จากการประชุม
๓ ฝ่ายเรื่องปัญหาการวัด
NO
ของ
ECD
เมื่อเช้าวันพุธที่
๒๑ มีนาคม ๒๕๕๕ นั้น ผม
(ในฐานะผู้ใช้งาน)
ได้ชี้แจงปัญหาของระบบดังนี้
เรื่องที่
๑ :
ECD
ในส่วนของ
ECD
นั้นไม่คิดว่ามีปัญหา
เพราะจากการตรวจสอบเบื้องต้นด้วยการใช้แก๊ส
NO
ใน
N2
เทียบกับการใช้แก๊ส
N2
บริสุทธิ์พบว่า
ECD
ให้การตอบสนองต่อ
NO
เรื่องที่
๒ :
เทคนิคการฉีดสารตัวอย่าง
ในส่วนของการฉีดสารตัวอย่างนั้น
คิดว่าน่าจะมีปัญหาอยู่ที่มีการรั่วไหลของอากาศเข้าที่วาล์ว
1
เพราะทดสอบด้วยการฉีด
carrier
gas แล้วยังพบพีคของ
O2
(หรือสิ่งปนเปื้อนจากอากาศ)
ปรากฏเล็กน้อย(๑)
แต่เรื่องการควบคุมความดันใน
sampling
loop ให้คงที่ทุกครั้งที่ฉีดนั้นเราได้แก้ปัญหานี้ไปนานแล้ว
และ
เรื่องที่
๓ :
การทำงานของคอลัมน์
ปัญหานั้นอยู่ตรงที่คอลัมน์ที่ให้มานั้นไม่สามารถแยก
NO
ออกจาก
O2
ได้
และระบบที่ให้มานั้นค่อนข้างซับซ้อนและไม่ได้ให้รายละเอียดมาว่าแต่ละส่วนนั้นมีไว้ทำอะไร
พอพบว่าภาวะการทำงานที่ให้มาครั้งแรกนั้นใช้ไม่ได้
ทำให้เกิดปัญหาในการปรับแต่ง
สุดท้ายก็เลยต้องแก้ไขด้วยการตั้งวาล์ว
2
ให้คงที่
ทำเสมือนมีคอลัมน์เดียวต่อตรงจากวาล์วฉีดสารตัวอย่าง
(วาล์ว
1)
ไปยัง
ECD
เลย
ซึ่งหลังการประชุมดังกล่าวทางผู้จำหน่าย
GC
ก็ได้บอกว่าได้คอลัมน์ตัวใหม่มาแล้ว
พร้อมที่จะติดตั้งให้เพื่อทำการทดสอบ
ซึ่งคอลัมน์ดังกล่าวได้รับการติดตั้งไปเมื่อเย็นวันเสาร์ที่
๓๑ มีนาคมที่ผ่านมา
เมื่อวานผมได้รับอีเมล์แผนผังของระบบคอลัมน์ใหม่ของ
ECD
จากเกียรติลดา
(รูปที่
๑)
หลังจากที่ได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่ามีประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจกันก่อนดังนี้
๑.
ชื่อที่ถูกต้องของคอลัมน์ที่ติดตั้งใหม่น่าจะเป็น
"Hayesep
DB" ไม่ใช้
"Heyasep
DB" (ตัวอักษร
a
และ
e
สลับที่กันอยู่)
เพราะพอค้นจาก
Google
พบแต่ชื่อ
Hayesep
โดยไม่พบชื่อ
Heyasep
๒.
เส้นท่อสีน้ำเงินที่ออกจากด้านขาออกของ
PDD
ในรูปที่
๑ นั้นไม่น่าจะถูกต้อง
เพราะแก๊สที่ออกจาก PDD
จะต้องถูก
vent
ทิ้งออกไป
ไม่ใช่เอาวนกลับมาเป็นแก๊ส
purge
วาล์ว
3
และวาล์ว
4
ดังนั้นผมคิดว่าแผนผังของระบบคอลัมน์ของ
PDD
ยังคงเป็นเหมือนของเดิม
(รูปที่
๒)
๓.
ตามแผนผังนี้
คอลัมน์ใหม่ที่ติดตั้งตั้งต่อเชื่อมระหว่างวาล์ว
1
กับ
ECD
ดังนั้นจึงไม่มีการใช้วาล์ว
2
เหมือนก่อนหน้านี้
ในขณะเดียวกันมีการนำเอาคอลัมน์
PC-1
P-N ที่เชื่อม
port
2 และ
6
ออกไป
และแทนที่ด้วยข้อต่อ 1/16"
union แทน
๔.
สิ่งที่ผมกังวลอยู่ก็คือ
จากการค้นข้อมูลดูพบว่าคอลัมน์ดังกล่าวใช้แยก
N2
กับ
O2
และแก๊สอื่น
ๆ ที่มีอยู่ในอากาศได้ดี
แต่ใช้อุณหภูมิการทำงานที่ต่ำ
(เช่นที่
25ºC)
ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในการวิเคราะห์ได้
เพราะในขณะนี้เราต้องตั้งอุณหภูมิการทำงานของคอลัมน์
GC
ไว้ที่
150ºC
เพื่อไม่ให้มีสัญญาณของน้ำรบกวนตำแหน่งพีค
NH3
และไม่ให้มีน้ำตกค้างอยู่ในคอลัมน์
ดังนั้นถ้าคอลัมน์ใหม่สำหรับ
ECD
นั้นแยก
NO
ได้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า
150ºC
เราคงต้องกลับมาพิจารณากันใหม่ว่าจะตั้งโปรแกรมการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิการทำงานของคอลัมน์อย่างไรดี
นั่นอาจหมายถึงเวลาที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์แต่ละครั้งจะยืดยาวออกไปอีก
๕.
ผมได้แก้แผนผังการไหลของแก๊สที่ไหลผ่านวาล์ว
1
ทั้งในตำแหน่งเก็บตัวอย่างและฉีดตัวอย่างแล้ว
ตอนนี้ให้ใช้แผนผังตามรูปที่
๓ และ ๔
๖.
เนื่องจากระบบขณะนี้ไม่มีการจำเป็นต้องใช้วาล์ว
4
ดังนั้นเราอาจลดความดันแก๊สผ่าน
APC-2
(ดูรูปที่
๑ ประกอบ)
เพื่อเป็นการประหยัดแก๊ส
แต่ยังจำเป็นต้องมีแก๊สไหลผ่านระบบดังกล่าวอยู่เล็กน้อย
๗.
ค่าความดันเดิมของ
APC-1
APC-2 และ
APC-3
ที่เคยบันทึกไว้คือ(๒)
ACP1
pressure 40.0 kPa
ACP2
pressure 40.0 kPa
ACP3
pressure 50.0 kPa
หมายเหตุ
(๑)
ดู
Memoir
ปีที่
๔ ฉบับที่ ๓๙๖ วันพฤหัสบดีที่
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เรื่อง
"GC-2014
ECD & PDD ตอนที่
๑๗ ปัญหาของวาล์ว ๑"
(๒)
ดู
Memoir
ปีที่
๔ ฉบับที่ ๓๙๒ วันจันทร์ที่
๓๐ มกราคม ๒๕๕๕ เรื่อง "GC-2014
ECD & PDD ตอนที่
๑๔ ตำแหน่งพีค N2O"
รูปที่
๑ แผนผังของระบบคอลัมน์ของ
ECD
หลังการติดตั้งคอลัมน์ใหม่
ทางด้านซ้ายของเส้นประสีเหลืองคือระบบ
ECD
ส่วนทางด้านขวาของเส้นประสีเหลืองคือระบบ
PDD
จากแผนผังจะเห็นว่าระบบคอลัมน์ใหม่ของ
ECD
เป็นการต่อตรงจากวาล์ว
1
ไปยังคอลัมน์
Hayesep
DB แลจากคอลัมน์
Hayesep
DB เข้า
ECD
โดยไม่จำเป็นต้องมีการใช้วาล์ว
2
ส่วนเส้นสีน้ำเงินที่ลากในส่วนของคอลัมน์
PDD
นั้นผมคิดว่าน่าจะไม่ถูกต้อง
ระบบคอลัมน์ของ PDD
ควรจะยังคงเป็นแบบเดิมที่นำมาแสดงซ้ำใหม่ในรูปที่
๒ ในหน้าถัดไป
รูปที่
๒ แผนผังระบบคอลัมน์เดิมของระบบ
ซึ่งผมคิดว่าระบบคอลัมน์ในส่วนของ
PDD
ยังคงเป็นตามแบบนี้อยู่
ส่วนที่เปลี่ยนไปควรมีเฉพาะระบบคอลัมน์ของ
ECD
เท่านั้น
รูปที่
๓ วาล์ว 1
เมื่ออยู่ในตำแหน่ง
sampling
loop รับแก๊สตัวอย่างจากด้านขาออกของ
reactor
กรอบสี่เหลี่ยมสีเหลืองคือบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงจากระบบเดิม
รูปที่
๔ วาล์ว 1
เมื่ออยู่ในตำแหน่งฉีดแก๊สตัวอย่างใน
sampling
loop เข้าคอลัมน์
GC