เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีคนมาถามว่าแก๊สที่ใช้ในการดูดซับเพื่อทำ
temperature
programmed desorption (TPD) นั้นควรใช้แก๊สที่เข้มข้นเท่าไรดี
คือเขาแปลกใจที่เห็นตอนที่ทำ
NH3-TPD
(เพื่อวัดความเป็นกรด)
นั้นใช้แก๊ส
NH3
15% ใน
He
แต่พอทำ
CO2-TPD
(เพื่อวัดความเป็นเบส)
นั้นกลับใช้แก๊ส
CO2
100%
ผมก็บอกเขาไปว่าถ้าจะดูเฉพาะพีค
desorption
นั้นจะใช้แก๊สเข้มข้นเท่าใดก็ได้
ที่สำคัญคือต้องให้พื้นผิวดูดซับแก๊สจนอิ่มตัว
ถ้าใช้แก๊สความเข้มข้นต่ำก็จะใช้เวลานาน
ถ้าใช้แก๊สความเข้มข้นสูงก็จะใช้เวลาสั้นลง
มันก็แค่นั้นเอง
แต่ถ้าจะวัด
adsorption
แล้วละก็
ควรต้องเลือกความเข้มข้นให้เหมาะสมกับความสามารถของตัวอย่างในการดูดซับแก๊สนั้น
เรามาดูตัวอย่างเทคนิคการทดลองเพื่อวัดความสามารถของของแข็งในการดูดซับโมเลกุลแก๊สกันสักสองตัวอย่าง
โดยจะสมมุติว่าเราต้องการวัดความสามารถในการดูดซับ
NH3
ของพื้นผิว
เทคนิคที่
๑ การวัดแบบต่อเนื่อง
ในการทดลองนี้เราจะให้แก๊สผสมที่มีค่าความเข้มข้น
NH3
ที่ระดับหนึ่งไหลไปยัง
detector
โดยที่ไม่ผ่านตัวอย่าง
(เส้นทางสีน้ำเงินในรูปที่
๑ บน)
ซี่งในขณะนี้
NH3
ที่
detector
ตรวจวัดได้ก็คือ
NH3
ที่เราป้อนเข้าระบบนั่นเอง
ดังนั้น detector
ก็จะส่งสัญญาณออกมาเป็นเส้นราบ
(เส้นสีน้ำเงินช่วงที่
๑ ในรูปที่ ๑ ล่าง)
รูปที่
๑ (บน)
แผนผังการทดลองวัดการดูดซับด้วยการดูดซับแบบต่อเนื่อง
(ล่าง)
สัญญาณจาก
detector
ที่จะเป็น
ทีนี้พอเราเปลี่ยนเส้นทางการไหลของแก๊สให้ไหลผ่านตัวอย่าง
(เส้นทางสีเขียวในรูปที่
๑ บน)
ถ้าตัวอย่างของเราดูดซับ
NH3
เอาไว้ได้
detector
ก็จะส่งสัญญาณที่มีความแรงที่ลดลง
(เส้นสีแดงช่วงที่
๒ ในรูปที่ ๑ ล่าง)
และเมื่อตัวอย่างดูดซับ
NH3
จนอิ่มตัว
ความแรงของสัญญาณจาก detector
ก็จะกลับไปที่ระดับเดิมใหม่
(เส้นสีน้ำเงินช่วงที่
๓ ในรูปที่ ๑ ล่าง)
พีคการดูดซับก็คือพื้นที่ระหว่างเส้นประสีแดงและเส้นทึบสีแดงในรูปที่
๑ ล่าง (ในกรณีนี้เป็นพีคกลับหัว)
ในทางทฤษฎีแล้วพื้นที่พีคนี้
"ไม่ควรขึ้นกับ"
ความเข้มข้นของ
NH3
ในแก๊สที่ใช้ในการดูดซับ
แต่ในทางปฏิบัติแล้วความถูกต้องของพีคตัวนี้
"จะขึ้นอยู่กับ"
sensitivity ของ
detector
ว่าเราตั้งให้มันว่องไวแค่ไหน
ซึ่งตัวนี้มันสัมพันธ์กับความเข้มข้นของ
NH3
ในแก๊สที่เราใช้ในการทดลอง
กล่าวคือถ้าเราใช้แก๊ส
NH3
ที่มีความเข้มข้นสูงมาก
เช่น 100%
เราก็ต้องปรับ
sensitivity
ของ
detector
ไม่ให้สูงมากเกินไป
ไม่เช่นนั้นจะทำให้ detector
เกิดการอิ่มตัว
(เหมือนกับเอาตาชั่งสปริงที่ชั่งน้ำหนักได้สูงสุด
10
กิโลกรัมไปชั่งของที่หนักกว่า
10
กิโลกรัม
มันก็จะบอกว่าหนัก 10
กิโลกรัมเหมือนกันหมด)
และถ้าตัวอย่างนั้นดูดซับ
NH3
เอาไว้ได้เพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับความเข้มข้นในแก๊สที่ไหลผ่าน
การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้น
NH3
ที่ไหลผ่านตัวอย่างจะต่ำมาก
ทำให้มองไม่เห็นหรือมองเห็นไม่ชัดเจน
และระยะเวลาที่ตัวอย่างใช้ในการดูดซับ
NH3
จนอิ่มตัวจะสั้นลงมาก
ทำให้มีโอกาสเกิดความคลาดเคลื่อนได้สูงในการคำนวณพื้นที่พีคการดูดซับ
แต่ถ้าเราใช้แก๊ส
NH3
ที่มีความเข้มข้นที่ต่ำ
การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้น
NH3
ในแก๊สที่ไหลผ่านตัวอย่างก็จะชัดเจนขึ้น
และระยะเวลาการดูดซับก็จะกว้างขึ้น
พึคที่ได้จะมีรูปร่างที่ชัดเจนกว่า
การคำนวณพื้นที่พีคจะทำได้ถูกต้องกว่า
โดยปรกตินั้นที่อุปกรณ์มักจะติดตั้งแก๊สที่ความเข้มข้นค่าใดค่าหนึ่ง
ดังนั้นเราจึงมักไม่มีโอกาสที่จะปรับเปลี่ยนความเข้มข้นของแก๊ส
การแก้ปัญหาถ้าเราพบว่าตัวอย่างของเราดูดซับได้น้อยก็คือ
เพิ่มปริมาณตัวอย่างที่ใช้ในการวัดแต่ละครั้งให้สูงขึ้น
ก็สามารถทำให้เห็นพีคได้ชัดเจนขึ้น
ที่กล่าวมาข้างบนนั้นเป็นเพียงภาคทฤษฎี
ส่วนในทางปฏิบัตินั้นจะได้พีคสวยอย่างรูปที่วาดหรือไม่นั้นยังมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง
ที่สำคัญคือชนิดของ detector
ที่ใช้ในการตรวจวัด
ปัญหาหนึ่งที่จะเกิดระหว่างการตรวจวัดด้วยรูปแบบที่กล่าวมาคือ
"อัตราการไหลของแก๊ส"
จะเปลี่ยนแปลงเมื่อเราเปลี่ยนจากเส้นทางที่ไม่ไหลผ่านตัวอย่างมาเป็นเส้นทางที่ไหลผ่านตัวอย่าง
ทั้งนี้เพราะเส้นทางที่ไหลผ่านตัวอย่างจะมีตัวอย่างขวางทางอยู่
ทำให้ความต้านทานการไหลสูงกว่าเส้นทางที่ไหลไม่ผ่านตัวอย่าง
ทำให้เมื่อเราเปลี่ยนให้แก๊สไหลผ่านตัวอย่างจะทำให้อัตราการไหลของแก๊สตกลง
(ถ้าไม่ปรับความดันด้านขาเข้า)
และถ้าตัวตรวจวัดของเรานั้นไวต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลด้วย
(พวก
Thermal
conductivity detector หรือ
TCD
ก็เป็นแบบนี้)
จะทำให้เราเห็นเส้นสัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปัจจัยอื่นที่ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของ
NH3
ทำให้
สัญญาณในช่วงที่ ๓
นั้นจึงไม่จำเป็นต้องกลับมาอยู่ที่ระดับเดียวกับสัญญาณในช่วงที่
๑ พีคการเปลี่ยนแปลงที่เราได้จึงเป็นพีครวมที่เกิดจากปัจจัยต่าง
ๆ เช่น ความเข้มข้น NH3
ที่เปลี่ยนไป
อัตราการไหลของแก๊สที่เปลี่ยนไป
ฯลฯ ทำให้ต้องระมัดระวังในการแปลผล
เทคนิคที่
๒ การวัดโดยการฉีดเป็นครั้ง
ๆ (Pulse
injection)
เทคนิคนี้เคยเล่าเอาไว้อย่างน้อยหนึ่งครั้งใน
Memoir
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๑๐๓ วันพุธที่ ๒๐
มกราคม ๒๕๕๓ เรื่อง
"การวัดปริมาณ-ความแรงของตำแหน่งที่เป็นกรดบนพื้นผิว"(๑)
แต่ก็ยังมีเรื่องให้เล่าอยู่อีก
ในเทคนิคนี้เราจะมีแต่เฉพาะ
carrier
gas เท่านั้นที่ไหลผ่านตัวอย่าง
จากนั้นเราจะทำการฉีด NH3
ที่ปริมาตรและความดันที่แน่นอนเข้าไปใน
carrier
gas ก่อนไหลเข้าตัวอย่าง
(รูปที่
๒)
ถ้าตัวอย่างสามารถดูดซับ
NH3
ได้
ปริมาณ NH3
ที่ออกมาจะไม่เท่ากับที่เราฉีดเข้าไป
เราจะเห็นพีค NH3
ที่ปรากฏเล็กกว่าที่ควรจะเป็น
(การฉีดครั้งที่
1
ในรูปที่
๒)
และถ้าใช้
NH3
ความเข้มข้นต่ำ
หรือใช้ตัวอย่างในปริมาณมาก
หรือตัวอย่างดูดซับ NH3
เอาไว้ได้มาก
เราก็อาจไม่เห็นพีค NH3
ออกมาในการฉีดครั้งแรก
ๆ
รูปที่
๒ (บน)
การวัดการดูดซับด้วยการฉีดเป็นครั้ง
ๆ (ล่าง)
ผลการวัดที่ได้
ในการฉีดครั้งถัดไปเราจะเห็นพีค
NH3
มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย
ๆ (พีคครั้งที่
2-5
ในรูปที่
๒)
จนในที่สุดเมื่อตัวอย่างดูดซับ
NH3
เอาไว้จนอิ่มตัว
NH3
ที่ฉีดออกมาก็จะเท่ากับ
NH3
ที่ฉีดเข้าไป
พีค NH3
ที่ปรากฏก็จะมีขนาดคงที่
(พีคครั้งที่
6-7
ในรูปที่
๒)
ปริมาณ
NH3
ที่ถูกตัวอย่างดูดซับเอาไว้คำนวณได้จากผลรวมของพื้นที่พีคที่หายไปของพีคที่
1-5
เมื่อเทียบกับพีคที่ไม่มีการดูดซับ
(พีคที่
6-7)(๑-๒)
การฉีดนั้นเราอาจฉีดโดยใช้
syringe
หรือฉีดใช้
sampling
loop (ถ้าตัวอุปกรณ์นั้นมีการติดตั้ง)
แต่การฉีดโดยใช้
sampling
loop นั้นต้องระวังเรื่องการเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลของ
carrier
gas เพราะเมื่อเราเปลี่ยนตำแหน่งวาล์วฉีดตัวอย่างเพื่อให้
carrier
gas ไหลผ่าน
sampling
loop นั้นความต้านทานการไหลจะเพิ่มขึ้น
ทำให้อัตราการไหลของ carrier
gas ลดลง
การเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลนี้สามารถทำให้ตัวตรวจวัดพวกที่ไวต่ออัตราการไหลที่เปลี่ยนไปนั้น
(เช่น
TCD)
ส่งสัญญาณออกมาได้
ทำให้เห็น base
line มีการเคลื่อนตัว
ด้วยเหตุนี้ในส่วนตัวของผมเองนั้นในกรณีเช่นนี้จะนิยมใช้การฉีดด้วย
syringe
มากกว่า
แต่ก็ต้องทำการปรับความดันแก๊สก่อนฉีดด้วย(๓)
หมายเหตุ
(๑)
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๑๐๓ วันพุธที่ ๒๐
มกราคม ๒๕๕๓ เรื่อง
"การวัดปริมาณ-ความแรงของตำแหน่งที่เป็นกรดบนพื้นผิว"
(๒)
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๑๒๕ วันศุกร์ที่
๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ เรื่อง
"การวัด
NH3
adsorption" (แจกจ่ายเป็นการภายใน)
(๓)
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๑๐๖ วันพุธที่ ๒๗
มกราคม ๒๕๕๓ เรื่อง "การใช้ syringe ฉีดตัวอย่างที่เป็นแก๊ส"