วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2563

การคำนวณเชิงตัวเลข (๓๐) การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๕) MO Memoir : Wednesday 18 March 2563

หลังจากทิ้งเรื่องนี้ไป ๕ ปีเศษ (จากธันวาคม ๒๕๕๗) ก็ได้เวลากลับมาเขียนเรื่องนี้ต่อ คือ Memoir ฉบับนี้เป็นตอนต่อจากฉบับก่อนหน้านี้ดังนี้

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๗๔ วันอาทิตย์ที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ เรื่อง "การคำนวณเชิงตัวเลข (๑) การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม"
ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๗๕ วันจันทร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ เรื่อง "การคำนวณเชิงตัวเลข (๒) การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม"
ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๘๙๖ วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เรื่อง "การคำนวณเชิงตัวเลข (๕) การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม"
ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๘๙๙ วันพุธที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗ เรื่อง "การคำนวณเชิงตัวเลข (๖) การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม"

ทั้ง ๔ เรื่องข้างต้นถูกนำไปรวมไว้ใน "MO Memoir รวมบทความชุดที่ ๑๖ วิศวกรรมเคมีภาคคำนวณ" ที่สามารถดาวน์โหลดไฟล์ pdf ได้จากหน้า blog

ในตอนที่ ๑ (ฉบับที่ ๑๗๔) และตอนที่ ๒ (ฉบับที่ ๑๗๕) ของเรื่องนี้ ได้แสดงให้เห็นว่าการเลือกจุดที่กำหนดให้ค่า residual เป็นศูนย์นั้น (จุดที่เรียกว่า collocation point) ส่งผลต่อความถูกต้องของคำตอบที่ได้ แต่โดยหลักก็คือตำแหน่งของจุดที่เลือกนั้นควรเป็นบริเวณที่คำตอบมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วเมื่อเทียบกับบริเวณอื่น แต่เนื่องจากในหลายกรณีเรามักไม่รู้ว่าคำตอบที่ได้นั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างใด จึงได้มีการนำเสนอว่าถ้าเราประมาณคำตอบด้วย orthogonal polynomial จุดที่เลือกก็ควรเป็น root (จุดที่ค่าฟังก์ชันเป็นศูนย์) ของ orthogonal polynomial และในตอนที่ ๔ ของเรื่องนี้ (ฉบับที่ ๘๙๙) ก็ได้ทิ้งท้ายว่าจะหาเวลามาเขียนเรื่องนี้ต่อ แต่ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมถึงลืมเรื่องนี้ไปได้ วันนี้ก็เลยขอมาเขียนต่อ โดยขอเป็นเรื่อง "Orthogonal function" หรือที่มีคนแปลเป็นไทยว่า "ฟังก์ชันเชิงตั้งฉากก็แล้วกัน" ก็แล้วกัน









ไม่มีความคิดเห็น: