แบบจำลองการเกิดปฏิกิริยาของ
Langmuir-Hinshelwood
เป็นแบบจำลองการทำปฏิกิริยาของโมเลกุลสองโมเลกุลบนที่ถูกดูดซับอยู่บนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยา
ในกรณีนี้ถ้าสมมุติว่าเรามีสารตั้งต้นสองสาร
(A
และ
B)
โดยแต่ละสารจะต้องดูดซับลงบนผิวของตัวเร่งปฏิกิริยาก่อน
จากนั้นสารที่ถูกดูดซับบนตัวเร่งปฏิกิริยาจึงทำปฏิกิริยาเป็นผลิตภัณฑ์
(C)
ดังสมการข้างล่าง
A
+ θ
→ θA
B
+ θ
→ θB
θA
+ θB
→
C + 2θ
อัตราเร็วของการเกิดปฏิกิริยาจะขึ้นอยู่กับปริมาณของ
A
และ
B
ที่อยู่บนพื้นผิว
สมการอัตราเร็วของการเกิดปฏิกิริยาจะมีรูปแบบ
(1)
ในกรณีของแก๊สสองชนิดที่แย่งกันดูดซับบนพื้นผิวเดียวกัน
(โดยไม่มีการแตกตัว)
สัดส่วนพื้นที่ผิวที่ปกคลุมด้วยแก๊ส
A
(θA)และแก๊ส
B
(θB)
จากทฤษฎีการดูดซับของ
Langmuir
จะมีค่าดังนี้
(2)
(3)
แทนค่า
θA
และ
θB
จากสมการที่
(2)
และ
(3)
ลงในสมการที่
(1)
โดยอาศัยสมการของ
Langmuir
จะได้
(4)
ถ้าหากสาร
C
ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สามารถถูกดูดซับบนพื้นผิวได้ด้วย
สมการอัตราการเกิดปฏิกิริยาจะมีรูปแบบ
(5)
เมื่อ
k
คือค่าคงที่ของการเกิดปฏิกิริยา
KA
KB
และ
KC
คือค่าของที่การดูดซับของ
A
B และ
C
ตามลำดับ
ถ้าเราควบคุมให้ความเข้มข้นของสาร
B
คงที่และค่อย
ๆ เพิ่มความเข้มข้นของ A
อัตราเร็วของการเกิดปฏิกิริยาจะมีรูปร่างดังรูปที่
1
ข้างล่าง
รูปที่
1
ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของสารตั้งต้นกับอัตราการเกิดปฏิกิริยา
ในกรณีของแบบจำลอง
Langmuir-Hinshelwood
ที่ความดันของ
A
ต่ำ
บนพื้นผิวของตัวเร่งปฏิกิริยาจะมีแต่สาร
B
อัตราเร็วในการเกิดปฏิกิริยาจึงมีค่าต่ำ
แต่เมื่อเราเพิ่มความดันของสาร
A
ขึ้นเรื่อย
ๆ ปริมาณของ A
บนพื้นผิวก็จะสูงขึ้นเรื่อย
ๆ จนกระทั่งถึงจุดสูงสุด
ที่จุดที่อัตราเร็วในการเกิดปฏิกิริยามีค่าสูงสุดนี้
สัดส่วนของ A
และ
B
บนพื้นผิวของตัวเร่งปฏิกิริยาจะมีค่าเท่ากัน
(θA=
θB)
ถ้าเพิ่มความดันของ
A
สูงขึ้นไปอีก
จะทำให้ปริมาณของ B
ที่อยู่บนพื้นผิวลดลงไปมาก
ทำให้อัตราเร็วในการเกิดปฏิกิริยาตกลงไปอีก
แม้ว่า
A
และ
B
จะทำปฏิกิริยากันด้วยอัตราส่วนโดยโมล
1:1
แต่การทำให้
θA=
θB
เพื่อให้ได้อัตราการเกิดปฏิกิริยาสูงสุดนั้นไม่ได้หมายความว่าต้องให้ความเข้มข้นของ
A
และ
ฺB
ใน
bulk
fluid (ไม่ว่าจะเป็นแก๊สหรือของเหลว)
ต้องเท่ากัน
ปริมาณของ A
และ
B
ที่ลงไปเกาะบนพื้นผิวจะขึ้นอยู่กับความสามารถของพื้นผิวว่าสามารถดูดซับสารตัวไหนได้แรงกว่ากัน
ถ้าหากพื้นผิวสามารถดูดซับสาร
A
และ
B
ได้แรงพอ
ๆ กัน (KA
= KB)
การทำให้
θA=
θB
ก็ต้องให้ความเข้มข้นของ
A
และ
B
ใน
bulk
fluid นั้นเท่ากัน
แต่ถ้าพื้นผิวสามารถดูดซับสาร
A
ได้ดีกว่าสาร
B
(KA
> KB)
ถ้าต้องการทำให้
θA=
θB
ก็ต้องให้ความเข้มข้นของ
B
ใน
bulk
fluid นั้นสูงกว่าสาร
A
ทั้งนี้เพื่อเป็นการชดเชยความสามารถในการยึดเกาะพื้นผิวที่ต่ำกว่าของสาร
B
เพราะการเข้มข้นของ
B
ให้สูงกว่า
A
จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้
B
เข้าไปแย่งเกาะบนพื้นผิวได้มากขึ้น
ในกรณีของปฏิกิริยา
hydroxylation
ที่เราทำอยู่นั้น
เรามีปัญหาคือ benzene
และ
toluene
(สาร
A)
นั้นสามารถดูดซับบนพื้นผิว
TS-1
ได้ดีกว่า
H2O2
มาก
ดังนั้นเราจึงแก้ปัญหาโดยการให้
TS-1
แช่อยู่ในเฟสน้ำ
(polar
phase) แล้วค่อยไปหาทางเพิ่มค่าการละลายของ
benzene/toluene
ในเฟสน้ำ
ซึ่งก็ทำให้เราได้ค่า
conversion
ของไฮโดรคาร์บอนสูงมากขึ้น
แต่ถ้า benzene/toluene
ละลายเข้ามาในเฟสน้ำมากเกินไป
ค่า conversion
ของไฮโดรคาร์บอนก็ลดลง
ทั้งนี้เพราะไฮโดรคาร์บอนจะเข้าไปไล่ที่
H2O2
ที่อยู่บนพื้นผิว
TS-1