คำว่า
"Perpetual
motion" นี้มีผู้แปลว่า
"การเคลื่อนที่ของเครื่องจักรกลในทางทฤษฎี
ซึ่งถ้าไม่มีการสูญเสียพลังงาน
(จะเนื่องด้วยแรงเสียดทานหรือด้วยเหตุใดก็ตาม)
จะทำให้การเคลื่อนนี้เป็นไปได้อย่างต่อเนื่องด้วยอัตราเดิมโดยไม่จำเป็นต้องมีการป้อนพลังงานจากแหล่งภายนอกเข้าไป"
รูปที่
๑ หนังสือ "ฟิสิกส์เพื่อความเพลิดเพลิน"
(ซ้าย)
เล่ม
๑ พิมพ์ในปีพ.ศ.
๒๕๒๕
(ขวา)
เล่ม
๒ พิมพ์ในปีพ.ศ.
๒๕๒๗
เมื่อกว่า
๓๐
ปีที่แล้วทางสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้รับมอบลิขสิทธิ์หนังสือจากสถานฑูตรัสเซียเพื่อจัดแปลเป็นภาษาไทย
ผมเข้าใจว่าหนังสือที่ได้รับมอบลิขสิทธิ์มานี้จะมีอยู่หลายเล่มด้วยกัน
แต่ที่เอามาเขียนเรื่องราวในวันนี้มี
๒ เล่มคือ "ฟิสิกส์เพื่อความเพลิดเพลิน
เล่ม ๑"
และ
"ฟิสิกส์เพื่อความเพลิดเพลิน
เล่ม ๒"
หนังสือ
"ฟิสิกส์เพื่อความเพลิดเพลิน
เล่ม ๑"
แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษเรื่อง
"Physics
for Entertainment : Book I"
ซึ่งแปลจากต้นฉบับภาษารัสเซียมาเป็นภาษาอังกฤษโดย
Arthur
Shkaraosky ส่วนหนังสือ
"ฟิสิกส์เพื่อความเพลิดเพลิน
เล่ม ๒"
ก็แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษเรื่อง
"Physics
for Entertainment : Book II"
ซึ่งแปลจากต้นฉบับภาษารัสเซียมาเป็นภาษาอังกฤษโดย
Arthur
Shkaraosky เช่นกัน
รายละเอียดต่าง ๆ
ของหนังสือที่จัดแปลเป็นภาษาไทยนี้ดูได้ในรูปที่
๒ ผมเองก็ไปได้หนังสือสองเล่มนี้มาเมื่อร่วม
๓๐ ปีที่แล้วจากศูนย์หนังสือจุฬา
ที่ใต้ถุนศาลาพระเกี้ยว
(ตอนนั้นศูนย์หนังสือจุฬาก็มีอยู่แห่งเดียวในประเทศ)
รูปที่
๒ รายละเอียดการแปลเป็นภาษาไทย
ในฉบับแปลเป็นภาษาไทยได้นำคำนำของผู้แต่งหนังสือที่เขียนให้กับฉบับภาษารัสเซียในการตีพิมพ์ครั้งที่
๑๓ มาลงเอาไว้
ทำให้ทราบว่าหนังสือต้นฉบับภาษารัสเซียเขียนโดย
ยา พีรีลแมน (Ya
Perelman ผมเขียนตามฉบับแปลไทย
สำหรับผู้สนใจประวัติผู้เขียนสามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ใน
wikipedia
ในชื่อ
Yakov
Perelman) หนังสือเล่มนี้ได้รับการแปลเป็นภาษายูเครนในปีพ.ศ.
๒๔๖๘
และแปลเป็นภาษาเยอรมันปนฮิบบรูในปีพ.ศ.
๒๔๗๔
เรียกว่าถ้านับจากต้นฉบับภาษารัสเซียที่ทำการตีพิมพ์ครั้งแรก
หนังสือเล่มนี้ก็น่าจะมีอายุกว่าร้อยปีแล้ว
ที่วันนี้หยิบหนังสือสองเล่มนี้ขึ้นมาก็เพราะในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีข่าวเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ที่ได้พลังงานมาฟรี
ๆ อยู่ได้ด้วยตนเอง
โดยไม่ต้องพึ่งแหล่งพลังงานภายนอก
(อีกแล้ว)
รูปที่
๓ รูปแบบหนึ่งของเครื่องจักรที่หมุนได้เองตลอดเวลา
ด้วยการใช้ลูกตุ้มถ่วงน้ำหนัก
ความต้องการได้พลังงานมาฟรี
ๆ โดยไม่ต้องลงทุนนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่
มีมานานแล้ว อย่างน้อยก็ตั้งแต่ยุโรปสมัยกลาง
และยังคงมีมาจนถึงปัจจุบัน
แต่ก็ยังไม่มีใครประสบความสำเร็จสักที
หนังสือสองเล่มที่ยกมาเล่าในวันนี้ก็กล่าวถึงเรื่องแบบนี้และให้ตัวอย่างประกอบไว้หลายตัวอย่าง
(ที่ไม่ประสบความสำเร็จ)
ซะด้วย
ลองเริ่มจากตัวอย่างแรกในรูปที่
๓ ที่ออกแบบให้ลูกตุ้มน้ำหนักทางด้านขวามือนั้นตกลงล่าง
ซึ่งจะไปดันให้เฟืองนั้นหมุนในทิศทางตามเข็มนาฬิกาและยกตุ้มน้ำหนักทางด้านซ้ายกลับขึ้นไปด้านบนใหม่
ก่อนที่จะเคลื่อนตกลงมาใหม่ทางด้านขวา
อุปกรณ์ในรูปที่ ๔
ก็มีหลักการทำงานแบบเดียวกับอุปกรณ์ในรูปที่
๓
แต่คราวนี้ออกแบบให้ลูกตุ้มน้ำหนักนั้นกลิ้งตกลงล่างอยู่ในช่องว่างของวงล้อทางด้านขวา
ก่อนจะถูกการหมุนของวงล้อยกกลับขึ้นไปด้านบนใหม่
รูปที่
๔ อุปกรณ์ทำนองเดียวกับรูปที่
๓ แต่คราวนี้ให้ลูกตุ้มน้ำหนักเคลื่อนที่อยู่ในช่องของวงล้อ
เปลี่ยนจากวงล้อมาเป็นพื้นลาดเอียงดูกันบ้าง
แนวความคิดของรูปที่ ๕
คือให้ตุ้มน้ำหนักทางด้านขวาลื่นไถลลงล่าง
เพื่อไปดึงเอาตุ้มน้ำหนักที่อยู่ทางด้านซ้ายขึ้นด้านบน
ก่อนที่จะเคลื่อนที่ขึ้นมาจนถึงจุดสูงสุดของพื้นลาดเอียงแล้วร่วงหล่นลงไปใหม่
การออกแบบนี้มาจากแนวความคิดที่ว่าด้วยพื้นลาดเอียงที่มีความชันต่ำนั้น
แรงดึงที่ใช้ดึงวัตถุหนักขึ้นที่สูงจะลดลง
แต่ผู้ออกแบบคงลืมนับจำนวนตุ้มน้ำหนักที่อยู่ทางด้านซ้ายที่มีมากกว่าทางด้านขวา
รูปที่
๕ การออกแบบที่ใช้หลักการของพื้นลาดเอียง
เปลี่ยนจากการใช้ตุ้มน้ำหนักมาเป็นน้ำหนักของโซ่กันดูบ้าง
แนวความคิดของอุปกรณ์ในรูปที่
๖ ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากอุปกรณ์ในรูปที่
๕ กล่าวคือถ้าทำให้โซ่ด้านขวามือมีความยาวมากกว่าด้านซ้ายมือ
น้ำหนักของโซ่ด้านขวามือก็จะมากกว่าน้ำหนักของโซ่ทางซ้ายมือ
ดังนั้นโซ่ด้านขวามือจะตกลงล่าง
และดึงโซ่ด้านซ้ายมือสูงขึ้นไป
ทำให้ล้อเฟืองตัวบนสุดที่โซ่พันอยู่นั้นหมุนได้ตลอดเวลา
รูปที่
๖ แนวความคิดนี้ใช้น้ำหนักจากโซ่ที่มีความยาวต่างกัน
ไส้ตะเกียง
(และไส้เทียน)
ทำงานด้วยการอาศัยแรงแคปปิลารีทำให้ของเหลวเคลื่อนที่ขึ้นที่สูงกว่าได้
อุปกรณ์ในรูปที่ ๗
ก็ออกแบบโดยอาศัยแนวความคิดนี้
กล่าวคือถ้ามีไส้ตะเกียงจำนวนมากพอก็จะสามารถดูดน้ำจากถาดด้านล่างไปไว้ในถาดด้านบนได้
และให้น้ำที่เอ่อล้นจากถาดด้านบนนั้นไปหมุนกังหันไอน้ำอีกที
รูปที่
๗ การออกแบบที่ใช้หลักการทำงานของไส้ตะเกียง
ถ้าคิดว่าอุปกรณ์ในรูปที่
๗ นั้นมีขนาดเล็กเกินไปก็ขอแนะนำระบบในรูปที่
๘
ที่อาศัยหลักการลอยตัวของวัตถุในของเหลวที่ใช้กล่องที่มีความหนาแน่นต่ำกว่าน้ำ
มุดเข้าทางด้านล่างของอาคารและลอยขึ้นสู่ผิวน้ำทางด้านบน
(ตอนนี้ให้สมมุติว่าไม่มีการรั่วไหลของน้ำที่ทางด้านเข้าของกล่องทางด้านล่างของอาคารก่อนนะครับ)
รูปที่ ๘ เครื่องจักรนิรันดร์ขนาดใหญ่ที่ใช้หลักการลอยตัวของวัตถุในของเหลว กล่องที่ลอยตัวสูงขึ้นทางด้านขวาจะไปดึงให้กล่องที่อยู่ทางด้านซ้ายมุดกลับเข้ามาใต้ผิวน้ำใหม่
รูปที่ ๘ เครื่องจักรนิรันดร์ขนาดใหญ่ที่ใช้หลักการลอยตัวของวัตถุในของเหลว กล่องที่ลอยตัวสูงขึ้นทางด้านขวาจะไปดึงให้กล่องที่อยู่ทางด้านซ้ายมุดกลับเข้ามาใต้ผิวน้ำใหม่
อุปกรณ์ไฮเทคตัวสุดท้ายที่หนังสือดังกล่าวยกมาให้ชมคืออุปกรณ์ที่อาศัยแรงแม่เหล็กจากแม่เหล็ก
(ก)
ดูดให้ตุ้มน้ำหนัก
(ข)
เคลื่อนที่ขึ้นไปตามพื้นลาดเอียง
(ม)
ไปจนถึงจุดบนสุด
(ค)
ก็จะร่วงหล่นลงล่างไหลไปตามราง
(น)
และใช้แรงเฉื่อยจากการไหลลงนั้นส่งตัวกลับไปบนพื้นลาดเอียง
(ม)
ใหม่ด้วยก่อนที่จะวนกลับตรงทางโค้ง
(ง)
กลับไปอยู่บนพื้นลาดเอียง
(ม)
ใหม่อีกครั้งหนึ่ง
รูปที่
๙ ระบบนี้ใช้แรงแม่เหล็กดูดเข้าลูกเหล็กในเคลื่อนที่ขึ้นด้านบน
เป็นไงครับเครื่องจักรกลที่หมุน/เคลื่อนไหวได้อย่างนิรันดร์โดยไม่ต้องพึ่งพึงแหล่งพลังงานอื่น
(นอกจากแรงโน้มถ่วง)
ถ้าจะใช้เข้ายุคกับปัจจุบันหน่อยก็คงเป็นแนวความคิดแบบใช้มอเตอร์ไฟฟ้าไปหมุนไดนาโมให้ผลิตกระแสไฟฟ้า
แล้วเอากระแสไฟฟ้าที่ได้นั้นมาหมุนมอเตอร์ไฟฟ้าใหม่อีกที
เนื่องด้วยท้ายกระดาษมีที่ว่างเหลือก็ขอปิดท้าย
Memoir
ฉบับนี้ด้วยภาพบรรยากาศงานปั่นจักรยานเมื่อบ่ายวันวานสักรูปก็แล้วกัน
ถึงแม้จะเป็นระยะทางเพียงสั้น
ๆ แต่พวกเขาก็ตั้งใจมุ่งมั่นที่จะมาร่วมงาน
(ที่แปลกคือนายตำรวจนายหนึ่งที่มาปฏิบัติหน้าที่อยู่แถวนี้กลับไม่รู้ว่าขบวนนี้มาจากไหนมาได้อย่างไร
เพราะเห็นเข้ามาสอบถามขบวนนี้ว่าโผล่มาได้ยังไง)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น