้เรียกว่าไปพัก ๔
คืนก็ต้องเปลี่ยนที่พักกันทุกคืน
กว่าจะเข้าที่พักแต่ละแห่งก็หลัง
๖ โมงเย็นไปแล้ว พอ ๗
โมงเช้าวันรุ่งขึ้นก็ต้อง
check
out เพื่อเดินทางต่อ
ไป ๔ คืนก็ได้พัก ๔ เมืองคือ
Tokyo,
Tsukuba, Sendai ก่อนไปสิ้นสุดที่
Sapporo
โดยวันแรกนั้นเป็นการบรรยายโดยผู้แทนจากกระทรวงเศรษฐกิจ
การค้า และอุตสาหกรรม (Ministry
of Economy, Trade and Industry of Japan - METI) และจากภาคอุตสาหกรรม
ส่วนวันที่เหลือเป็นการเข้ารับฟังการจัดหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลการเข้าถึงและการส่งออกเทคโนโลยีขั้นสูงที่สามารถนำไปใช้ในการผลิตอาวุธทำลายล้างสูงได้ของมหาวิทยาลัย
Tsukuba,
Tohoku และ
Hokkaido
ซึ่งเรื่องนี้มีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ที่จะไปทำวิจัยหรือร่วมทำวิจัยกับนักวิจัยของประเทศญี่ปุ่น
รูปที่
๑ บนทางด่วนจากตัวเมือง
Sapporo
ไปยังสนามบิน
New-Chitose
ไกด์ประจำรถอธิบายว่าเสาสูง
ๆ
ที่เห็นตั้งเป็นระยะอยู่ตลอดทางนั้นก็เพื่อให้ผู้ขับขี่รถรู้ว่าของถนนอยู่ตรงไหนในช่วงที่หิมะตกหนัก
จะได้เห็นแนวเสาที่โผล่พ้นหิมะออกมา
ระหว่างการเดินทางจากมหาวิทยาลัย
Tsukuba
ไปยังมหาวิทยาลัย
Tohoku
ที่เมือง
Sendai
นั้น
เส้นทางด่วนที่รถใช้นั้นสูงจากระดับพื้นล่างอยู่มาก
ตอนแรกก็แปลกใจอยู่เหมือนกันว่าทำไมถึงต้องสร้างอย่างนั้น
แต่พอดูจากแผนที่แล้วก็เดาได้ว่าคงเป็นเพราะต้องการใช้เป็นเขื่อนกั้นคลื่นสึนามิ
เพราะเส้นทางการเดินทางนั้นก็โฉบผ่านบริเวณใกล้เคียงกับโรงไฟฟ้าและตัวเมืองที่ได้รับความเสียหายหนักจากคลื่นสึนามิเมื่อปีพ.ศ.
๒๕๕๔
แถมตอนเช้าวันรุ่งขึ้นที่ต้องขึ้นเครื่องบินเพื่อเดินทางต่อไปยัง
Sapporo
นั้น
ก็ยังมาขึ้นเครื่องที่สนามบิน
Sendai
ที่ได้รับความเสียหายหนักจากภัยพิบัติครั้งนั้นเช่นกัน
รูปที่
๒ สี่แยกก่อนเข้าสนามบิน
ไกด์ประจำรถก็อธิบายให้ฟังว่า
ลูกศรที่ชี้ลงล่าง (ในวงกลมสีส้ม)
ก็เพื่อบ่งบอกให้ผู้ขับขี่รู้ว่าขอบทางอยู่ตรงไหน
ที่มหาวิทยาลัย
Hokkaido
ที่เป็นที่สุดท้ายที่เข้าเยี่ยมชมนั้น
ก่อนจบการบรรยายทางอาจารย์ผู้เป็นวิทยากรก็ได้กล่าวเชิญชวนให้มาเยี่ยมเมือง
Sapporo
ในช่วงฤดูหนาว
เมืองนี้ได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยเกิน
๑ ล้านคนที่มีหิมะตกเฉลี่ยสูงสุดต่อปีคือ
๕ เมตร ด้วยเหตุนี้การออกแบบสิ่งก่อสร้างต่าง
ๆ ในตัวเมืองจึงมีการคำนึงถึงปริมาณหิมะที่ตกสูง
และสิ่งหนึ่งที่เขาคำนึงถึงก็คือแนวขอบถนนที่ทำอย่างไรจึงจะให้ผู้ขับขี่ทราบว่าแนวขอบถนนอยู่ตรงไหน
ระหว่างการเดินทางไปยังสนามบิน
New-Chitose
ในเช้าวันสุดท้ายนั้น
ระหว่างที่อยู่บนทางด่วน
ไกด์ประจำรถก็ได้ชี้ให้เห็นเสาสูงประมาณ
๒-๓
เมตรที่มีการปักเอาไว้ข้างทางตลอดทาง
(รูปที่
๑)
พร้อมทั้งอธิบายว่าเป็นเสาเพื่อให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะรู้ว่าขอบถนนอยู่ตรงไหน
แต่พอเข้ามาในเขตถนนในเมือง
จากเสาข้างทางก็ปรับเปลี่ยนเป็นลูกศรชี้ลงล่างแทน
(รูปที่
๒)
ซึ่งก็ทำไปเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน
รูปที่
๓ ปิดท้ายด้วยรูปที่ถ่ายที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาของ
University
of Hokkaido ที่เปิดให้เข้าชมได้ฟรี
ด้านนี้เขาไม่ให้คนเดินเข้าไป
ก็เลยจัดให้มียามมานั่งเฝ้าขวางทางเอาไว้
เวลาที่ปรากฏในรูปเป็นเวลาบ้านเรา
เวลาท้องถิ่นประเทศญี่ปุ่นต้องบวกเข้าไปอีก
๒ ชั่วโมง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น