จากสมการสำหรับคำนวณหา
orthogonal function
ในช่วง [0,
1] สำหรับฟังก์ชันพนุนามที่เป็นฟังก์ชันคู่ข้างล่าง .....
บันทึกช่วยจำของกลุ่มวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะออกไซด์ บันทึกความจำของวิศวกรเคมีผู้ลงมือปฏิบัติ (mo.memoir@gmail.com)
วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2563
วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2563
เมื่อพิจารณาแยกตามช่วงอายุ MO Memoir : Thursday 23 April 2563
สิบกว่าปีที่แล้วผมมีโอกาสเดินทางไปเยอรมัน
เพื่อไปเยี่ยมนิสิตปริญญาเอกคนหนึ่ง
(และคนเดียว)
ของผมที่เขาไปทำวิจัยที่นั่น
ระหว่างช่วงหนึ่งของการสนทนาเขาเล่าให้ฟังว่า
วันหนึ่งมีคนถามเขาในวงสนทนาว่า
เมื่อเกษียณอายุแล้วจะไปอยู่ไหน
เขาก็ตอบว่าก็คงอยู่บ้านตามเดิม
(กับลูกหลาน
- ถ้ามี)
ก็ทำให้ผู้ร่วมสนทนาผู้อื่นแปลกใจ
ว่าทำไมยังอยู่บ้านอีก
ไม่ไปอยู่ตาม Nursing
home
ซึ่งถ้าจะแปลเป็นไทยก็คงเป็นสถานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุระยะยาว
แต่ในทางกลับกันเขาก็งงเหมือนกันว่าแล้วทำไมไม่อยู่บ้าน
ต้องไปอยู่ตาม Nursing
home
รูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละสังคมแตกต่างกัน
ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนต่างรุ่นของแต่ละสังคมนั้นแตกต่างกันไปด้วย
กลุ่มคนที่ไม่ค่อยปรากฏเป็นข่าวหรือจะเรียกว่ามีปากเสียงออกทางสื่อมวลชนน้อยที่สุดเห็นจะได้แก่กลุ่มเด็กและกลุ่มผู้สูงวัย
เวลาที่เกิดเหตุการณ์สำคัญอะไรขึ้นมา
คนกลุ่มนี้ก็มักจะเป็นกลุ่มคนที่มักถูกลืม
ถูกละเลย หรือจงใจไม่กล่าวถึง
จากทั้งสื่อมวลชนและผู้ที่ต้องรับผิดชอบเหตุการณ์
ตัวอย่างเช่นสถานการณ์โรคระบาดจากไวรัส
COVID-19
ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนี้
ที่มีทั้งเสียงเรียกร้องให้ปิดเมืองและให้เปิดเมือง
ข่าวสารตามสื่อหลักต่าง ๆ
เต็มไปด้วย "จำนวนรวม"
ของผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิต
แต่ในวันนี้เราจะมาลองดูข้อมูลแยกตามช่วงอายุ
เผื่อว่าจะทำให้เห็นภาพเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่
จากมุมมองอื่นดูบ้าง
รูปที่ ๑
จำนวนผู้ป่วยจากไวรัส
COVID-19
ของประเทศสวีเดน
แหล่งที่มาของรูปต่าง
ๆ อยู่ท้ายบทความนี้
ข้อมูลเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนไปทุกวัน
ดังนั้นถ้าเปิดเข้าไปดูแล้วมันไม่เหมือนกับที่ผมเอามาก็ไม่ต้องแปลกใจ
(ผมดึงข้อมูลมาเมื่อเช้าวันนี้)
เริ่มแรกประเดิมที่ประเทศสวีเดนก่อน
ที่มีคนชื่นชมว่าสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ดีโดยอาศัยความร่วมมือของประชาชน
โดยไม่จำเป็นต้องมีการปิดเมืองหรือร้านค้าต่าง
ๆ รูปที่ ๑
เป็นจำนวนผู้ติดเชื้อแยกตามกลุ่มอายุของประเทศสวีเดน
ส่วนรูปที่ ๒
เป็นจำนวนผู้เสียชีวิตแยกตามกลุ่มอายุเช่นกัน
ถ้าเราพิจารณาใหม่เป็นสองกลุ่ม
คือกลุ่มที่อายุน้อยกว่า
๖๐
ปีหรือกลุ่มที่ยังอยู่ในวัยทำงานซึ่งจัดเป็นกลุ่มคนเสียภาษีให้รัฐ
กับกลุ่มคนที่อายุตั้งแต่
๖๐
ปีขึ้นไปที่เป็นผู้เกษียณแล้วซึ่งเป็นกลุ่มคนผู้รับสวัสดิการจากรัฐ
(ซึ่งเขาก็ควรมีสิทธิ
เพราะก่อนหน้านี้เขาก็ทำงานเสียภาษีเพื่อให้คนที่เกิดทีหลังเขานั้นได้ใช้สิทธิประโยชน์หลายอย่างจากเงินภาษีที่เขาเสีย)
จะเห็นว่าในส่วนของจำนวนผู้ติดเชื้อนั้น
เป็นส่วนของคนกลุ่มอายุต่ำกว่า
๖๐ ประมาณ 48.6%
และกลุ่มคนอายุตั้งแต่
๖๐ ขึ้นไปประมาณ 51.4%
แต่ถ้ามาดูสัดส่วนของผู้เสียชีวิตจะเห็นว่า
จากจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด
เป็นคนในกลุ่มอายุตั้งแต่
๖๐ ขึ้นไปถึง 95%
ในขณะที่คนอายุต่ำกว่า
๖๐ ลงมามีสัดส่วนเพียงแค่
5% เท่านั้น
รูปที่ ๒
จำนวนผู้เสียชีวิตจากไวรัส
COVID-19
ของประเทศสวีเดน
ถัดไปเป็นประเทศเยอรมันที่ได้รับคำชมว่าแม้ว่าจะมีจำนวนผู้ติดเชื้อมากในระดับเดียวกับกับประเทศขนาดใหญ่ในยุโรปตะวันตก
แต่มีจำนวนผู้เสียชีวิตที่ต่ำกว่ามาก
รูปที่ ๓ แสดงจำนวนผู้ป่วยแยกตามช่วงอายุ
ส่วนรูปที่ ๔
แสดงจำนวนผู้เสียชีวิตแยกตามเพศและช่วงอายุ
จากรูปที่ ๓
จะเห็นว่าในกลุ่มผู้ติดเชื้อนั้นเป็นคนกลุ่มอายุไม่เกิน
๖๐ ปีประมาณ 70%
และเป็นกลุ่มอายุตั้งแต่
๖๐ ปีขึ้นไปประมาณ 30%
แต่พอมาดูสัดส่วนจากจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดในรูปที่
๔ จะเห็นว่า เป็นคนในกลุ่มอายุตั้งแต่
๖๐ ปีขึ้นไปถึง 95.5%
โดยมีคนกลุ่มอายุไม่เกิน
๖๐ ปีเพียงแค่ 4.5%
เท่านั้น
และถ้าเปรียบเทียบกันระหว่างสวีเดนกับเยอรมัน
จำนวนผู้เสียชีวิตของเยอรมันมากกว่าของสวีเดนประมาณ
2.4 เท่า
แต่จำนวนประชากรของเยอรมันมากกว่าของสวีเดน
8 เท่า
เรียกได้ว่าสวีเดนมีสัดส่วนการเสียชีวิตที่สูงกว่า
รูปที่ ๓
จำนวนผู้ป่วยจากไวรัส
COVID-19
ของประเทศเยอรมัน
รูปที่ ๔
จำนวนผู้เสียชีวิตจากไวรัส
COVID-19
ของประเทศเยอรมัน
นิวยอร์คเป็นเมืองใหญ่ที่มีจำนวนประชากรมากกว่าบางประเทศเสียอีก
แถมยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากด้วย
รูปที่ ๕ เป็นตัวเลขอัตราส่วนการเสียชีวิตต่อประชากร
๑๐๐,๐๐๐
คนแยกตามกลุ่มช่วงอายุ
จะเห็นว่าในส่วนของกลุ่มคนที่อยู่ในวัยทำงานนั้นต่ำมากเมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่เกษียณอายุแล้ว
และต่ำกว่าของค่าเฉลี่ยทั้งเมืองอีก
อันที่จริงของสหรัฐอเมริกาเขามีการแยกตามสีผิวอีก
ซึ่งมีรายงานว่าสัดส่วนการเสียชีวิต
(คิดต่อจำนวนประชากร
๑๐๐,๐๐๐
คน)
ของคนผิวสีนั้นสูงกว่าของคนผิวขาวมาก
รูปที่ ๕
อัตราส่วนการชีวิตจากไวรัส
COVID-19 ต่อประชากร
๑๐๐,๐๐๐
คนของเมืองนิวยอร์ค
คำว่า
United Kingdom
มันเป็นการรวมกันระหว่าง
Great Britain และ
Northern Ireland
ในส่วนของ Great
Britain เองก็ประกอบด้วย
England, Scotland
และ Wales
เรียกว่าเป็นการรวมกลุ่มประเทศแบบแปลก
ๆ คือเวลาส่งทีมฟุตบอลแข่งขันก็จะแยกประเทศกันส่ง
แต่พอส่งแข่งกีฬาแบบโอลิมปิกกลับรวมกันส่ง
แม้แต่ข้อมูลสถานการณ์
COVID-19
ก็ยังแยกกันระหว่าง
England + Wales กับ
Scotland
ดังเช่นข้อมูลในรูปที่
๖ ที่แยกสัดส่วนผู้เสียชีวิตจากโรค
COVID-19
ตามเพศและช่วงอายุ
จากกราฟจะเห็นได้ชัดว่าประมาณ
80%
หรือมากกว่าของผู้เสียชีวิตนั้นเป็นคนกลุ่มที่เกษียณอายุแล้ว
ช่วงที่ผ่านมาเวลาดูข่าวช่อง
BBC World Service
เวลาที่เขารายงานจำนวนผู้เสียชีวิต
เขาก็จะมีหมายเหตุเล็ก ๆ
อยู่ที่ด้านล่างของจอว่า
ไม่รวมจำนวนผู้เสียชีวิตที่
Nursing home
ที่เป็นสถานรับดูแลคนชรา
คือนอนป่วยตายที่นั่น
ไม่ได้มาตายที่โรงพยาบาล
ก็เลยไม่ถูกนับรวมเอาไว้
รูปที่ ๖
จำนวนผู้เสียชีวิตจาก
COVID-19 ใน
England และ
Wales (คือไม่รวม
Scotland)
หนังสือพิมพ์
New York Times
มีการวิเคราะห์ข้อมูลในอีกรูปแบบหนึ่ง
(รูปที่
๗ และ ๘)
คือไปดูว่าในช่วงเวลาเดียวกันของปี
จำนวนผู้เสียชีวิตเฉลี่ยของแต่ละประเทศและบางเมืองเป็นเท่าใด
และนำมาเปรียบเทียบกับของปีปัจจุบัน
ซึ่งควรมีค่าประมาณค่าเฉลี่ยบวกกับผู้เสียชีวิตจาก
COVID-19
ถ้าสองตัวเลขนี้รวมกันแล้วเท่ากันหรือใกล้เคียงกันก็แสดงว่าตัวเลขรายงานผู้เสียชีวิตจาก
COVID-19
ของประเทศนั้นใกล้เคียงกับความเป็นจริง
แต่ถ้าพบว่าต่างกันมาก
คือไปในแนวโน้มที่ว่าแม้ว่าหักตัวเลขผู้เสียชีวิตจาก
COVID-19 ออกไปแล้ว
ค่าที่ได้ก็ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยอยู่มาก
นั่นแสดงว่าอาจมีการเสียชีวิตจาก
COVID-19
แต่ไม่ได้ถูกนำมารวมไว้
รูปที่ ๗
จำนวนผู้เสียชีวิต (จากทุกสาเหตุ)
ของบางประเทศและบางเมือง
(ที่จำนวนประชากรอาจอยู่ในระดับเดียวกันหรือมากกว่าของประเทศเล็ก
ๆ อีก)
นับจากต้นปีที่ผ่านมา
เทียบกับค่าเฉลี่ยของช่วงเวลาเดียวกัน
รูปที่ ๘
ผลต่างระหว่างจำนวนผู้เสียชีวิตที่มีรายงานเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ย
กับจำนวนผู้เสียชีวิตจาก
COVID-19
ถ้ามีค่าออกมาเป็นบวกมากก็แสดงว่ามีความเป็นไปได้ที่มีการเสียชีวิตจาก
COVID-19
ที่ไม่ได้ปรากฏในรายงานที่เป็นทางการ
(เช่นการเสียชีวิตภายในบ้านหรือบ้านพักคนชรา
รูปที่
๙ เป็นกรณีของประเทศฝรั่งเศส
เป็นสัดส่วนจำนวนผู้ติดเชื้อ
ผู้ป่วยหนัก และผู้เสียชีวิต
แยกตามช่วงอายุ
จากจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมดนั้นจะเห็นได้ว่าผู้มีอายุตั้งแต่
๖๔ ปีขึ้นไปมีสัดส่วนในกลุ่มนี้เพียงแค่ประมาณ
30%
แต่คนกลุ่มนี้มีสัดส่วนสูงกว่า
90%
ในส่วนของผู้เสียชีวิต
ในขณะที่คนที่กำลังอยู่ในวัยรุ่นหรือวัยกลางคน
(กลุ่มอายุ
15-44 ปี)
มีสัดส่วนในส่วนของผู้เสียชีวิตเพียงแค่
1% เท่านั้นเอง
รูปที่ ๙
สัดส่วนจำนวนผู้ติดเชื้อ
ผู้ป่วยหนัก และผู้เสียชีวิต
แยกตามช่วงอายุ ของประเทศฝรั่งเศส
เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วมีเพื่อนผมคนหนึ่งตั้งคำถามเกี่ยวกับการใช้
Herd Immunity
หรือภูมิคุ้มกันหมู่มาจัดการกับ
COVID-19
คือปล่อยให้คนดำเนินชีวิตไปตามปรกติ
แล้วให้เชื้อโรคมันจัดการกับผู้ที่อ่อนแอ
สังคมก็จะเหลือแต่ผู้ที่แข็งแรง
และก็ได้ยกกรณีของประเทศสวีเดนขึ้นมา
ซึ่งผมก็ได้ให้ความเห็นของผมไปดังข้อความข้างล่าง
วันนี้ก็เลยจะขอบันทึกข้อความดังกล่าวเอาไว้เสียหน่อย
"ถ้าอัตราการตายเป็นแบบกระจายแบบทั่วถึงสำหรับทุกช่วงอายุ
(คือจะเด็ก
วัยรุ่น คนทำงาน คนแก่
ก็มีโอกาสตายเท่ากันหมด)
ก็น่าสงสัยว่าประเทศที่บอกว่าจะใช้วิธี
herd immunity
จะเลือกใช้วิธีนี้หรือเปล่า
เพราะมันก็มีมุมมองที่แม้ว่านักการเมืองจะไม่พูด
แต่ก็ห้ามไม่ให้คิดไม่ได้เช่นกัน
ในกรณีปัจจุบันดูเหมือนว่าในประเทศเหล่านั้นผู้เสียชีวิตจำนวนไม่น้อยเลยที่เป็นผู้ที่อยู่ในบ้านพักคนชรา
ที่ถ้ามองในแง่ของรัฐบาลแล้วก็คือพวกที่ไม่ได้ทำประโยชน์อะไรให้กับสังคม
เพราะไม่มีการทำงานเสียภาษีให้รัฐ
แต่เป็นภาระที่รัฐต้องเอาเงินภาษีเลี้ยงดูไปจนกว่าจะตาย
การลดจำนวนคนกลุ่มนี้ลงได้ด้วยวิธีการแบบเนียน
ๆ เช่นในขณะนี้
ก็จะช่วยรัฐประหยัดงบประมาณในอนาคตไปได้มาก
ถ้ามองในแง่ของคนชราที่ไม่ได้มีปากเสียงอะไรเลย
เพราะไม่เห็นสำนักข่าวต่างชาติอันไหนเลยไปทำข่าวว่าพวกเขารู้สึกอย่างไร
เขาก็คงคิดในใจว่าตอนเขายังแข็งแรง
เขาทำงานเสียภาษีให้รัฐเพื่อให้เด็ก
ๆ ได้เรียนได้เติบโตในสังคมที่มีคุณภาพ
แต่พอเขาแก่ขึ้นมา
เด็กเหล่านั้นกลายเป็นผู้ใหญ่
เขากลับถูกเด็กเหล่านี้มองว่าเป็นพวกไม่มีประโยชน์ต่อสังคม
เป็นภาระให้ต้องเลี้ยงดู
บางครั้งความสัมพันธ์ในสังคมระหว่างคนต่างช่วงอายุ
ก็อาจเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเลือกวิธีการได้นะ"
แหล่งที่มาของข้อมูล
Sweden
:
Germany
:
New
York :
France
:
England
and Wales :
New
York Times :
วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2563
การคำนวณเชิงตัวเลข (๓๗) การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๑๒) MO Memoir : Wednesday 21 April 2563
จากสมการสำหรับคำนวณหา
orthogonal function
ในช่วง [0,
1] สำหรับฟังก์ชันพนุนามที่เป็นฟังก์ชันคู่ข้างล่าง ...
ป้ายกำกับ:
ฟังก์ชันพหุนาม,
function,
ode,
orthogonal,
polynomial
วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2563
การคำนวณเชิงตัวเลข (๓๖) การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๑๑) MO Memoir : Tuesday 21 April 2563
สมการสำหรับคำนวณหา
orthogonal function
ในช่วง [0,
1] สำหรับฟังก์ชันพนุนามที่เป็นฟังก์ชันคู่
ในหนังสือของ Finlayson
ได้ให้สมการต่อไปนี้ไว้
ป้ายกำกับ:
ฟังก์ชัน,
ฟังก์ชันพหุนาม,
function,
ode,
orthogonal
วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2563
การคำนวณเชิงตัวเลข (๓๕) การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๑๐) MO Memoir : Thursday 16 April 2563
ฉบับนี้เป็นฉบับต่อจากตอนที่แล้ว
(ฉบับวันเสาร์ที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา)
แต่คราวนี้จะเป็นกรณีของพิกัดทรงกระบอก
(cylindrical)
และทรงกลม (spherical)
เริ่มจากกรณีของตัวเร่งปฏิกิริยารูปทรงกระบอกที่มีรัศมี
r
= 1 หน่วย และมีความยาวเป็นอนันต์
(เพื่อตัดผลที่หัวท้ายออกไป
ให้มีเฉพาะการแพร่ในทิศทางแนวรัศมีเท่านั้น)
ในกรณีนี้สมการดุลมวลสารอย่างง่ายจะมีหน้าตาดังนี้ ....
ป้ายกำกับ:
สมการอนุพันธ์,
function,
ode,
orthogonal
วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2563
การผลิตแก๊สคลอรีนเพื่อใช้ทำปฏิกิริยาในห้องปฏิบัติการ MO Memoir : Monday 13 April 2563
เมื่อตอนต้นเดือนที่ผ่านมา
นักวิจัยจากสถาบันวิจัยแห่งหนึ่งในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โทรศัพท์มาปรึกษาผมเรื่องที่ว่าเขามีเพื่อนที่เป็นนักวิจัยที่ทำงานที่บริษัทแห่งหนึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับแก๊สคลอรีนที่จะนำมาใช้ทำปฏิกิริยา
ก็เลยขออนุญาตให้เพื่อนของเขาติดต่อปรึกษากับผมโดยตรง
ซึ่งผมก็ตอบรับด้วยความยินดี
ปัญหาที่เขามีก็คือเขามีสารละลายโลหะ
Mn+
ในกรดเกลือ
ทีนี้เขาต้องการออกซิไดซ์ไอออน
Mn+
ให้กลายเป็น M(n+1)+
และจากการศึกษาของเขาก็พบว่า
หนึ่งในวิธีการออกซิไดซ์ดังกล่าวทำได้ด้วยการใช้แก๊สคลอรีน
(chlorine Cl2)
อันที่จริงการออกซิไดซ์ไอออนโลหะตัวนี้มันยังมีวิธีการอื่นอีก
แต่เดาว่าเมื่อเขาพิจารณาจาก
วัตถุดิบที่เขามี,
ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ
และความรวดเร็วในการทำปฏิกิริยา
เขาคงเห็นว่าการใช้แก๊สคลอรีนน่าจะเหมาะสมสุด
แต่ปัญหาก็คือแก๊สตัวนี้เป็นแก๊สพิษ
แถมยังถูกจัดให้เห็นยุทธภัณฑ์ด้วย
ซึ่งถ้าต้องการครอบครองในระดับโรงงานก็ไม่น่าจะมีปัญหา
แต่ถ้าต้องการเพียงไม่มากเพื่อมาทดลองทำแลป
มันจะเป็นเรื่องใหญ่
แก๊สคลอรีนเป็นผลพลอยได้จากการผลิตโซดาไฟ
(caustic soda NaOH)
หรือสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์
ซึ่งเมื่อนำสารละลายเกลือแกง
(sodium chloride
NaCl) มาแยกด้วยไฟฟ้าก็จะได้แก๊สไฮโดรเจนและแก๊สคลอรีน
ทีนี้ถ้าทางโรงงานนั้นไม่ต้องการจะขายแก๊สคลอรีน
เขาก็สามารถนำแก๊สไฮโดรเจนและคลอรีนที่ได้มาทำปฏิกิริยากับเป็นแก๊สไฮโดรเจนคลอไรด์
(hydrogen chloride
HCl) ซึ่งเมื่อนำไปละลายน้ำก็จะได้สารละลายกรดเกลือ
(hydrochloric acid)
หรือนำแก๊สคลอรีนไปทำปฏิกิริยากับสารละลาย
NaOH
ก็จะได้สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์
(sodium hypochlorite
NaOCl) ที่เราใช้เป็นน้ำยาซักผ้าขาว
(และยังใช้ฆ่าเชื้อโรคได้ด้วยที่ตอนนี้มีการนำมาใช้เป็นน้ำยาล้างทำความสะอาดพื้นผิว
ตัวนี้มันดีกว่าเอทานอลตรงที่ไม่ติดไฟ
แต่กลิ่นมันฉุน)
ส่วนน้ำยาซักผ้าสีนั้นจะเป็นพวกไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
(hydrogen peroxide
H2O2)
ปฏิกิริยาหนึ่งที่สามารถใช้สังเคราะห์แก๊สคลอรีนได้ก็คือปฏิกิริยาระหว่างกรดเกลือกับสารละลายไฮโปคลอไรต์
ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ
นี้ก็มีเรื่องปรากฏในเว็บบอร์ดแห่งหนึ่งที่มีผู้ใช้น้ำยาซักผ้าขาว
(สูตรโซเดียมไฮโปคลอไรต์)
ล้างห้องน้ำเพื่อฆ่าเชื้อโรค
แล้วก็ราดน้ำยาล้างห้องน้ำ
(สูตรกรดเกลือ)
ตามลงไป
ผลก็คือเกิดแก๊สคลอรีนฟุ้งเต็มห้องน้ำถึงกับต้องเผ่นออก
รูปที่ ๑
ตัวอย่างรูปแบบการออกแบบอุปกรณ์ทดลองที่ได้นำเสนอไปในการสนทนาครั้งแรก
ปฏิกิริยาหนึ่งที่นักวิจัยท่านนั้นมองเอาไว้ก็คือการผลิตคลอรีนด้วยปฏิกิริยาระหว่างสารละลายไฮโปคลอไรต์กับกรดเกลือ
แต่เขาไม่แน่ใจว่าจะออกแบบอุปกรณ์การทดลองอย่างไรดีเพื่อให้ทำงานได้ปลอดภัย
และนั่นก็เป็นต้นเรื่องที่นำสู่บทสนทนาเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา
ผมถามเขาก่อนว่าสารละลายโลหะ
Mn+
ในกรดเกลือของเขานั้นมีกรดเกลือเหลืออยู่มากพอไหม
ถ้ามีมากพอก็เสนอแนวคิดว่าน่าจะลองเติมสารละลายไฮโปคลอไรต์ลงไปในสารละลายโลหะโลหะ
Mn+
ในกรดเกลือนั้นเลย
แต่การเติมนั้นไม่ใช่การเทลงไปโดยตรงหรือหยดลงไปโดยตรง
เพราะถ้าให้สารละลายไฮโปคลอไรต์สัมผัสกับสารละลายโลหะ
Mn+
ในกรดเกลือจากทางด้านบน
มันก็มีโอกาสสูงที่แก๊สคลอรีนที่เกิดขึ้นนั้นจะหลุดรอดออกจากพื้นผิวสารละลายออกไป
แต่ควรที่จะทำการเติมสารละลายไฮโปคลอไรต์อย่างช้า
ๆ ลงไปที่ด้านล่างของสารละลายโลหะ
Mn+
ในกรดเกลือ (รูปที่
๑)
ภายใต้สภาวะที่มีการปั่นกวน
ทั้งนี้เพื่อให้แก๊สคลอรีนที่เกิดขึ้นทีละน้อย
ๆ นั้นสามารถทำปฏิกิริยากับไอออน
Mn+
ได้หมดก่อนที่จะมีโอกาสหลุดรอดพื้นผิวของเหลวออกมา
แต่เพื่อความปลอดภัยก็ได้แนะนำให้เขาติด
condenser
เอาไว้ข้างด้วย
ณ
จุดนี้อาจมีคนแย้งว่าน้ำประปาที่ใช้เป็นน้ำหล่อเย็นนั้นมันไม่สามารถควบแน่นแก๊สคลอรีนได้
ซึ่งมันก็ถูกต้องครับ
แต่วัตถุประสงค์ที่ให้ติดตั้ง
condenser
ก็เพราะว่าคลอรีนเป็นแก๊สที่หนักกว่าอากาศ
การทำให้ท่อปล่อยแก๊สทิ้ง
(vent)
อยู่สูงขึ้นไปนั้นจะช่วยลดโอกาสที่แก๊สคลอรีนที่เกิดขึ้นนั้นจะหลุดรอดออกจากภาชนะที่ใช้ทำปฏิกิริยา
(เช่นฟลาสค์
๓ คอ)
และเพิ่มโอกาสที่แก๊สคลอรีนที่ยังคงอยู่ในภาชนะนั้นจะละลายกลับเข้าไปในสารละลาย
หรือในระหว่างการทำปฏิกิริยามีไอน้ำระเหยขึ้น
ไอน้ำที่ควบแน่นกลับลงมาก็จะช่วยชะเอาแก๊สคลอรีนกลับลงไปด้วย
หรือถ้าใช้ condenser
แบบที่เป็นท่อตรง
ก็อาจทำการบรรจุสารดูดซับที่สามารถดักจับแก๊สคลอรีนได้เอาไว้ข้างใน
แต่ระบบในรูปที่
๑ นั้นมันมีสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึง
พอจะมองเห็นไหมครับ
สิ่งนั้นก็คือไอออนบวกที่มากับสารละลายไฮโปคลอไรต์นั้น
มันจะเข้าไปผสมอยู่กับสารละลายผลิตภัณฑ์
ซึ่งก็ต้องมาพิจารณาอีกทีว่ามันก่อปัญหาในการนำเอาผลิตภัณฑ์ที่ได้นั้นไปใช้งานหรือไม่
ไฮโปคลอไรต์ที่ใช้กันทั่วไปก็มีอยู่สองตัวด้วยกัน
ตัวแรกคือโซเดียมไฮโปคลอไรต์
(soium hypochlorite
NaOCl) ที่เรามักใช้เป็นน้ำยาซักผ้าขาว
และแคลเซียมไฮโปคลอไรต์
(calcium
hypochlorite Ca(OCl)2)
ที่ใช้เป็นสารฆ่าเชื้อโรคในน้ำตามสระว่ายน้ำ
รูปที่ ๒
ระบบสำหรับที่ไม่ต้องการให้ไอออนบวกของสารละลายไฮโปคลอไรต์เข้าไปปนเปื้อนในสารละลายผลิตภัณฑ์
วันนี้ระหว่างที่กำลังเขียน
Memoir ฉบับนี้อยู่
ก็มีโทรศัพท์จากทางนักวิจัยของทางบริษัทติดต่อมาก็เรื่องดังกล่าว
คือมีผู้มาเสนอขายแคลเซียมไฮโปคลอไรต์ให้เขา
เขาก็เลยโทรมาปรึกษาผมว่าถ้าใช้ตัวนี้แทนโซเดียมไฮโปคลอไรต์มันจะมีปัญหาอะไรไหม
ซึ่งผมก็ตอบเขากลับไปว่าทางเขาคงต้องกลับไปพิจารณาว่า
Ca2+
ที่ปนอยู่ในผลิตภัณฑ์นั้นจะก่อให้เกิดปัญหาอะไรหรือไม่
(ซึ่งผมคิดว่ามันน่าจะเกิดแน่
ๆ เมื่อพิจารณาจากความต้องการใช้งานสุดท้าย)
แต่ถ้าคิดว่าการผลิตแก๊สคลอรีนจากแคลเซียมไฮโปคลอไรต์นั้นถูกกว่าการใช้โซเดียมไฮโปคลอไรต์
ก็ต้องออกแบบชุดอุปกรณ์ทดลองใหม่
โดยต้องแยกส่วนผลิตแก๊สคลอรีนออกจากส่วนทำปฏิกิริยา
ดังตัวอย่างที่แสดงในรูปที่
๒
รูปที่
๒ เป็นเพียงแค่แผนผังนะครับ
คนอยู่แลปเคมีที่มีเครื่องแก้วพร้อมก็น่าจะพอมองออกว่าจะดัดแปลงเอาอุปกรณ์ตัวไหนมาใช้ได้
สิ่งที่ต้องทำก็คือการทำปฏิกิริยาระหว่างสารละลายไฮโปคลอไรต์กับสารละลายกรดเกลือในภาชนะหนึ่ง
แล้วให้แก๊สคลอรีนที่เกิดขึ้นนั้นไปทำปฏิกิริยากับสารละลายโลหะ
Mn+
ในกรดเกลือในอีกภาชนะหนึ่ง
การทำปฏิกิริยานั้นอาจเป็นในรูปแบบให้ฟองแก๊สคลอรีนลอยผ่านสารละลายโลหะ
Mn+
ในกรดเกลือ หรือในรูปของหอ
scrubber
ที่ให้แก๊สคลอรีนนั้นไหลส่วนทางกับสารละลายโลหะ
Mn+
ในกรดเกลือที่ไหลลงมา
โดยในรูปที่ ๒ นั้นก็แสดงไว้ทั้งสองแบบ
คือให้แก๊สคลอรีนทำปฏิกิริยากับสารละลายโลหะ
Mn+
ในกรดเกลือก่อน
และมีการสูบสารละลายโลหะ
Mn+
ในกรดเกลือไปป้อนเข้าตัว
scrubber
ที่ติดตั้งอยู่ทางช่องระบายแก๊สทิ้ง
เพื่อดักจับเอาแก๊สคลอรีนไม่ให้หลุดรอดออกไป
ผลสุดท้ายจะเป็นอย่างไรนั้นผมก็ไม่รู้เหมือนกัน
เพียงแต่ได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการไปตามที่มีผู้ร้องขอมา
ปิดท้ายที่ว่างของหน้าสุดท้ายด้วยข้อความที่ผมโพสเอาไว้บนหน้า
facebook
เมื่อกลางเดือนที่แล้วหน่อย
เกี่ยวกับเรื่องการเรียนของนิสิตโดยที่ไม่ต้องมาเรียนที่มหาวิทยาลัย
ที่ผมเห็นว่าเขาทำกันมานานแล้ว
ไม่ใช่เพิ่งจะมาฮิตกันในช่วงนี้
ป้ายกำกับ:
คลอรีน,
ไฮโปคลอไรต์,
chlorine,
hypochlorite
วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2563
ทำไม Latent heat ลดลงเมื่อความดันสูงขึ้น MO Memoir : Sunday 12 April 2563
"ความจริงมีอยู่ว่า
ในวงวิชาการ-ไม่ว่าจะเป็นสาขาใด-บ่อยครั้งที่ผู้ที่มิได้อยู่ในวงการนั้นมาก่อน,
มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลง
หรือพัฒนาเนื้อหาของวิชานั้น.
เหตุผลก็คือ
เขามิได้ถูกครอบมาด้วยธรรมเนียม,
ด้วยวิธีคิด,
ด้วยวิธีมอง
อย่างผู้ที่เติบโตและผ่านกระบวนการเช่นนั้นมาส่วนมาก
ทำให้เขามองเห็นในสิ่งที่เคยชินชาและละเลยกันมา
และสงสัยในประเด็นที่เคยถือกันมาว่าเป็นเรื่องปรกติ."
ข้อความข้างบนผมนำมาจาก
"คำนำเสนอ"
เขียนโดยคุณสุพจน์
แจ้งเร็ว ในหนังสือ
"สยามกู้อิสรภาพตนเอง
ทางออกและวิธีแก้ปัญหาชาติบ้านเมือง
เกิดจากพระราชกุศโลบายของพระเจ้าแผ่นดิน"
ที่เขียนโดยคุณไกรฤกษ์
นานา ผมใส่เครื่องหมายต่าง
ๆ (เช่น
จุดทศนิยม ลูกน้ำ)
ตามต้นฉบับนะครับ
คุณไกรฤกษ์
นานา นั้นไม่ได้ศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์มา
แต่เมื่อมาสนใจศึกษาประวัติศาสตร์แบบเรียนรู้ด้วยตนเอง
จึงทำให้มีมุมมองที่แตกต่างไปจากผู้ที่เรียนจบมาทางด้านประวัติศาสตร์โดยตรงที่มักมีกรอบความคิดที่ยึดติดมาจากการเรียน
และนั่นก็คือที่มาของส่วนหนึ่งของ
"คำนำเสนอ"
ในย่อหน้าแรก
เรื่องที่ดูเป็นเรื่องพื้นฐานธรรมดา
ไม่น่าจะมีอะไร
สำหรับผู้ที่เรียนมาทางด้านหนึ่งนั้น
พอเจอกับคนที่ไม่ได้เรียนมาทางด้านเดียวกันตั้งคำถามขึ้นมา
บางทีมันก็ทำเอาอึ้งไปเหมือนกัน
ประสบการณ์ตรงที่ตัวเองเคยประสบก็คือตอนที่จบไปทำงานใหม่
ๆ ดูแลการก่อสร้างโรงงาน
มีรุ่นพี่วิศวไฟฟ้าผู้หนึ่งถามว่า
STP (Standard
Temperature and Pressure) นี่มันนิยามตรงไหน
ปรากฏว่าเหล่านักเคมีและวิศวกรเคมีในทีมเดียวกัน
ต่างตอบไม่ตรงกัน
ทั้งนี้เพราะต่างคนต่างช่วงอายุ
เรียนมาด้วยตำราที่แตกต่างกัน
สิ่งที่เป็นคำถามตามมาก็คือ
แล้วตอนที่ทางฝ่ายไทยคุยกับวิศวกรของบริษัทต่างชาติที่ทำหน้าที่ออกแบบโรงงานที่กำลังก่อสร้างอยู่นั้น
นิยาม STP
ของเรากับของเขานั้นตรงกันหรือไม่
พอเปลี่ยนมาเป็นสายงานสอนหนังสือ
บ่อยครั้งที่ได้เจอคำถามที่จะว่าไปมันก็เป็นสิ่งที่เห็นอยู่ตรงหน้า
แต่ด้วยความเคยชินเราจึงไม่เคยตั้งคำถามมัน
ว่าทำไมมันเป็นอย่างนั้น
พอมีนิสิตถามขึ้นมามันก็เลยชวนให้คิดหาเหตุผลอธิบาย
ดังเช่นเรื่องที่เอามาเป็นหัวข้อในวันนี้
เป็นคำถามที่นิสิตที่กำลังฝึกงานผู้หนึ่งถามมาเมื่อ
๗ ปีที่แล้วผ่านมาทาง Facebook
คือเขาถามว่า "ทำไม
saturated steam
ที่ความดันสูงขึ้น
ถึงมี latent
heat ต่ำลง"
(รูปที่ ๑)
รูปที่ ๑
คำถามที่มีนิสิตผู้หนึ่งถามมาเมื่อ
๗ ปีที่แล้ว
ดูเหมือนเรื่องนี้ตำรามันไม่ได้เขียนเอาไว้ด้วย
เพื่อที่จะตอบคำถามนี้ก็เลยต้องขอนำเอาความรู้พื้นฐานที่อยู่มาใช้
ดังนั้นสิ่งผมคิดเอาไว้นั้นจะถูกหรือผิดก็ต้องมาช่วยกันพิจารณาครับ
แต่ก่อนอื่นเรามาลองทำความรู้จักกันก่อนว่า
latent heat
นั้นคืออะไร และการที่
latent heat
ลดลงเมื่อความดันสูงขึ้นนั้น
มันเป็นเฉพาะกรณีของไอน้ำหรือเปล่า
ในกรณีนี้เมื่อพูดถึง
latent heat
เราก็ต้องมองภาพไปที่ระบบที่อยู่ที่อุณหภูมิจุดเดือดก่อน
latent heat
นี้ก็คือพลังงานที่ต้องดูดกลืนหรือคายออกเพื่อให้โมเลกุลย้ายจากเฟสหนึ่งไปยังอีกเฟสหนึ่ง
มันเป็นพลังงานที่เฟสของเหลว
(ที่อุณหภูมิจุดเดือด)
ต้องดูดกลืนเพื่อเปลี่ยนสถานะให้กลายเป็นไออิ่มตัว
(ที่อุณหภูมิจุดเดือด)
และเป็นพลังงานที่เฟสไอ
(ที่อุณหภูมิจุดเดือด)
ต้องคายออกเพื่อเปลี่ยนสถานะเป็นเฟสของเหลว
(ที่อุณหภูมิจุดเดือด)
และอุณหภูมิจุดเดือดก็จะเพิ่มสูงขึ้นตามความดันเหนือผิวของเหลวที่เพิ่มสูงขึ้น
ผมลองค้นดู
Pressure-Enthalpy
Diagram (หรือที่เขียนย่อว่า
PH diagram)
ของหลายสาร ก็พบว่าค่าlatent
heat นั้น "ลดต่ำลง"
เมื่ออุณหภูมิระบบสูงขึ้น
รูปที่ ๒ -
๔ ที่ยกมาเป็นตัวอย่างก็เป็นกรณีของ
น้ำ (รูปที่
๒)
คาร์บอนไดออกไซด์ (R-744
ในรูปที่ ๓ เลขรหัส
R-744
เกิดจากการที่มันถูกนำไปใช้เป็นสารทำความเย็นในช่วงอุณหภูมิต่ำด้วย)
และสารทำความเย็น
tetrafluoroethane
(HFC-134a ในรูปที่ ๔)
และความแตกต่างนี้จะหมดไปที่จุดวิกฤต
(critical point)
ที่เราไม่สามารถบอกความแตกต่างระหว่างของเหลวและแก๊สได้
เส้นการเปลี่ยนแปลง latent
heat (คือการเปลี่ยนแปลงเอนทาลปี)
ระหว่างเฟสของเหลวกับแก๊สก็คือเส้นสีส้มกับเส้นสีเขียว
(ที่เป็นเส้นที่ความดันสูงกว่าเส้นสีส้ม)
ในแนวนอนที่ผมขีดไว้ให้เห็นในรูปต่าง
ๆ เพื่อช่วยให้มองเห็นภาพได้ชัดขึ้น
จะเห็นว่าเส้นสีเขียวที่อยู่ที่ความดันสูงกว่านั้นจะสั้นกว่าเส้นสีส้ม
แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงเอนทาลปีที่ลดลงเมื่อความดันเพิ่มสูงขึ้น
เพื่อที่จะหาคำอธิบายว่าทำไมค่า
latent heat
จึงลดลงเมื่อความดันสูงขึ้น
เนื่องจาก latent
heat เป็นตัวบอกพลังงานที่แตกต่างกันระหว่างเฟสของเหลวและไอ
ผมจึงมองไปตรงที่เฟสทั้งสองนั้นมี
"ความแตกต่าง"
กันมากแค่ไหน
แรงกระทำระหว่างโมเลกุลนั้นประกอบด้วยแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล
และการชนกันระหว่างโมเลกุลที่เกิดจากพลังงานจลน์ของโมเลกุล
แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลนั้นเด่นชัดเมื่อโมเลกุลอยู่ใกล้กัน
ถ้าแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลสูงกว่าแรงที่เกิดจากการชนกันระหว่างโมเลกุล
โมเลกุลก็จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนได้
(ซึ่งอาจเป็นของแข็งหรือของเหลว)
แต่ถ้าแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลนั้นไม่สูงพอ
แรงที่เกิดจากการชนกันระหว่างโมเลกุลทำให้โมเลกุลกระเด็นกระดอนออกไปได้ไกล
สารนั้นก็จะกลายเป็นไอไป
ที่ความดันต่ำ
อุณหภูมิจุดเดือดก็ต่ำ
ในเฟสของเหลวโมเลกุลก็จะมีการเคลื่อนที่ช้า
(เพราะอุณหภูมิต่ำ
พลังงานจลน์เลยต่ำ)
แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมีค่าสูง
(เพราะโมเลกุลอยู่ใกล้กัน)
ในขณะที่เฟสแก๊สนั้นโมเลกุลอยู่ห่างกัน
มีการเคลื่อนตัวได้อย่างอิสระมาก
(เพราะความดันต่ำ).
ที่ความดันสูง
อุณหภูมิจุดเดือดก็สูง
ในเฟสของเหลวโมเลกุลจะมีการเคลื่อนที่กันอย่างรวดเร็ว
(พลังงานจลน์สูงขึ้น)
ระยะห่างระหว่างโมเลกุลเพิ่มมากขึ้น
แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมีค่าลดลง
(เพราะโมเลกุลอยู่ห่างกัน)
ในขณะที่เฟสแก๊สนั้นแม้ว่าโมเลกุลจะมีการเคลื่อนที่เร็วขึ้นเช่นกัน
แต่ระยะห่างระหว่างโมเลกุลนั้นลดลง
แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลเลยเพิ่มขึ้น
(ความเป็นอิสระของโมเลกุลในการเคลื่อนที่นั้นลดลง)
ความแตกต่างระหว่างเฟสของเหลว
(โมเลกุลอยู่ห่างกันมากขึ้น
แต่ก็ยังห่างกันน้อยกว่าเฟสแก๊ส)
กับเฟสแก๊ส
(ที่โมเลกุลอยู่ใกล้กันมากขึ้น
แต่ก็ยังห่างกันมากกว่าเฟสของเหลว)
นั้นลดลง
พลังงานที่ต้องดูดกลืนหรือคายออก
(ซึ่งก็คือ
latent heat
เพื่อต้องใส่เข้าไปเพื่อเอาชนะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล
หรือต้องดึงออกเพื่อลดพลังงานจลน์ของโมเลกุล)
เพื่อเปลี่ยนเฟสก็เลยลดต่ำลง
คำอธิบายข้างต้นพอจะใช้ได้ไหม
ก็ขอให้ผู้อ่านลองพิจารณาด้วยนะครับ
:) :) :)
รูปที่ ๒
PH diagram ของน้ำ
รูปที่ ๓
PH diagram ของ
CO2
(จาก
https://www.unilab.eu/articles/technical-articles/thermodynamic-engineering-articles/carbon-dioxide-refrigerant/)
ป้ายกำกับ:
จุดเดือด,
เทอร์โมไดนามิกส์,
ไอน้ำ,
latent heat
วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2563
การคำนวณเชิงตัวเลข (๓๔) การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๙) MO Memoir : Saturday 11 April 2563
ในการทำปฏิกิริยาที่มีการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์บนตัวรองรับ
(supported
heterogeneous catalyst) นั้น
สารตั้งต้นจะแพร่จากเฟส
bulk fluid
ที่ล้อมรอบอนุภาคตัวเร่งปฏิกิริยา
เข้าไปในรูพรุนของตัวรองรับเพื่อเข้าไปเกิดปฏิกิริยาบน
active species
ที่เคลือบอยู่บนพื้นผิวรูพรุนของตัวรองรับ
(catalyst support)
เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่จะแพร่สวนทางออกมา
ดังนั้นเมื่อสารตั้งต้นแพร่ลึกเข้าไปในรูพรุนเรื่อย
ๆ ความเข้มข้นของสารตั้งต้นก็จะลดต่ำลง
ส่วนจะลดต่ำลงมากแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนระหว่างอัตราเร็วในการแพร่ต่ออัตราเร็วในการเกิดปฏิกิริยา
ถ้าอัตราเร็วในการแพร่นั้นสูงเมื่อเทียบกับอัตราการเกิดปฏิกิริยา
ความเข้มข้นของสารตั้งต้นก็จะลดลงไม่มาก
แต่ถ้าอัตราเร็วในการเกิดปฏิกิริยานั้นสูงมากจนสารตั้งต้นแพร่เข้าไปไม่ทัน
ความเข้มข้นของสารตั้งต้นก็อาจจะลดลงเป็นศูนย์อย่างรวดเร็ว
และเราก็ได้นำความรู้ตรงนี้มาใช้ในการออกแบบตัวเร่งปฏิกิริยาว่า
ในการเคลือบ active
species เข้าไปในรูพรุนของตัวรองรับนั้น
จำเป็นหรือไม่ที่ต้องให้
active species
มีอยู่ตลอดทั้งความลึกของรูพรุน
เพราะถ้าปฏิกิริยาเกิดเร็วมากจนสารตั้งต้นหมดไปก่อนที่จะสามารถแพร่เข้าไปได้ลึก
active species
ที่อยู่ลึกเข้าไปในรูพรุนก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์
การมี active
species ที่อยู่ลึกเข้าไปในรูพรุนก็จะเป็นการสูญเปล่า
(เพราะใส่มันเข้าไป
แต่ใช้ประโยชน์ไม่ได้)
ในการศึกษาด้านตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์เรื่องเหล่านี้อยู่ในหัวข้อเรื่อง
effectiveness factor
วันนี้เราจะมาลองคำนวณหาโปรไฟล์การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นสารตั้งต้นในรูพรุนของตัวเร่งปฏิกิริยา
โดยเริ่มจากแบบจำลองอย่างง่ายก่อน
โดยสมมุติว่าเรามีตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีรูปร่างเป็นแผ่นแบน
(slab) ที่มีความหนา
2
หน่วยและมีความกว้างยาวเป็นอนันต์
(อันนี้เป็นข้อสมมุติเพื่อให้โจทย์ปัญหาเป็นเพียงแค่
1
มิติคือเฉพาะในทิศทางความหนาเท่านั้น)
กำหนดให้ตำแหน่งกึ่งกลางคือตำแหน่ง
x = 0
และขอบด้านซ้ายและด้านขวาคือ
x = -1 และ
x = 1 ตามลำดับ
สิ่งที่เราคาดการณ์ได้ก็คือโปรไฟล์ความเข้มข้นควรมีความสมมาตร
ณ ตำแหน่งแกนกลาง (x
= 0) ดังแสดงในรูปที่ ๑
โดยความเข้มข้นที่ขอบนอกจะสูงสุด
และจะลดลงต่ำสุดที่แนวเส้นกึ่งกลาง
ป้ายกำกับ:
ฟังก์ชันพหุนาม,
function,
ode,
orthogonal,
polynomial
วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2563
การคำนวณเชิงตัวเลข (๓๓) การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๘) MO Memoir : Monday 6 April 2563
จากที่ได้เกริ่นไว้เมื่อวันเสารที่ผ่านมา
วันนี้จะเป็นการคำนวณหา
orthogonal
function ในช่วง
[0, 1]
สำหรับฟังก์ชันพนุนามที่เป็นฟังก์ชันคู่ในกรณีของพิกัดทรงกลม
(Spherical
coordinate) โดยเริ่มจากสมการที่
(1)
ข้างล่าง
ป้ายกำกับ:
ฟังก์ชันพหุนาม,
function,
orthogonal,
polynomial
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ตัวเร่งปฏิกิริยาและการทดสอบ
- การกำจัดสีเมทิลีนบลู
- การคำนวณพื้นที่ผิวแบบ Single point BET
- การคำนวณพื้นที่ผิวแบบ Single point BET ตอนที่ ๒ ผลกระทบจากความเข้มข้นไนโตรเจนที่ใช้
- การจำแนกตำแหน่งที่เป็นกรด Brönsted และ Lewis บนพื้นผิวของแข็งด้วยเทคนิค Infrared spectroscopy และ Adsorbed probe molecules
- การจำแนกตำแหน่งที่เป็นเบส Brönsted และ Lewis บนพื้นผิวของแข็งด้วยเทคนิค Infrared spectroscopy และ Adsorbed probe molecules
- การใช้ข้อต่อสามทางผสมแก๊ส
- การใช้ Avicel PH-101 เป็น catalyst support
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๑ ขั้นตอนของการเกิดปฏิกิริยาบนตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๒ การดูดซับบนพื้นผิวของแข็ง
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๓ แบบจำลองไอโซเทอมการดูดซับของ Freundlich
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๔ แบบจำลองไอโซเทอมการดูดซับของ Langmuir
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๕ แบบจำลองไอโซเทอมการดูดซับของ Temkin
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๖ แบบจำลองไอโซเทอมการดูดซับของ BET
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๗ ตัวอย่างไอโซเทอมการดูดซับของ BET
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๘ ตัวอย่างไอโซเทอมการดูดซับของ BET (๒)
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๙ ตัวอย่างไอโซเทอมการดูดซับของ BET (๓)
- การเตรียมตัวอย่างตัวเร่งปฏิกิริยาแบบผงให้เป็นแผ่นบาง
- การทดสอบตัวเร่งปฏิกิริยา - ผลแตกต่างหรือไม่แตกต่าง
- การทำปฏิกิริยา ๓ เฟสใน stirred reactor
- การบรรจุ inert material ใน fixed-bed
- การปรับ WHSV
- การปั่นกวนของแข็งให้แขวนลอยในของเหลว ตอนที่ ๑ ผลของความหนาแน่นที่แตกต่าง
- การปั่นกวนของแข็งให้แขวนลอยในของเหลว ตอนที่ ๒ ขนาดของ magnetic bar กับเส้นผ่านศูนย์กลางภาชนะ
- การปั่นกวนของแข็งให้แขวนลอยในของเหลว ตอนที่ ๓ ผลของรูปร่างภาชนะ
- การผสมแก๊สอัตราการไหลต่ำเข้ากับแก๊สอัตราการไหลสูง
- การระบุชนิดโลหะออกไซด์
- การลาก smooth line เชื่อมจุด
- การเลือกค่า WHSV (Weight Hourly Space Velocity) สำหรับการทดลอง
- การวัดความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง (อีกครั้ง)
- การวัดปริมาณตำแหน่งที่เป็นกรด-เบสบนพื้นผิวของแข็งด้วย GC
- การวัดปริมาณตำแหน่งที่เป็นกรด-เบสบนพื้นผิวของแข็งด้วย GC (๒)
- การวัดพื้นที่ผิว BET
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๑)
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๒)
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๓)
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๔)
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๕)
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๖)
- การไหลผ่าน Straightening vane และโมโนลิท (Monolith)
- เก็บตกจากการประชุมวิชาการ ๒๕๕๗ ตอนที่ ๑
- เก็บตกจากการประชุมวิชาการ ๒๕๕๗ ตอนที่ ๒
- ข้อควรระวังเมื่อใช้ออกซิเจนความเข้มข้นสูง
- ข้อพึงระวังในการแปลผลการทดลอง
- ค่า signal to noise ratio ที่ต่ำที่สุด
- จลนศาสตร์การเกิดปฏิกิริยาบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๑ Volcano principle
- จลนศาสตร์การเกิดปฏิกิริยาบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๒ แบบจำลอง Langmuir
- จลนศาสตร์การเกิดปฏิกิริยาบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๓ แบบจำลอง Langmuir-Hinshelwood
- จลนศาสตร์การเกิดปฏิกิริยาบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๔ แบบจำลอง Eley-Rideal
- จลนศาสตร์การเกิดปฏิกิริยาบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๕ แบบจำลอง REDOX
- ตอบคำถามเรื่องการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยา
- ตัวเลขมันสวย แต่เชื่อไม่ได้
- ตัวเลขไม่ได้ผิดหรอก คุณเข้าใจนิยามไม่สมบูรณ์ต่างหาก
- ตัวไหนดีกว่ากัน (Catalyst)
- แต่ละจุดควรต่างกันเท่าใด
- ท่อแก๊สระบบ acetylene hydrogenation
- น้ำหนักหายได้อย่างไร
- ปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจนและการแทนที่ไฮโดรเจนของอะเซทิลีน
- ปฏิกิริยาอันดับ 1 หรือปฏิกิริยาอันดับ 2
- ปฏิกิริยาเอกพันธ์และปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ในเบดนิ่ง
- ปั๊มสูบไนโตรเจนเหลวจากถังเก็บ
- ผลของแก๊สเฉื่อยต่อการเกิดปฏิกิริยา
- เผาในเตาแบบไหนดี (Calcination)
- พลังงานกระตุ้นกับปฏิกิริยาคายความร้อนในเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่ง
- เมื่อแก๊สรั่วที่ rotameter
- เมื่อพีคออกซิเจนของระบบ DeNOx หายไป
- เมื่อเส้น Desorption isotherm ต่ำกว่าเส้น Adsorption isotherm
- เมื่อ base line เครื่อง chemisorb ไม่นิ่ง
- เมื่อ Mass Flow Controller คุมการไหลไม่ได้
- เรื่องของสุญญากาศกับ XPS
- สแกนกี่รอบดี
- สมดุลความร้อนรอบ Laboratory scale fixed-bed reactor
- สรุปการประชุมวันพฤหัสบดีที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๓
- เส้น Cu Kα มี ๒ เส้น
- เห็นอะไรไม่สมเหตุสมผลไหมครับ
- อย่าลืมดูแกน Y
- อย่าให้ค่า R-squared (Coefficient of Determination) หลอกคุณได้
- อุณหภูมิกับการไหลของแก๊สผ่าน fixed-bed
- อุณหภูมิและการดูดซับ
- BET Adsorption-Desorption Isotherm Type I และ Type IV
- ChemiSorb 2750 : การเตรียมตัวอย่างเพื่อการวัดพื้นที่ผิว BET
- ChemiSorb 2750 : การวัดพื้นที่ผิวแบบ Single point BET
- ChemiSorb 2750 : ผลของอัตราการไหลต่อความแรงสัญญาณ
- Distribution functions
- Electron Spin Resonance (ESR)
- GHSV หรือ WHSV
- Ion-induced reduction ขณะทำการวิเคราะห์ด้วย XPS
- MO ตอบคำถาม การทดลอง gas phase reaction ใน fixed-bed
- MO ตอบคำถาม การวัดความเป็นกรด-เบสบนพื้นผิวของแข็ง
- Monolayer หรือความหนาเพียงชั้นอะตอมเดียว
- NH3-TPD - การลาก base line
- NH3-TPD - การลาก base line (๒)
- NH3-TPD - การไล่น้ำและการวาดกราฟข้อมูล
- NH3-TPD ตอน ตัวอย่างผลการวิเคราะห์ ๑
- NH3-TPD ตอน ตัวอย่างผลการวิเคราะห์ ๒
- Physisorption isotherms Type I และ Type IV
- Scherrer's equation
- Scherrer's equation (ตอนที่ 2)
- Scherrer's equation (ตอนที่ ๓)
- Scherrer's equation (ตอนที่ ๔)
- Supported metal catalyst และ Supported metal oxide catalyst
- Temperature programmed reduction ด้วยไฮโดรเจน (H2-TPR)
- Temperature programmed reduction ด้วยไฮโดรเจน (H2-TPR) ภาค ๒
- UV-Vis - peak fitting
- XPS ตอน การแยกพีค Mo และ W
- XPS ตอน จำนวนรอบการสแกน
- XRD - peak fitting
คณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรมเคมี
- การแก้ปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์สามัญปัญหาเงื่อนไขค่าเริ่มต้นด้วยระเบียบวิธี Bogacki-Shampine และ Predictor-Evaluator-Corrector-Evaluator (PECE)
- การแก้ปัญหาสมการอนุพันธ์สามัญ ด้วย ODE solvers ของ GNU Octave ตอนที่ ๑
- การแก้ปัญหาสมการอนุพันธ์สามัญ ด้วย ODE solvers ของ GNU Octave ตอนที่ ๒
- การแก้ปัญหาสมการอนุพันธ์สามัญ ด้วย ODE solvers ของ GNU Octave ตอนที่ ๓
- การแก้สมการเชิงอนุพันธ์สามัญด้วยการใช้ Integrating factor
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๑)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๑๐)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๑๑)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๑๒)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๑๓)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๒)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๓)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๔)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๕)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๖)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๗)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๘)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๙)
- การคำนวณค่าฟังก์ชันพหุนาม
- การปรับเรียบ (Smoothing) ข้อมูล (ตอนที่ ๑)
- การปรับเรียบ (Smoothing) ข้อมูล (ตอนที่ ๒)
- การปรับเรียบ (Smoothing) ข้อมูล (ตอนที่ ๓)
- การหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร x และ y
- ข้อพึงระวังในการใช้ฟังก์ชันพหุนามในการประมาณค่าในช่วง
- ข้อพึงระวังในการใช้ฟังก์ชันพหุนามในการประมาณค่าในช่วง (๒)
- ข้อพึงระวังในการใช้ฟังก์ชันพหุนามในการประมาณค่าในช่วง (๒) (pdf)
- ข้อพึงระวังในการใช้ฟังก์ชันพหุนามในการประมาณค่าในช่วง (๓)
- ข้อสอบเก่าชุดที่ ๑
- ข้อสอบเก่าชุดที่ ๒
- ค่าคลาดเคลื่อน (error)
- จำนวนที่น้อยที่สุดที่เมื่อบวกกับ 1 แล้วได้ผลลัพธ์ไม่ใช่ 1
- ใช่ว่าคอมพิวเตอร์จะคิดเลขถูกเสมอไป
- ตัวเลขที่เท่ากันแต่ไม่เท่ากัน
- ตัวอย่างการแก้ปัญหา สมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วยระเบียบวิธีนิวตัน-ราฟสัน
- ตัวอย่างการแก้ปัญหา สมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วยระเบียบวิธี Müller และ Inverse quadratic interpolation
- ตัวอย่างการแก้ปัญหา สมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วยระเบียบวิธี successive iteration
- ตัวอย่างการแก้ปัญหา สมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วยระเบียบวิธี successive iteration (pdf)
- ตัวอย่างการแก้ปัญหา สมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วย Function fzero ของ GNU Octave
- ตัวอย่างการคำนวณหาพื้นที่ใต้กราฟ ด้วยระเบียบวิธี Gaussian quadrature
- ตัวอย่างการคำนวณหาพื้นที่ใต้กราฟ ด้วยระเบียบวิธี Gaussian quadrature (pdf)
- ตัวอย่างผลของรูปแบบสมการต่อคำตอบของ ODE-IVP
- ตัวอย่างเพิ่มเติมบทที่ ๑
- ตัวอย่างเพิ่มเติมบทที่ ๒
- ตัวอย่างเพิ่มเติมบทที่ ๓
- ตัวอย่างเพิ่มเติมบทที่ ๔
- ทบทวนเรื่องการคูณเมทริกซ์
- ทบทวนเรื่อง Taylor's series
- ทศนิยมลงท้ายด้วยเลข 5 จะปัดขึ้นหรือปัดลง
- บทที่ ๑ การคำนวณตัวเลขในระบบทศนิยม
- บทที่ ๒ การแก้ปัญหาระบบสมการพีชคณิตเชิงเส้น
- บทที่ ๓ การแก้ปัญหาระบบสมการพีชคณิตไม่เชิงเส้น
- บทที่ ๔ การประมาณค่าในช่วง
- บทที่ ๕ การหาค่าอนุพันธ์
- บทที่ ๖ การหาค่าอินทิกรัล
- บทที่ ๗ การแก้ปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ ระบบสมการปัญหาเงื่อนไขค่าเริ่มต้น
- บทที่ ๘ การแก้ปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ ระบบสมการปัญหาเงื่อนไขค่าขอบเขต
- บทที่ ๙ การแก้ปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์ย่อย
- ปฏิกิริยาคายความร้อนใน CSTR (ตอนที่ ๑)
- ปฏิกิริยาคายความร้อนใน CSTR (ตอนที่ ๒)
- เปรียบเทียบการแก้ปัญหาสมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วย solver ของ GNU Octave
- เปรียบเทียบการแก้ Stiff equation ด้วยระเบียบวิธี Runge-Kutta และ Adam-Bashforth
- เปรียบเทียบระเบียบวิธี Runge-Kutta
- เปรียบเทียบ Gauss elimination ที่มีและไม่มีการทำ Pivoting
- เปรียบเทียบ Gauss elimination ที่มีและไม่มีการทำ Pivoting (Spreadsheet)
- ฟังก์ชันแกมมา (Gamma function) และ ฟังก์ชันเบสเซล (Bessel function)
- เมื่อ 1 ไม่เท่ากับ 0.1 x 10
- ระเบียบวิธี Implicit Euler และ Crank-Nicholson กับ Stiff equation
- เลขฐาน ๑๐ เลขฐาน ๒ จำนวนเต็ม จำนวนจริง
- Distribution functions
- LU decomposition ร่วมกับ Iterative improvement
- LU decomposition ร่วมกับ Iterative improvement (pdf)
- LU decomposition ร่วมกับ Iterative improvement (Spreadsheet)
- Machine precision กับ Machine accuracy
เคมีสำหรับวิศวกรเคมี
- กรด-เบส : อ่อน-แก่
- กรด-เบส : อะไรควรอยู่ในบิวเรต
- กราฟการไทเทรตกรดกำมะถัน (H2SO4)
- กราฟการไทเทรตกรดกำมะถัน (H2SO4) ตอนที่ ๒
- กราฟการไทเทรตกรดที่ให้โปรตอนได้ ๒ ตัว
- กราฟการไทเทรตกรดที่ให้โปรตอนได้ ๓ ตัว
- กราฟการไทเทรตกรดไฮโปคลอรัส (HOCl)
- กราฟอุณหภูมิการกลั่นของน้ำมันเบนซิน (Gasoline distillation curve)
- กลิ่นกับอันตรายของสารเคมี
- การกำจัดสีเมทิลีนบลู
- การเกิดปฏิกิริยาเคมี
- การเจือจางไฮโดรคาร์บอนในน้ำ
- การใช้ pH probe
- การใช้ Tetraethyl lead นอกเหนือไปจากการเพิ่มเลขออกเทน
- การดูดกลืนคลื่นแสงของแก้ว Pyrex และ Duran
- การดูดกลืนแสงสีแดง
- การเตรียมสารละลายด้วยขวดวัดปริมาตร
- การเตรียมหมู่เอมีนและปฏิกิริยาของหมู่เอมีน (การสังเคราะห์ฟีนิลบิวตาโซน)
- การทำน้ำให้บริสุทธิ์สำหรับห้องปฏิบัติการ
- การทำปฏิกิริยาของโพรพิลีนออกไซด์ (1,2-Propylene oxide) ตอนที่ ๑
- การทำปฏิกิริยาของโพรพิลีนออกไซด์ (1,2-Propylene oxide) ตอนที่ ๒
- การทำปฏิกิริยาของหมู่ Epoxide ในโครงสร้าง Graphene oxide
- การทำปฏิกิริยาต่อเนื่องของผลิตภัณฑ์
- การเทของเหลวใส่บิวเรต
- การน๊อคของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน และสารเพิ่มเลขออกเทนของน้ำมัน
- การเปลี่ยนพลาสติกเป็นน้ำมัน
- การเปลี่ยนเอทานอล (Ethanol) ไปเป็นอะเซทัลดีไฮด์ (Acetaldehyde)
- การเรียกชื่อสารเคมี
- การลดการระเหยของของเหลว
- การละลายของแก๊สในเฮกเซน (Ethylene polymerisation)
- การละลายเข้าด้วยกันของโมเลกุลมีขั้ว-ไม่มีขั้ว
- การวัดความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง (อีกครั้ง)
- การวัดปริมาณ-ความแรงของตำแหน่งที่เป็นกรดบนพื้นผิว
- การวัดปริมาณตำแหน่งที่เป็นกรด-เบสบนพื้นผิวของแข็งด้วย GC
- การวัดปริมาตรของเหลว
- การหาความเข้มข้นสารละลายมาตรฐานกรด
- การหาจุดสมมูลของการไทเทรตจากกราฟการไทเทรต
- การอ่านผลการทดลองการไทเทรตกรด-เบส
- การอ่านผลการทดลองการไทเทรตกรด-เบส (ตอนที่ ๒)
- การอ่านผลการทดลองการไทเทรตกรด-เบส (ตอนที่ ๓)
- แก๊สมัสตาร์ดกับกลิ่นทุเรียน
- ข้อควรระวังเมื่อใช้ออกซิเจนความเข้มข้นสูง
- คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับงานเคมีวิเคราะห์
- ความกระด้าง (Hardness) ของน้ำกับปริมาณของแข็งทั้งหมด ที่ละลายอยู่ (Total Dissolved Solid - TDS)
- ความดันกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี
- ความเป็นกรดของหมู่ไฮดรอกซิล (Hydroxyl group) ตอนที่ ๑
- ความเป็นกรดของหมู่ไฮดรอกซิล (Hydroxyl group) ตอนที่ ๒
- ความเป็นกรดของอัลฟาไฮโดรเจนอะตอม (alpha-Hydrogen atom) ตอน กรดบาร์บิทูริก (Barbituric acid)
- ความเป็นกรดของอัลฟาไฮโดรเจนอะตอม (alpha-Hydrogen atoms)
- ความเป็นขั้วบวกของอะตอม C และการทำปฏิกิริยาของอีพิคลอโรไฮดริน (epichlorohydrin)
- ความเป็นไอออนิก (Percentage ionic character)
- ความสัมพันธ์ระหว่างสีกับชนิดและปริมาณธาตุ
- ความสำคัญของเคมีวิเคราะห์และเคมีอินทรีย์ในงานวิศวกรรมเคมี
- ความเห็นที่ไม่ลงรอยกับโดเรมี่
- ค้างที่ปลายปิเปตไม่เท่ากัน
- คำตอบของ Cubic equation of state
- จากกลีเซอรอล (glycerol) ไปเป็นอีพิคลอโรไฮดริน (epichlorohydrin)
- จากเบนซาลดีไฮด์ (Benzaldehyde) ไปเป็นกรดเบนซิลิก (Benzilic acid)
- จากโอเลฟินส์ถึงพอลิอีเทอร์ (From olefins to polyethers)
- จาก Acetone เป็น Pinacolone
- จาก Alkanes ไปเป็น Aramids
- จาก Aniline ไปเป็น Methyl orange
- จาก Benzene ไปเป็น Butter yellow
- จาก Hexane ไปเป็น Nylon
- จาก Toluene และ m-Xylene ไปเป็นยาชา
- ดำหรือขาว
- ตกค้างเพราะเปียกพื้นผิว
- ตอบคำถามแบบแทงกั๊ก
- ตอบคำถามให้ชัดเจนและครอบคลุม
- ตำราสอนการใช้ปิเปตเมื่อ ๓๓ ปีที่แล้ว
- ไตรเอทานอลเอมีน (Triethanolamine)
- ถ่านแก๊ส หินแก๊ส แก๊สก้อน
- ทอดไข่เจียวให้อร่อยต้องใช้น้ำมันหมู
- ทำไมน้ำกระด้างจึงมีฟอง
- ที่แขวนกล้วย
- เท่ากับเท่าไร
- โทลูอีน (Toluene)
- ไทโอนีลคลอไรด์ (Thionyl chloride)
- นานาสาระเคมีวิเคราะห์
- น้ำด่าง น้ำอัลคาไลน์ น้ำดื่ม
- น้ำดื่ม (คิดสักนิดก่อนกดแชร์ เรื่องที่ ๑๑)
- น้ำตาลทราย ซูคราโลส และยาคุมกำเนิดสำหรับผู้ชาย
- น้ำบริสุทธิ์ (Purified water)
- ไนโตรเจนเป็นแก๊สเฉื่อยหรือไม่
- บีกเกอร์ 250 ml
- แบบทดสอบก่อนเริ่มเรียนวิชาเคมีสำหรับนิสิตวิศวกรรมเคมี
- ปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจนและการแทนที่ไฮโดรเจนของอะเซทิลีน (Hydrogenation and replacement of acetylenic hydrogen)
- ปฏิกิริยาการผลิต Vinyl chloride
- ปฏิกิริยาการออกซิไดซ์
- ปฏิกิริยา alpha halogenation และการสังเคราะห์ tertiary amine
- ปฏิกิริยา ammoxidation หมู่เมทิลที่เกาะอยู่กับวงแหวนเบนซีน
- ปฏิกิริยา Benzene alkylation
- ปฏิกิริยา Dehydroxylation
- ปฏิกิริยา Electrophilic substitution ของ m-Xylene
- ปฏิกิริยา Nucleophilic substitution ของสารประกอบ Organic halides
- ประโยชน์ของ Nitric oxide ในทางการแพทย์
- ปัญหาการสร้าง calibration curve ของ ICP
- ปัญหาการหาความเข้มข้นสารละลายกรด
- ปัญหาของไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัว
- โป้ง ชี้ กลาง นาง ก้อย
- ผลของค่าพีเอชต่อสีของสารละลายเปอร์แมงกาเนต
- ผลของอุณหภูมิต่อการแทนที่ตำแหน่งที่ 2 บนวงแหวนเบนซีน
- ฝึกงานภาคฤดูร้อน ๒๕๕๓ ตอนที่ ๑ อธิบายศัพท์
- พีคเหมือนกันก็แปลว่ามีหมู่ฟังก์ชันเหมือนกัน
- ฟลูออรีนหายไปไหน
- ฟอสฟอรัสออกซีคลอไรด์ (Phosphorus Oxychloride)
- ฟีนอล แอซีโทน แอสไพริน พาราเซตามอล สิว โรคหัวใจ และงู
- มุมมองที่ถูกจำกัด
- เมทานอลกับเจลล้างมือ
- เมื่อคิดในรูปของ ...
- เมื่อตำรายังพลาดได้ (Free radical polymerisation)
- เมื่อน้ำเพิ่มปริมาตรเองได้
- เมื่อหมู่คาร์บอนิล (carbonyl) ทำปฏิกิริยากันเอง
- รังสีเอ็กซ์
- เรื่องของสไตรีน (คิดสักนิดก่อนกด Share เรื่องที่ ๑)
- แลปการไทเทรตกรด-เบส ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา ๒๕๖๐
- ศัพท์เทคนิค-เคมีวิเคราะห์
- สรุปคำถาม-ตอบการสอบวันศุกร์ที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๒
- สีหายไม่ได้หมายความว่าสารหาย
- เสถียรภาพของอนุมูลอิสระ (๑)
- เสถียรภาพของอนุมูลอิสระ (๒)
- เสถียรภาพของอนุมูลอิสระ (๓)
- หมู่ทำให้เกิดสี (chromophore) และหมู่เร่งสี (auxochrome)
- หลอกด้วยข้อสอบเก่า
- อะเซทิลีน กลีเซอรีน และไทออล
- อะโรมาติก : การผลิต การใช้ประโยชน์ และปัญหา
- อัลคิลเอมีน (Alkyl amines) และ อัลคิลอัลคานอลเอมีน (Alkyl alkanolamines)
- อีเทอร์กับการเกิดสารประกอบเปอร์ออกไซด์
- อุณหภูมิ อัตราการเกิดปฏิกิริยา สมดุลเคมี
- เอา 2,2-dimethylbutane (neohexane) ไปทำอะไรดี
- เอาเบนซีนกับเอทานอลไปทำอะไรดี
- เอา isopentane ไปทำอะไรดี
- เอา maleic anhydride ไปทำอะไรดี
- เอา pentane ไปทำอะไรดี
- ไอโซเมอร์ (Isomer)
- ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์กับพอลิโพรพิลีน
- Acentric factor
- Aldol condensation กับ Cannizzaro reaction
- Aldol condesation ระหว่าง Benzaldehyde กับ Acetone
- A-Level เคมี ปี ๖๖ ข้อพอลิเอทิลีน
- Beilstein test กับเตาแก๊สที่บ้าน
- Benzaldehyde กับปฏิกิริยา Nitroaldol
- BOD และ COD
- BOD หรือ DO
- Carbocation - การเกิดและเสถียรภาพ
- Carbocation - การทำปฏิกิริยา
- Carbocation ตอนที่ ๓ การจำแนกประเภท-เสถียรภาพ
- Chloropicrin (Trichloronitromethane)
- Compressibility factor กับ Joule-Thomson effect
- Conjugated double bonds กับ Aromaticity
- Cubic centimetre กับ Specific gravity
- Dehydration, Esterification และ Friedle-Crafts Acylation
- Electrophilic addition ของอัลคีน
- Electrophilic addition ของอัลคีน (๒)
- Electrophilic addition ของ conjugated diene
- Electrophilic substitution ตำแหน่งที่ 1 บนวงแหวนเบนซีน
- Electrophilic substitution ตำแหน่งที่ 2 บนวงแหวนเบนซีน ตอน ผลของอุณหภูมิการทำปฏิกิริยา
- Electrophilic substitution ตำแหน่งที่ 3 บนวงแหวนเบนซีน
- Electrophilic substitution ตำแหน่งที่ 3 บนวงแหวนเบนซีน ตอน การสังเคราะห์ 2,4-Dinitrophenol
- Esterification of hydroxyl group
- Gibbs Free Energy กับการเกิดปฏิกิริยาและการดูดซับ
- Halogenation ของ alkane
- Halogenation ของ alkane (๒)
- HCl ก่อน ตามด้วย H2SO4 แล้วจึงเป็น HNO3
- I2 ในสารละลาย KI กับไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว
- Infrared spectrum interpretation
- Interferometer
- IR spectra ของโทลูอีน (Toluene) เอทิลเบนซีน (Ethylbenzene) โพรพิลเบนซีน (Propylbenzene) และคิวมีน (Cumene)
- IR spectra ของเบนซีน (Benzene) และไซลีน (Xylenes)
- IR spectra ของเพนทีน (Pentenes)
- Kjeldahl nitrogen determination method
- Malayan emergency, สงครามเวียดนาม, Seveso และหัวหิน
- MO ตอบคำถาม การวัดความเป็นกรด-เบสบนพื้นผิวของแข็ง
- Nucleophile กับ Electrophile
- PAT2 เคมี ปี ๖๕ ข้อการไทเทรตกรดเบส
- Peng-Robinson Equation of State
- Phenol, Ether และ Dioxin
- Phospharic acid กับ Anhydrous phosphoric acid และ Potassium dioxide
- pH Probe
- Picric acid (2,4,6-Trinitrophenol) และ Chloropicrin
- PV diagram กับการอัดแก๊ส
- Pyrophoric substance
- Reactions of hydroxyl group
- Reactions of hydroxyl group (ตอนที่ ๒)
- Redlich-Kwong Equation of State
- Redlich-Kwong Equation of State (ตอนที่ ๒)
- Soave-Redlich-Kwong Equation of State
- Standard x-ray powder diffraction pattern ของ TiO2
- Sulphur monochloride และ Sulphur dichloride
- Thermal cracking - Thermal decomposition
- Thiols, Thioethers และ Dimethyl thioether
- Van der Waals' Equation of State
- Vulcanisation
ประสบการณ์ Gas chromatograph/Chromatogram
- 6 Port sampling valve
- กระดาษความร้อน (thermal paper) มี ๒ หน้า
- การแก้ปัญหา packing ในคอลัมน์ GC อัดตัวแน่น
- การฉีดแก๊สเข้า GC ด้วยวาล์วเก็บตัวอย่าง
- การฉีดตัวอย่างที่เป็นของเหลวด้วย syringe
- การฉีด GC
- การใช้ syringe ฉีดตัวอย่างที่เป็นแก๊ส
- การดึงเศษท่อทองแดงที่หักคา tube fitting ออก
- การตั้งอุณหภูมิคอลัมน์ GC
- การติดตั้ง Integrator ให้กับ GC-8A เพื่อวัด CO2
- การเตรียมคอลัมน์ GC ก่อนการใช้งาน
- การปรับความสูงพีค GC
- การวัดปริมาณไฮโดรเจนด้วย GC-TCD
- ข้อสังเกตเกี่ยวกับ FPD (ตอนที่ ๒)
- ข้อสังเกตเกี่ยวกับ FPD (Flame Photometric Detector)
- โครมาโทกราฟแยกสารได้อย่างไร
- ชนิดคอลัมน์ GC
- ตรวจโครมาโทแกรม ก่อนอ่านต้วเลข
- ตัวอย่างการแยกพีค GC ที่ไม่เหมาะสม
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๑
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๒
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๓
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๔
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๕
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๖
- ทำไมพีคจึงลากหาง
- ผลกระทบของน้ำที่มีต่อการวัดคาร์บอนไดออกไซด์ ตอนที่ ๑
- ผลกระทบของน้ำที่มีต่อการวัดคาร์บอนไดออกไซด์ ตอนที่ ๒
- ผลกระทบของน้ำที่มีต่อการวัดคาร์บอนไดออกไซด์ ตอนที่ ๓
- พีคที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างน้ำกับ packing ในคอลัมน์ GC
- พีคประหลาดจากการใช้อากาศน้อยไปหน่อย
- มันไม่เท่ากันนะ
- เมื่อความแรงของพีค GC ลดลง
- เมื่อจุดไฟ FID ไม่ได้
- เมื่อพีค GC หายไป
- เมื่อพีค GC ออกมาผิดเวลา
- เมื่อพีค GC ออกมาผิดเวลา(อีกแล้ว)
- เมื่อเพิ่มความดันอากาศให้กับ FID ไม่ได้
- เมื่อ GC ถ่านหมด
- เมื่อ GC มีพีคประหลาด
- ลากให้ผ่านหรือไม่ให้ผ่าน
- สัญญาณจาก carrier gas รั่วผ่าน septum
- สารพัดปัญหา GC
- สิ่งปนเปื้อนในน้ำ DI
- สิ่งปนเปื้อนในน้ำ DI (ตอนที่ ๒)
- Chromatograph principles and practices
- Flame Ionisation Detector
- GC-2014 ECD & PDD ตอนที่ ๗ ข้อสังเกตเกี่ยวกับ ECD (Electron Capture Detector)
- GC detector
- GC - peak fitting ตอนที่ ๑ การหาพื้นที่พีคที่เหลื่อมทับ
- GC principle
- LC detector
- LC principle
- MO ตอบคำถาม การแยกพีค GC ด้วยโปรแกรม fityk
- MO ตอบคำถาม สารพัดปัญหาโครมาโทแกรม
- Relative Response Factors (RRF) ของสารอินทรีย์ กับ Flame Ionisation Detector (FID)
- Thermal Conductivity Detector
- Thermal Conductivity Detector ภาค 2
สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items - DUI)
- การก่อการร้ายด้วยแก๊สซาริน (Sarin) ในรถไฟใต้ดินกรุงโตเกียว MO Memoir : Friday 6 September 2567
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๐ ฟังก์ชันเข้ารหัสรีโมทเครื่องปรับอากาศ
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๑ License key
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๒ สารเคมี (Chemicals)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๓ ไม่ตรงตามตัวอักษร (สารเคมี)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๔ ไม่ตรงตามตัวอักษร (Heat exchanger)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๕ Sony PlayStation
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๖ เส้นใยคาร์บอน (Carbon fibre)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๗ The Red Team : Centrifugal separator
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๘ The Blue Team : Spray drying equipment
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๙ เครื่องสลายนิ่วในไตด้วยคลื่นกระแทก (Lithotripter)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑ ตัวเก็บประจุ (Capacitor)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๒๐ เรซินแลกเปลี่ยนไอออน (Ion-exchange resin)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๒๑ ไม่ตรงตามตัวอักษร (Aluminium tube)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๒๒ เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า (Defibrillator)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๒๓ เครื่องยนต์ดีเซล
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๒ เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๓ เครื่องแปลงความถี่ไฟฟ้า (Frequency Changer)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๔ อุปกรณ์เข้ารหัส (Encoding Device)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๕ Insulated Gate Bipolar Transistor (IGBT)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๖ Toshiba-Kongsberg Incident
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๗ รายงานผลการทดสอบอุปกรณ์
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๘ Drawing อุปกรณ์
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๙ ซอร์ฟแวร์ควบคุมการทำงานอุปกรณ์
- เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนสำหรับเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์
- แคลเซียม, แมกนีเซียม และบิสมัท กับการผลิตอาวุธทำลายล้างสูง
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๑
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๑๐
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๒
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๓
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๔
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๕
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๖
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๗
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๘
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๙
API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๐)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๑)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๒)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๓)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๔)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๕)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๒)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๓)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๔)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๕)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๖)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๗)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๘)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๙)
โน๊ตเพลง
- "กำลังใจ" และ "ถึงเพื่อน"
- "ใกล้รุ่ง" และ "อาทิตย์อับแสง"
- "คนดีไม่มีวันตาย" "หนึ่งในร้อย (A Major) และ "น้ำตาแสงใต้ (A Major)"
- "ความฝันอันสูงสุด" และ "ยามเย็น"
- "จงรัก" และ "ความรักไม่รู้จบ"
- "ฉันยังคอย" และ "ดุจบิดามารดร"
- "ชาวดง" และ "ชุมนุมลูกเสือไทย"
- "ตัดใจไม่ลง" และ "ลาสาวแม่กลอง"
- "เติมใจให้กัน" และ "HOME"
- "แต่ปางก่อน" "ความรักไม่รู้จบ" "ไฟเสน่หา" และ "แสนรัก"
- "ทะเลใจ" "วิมานดิน" และ "เพียงแค่ใจเรารักกัน"
- "ที่สุดของหัวใจ" "รักล้นใจ" และ "รักในซีเมเจอร์"
- "ธรณีกรรแสง" และ "Blowin' in the wind"
- "นางฟ้าจำแลง" "อุษาสวาท" และ "หนี้รัก"
- "แผ่นดินของเรา" และ "แสงเทียน"
- "พรปีใหม่" และ "สายฝน"
- "พี่ชายที่แสนดี" "หลับตา" และ "หากรู้สักนิด"
- เพลงของโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- "มหาจุฬาลงกรณ์" "ยูงทอง" และ "ลาภูพิงค์"
- "ยังจำไว้" "บทเรียนสอนใจ" และ "ความในใจ"
- "ร่มจามจุรี" และ "เงาไม้"
- "ลมหนาว" และ "ชะตาชีวิต"
- "ลองรัก" และ "วอลซ์นาวี"
- "ลาแล้วจามจุรี"
- "วันเวลา" และ "โลกทั้งใบให้นายคนเดียว"
- "วิหคเหินลม" และ "พรานทะเล"
- "สายชล" และ "เธอ"
- "สายใย" และ "ความรัก"
- "สายลม" และ "ไกลกังวล"
- "สายลมเหนือ" และ "เดียวดายกลางสายลม"
- "หน้าที่ทหารเรือ" และ "ทหารพระนเรศวร"
- "หนึ่งในร้อย" และ "น้ำตาแสงใต้"
- "หากันจนเจอ" และ "ลมหายใจของกันและกัน"