พื้นที่ที่ปลูกบ้านเดิมมันเป็นท้องร่องสวน
ส่วนที่เป็นคันดินก็ต่ำกว่าระดับถนนประมาณ
0.60
เมตร
ส่วนที่เป็นท้องร่องก็คงจะต่ำกว่าถนนไม่น้อยกว่า
1
เมตร
พอคิดจะสร้างบ้านบนที่ดินดังกล่าวก็ต้องถมขึ้นมาอีก
ถนนปัจจุบันยกขึ้นจากระดับเดิมประมาณ
0.50-0.60
เมตรโดยใช้ระดับน้ำท่วมสูงสุดปี
๒๕๓๘ เป็นเกณฑ์
พอจะสร้างบ้านใหม่ก็เผื่อให้สูงจากระดับถนนปัจจุบันอีก
0.50
เมตร
แต่สุดท้ายก็ยังไม่รอดพ้นน้ำท่วม
น้ำลงได้ไม่กี่เดือน
ต้นอะไรต่อมิอะไรก็ไม่รู้โผล่ขึ้นเต็มรอบบ้านไปหมดเลย
โดยเฉพาะต้นลูกใต้ใบ
อยู่ที่นี่มากว่า ๓๐
ปีไม่เคยเห็นสักต้น
แต่ตอนนี้ขึ้นเต็มรอบบ้านไปหมด
ไม่รู้ว่ามากับน้ำหรือดินที่ซื้อมาถมที่
ถ้ามันเอามาทำกับข้าวกินได้ก็คงจะดีไม่น้อย
สิ่งที่อยากทำมานานพอได้มีโอกาสทำก็คือปลูกต้นไม้
พื้นที่รอบตัวบ้านก็ไม่เทปูนอย่างที่ใครต่อใครเขาทำกัน
หญ้าก็ไม่ปลูก (มันขึ้นของมันเอง)
จากนั้นก็บอกคนในบ้านว่าอยากปลูกอะไรก็ได้
เห็นตรงไหนว่างก็เชิญเลย
รูปที่
๑ ต้นถั่วเขียว
ในกรอบสีแดงคือฝักที่แก่แล้วจะกลายเป็นสีดำ
ส่วนกรอบสีเขียวคือฝักที่ยังไม่แก่
ยังคงเป็นสีเขียว
พืชที่ปลูกก็มีทั้งไม้ผลยืนต้น
ไม้ไผ่ ไม้ดอก และสวนครัว
ไม้ผลยืนต้นกะเอาไว้ให้ร่มเงาตอนมันโตและเอาไว้ผูกชิงช้า
ส่วนไม้ไผ่ปลูกเอาไว้สองกอกะเอาไม้มาใช้งาน
ตั้งแต่ทำราวตากผ้า ไม้ค้ำยัน
รั้วให้ไม้เลื้อยเกาะ
ไปจนถึงสอยมะม่วง
ไม้ดอกเอาไว้เพื่อความสวยงามและเรียกแมลง
(พอแมลงมาก็จะมีนกกินแมลงตามมาเอง
ดังนั้นที่บ้านจึงไม่จำเป็นต้องเลี้ยงนก)
ส่วนสวนครัวเอาไว้กินกันเอง
ต้นไม้ที่ซื้อมาปลูกส่วนหนึ่งก็เลือกพวกที่คนอยู่บ้านในเมืองไม่ค่อยปลูกกัน
เช่นต้นมะตูม (ไม้ใหญ่มีหนามแหลม
ปลูกใกล้ตัวบ้านได้เพราะมีหนามกันขโมยปีนขึ้นเข้าบ้านทางชั้นบน)
มะตูมแขก
มะขวิด ใบหนาด (ที่เขาเอาไว้กันผี)
มะละกอ
(มาจากไหนก็ไม่รู้
นับรอบ ๆ บ้านได้ร่วมสิบต้น)
พุทรา
(ไม้หนามเอาไว้กันผีกระสือ)
มะเขือการ์ตูน
(ต้นอะไรก็ไม่รู้
ใบมีหนามแหลมตำเจ็บด้วย
ลูกสาวคนเล็กเขาบอกว่าดอกมันสวยดี
ก็เลยซื้อมา
แต่คนพ่อได้ไปหลายแผลตอนที่เอามันออกจากถุงเพาะชำเพื่อปลูกลงดิน)
แค
(เอาไว้เก็บดอกมาทำแกงส้ม
และเป็นที่หาอาหารของนกแซงแซวที่มาจับกินแมลงที่ตอมดอก)
ตะขบ
(เอาไว้เก็บลูกกินและเรียกนก)
กระถิน
(เอาไว้เก็บฝักและยอดอ่อน)
ถั่วฝักยาว
พริก มะเขือ แมงลัก กระเพรา
โหระพา ข่า ตะไคร้
(พวกนี้ได้เก็บกินแล้ว)
แถมลงกล้วยเอาไว้อีก
๓ กอ (บังเอิญหากล้วยตานีไม่ได้
ไม่เช่นนั้นคงเอามาลงกับคู่กับใบหนาด
ส่วนกอกล้วยน้ำว้าเดิมเจอน้ำท่วม
ตายเรียบ)
ถ้าเจอต้นหว้าก็คงซื้อมาปลูกด้วย
เพราะตอนที่ภรรยาแพ้ท้องลูกสาวคนเล็กนั้นบ่นอยากกินลูกหว้า
(แถว
ๆ บางแสนจะไปหาซื้อได้ที่ไหนเนี่ย)
แถมบอกว่าเห็นมีต้นขึ้นอยู่และมีลูกด้วยที่สวนสัตว์เขาเขียว
ชลบุรี ก็เลยต้องขับรถพาไปเก็บลูกหว้ากินที่นั่น
จากบางแสนไปเขาเขียวก็กว่า
๓๐ กิโลเมตร ไป-กลับก็ร่วม
๗๐ กิโลเมตร ยังดีที่ทำบัตรสมาชิกตลอดชีพเอาไว้
ก็เลยไม่ต้องเสียค่าผ่านประตูเข้าไป
แต่เขาเขียวยุคนั้นมันมีต้นไม้เยอะกว่าปัจจุบันที่เทปูนทำถนนทั่วไปหมด
บ่ายวันวาน
เริ่มจากการคุยเรื่องวิทยานิพนธ์กับสาวน้อยเมืองนครศรีฯ
สาวน้อยหน้าบาน และสาวน้อยนักแสดงละคร
แล้วสุดท้ายมันไปที่ต้นถั่วเขียว
ก็มีคนบอกว่าอยากรู้ว่าถั่วเขียวมาได้อย่างไร
ก็เลยถ่ายรูปต้นถั่วเขียวมาให้ดู
(รูปที่
๑)
และฝักถั่วเขียวที่เก็บมาได้
(รูปที่
๒)
รูปที่
๒ ฝักถั่วเขียวที่เก็บมาได้
ถ้าแกะฝักออกมาก็จะเจอถั่วเขียวอยู่ข้างใน
เมล็ดถั่วเขียวถ้านำไปเพาะในที่ชื้นและไม่มีแดดเราก็จะได้ถั่วงอก
หรือไม่ก็เอาไปทำลอกเปลือกถั่วสีเขียวออก
เอาไปทำถั่วเขียวซีก
(ที่เป็นเม็ดเหลือง
ๆ)
เอาไว้ทำเต้าส่วนหรือทอดกินเล่น
แต่ที่ผมชอบมากกว่าคือถั่วกวน
อีกพวกก็เอาไปทำวุ้นเส้น
แต่ที่ปลูกที่บ้านก็ทำไปเพื่อจะเพิ่มปุ๋ยไนโตรเจนให้ดิน
ด้วยการฝังกลบต้นถั่วเขียวที่เก็บฝักไปแล้ว
ฝักที่เก็บจากมุมหนึ่งก็เอาเมล็ดไปโรยอีกมุมหนึ่งของบ้าน
ตอนหลังเห็นมีต้นถั่วแระโผล่ออกมาด้วย
มาได้ยังไงก็ไม่รู้เหมือนกัน
รูปที่
๓ ต้นถั่วแระ ออกฝักแล้วด้วย
(ในกรอบสีเหลือง)
เคยถามนิสิตว่าทำไข่เจียวเป็นไหม
มีแต่คนตอบว่าทำเป็น
แต่พอให้ทำกันจริง ๆ
พบว่าในสิบรายมีฝีมือทำสิ่งที่สามารถเรียกได้เต็มปากว่าเป็น
"ไข่เจียว"
ได้เพียงไม่กี่ราย
ก็เลยคิดว่าสงสัยคงต้องเปลี่ยนรายการอาหารให้มันทำง่ายขึ้น
ขนมที่ใช้ถั่วเขียวทำที่ง่ายที่สุดน่าจะเป็นถั่วเขียวต้มน้ำตาล
ส่วนประกอบก็ไม่มีอะไรมาก
มีเพียงแค่ ๓ อย่างเท่านั้นเองคือ
ถั่วเขียว น้ำ และน้ำตาล
ว่าแต่ว่าพวกคุณรู้ไหมว่าวิธีที่ถูกต้องในการทำถั่วเขียวต้มน้ำตาลต้องทำอย่างไร
ใส่อะไรก่อนหลัง