รูปถ่ายใบเล็ก ๆ ใบนั้น นิสิตกลุ่มหนึ่งที่ผมเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา เขาทำมาให้ผมพร้อมกับเคลือบฟิลม์พลาสติกไว้อย่างดี ผมก็เก็บเอามันใส่ไว้ในกระเป๋าที่ถือติดตัวมาทำงานทุกวัน แม้กระเป๋าจะเปลี่ยนไป แต่ของในกระเป๋าบางอย่างมันก็ติดตามมาอยู่ในกระเป๋าใบใหม่ตลอด
เมื่อสัก
๓๐ ปีที่แล้วตอนที่ผมเข้าเรียนมหาวิทยาลัยนั้น
หลักสูตรปริญญาตรีบ้านเรา
สำหรับคณะส่วนใหญ่แล้วจะกำหนดให้เรียนจบได้ใน
๔ ปีการศึกษา
(ก่อนผมเข้าเรียนมหาวิทยาลัยนั้นยังมีคณะวิศวกรรมศาสตร์บางสถาบันใช้หลักสูตรปริญญาตรี
๕ ปี)
แต่ก็ให้เวลาเรียนได้ถึง
๘ ปีการศึกษา
และที่ผ่านมาก็ถือว่าเป็นเรื่องปรกติที่จะจบการศึกษากันภายในระยะเวลาที่หลักสูตรตั้งใจให้เรียนจบคือ
๔ ปีการศึกษา
กล่าวอีกอย่างก็คือไม่มีใครคิดว่าการใช้เวลาเรียนปริญญาตรีถึง
๘ ปีเป็นเรื่องปรกติ
แต่ที่น่าแปลกก็คือทีหลักสูตรปริญญาโทที่เขียนไว้ว่าเป็นหลักสูตร
๒ ปีการศึกษา
แต่อาจารย์กลับบอกว่าไม่มีใครเขาจบกันใน
๒ ปีการศึกษาหรอก
กว่าจะเรียนจบก็ต้องใช้เวลาเต็มที่คือ
๕ ปีการศึกษา (ตอนนั้นปริญญาโทให้เวลาเรียนได้ถึง
๕ ปีครับ มาปรับเป็นเหลือ
๔ ปีเมื่อประมาณ ๒๐ ปีที่แล้ว)
อย่างนี้เรียกว่าจะเรียนว่าเป็นการหลอกผู้เรียนได้ไหม
ตอนเขียนหลักสูตรบอกว่าเป็นหลักสูตรเรียนจบได้ใน
๒ ปี แต่พอมีคนหลวมตัวเข้ามาเรียนกลับบอกเขาว่าคุณไม่จบใน
๒ ปีหรอก ต้องอยู่ยาวเหยียดจนถึง
๕ ปีโน่นแหละจึงจะให้จบ
๒๐
กว่าปีที่แล้วและย้อนหลังขึ้นไปอีก
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บ้านเราที่มีการเปิดสอนกันถึงระดับปริญญาเอกมีเพียงไม่กี่สาขาและมีเพียงไม่กี่สถาบันเท่านั้นเองที่มีการเปิดสอน
และก็หาคนมาเรียนยากด้วย
เหตุผลหนึ่งก็เป็นเพราะเรียนเมืองไทยใช้เวลานาน
จบก็ยาก ไปเรียนต่างประเทศดีกว่า
ซึ่งมันก็เป็นอย่างนั้นจริง
ๆ
อาจารย์หานิสิตปริญญาโทมาเป็นลูกมือทำวิจัยให้ไม่ได้
ตัวอาจารย์เองก็ไม่อยากลงมาทำการทดลองเอง
แต่ความก้าวหน้าในอาชีพอาจารย์ต้องมีผลงานวิจัย
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คืออะไรต่อมิอะไรก็ไปลงที่ซีเนียร์โปรเจคของนิสิตปริญญาตรีกันหมด
ดังนั้นจึงไม่แปลว่านิสิตป.ตรี
ปี ๔ ในยุคสมัยนั้นในหลายต่อหลายสถาบัน
กว่าจะสำเร็จการศึกษากันก็อยู่ทำซีเนียร์โปรเจคกันจนสิ้นสุดภาคฤดูร้อน
แถมยังมีรายการทำซีเนียร์โปรเจคกันตลอดทั้งปี
(อาจารย์จะได้มีรายงานความคืบหน้า)
ทั้ง
ๆ
ที่นิสิตลงทะเบียนเรียนวิชานี้เพียงแค่ภาคการศึกษาปลายภาคเดียวเท่านั้น
ถ้าจะหาคนมาเรียนต่อโทให้ได้
ก็จำเป็นต้องมีการแก้ไขข้อบกพร่องต่าง
ๆ ในเวลานั้นสิ่งแรกที่หน่วยงานที่ผมเข้าทำงานนำมาพิจารณาก็คือ
อาจารย์ต้องตอบคำถามให้ได้ว่าทำไมนิสิตปริญญาโทถึงไม่จบใน
๒ ปีการศึกษา
ในเมื่อหลักสูตรมันกำหนดไว้ว่าให้เรียนจบได้ใน
๒ ปีการศึกษา อาจารย์ก็ต้องทำให้ได้อย่างนั้น
อาจารย์คนไหนที่มีความพร้อมที่จะสอนนิสิตให้จบได้ตามกำหนดเวลาก็ประกาศไปเลย
ใครยังไม่ค่อยพร้อมก็บอกแก่ผู้สมัครไปตามตรง
ไม่ใช่ไปเที่ยวป่าวประกาศว่าเป็นหลักสูตร
๒ ปีแต่พอมีคนสมัครเข้ามาเรียนกลับบอกเขาว่าต้องอยู่กัน
๔-๕
ปี
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่เกิดขึ้นในตอนนั้นคือวิธีการรับนิสิตเข้าเรียนต่อ
เดิมทีนั้นใช้การรับนิสิตเข้ากองกลางตามจำนวนที่ภาควิชากำหนด
(ตัวเลขที่กำหนดมาได้ยังไงก็ไม่รู้เหมือนกัน)
แล้วค่อยให้นิสิตไปหาอาจารย์ที่ปรึกษาเอง
วิธีการนี้มีการทำมานานแล้วทั่วไปหมด
และยังใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
ผลที่เกิดขึ้นก็คือมีการบ่นกันเป็นประจำจากอาจารย์ที่ไม่ได้มีส่วนเข้าร่วมการคัดเลือกว่า
ทำไมรับแต่คนไม่มีคุณภาพเข้ามา
บางปีอาจารย์มีหัวข้อเยอะก็มีเสียงบ่นจากอาจารย์ที่หานิสิตทำวิจัยไม่ได้ว่าทำไปรับนิสิตมาน้อย
บางปีอาจารย์มีหัวข้อน้อยก็มีเสียงบ่นจากอาจารย์ที่มีนิสิตไปขอให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาว่าทำไมรับนิสิตมาเยอะ
(ทั้ง
ๆ ที่ก็รับเท่าจำนวนเดิม)
ใครเป็นคนรับเข้ามาก็ให้รับผิดชอบนิสิตเหล่านั้นเอาเอง
พอเปลี่ยนมาเป็นไม่จำกัดจำนวน
เป็นคืออาจารย์คนไหนอยากได้นิสิตทำวิจัยก็ให้มาสัมภาษณ์เอง
คัดเลือกเอง นำเสนอความพร้อมเอง
รับผิดชอบเรื่องงานวิทยานิพนธ์ของนิสิตคนนั้นไปเลย
ภาควิชาทำหน้าที่เพียงแค่รวบรวมตัวเลขนิสิตที่อาจารย์แต่ละคนรับเข้ามาเท่านั้น
สิ่งนี้ทำให้เกิดความพยายามปรับปรุงการเรียนการสอนและงานวิจัยให้มีความพร้อมที่จะสามารถสอนนิสิตให้จบตามระยะเวลาของหลักสูตรได้
อาจารย์คนไหนที่ขึ้นชื่อว่าชอบเก็บนิสิตไว้ทำวิจัยให้นาน
ๆ ก็จะหาคนเรียนต่อด้วยไม่ได้
ทำให้อาจารย์ต้องมีการปรับปรุงตัว
สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นคืออาจารย์ในภาควิชาเองต่างเห็นว่านิสิตของภาควิชานั้นเป็นผู้ที่มีความสามารถสูง
ถ้าได้มาเรียนต่อโท-เอกด้วยก็จะทำให้ได้ผู้เรียนที่มีความสามารถสูง
ผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือมีอาจารย์ทุ่มเทให้กับการเรียนการสอนในระดับ
"ปริญญาตรี"
เพื่อหวังสร้างความประทับใจให้กับนิสิตป.ตรีของตนเองในเรื่องความรู้ความสามารถของอาจารย์
จะได้ชักชวนนิสิตให้เข้ามาร่วมเรียนต่อกับอาจารย์ผู้นั้นในระดับปริญญาโท-เอก
ได้ง่ายขึ้น
เวลานั้นอาจเรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่ภาควิชาของเราเคยมี
และผมก็โชคดีที่ได้มีโอกาสทำงานอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น
ช่วงเวลานั้นภาควิชาของเราเองมีผู้มาสมัครเรียนต่อโท-เอก
กันเยอะครับ
เรียกว่าอาจารย์มีผู้สมัครมาเป็นลูกมือทำงานวิจัยให้เยอะไปหมด
เยอะจนกระทั่งมีอาจารย์เห็นว่าวิชา
"ซีเนียร์โปรเจค"
นั้นเป็น
"ภาระ"
ที่ไม่อยากสอน
เพราะงานซีเนียร์โปรเจคเป็นเพียงแค่งานเล็ก
ๆ ไม่มีเนื้องานมากพอที่จะเอาเขียนเป็นบทความหรือนำเสนอในที่ประชุมใด
ๆ ได้
ผลงานวิชาการที่ได้มาจากการที่มีผู้เรียนต่อระดับปริญญาโท-เอก
มากขึ้น นำมาซึ่ง ลาภ ยศ
และสรรเสริญ ให้กับอาจารย์ผู้มีผลงาน
ความอยากจะเป็นผู้ที่อยู่เหนือคนอื่น
ไม่เป็นรองใคร
อยากเป็นผู้มีชื่อเสียงในวงวิชาการ
ทำให้ความคิดเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง
เริ่มมีการมองว่าการสอนระดับปริญญาตรีเป็นภาระ
เพราะมันไม่ทำให้ได้ผลงานที่สามารถนำไปแลกเป็น
ลาภ ยศ และสรรเสริญ
ทำให้อาจารย์หลายรายเริ่มมีความคิดว่า
การสอนระดับปริญญาตรีควรทำให้น้อยที่สุด
หรือไม่ก็พยายามหาข้ออ้างว่าถ้ามีผลงานวิจัยเยอะก็ไม่ควรสอนระดับปริญญาตรี
ควรให้ทำวิจัยอย่างเดียว
มีการมองว่าการผลิตนิสิตระดับปริญญาตรีที่มีฝีมือดีนั้นควรให้คนอื่นเป็นคนทำ
การนั่งรอดึงเอานิสิตคุณภาพสูงเหล่านั้นมาเป็นลูกมือทำวิจัยให้มันสบายกว่าการเสียเวลาทุ่มแรงกายลงไปผลิตเอง
และการผลิตป.ตรี
มันไม่มีผลงานที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าในตำแหน่ง
ประโยคในย่อหน้าข้างบนไม่ได้คิดเองเออเองนะครับ
ผมได้ยินคนที่คิดอย่างนี้เขาพูดให้ผมฟังตั้งหลายครั้ง
พอย้อนถามอาจารย์ที่คิดอย่างนี้กลับไปว่า
"จะไม่สอนก็ได้
แต่ควรย้ายไปเป็นนักวิจัยเต็มตัว
จะได้ทำวิจัยอย่างเดียวโดยไม่มีใครว่าอะไรได้
เพราะตำแหน่งหน้าที่นักวิจัยคือทำวิจัยอย่างเดียว
ไม่ต้องสอน
ถ้ายังอยากให้คนอื่นเรียกตัวเองว่าเป็นอาจารย์
ก็ต้องมีภาระการสอนด้วย"
ก็ไม่เห็นมีใครยอมย้ายไปเป็นนักวิจัยเต็มตัวเลยสักราย
ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ
เขาอยากจะเน้นการผลิตไปที่ระดับบัณฑิตศึกษาก็ได้
เพราะเขามีมหาวิทยาลัยจากทั่วทุกมุมโลกที่จะผลิตผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีพื้นฐานดี
ที่จะมาทำวิจัยให้กับเขา
แต่นี่ในประเทศไทยของเราเอง
จำนวนผู้จบการศึกษาในสาขาเดียวกันก็มีน้อยอยู่แล้ว
แถมยังต้องแย่งชิงกับตลาดแรงงานและศาสตร์สาขาอื่นอีก
ถ้าไม่คิดพัฒนาคนของตนเองให้เข้ามาเรียนต่อเพื่อสร้างชื่อเสียงให้ได้ก่อน
แล้วจะไปเอาคนที่ไหนมาทำวิจัยให้
ดังนั้นจึงไม่น่าที่จะแปลกใจว่าทำไม่ในช่วงเวลาไม่นาน
ภาควิชาของเราจึงหาผู้ที่จบที่ภาควิชานั้นเรียนต่อที่ภาควิชาเดิมได้ยาก
หลายรายเลือกที่จะไปเรียนต่อในศาสตร์สาขาเดียวกันที่สถาบันอื่นภายในประเทศ
(ต้องยอมรับนะครับว่าก็ยังมีบางรายก็เป็นพวกที่อยู่ใกล้แท้
ๆ แต่ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรเลย
พอมาเรียนต่อโท-เอกแล้วรู้ความจริงเข้าก็ถึงขั้นพูดไม่ออก
แต่ตอนนั้นก็ถอนตัวไม่ได้ซะแล้ว)
สิ่งหนึ่งที่ผมเห็นว่าสำคัญมากในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาคือ
"ความจริงใจ"
ของอาจารย์ที่มีต่อนิสิต
การเรียนการสอนที่ดีนั้นผู้สอนต้องมองไปที่
"ความสำเร็จของตัวนิสิต"
เองเป็นตัวตั้ง
ไม่ใช่เอา "ความก้าวหน้าในอาชีพการงานของอาจารย์"
เป็นตัวตั้ง
ผมเคยกล่าวต่อหน้านักวิจัยอาวุโสรายหนึ่งว่า
เมื่อนิสิตเขามีผลงานได้ตามเกณฑ์มาตรฐานการสำเร็จการศึกษาแล้วก็ควรที่ต้องให้เขาจบการศึกษา
แต่ถ้าหากเขาอยากจะอยู่ต่อเพื่อทำผลงานให้สูงกว่าเกณฑ์ดังกล่าว
โดยความต้องการดังกล่าวเป็นความต้องการของตัวนิสิตเอง
นั่นเป็นการสอนที่ประสบความสำเร็จสูง
แต่ถ้าเอาความต้องการของอาจารย์เป็นที่ตั้งที่ต้องการให้นิสิตผู้เรียนมีจำนวนผลงานที่
"มากกว่า"
เกณฑ์มาตรฐานการจบการศึกษา
นั่นไม่ใช่การเรียนการสอน
แต่เป็นการ "บังคับใช้"
ให้ทำงานให้
แต่ดูเหมือนว่าพฤติกรรมอย่างหลังนั้นมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกที
เห็นได้จากการนำเอาเกณฑ์ที่ใช้สำหรับนิสิตปริญญาเอกมาบังคับใช้
(โดยตัวอาจารย์ที่ปรึกษาเอง)
กับนิสิตปริญญาโท
(ด้วยข้ออ้างต่าง
ๆ
ที่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้วจะเห็นว่าเหตุผลของข้ออ้างนั้นมาจากความต้องการความก้าวหน้าในอาชีพการทำงานของอาจารย์ทั้งสิ้น)
และมีการเพิ่มเกณฑ์การจบระดับปริญญาเอก
(โดยตัวอาจารย์ที่ปรึกษาเองเช่นกัน)
ให้สูงขึ้นไปอีก
ผลที่ตามมาก็คือการบอกกันปากต่อปาก
สิ่งที่เกิดขึ้นคือมีอาจารย์บางรายที่มีทุนวิจัยหลายทุนจากหลายแหล่ง
แต่หาคนสมัครเรียนด้วยไม่ได้
(หลัง
ๆ ผู้สมัครแบบหลับหูหลับตาเดินเข้ามาโดยไม่รู้อะไรมีน้อยลงไปเยอะ
ส่วนใหญ่เขาก็สืบหาข้อมูลเป็นการภายในจากคนที่เรียนอยู่ก่อน)
คนที่ซวยสุดก็คือคนที่กำลังทำงานอยู่กับอาจารย์เหล่านั้น
เพราะถ้าหากปล่อยให้คนเก่าจบไปโดยที่หาคนใหม่มาแทนไม่ได้
แล้วใครจะเป็นคนทำงานให้อาจารย์
มันก็เลยมีการเก็บตัวเอาไว้นาน
ๆ เกิดขี้นอีก กลับกลายเป็นว่าคนที่ทำงานเก่ง
ๆ แทนที่จะเรียนจบเร็ว
อาจจะเรียนจบช้ากว่าเพื่อน
เพราะโดนกักตัวเอาไว้ใช้งาน
และนั่นก็เป็นมุมมองที่ทำให้ผมโพสลงใน
facebook
ของผมเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาว่า
"ในระหว่างการประชุมวันนี้
มีการตั้งคำถามว่าทำอย่างไรจึงจะทำให้นิสิตที่จบป.ตรีของภาควิชา
เรียนต่อโท-เอก
ที่ภาควิชาให้มากขึ้น
แม้ว่าทางภาคจะสนับสนุนทุนให้มากกว่านิสิตที่มาจากสถาบันอื่น
ผมก็เลยถามกลับไปว่า
ทำไมถึงอยากจะได้นิสิตที่จบป.ตรีของภาคมาเรียนต่อที่ภาค
เพราะเห็นนิสิตที่จบมาจากสถาบันอื่น
เรียนโทเพียงแค่สองปีก็สอบจบได้ตามกำหนดแล้ว
ส่วนนิสิตของภาควิชาเองเรียนโทมาตั้งสองปีแล้วยังเห็นไม่จบกันตั้งหลายราย
ยังเห็นเดินไปเดินมาอยู่เต็มไปหมด
ผลก็คือที่ประชุม
"เงียบ"
ก่อนที่จะคนกล่าวว่า
"ผมไม่เกี่ยว
เพราะผมไม่มีนิสิตของภาควิชา"
แล้วก็โยนกันไปโยนกันมา"
จากภาควิชาที่มีการเปิดรับสมัครเพียงครั้งเดียวก่อนเริ่มภาคการศึกษาใหม่
จากภาควิชาที่เคยมีผู้สมัครมากเกิดความต้องการ
กลายเป็นภาควิชาที่ต้องมีการเปิดรับสมัครกันหลาย
ๆ รอบ เปิดรับทั้งภาคการศึกษาต้นและภาคการศึกษาปลาย
ถึงกระนั้นจำนวนผู้สมัครก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของอาจารย์
ตามความคิดของผมเองผมเห็นว่าเงิน
(ไม่ว่าจะเป็นในรูปของทุนการศึกษาหรือทุนวิจัยก็ตาม)
ใช้สร้างความสัมพันธ์ในรูปแบบนายจ้างกับลูกจ้างได้
แต่ใช้สร้างความสัมพันธ์ในรูปแบบอาจารย์กับลูกศิษย์ไม่ได้
ผมเคยอธิบายให้นิสิตที่คิดจะรับทุน
(ไม่ว่าทุนอะไรก็ตาม)
ว่าเงื่อนไขของการรับทุนนั้นกับเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษามันเป็นคนละเรื่องกัน
แต่ที่ผ่านมามักจะพบว่าเงื่อนไขตามสัญญาทุนนั้นมักจะ
"สูงกว่า"
เงื่อนไขการสำเร็จการศึกษา
และก็มีอาจารย์จำนวนไม่น้อยที่ใช้เงื่อนไขตามสัญญาทุนมาเป็นข้อกำหนดในการสำเร็จการศึกษาของนิสิต
ซึ่งมันเป็นคนละเรื่องกัน
เพราะจะว่าไปแล้วอาจารย์สามารถให้นิสิตสอบจบได้เมื่อเขามีผลงานครบตามเงื่อนไขสำเร็จการศึกษา
แล้วหลังจากนั้นนิสิตจึงค่อยมาทำงานเพิ่มเติมเพื่อให้ครบตามที่สัญญาไว้กับแหล่งทุน
นิสิตระดับปริญญาตรีของภาควิชาเราเองนั้น
กว่าจะมาถึงวิชาซีเนียร์โปรเจค
(ที่จะว่าไปแล้วตามหลักสูตรเดิมให้เรียนแค่ภาคการศึกษาปลายภาคเดียวเท่านั้น)
ก็ต้องผ่านการเรียนวิชาปฏิบัติการมาเยอะแล้ว
เฉพาะของภาควิชาเองก็ตั้ง
๔ วิชา
(นี่ยังไม่รวมวิชาปรับพื้นฐานและวิชาพื้นฐานวิศวกรรมนอกภาควิชาอีก)
ผมเองมองว่าถ้าอยากจะฝึกให้เขารู้จักคิดรู้จักลงมือปฏิบัติในการทำการทดลอง
ก็ควรต้องลงไปฝึกไปสอนกันตั้งแต่ตอนนั้น
ไม่ใช่จะมาเน้นเอาเฉพาะตอนที่จะให้ทำซีเนียร์โปรเจค
ยุคสมัยหนึ่งภาควิชาของเราก็มีการให้นิสิตส่งรายงานความก้าวหน้าและสอบวิชาซีเนียร์โปรเจคกันตั้งแต่เริ่มเรียนปี
๔ ทั้ง ๆ ที่นิสิตยังไม่ได้ลงทะเบียนเรียนวิชาดังกล่าว
ผมก็ถามผู้ที่รับผิดชอบว่าการกระทำดังกล่าวนั้นสมควรหรือไม่
เพราะนิสิตเหล่านี้เรียนในหลักสูตรที่กำหนดไว้ว่าให้ทำซีเนียร์โปรเจคเพียงแค่ภาคการศึกษาเดียว
ไม่ใช่ให้ทำทั้งปี
และการกำหนดให้มีการส่งรายงานและสอบโดยที่ผู้เรียนยังไม่ได้ลงทะเบียนเรียนวิชาดังกล่าวนั้นเป็นการกระทำที่สมควรหรือไม่
ถ้าหากวิชาอื่นจะทำอย่างนี้บ้างด้วยการเรียกให้นิสิตมาเรียน
ทำการบ้านส่ง และสอบ
โดยที่นิสิตยังไม่ได้ลงทะเบียนเรียนวิชาดังกล่าว
ภาควิชาจะยินยอมหรือไม่
และถ้ามีการฟ้องร้องกันเกิดขึ้น
จะให้เหตุผลอธิบายอย่างไร
ก็กลายเป็นว่าให้มีแต่แค่ส่งรายงานความก้าวหน้า
ส่วนเรื่องการสอบหัวข้อนั้นเอาไว้ก่อน
ค่อยไปสอบกันหลังจากสิ้นสุดภาคการศึกษาแรกไปแล้ว
ส่วนการที่จะให้ทำซีเนียร์โปรเจคกันทั้งมีก็มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
โดยแยกจากเดิม ๓
หน่วยกิตในภาคการศึกษาเดียวมาเป็น
๑ หน่วยกิตในภาคการศึกษาต้นและ
๒ หน่วยกิตในภาคการศึกษาปลาย
ซึ่งก็เริ่มใช้ครั้งแรกในปีการศึกษานี้
เดิมทีวิชาซีเนียร์โปรเจคมันเป็นวิชา
๓ หน่วยกิตเรียนกันในภาคการศึกษาปลายภาคเดียว
แต่อาจารย์อยากจะใช้นิสิตทำงานให้ตั้งแต่ภาคการศึกษาต้น
พอโดนทักท้วงว่ามันไม่ถูกต้องนะ
ก็เลยทำการปรับหลักสูตรเป็น
๑ +
๒
คือภาคการศึกษาต้น ๑ หน่วยกิต
ภาคการศึกษาปลาย ๒ หน่วยกิต
แต่ตอนเรียนจริงไม่รู้ว่าในทางปฏิบัติมันจะเป็นแบบ
๓ +
๓
หรือเปล่า
คือขนาดงานมันจะกลายเป็นเท่ากับลงเรียนวิชา
๓ หน่วยกิตทั้งในภาคการศึกษาต้นและภาคการศึกษาปลาย
ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นผมว่ามันก็ไม่ถูกต้อง
แต่ตอนนี้ก็ได้แต่เพียงแค่คอยดูเท่านั้นเอง
ถ้าอ่านมาถึงจุดนี้คิดว่าหลายคนที่เคยอยากจะมาเรียนต่อโท-เอกกับผม
แล้วผมถามเขากลับไปว่า
"เราเก็บความรู้สึกดี
ๆ ที่มีต่อกันตลอดช่วงเวลา
๓ ปีที่ผ่านมา
ให้มันคงอยู่ต่อไปตลอดกาลจะดีกว่าไหม"
คงทราบเหตุผลแล้วนะครับว่า
ประโยคดังกล่าวมีที่มาที่ไปอย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น