หลังให้เครื่องได้พักผ่อนไปปีเศษ
เมื่อวานก็ได้ฤกษ์เปิดเครื่องใหม่อีกครั้ง
แต่ก็ทำเอามึนไปพักใหญ่
เพราะจำไม่ได้ว่าตั้งค่าอะไรไว้เท่าไร
ตั้งวาล์วตัวไหนไว้ตรงไหน
โชคดีที่มีบันทึกเก็บเอาไว้
ก็เลยเสียเวลาไปเพียงแค่ไม่ถึงครึ่งวัน
แต่ถึงกระนั้นก็ต้องทำการ
regenerate
คอลัมน์ที่
150ºC
ข้ามคืน
เช้านี้ก็เลยทำการทดสอบการวัด
N2O
ดูก่อนเลย
การวัด
NO
นั้นวัดที่
40ºC
ส่วนการวัด
N2O
นั้นวัดที่
150ºC
ค่าพารามิเตอร์ต่าง
ๆ ในการตั้งเครื่องนั้นดูได้ในรูปในหน้าที่
๒-๘
ซึ่งแสดงค่าในส่วนของ tab
ต่อไปนี้ที่อยู่ใต้กราฟ
Column,
ECD1, PDD, General, Add flow (รวมของ
tab
Relay ทางด้านขวาด้วย)
และ
tab
ด้านขวาคือ
Line
1 และ
Heater/Flow
นอกจากนี้ยังมีในส่วนของ
Make
up gas สำหรับ
ECD
ที่ตั้งความดันไว้ที่
10
kPa (ตั้งโดยใช้
pressure
regulator ที่อยู่ด้านบนทางด้านหลังของเครื่อง)
ส่วนรูปในหน้า
๙ นั้นเป็นผลการฉีด N2O
๖
ครั้ง โดยนำเอาสัญญาณที่วัดได้นั้นมาวางในกราฟเดียวกัน
ที่เห็นเส้น base
line ของสัญญาณอยู่ที่ระดับความสูงที่แตกต่างกันเป็นผลจากการ
drift
อย่างช้า
ๆ ของเส้น base
line (ไม่ได้เกิดจากการใช้ซอร์ฟแวร์ขยับเส้นสัญญาณ)
ส่วนรูปที่
๑๐ นั้นเอากราฟที่วัดได้เมื่อกรกฎาคม
๒๕๕๗ (เส้นล่างสุด)
มาวางเทียบเวลาและความสูง
จะเห็นว่าตำแหน่งพีคยังคงเดิมอยู่
แต่ความแรงสัญญาณที่วัดได้ในวันนี้ต่ำกว่าเล็กน้อย
(และยังไม่คงที่)
ซึ่งตรงนี้เรายังพอจะเพิ่มความแรงของสัญญาณได้ด้วยการลดอัตราการไหลของ
make
up gas ของ
ECD
ให้ต่ำลงไปอีก
ที่เห็นเส้นโครมาโทแกรมลดระดับลงในช่วงแรกเป็นผลจากการเปลี่ยนตำแหน่งวาล์วฉีดตัวอย่าง
จากตำแหน่งเก็บตัวอย่างไปอยู่ตำแหน่งฉีดตัวอย่าง
ทำให้อัตราการไหลของ carrier
gas เปลี่ยนแปลงไป
ซึ่งมันส่งผลต่อระดับเส้น
base
line
ส่วนรูปในหน้า
๑๑
นั้นเป็นแผนผังอย่างง่ายของระบบการไหลของแก๊สที่ผมวาดเอาไว้เมื่อวาน
การตั้งวาล์ว 2
และวาล์ว
4
ที่เราใช้ระหว่างการวิเคราะห์นั้น
จะให้ carrier
gas ที่มาจากวาล์ว
1
ไหลผ่านวาล์ว
2
และตรงไปยัง
ECD
เลย
และ carrier
gas ที่มาจากวาล์ว
3
ไหลผ่านวาล์ว
4
ตรงไปยัง
PDD
เช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น