เนื้อหาในเอกสารฉบับนี้เกี่ยวข้องกับงานที่มอบหมายไปเมื่อเย็นวันอังคาร
ที่ให้ทดสอบตัวเร่งปฏิกิริยา
TS-1
ที่เตรียมได้
และการทดสอบระบบเครื่องปฏิกรณ์สำหรับการทำปฏิกิริยา
Memoir
ที่เกี่ยวข้องกับการทดลองที่ควรอ่านก่อนทำการทดลองมีดังนี้
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒๑๒ วันเสาร์ที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๓ เรื่อง "การทำวิทยานิพนธ์ภาคปฏิบัติตอนที่ ๔ การใช้ประแจและการขันนอต" เนื้อหาส่วนนี้เกี่ยวข้องกับการปิดฝาเครื่องปฏิกรณ์ให้สนิทโดยไม่มีการรั่วซึม
ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๓๒ วันอังคารที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เรื่อง "แนวทางหัวข้อการทำวิทยานิพนธ์นิสิตรหัส ๕๒ (ตอนที่ ๓๔)" เนื้อหาส่วนนี้เกี่ยวกับเทคนิคการฉีดสารเข้า autoclave ที่มีความดัน
๑.
ตัวเร่งปฏิกิริยา
๑.๑
จากผล XRD
ของ
TS-1
ที่พวกคุณเตรียมได้นั้นจะเห็นพีคประหลาดที่มีขนาดใหญ่อยู่
1
พีค
ที่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นพีคอะไร
พีคดังกล่าวจะส่งผลในด้านบวกหรือด้านลบต่อการทำปฏิกิริยาหรือไม่นั้นต้องทดสอบด้วยการทำปฏิกิริยาเท่านั้น
๑.๒
ตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมได้นั้นควรที่จะส่งไปวิเคราะห์พื้นที่ผิว
BET
ก่อนด้วย
๑.๓
แต่สำหรับการทำปฏิกิริยานั้น
ให้ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมได้นั้นทดสอบก่อน
ในขณะเดียวกันก็ให้เตรียมตัวเร่งปฏิกิริยา
TS-1
ขึ้นมาใหม่ด้วย
๒.
การทดสอบเครื่องปฏิกรณ์
๒.๑
ก่อนเริ่มการทดลองจริง
ให้ทำการทดสอบระบบการทำปฏิกิริยาก่อน
โดยทำทุกอย่างเหมือนจริง
เว้นแต่ใช้น้ำแทนสารตั้งต้น
และไม่มีการใส่ตัวเร่งปฏิกิริยา
๒.๒
วิธีการทดลองให้ใช้วิธีการที่กล่าวไว้ในวิทยานิพนธ์ของ
ฤดีมาศ มโนศักดิ์ เรื่อง
"ผลของไอออนต่อการออกซิไดซ์เบนซีนเป็นฟีนอลโดยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์บนตัวเร่งปฏิกิริยาไททาเนียมซิลิกาไลท์-1"
ปีการศึกษา
๒๕๕๔ แต่ในกรณีของพวกคุณนั้นให้ใช้น้ำแทนปริมาณเบนซีน
และฉีดน้ำแทนการฉีด H2O2
เช่นในการทดลองนั้นเขาใช้น้ำ 120 ml กับเบนซีน 8.9 ml เติมเข้าไปใน reactor ก็ให้เปลี่ยนเป็นเติมน้ำ 120 + 8.9. = 128.9 ml แทน ขั้นตอนการคงอุณหภูมิไว้ที่ 70ºC เป็นเวลา 1 ชั่วโมงนั้นให้คงไว้เหมือนเดิม ขั้นตอนนี้ยังจำเป็นอยู่สำหรับการทดสอบการรั่วไหลของระบบ
๒.๓
จากนั้นเพิ่มอุณหภูมิไปจนถึงอุณหภูมิที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาคือ
90ºC
แล้วทำการฉีดน้ำ
1
ml แทนการฉีด
H2O2
วิธีการฉีดน้ำ (หรือ H2O2 เมื่อทดลองจริง) ให้ทำตามวิธีการที่กล่าวไว้ใน Memoir ฉบับที่ ๓๓๒ ที่กล่าวไว้ข้างต้น
๒.๔
สำหรับในขั้นตอนการทดสอบเครื่องปฏิกรณ์นี้
อาจผลัดเปลี่ยนกันทดลองฉีดน้ำเข้าเครื่องปฏิกรณ์หลาย
ๆ ครั้งเพื่อให้เกิดความชำนาญ
septum ที่ใช้ในการปักเข็มนั้นเป็นชนิดเดียวกับที่ใช้กับ GC ถ้ามันใช้งานมานานแล้วหรือผ่านการฉีดซ้ำหลายครั้งก็จะรั่วได้ ดังนั้นถ้าพบว่าเกิดการรั่วไหลที่ septum ก็ให้เปลี่ยน septum ตัวใหม่
๒.๕
เมื่อเสร็จสิ้นการทดลองฉีดน้ำเข้าเครื่องปฏิกรณ์แล้ว
ก็ไม่จำเป็นต้องรอ 2
ชั่วโมง
ให้ทดลองทำการหยุดปฏิกิริยาด้วยการนำเครื่องปฏิกรณ์มาแช่ในอ่างน้ำแข็งได้เลย
(เตรียมทำน้ำแข็งไว้ล่วงหน้าในช่องแข่แข็งก่อนก็ดี)
ในการนี้ไม่จำเป็นต้องทำการเติมเอทานอลเพื่อทำการประสานเฟส
๓.
การทำปฏิกิริยาไฮดรอกซิเลชันของเบนซีนไปเป็นฟีนอล
๓.๑
ที่ให้ทำการทดลองนี้เพราะตัวเร่งปฏิกิริยาที่พวกคุณเตรียมนั้นเป็นชนิดเดียวกับที่ฤดีมาศใช้คือ
TS-1
ส่วนปฏิกิริยาการออกซิไดซ์โทลูอีนไปเป็นเบนซัลดีไฮด์นั้นเราใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา
Al-TS-1
๓.๒
การทดลองให้กระทำเลียนแบบการทดลองของฤดีมาศ
โดยทำการทดลองที่อุณหภูมิทำปฏิกิริยา
90ºC
และใช้น้ำเปล่าเป็นตัวกลางในการทำปฏิกิริยา
๓.๓
GC
ที่พวกคุณใช้นั้นอาจต้องใช้
GC-8A
ที่ปรับตั้งระบบขึ้นมาใหม่
ของเดิมใช้ GC-9A
ที่อยู่อีกห้องหนึ่ง
แต่ขณะนี้ GC-9A
มีปัญหาเรื่องพัดลม
oven
ไม่หมุน
ทำให้อุณหภูมิใน oven
ระหว่างการทำ
temperature
programmed นั้นไม่สม่ำเสมอ
ส่งผลต่อเวลาที่พีคออกจากคอลัมน์
ดังนั้นพวกคุณคงต้องทดสอบหา retention time ของสารแต่ละตัว และ calibration curve ของสารแต่ละตัวด้วย
๔.
นอตสำหรับปิดฝาเครื่องปฏิกรณ์
๔.๑
ในที่นี้ขอใช้ภาษาไทยที่เรียกสั้น
ๆ ว่า"นอต"
ซึ่งจะตรงกับภาษาอังกฤษว่า
"bolt"
หรือแปลเป็นไทยว่า
"นอตตัวผู้"
ขอย้ำก่อนว่านอตที่ใช้นั้นต้องใช้เกลียวที่ถูกต้อง ถ้าหมุนด้วยมือแล้วพบว่าไม่สามารถไปต่อได้แสดงว่าเกลียวผิดขนาด ห้ามฝืนหมุนต่อไป เพราะจะทำให้เกลียวตัวเมียเสียได้ การแก้ปัญหาจะวุ่นวายขึ้นไปอีก เพราะจะต้องทำการคว้านรูใหม่ และต้องเปลี่ยนไปใช้นอตขนาดใหญ่ขึ้น แต่ความหนาผนังของเครื่องปฏิกรณ์จะบางลงไปอีก
๔.๒
เครื่องปฏิกรณ์ของเรานั้นจะใช้นอตทั้งหมด
6
ตัวในการปิดฝา
โดย 4
ตัวจะเป็นตัวสั้น
และ 2
ตัวเป็นตัวยาว
นอกตัวสั้นที่ใช้นั้นต้องมีขนาดที่ไม่ยาวจนเกินไป
เพราะถ้าขันเข้าไปจนลงสุดแล้วตัวหัวนอตยังไม่สัมผัสกับฝาบน
มันก็จะไม่สามารถกดให้ฝาบนปิดสนิทได้
ถ้าเกิดปัญหาเช่นนี้หรือเกรงว่าจะเกิด
ก็ให้ใช้แหวนรองเอาไว้
(ดูรูปที่
๑)
รูปที่
๑ (ซ้าย)
นอตที่สั้นกว่าขนาดรูเล็กน้อยจะสามารถขันอัดให้ฝากดแน่นกับตัวเครื่องปฏิกรณ์ได้
(กลาง)
แต่ถ้ายาวเกินไปจะทำให้ไม่สามารถขันอัดกดได้
(ขวา)
การแก้ปัญหาคือใช้แหวนรอง
แต่ถ้าต้องเสริมมากก็อาจใช้นอตขันแทนตัวเมีย
(ดูรูปที่
๒)
๔.๓
เราจะมีนอตตัวยาว 2
ตัววางอยู่ในตำแหน่งที่ตรงข้ามกัน
(ส่วนจะอยู่รูไหนนั้นต้องดูตอนนำเครื่องปฏิกรณ์เข้าไปติดตั้งว่าวางตำแหน่งใดจึงจะไม่เกะกะกับระบบ
piping)
นอตสองตัวนี้มีไว้สำหรับใช้จับเมื่อต้องการยกเครื่องปฏิกรณ์ขึ้นจาก
oil
bath
๔.๔
ในการขันนอตตัวยาว (ดูรูปที่
๒ ประกอบ)
เราจะเอานอตตัวเมียขันเข้าไปก่อน
จากนั้นก็ขันนอตตัวยาวเข้าไปในรูจนสุด
แล้วหมุนคลายออกเล็กน้อย
จากนั้นขันนอตตัวเมียอัดลงไป
ตรงนี้เราอาจใช้แหวนรองช่วยด้วยก็ได้
๔.๕
นอตตัวเมียนั้นจะมีผิวสองด้านไม่เหมือนกัน
ด้านหนึ่งจะเรียบแบน
อีกด้านหนึ่งจะมีการปาดมุมให้มน
ด้านที่เรียบแบนจะเป็นด้านที่กดลงไปบนตัวแหวน
รูปที่
๒ การขันนอตบนฝาเครื่องปฏิกรณ์ความดัน