เอกสารฉบับนี้นำเนื้อหาลง
blog
เพียงบางส่วน
เนื้อหาในเอกสารฉบับนี้เกี่ยวกับการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ในช่วงที่ผ่านมา
และการประชุมกับทางบริษัทของกลุ่ม
DeNOx
เมื่อวันพุธที่
๑๑ ธันวาคมที่ผ่านมา
๑.
การสอบโครงร่างของกลุ่ม
Hydroxylation
๑.๑
ผลของไอออนต่อการละลายน้ำของไฮโดรคาร์บอน
น้ำนั้นเป็นโมเลกุลที่มีขั้ว
ดังนั้นสำหรับไอออนที่มีความหนาแน่นประจุสูง
(ความหนาแน่นประจุดูได้จากขนาดประจุต่อขนาดของไอออน)
ก็จะดึงโมเลกุลน้ำให้มาสร้างพันธะกับไอออนดังกล่าวได้ดี
ผลที่ตามมาคือความแข็งแรงของพันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุลน้ำลดลง
ทำให้ไฮโดรคาร์บอนแทรกเข้าไปในน้ำได้ง่ายขึ้น
(หรือละลายได้มากขึ้น)
จุดนี้เป็นทฤษฎีที่เราใช้อธิบายผลของไอออนต่อความสามารถในการละลายน้ำของเบนซีนและโทลูอีน
ดังนั้นไอออนที่มีผลจึงไม่ได้มีแต่ไอออนบวก
แต่ยังมีไอออนลบด้วย
แต่เนื่องจากไอออนบวกที่มีขนาดเล็ก
(มีความหนาแน่นประจุสูง)
นั้นหาได้ง่าย
ที่เห็นได้ชัดคือ H+
และ
NH4+
ในขณะที่ไอออนลบนั้นมักจะมีขนาดใหญ่กว่า
ทำให้เรามุ่งเน้นไปที่ไอออนบวกมากกว่า
ที่เราเลือกใช้
H+,
NH4+ และ
Na+
ก็เพราะความหนาแน่นประจุของไอออนเหล่านี้เรียงตามลำดับ
H+ > NH4+ >; Na+
ซึ่งทำให้เราสามารถทดสอบสมมุติฐานที่กล่าวมาข้างต้นได้ว่าความหนาแน่นประจุส่งผลต่อความสามารถในการละลายน้ำของไฮโดรคาร์บอน
๑.๒
ผลของอุณหภูมิ
ปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยา
oxidation
ดังนั้นจึงเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน
แต่ปริมาณความร้อนที่คายออกนั้นไม่มากและปริมาณสารตั้งต้นที่เกิดปฏิกิริยานั้นต่ำมากเมื่อเทียบกับปริมาตรตัวทำละลายในระบบ
นอกจากนี้อุปกรณ์ของเรายังมีการสูญเสียความร้อนออกไปสู่สิ่งแวดล้อมได้มากด้วย
สังเกตได้จากเราต้องใส่ความร้อนให้กับ
oil
bath ตลอดเวลาทำปฏิกิริยาเพื่อรักษาอุณหภูมิของระบบ
ด้วยเหตุนี้เราจึงจัดได้ว่าอุณหภูมิของระบบนั้นไม่ได้เพิ่มขึ้นเมื่อปฏิกิริยาดำเนินไปข้างหน้า
อีกปัจจัยที่ต้องระวังไม่ให้สับสนคือปฏิกิริยานี้ไม่มีการเกิดย้อนกลับ
ดังนั้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นปฏิกิริยาจึงดำเนินไปข้างหน้าได้เร็วขึ้น
ดังนั้นที่เวลาทำปฏิกิริยาเท่ากัน
พอเพิ่มอุณหภูมิเราจึงเห็นค่า
conversion
เพิ่มมากขึ้น
แต่ก็ไม่เสมอไปที่การเพิ่มอุณหภูมิจะทำให้ค่า
conversion
เพิ่มสูงขึ้น
เพราะเมื่อเพิ่มอุณหภูมิมากขึ้น
ไฮโดรคาร์บอนจะละลายเข้าไปในน้ำได้มากขึ้น
และเนื่องจากธรรมชาติของตัวเร่งปฏิกิริยา
TS-1
ที่พื้นผิวชอบที่จะดูดซับโมเลกุลที่ไม่มีขั้วได้ดีกว่าโมเลกุลมีขั้ว
ดังนั้นถ้าหากเบนซีนหรือโทลูอีนละลายน้ำได้มากเกินไป
สารเหล่านี้จะไปแย่ง H2O2
เกาะพื้นผิวเอาไว้หมด
ทำให้ความเข้มข้นของ H2O2
บนพื้นผิวลดลง
เราจึงมีสิทธิที่จะเห็นค่า
converion
ของ
H2O2
ลดลงได้ที่อุณหภูมิสูงขึ้น
ในงานที่ทำนั้นจึงเป็นการเปรียบเทียบว่า
ระหว่าง (ก)
การใช้ความเข้มข้นของไอออนสูงที่อุณหภูมิต่ำ
กับ (ข)
การใช้ความเข้มข้นไอออนต่ำแต่อุณหภูมิสูง
แบบไหนจะให้ค่า conversion
ที่ดีกว่ากัน
หรือว่าดีทั้งคู่
ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้เลือกใช้ว่าจะเลือกใช้แบบไหน
เงื่อนไขในการพิจารณาตรงนี้อาจต้องดูจากพลังงานที่ต้องใช้ในการเพิ่มอุณหภูมิ
กับความยากง่ายในการแยกเอาเกลือ/กรดกับผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นออกจากกัน
(เพราะต้องใช้พลังงานเหมือนกัน)
และการกัดกร่อนอุปกรณ์เนื่องจากกรด/เกลือที่ใช้ด้วย
๑.๓
มาตรฐาน TS-1
ในการสอบนั้นกรรมการท่านหนึ่งถามว่ารู้ได้อย่างไรว่าเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาแล้วได้
TS-1
ตรงนี้เราต้องมาทำความเข้าใจนิยามของตัวเร่งปฏิกิริยา
TS-1
ก่อน
ตัวเร่งปฏิกิริยา
TS-1
นั้นมีการจดสิทธิบัตรไว้โดย
Taramasso
และคณะ
(ดู
Taramasso,
M., Perego, G. and Noiari, B. U.S patent. (1983) 4,410,501)
ในการจดสิทธิบัตรนี้มีการอ้างถึง
(ก)
รูปแบบโครงสร้างจาก
XRD
ที่ต้องมีโครงสร้างแบบ
MFI
(ข)
การที่ไอออน
Ti4+
เข้าไปแทนที่ไอออน
Si4+
ซึ่งดูได้จาก
FT-IR
ส่วนอัตราส่วน
Si/Ti
จะเป็นเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับว่าเราแทนที่
Si4+
ด้วย
Ti4+
ได้มากน้อยเท่าใด
๑.๔
สัดส่วน Si/Ti
ที่แท้จริง
การเตรียม
TS-1
นั้นเรามีการแยกเอาสารที่ใช้ในการเตรียมบางส่วนทิ้งไป
ปัญหาก็คือเราไม่รู้ว่า
Ti
ที่ใส่เข้าไปนั้นไปอยู่ในส่วนของแข็งมากน้อยเพียงใด
และอยู่ในส่วนของเหลวที่แยกทิ้งไปนั้นมากน้อยเพียงใด
ดังนั้นค่าสัดส่วน Si/Ti
ที่ใช้ในสูตรการเตรียมนั้นจึงไม่เท่ากับค่าสัดส่วน
Si/Ti
ของตัวเร่งปฏิกิริยาสุดท้ายที่เตรียมได้
ด้วยเหตุนี้ในการนำเสนอจึงต้องมีความชัดเจนว่าค่าสัดส่วน
Si/Ti
ที่กล่าวถึงนั้นเป็นค่าสัดส่วน
“ที่ใช้ในการเตรียม”
หรือเป็นของ “ตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมได้”
๒.
การสอบโครงร่างของกลุ่ม
DeNOx
๒.๑
เกณฑ์การเปรียบเทียบตัวเร่งปฏิกิริยา
ในการสอบนั้น
มีกรรมการท่านหนึ่งถามถึงเกณฑ์การเปรียบเทียบตัวเร่งปฏิกิริยาว่าใช้อะไรเป็น
“เกณฑ์” แต่ก่อนอื่นเราต้องหานิยามของคำว่า
“เกณฑ์” ก่อน
ปัญหาหนึ่งของการเปรียบเทียบคือ
ควรเปรียบเทียบบนพื้นฐานที่มีอะไรสักอย่างที่
“เท่ากัน” บ่อยคร้งที่การใช้
“น้ำหนัก”
ที่เท่ากันเป็นตัวเปรียบเทียบก่อให้เกิดปัญหาความไม่ทัดเทียมกัน
ผมขอลองยกตัวอย่างเช่นสมมุติว่าเรามีตัวเร่งปฏิกิริยาสองตัว
คือ MoO3/TiO2
กับ
WO3/TiO2
โดยทำการเปรียบเทียบที่
wt%
ของ
MoO3/TiO2
เท่ากับ
WO3/TiO2
นั้น
ถ้าคิดเป็น “โมล” หรือจำนวนไอออนบวกแล้ว
ที่ wt%
เท่ากับ
MoO3/TiO2
จะมีจำนวนโมลหรือจำนวนไอออนบวกที่มากกว่าของ
WO3/TiO2
(เพราะน้ำหนักอะตอมของ
Mo
ต่ำกว่าของ
W)
และถ้าสมมุติว่าตำแหน่งที่เกิดปฏิกิริยา
(active
site) คือตำแหน่งของไอออนบวกด้วยแล้ว
ตัวเร่งปฏิกิริยา MoO3/TiO2
ก็จะมีจำนวน
active
site มากกว่าของตัวเร่งปฏิกิริยา
WO3/TiO2
ดังนั้นในกรณีนี้ถ้าเราเห็นตัวเร่งปฏิกิริยา
MoO3/TiO2
มีความว่องไวสูงกว่าตัวเร่งปฏิกิริยา
WO3/TiO2
ที่
wt%
เท่ากัน
ก็ไม่ได้หมายความว่า MoO3
มีความว่องไวมากกว่า
WO3
แต่อาจเป็นเพราะตัวเร่งปฏิกิริยา
WO3/TiO2
มีจำนวน
active
site ที่ต่ำกว่า
ในทางกลับกันที่
wt%
เท่ากันถ้าเราเห็นตัวเร่งปฏิกิริยา
WO3/TiO2
มีความว่องไวสูงกว่าตัวเร่งปฏิกิริยา
MoO3/TiO2
เราจะสามารถสรุปได้ว่า
WO3
มีความว่องไวมากกว่า
MoO3
ในกรณีของตัวเร่งปฏิกิริยาที่เป็น
"โลหะ"
นั้นจะสามารถใช้ค่า
TON
(turn over number) หรือ
TOF
(turn over frequency) ในการเปรียบเทียบ
TON
และ
TOF
มีความหมายเดียวกันคือค่าอัตราการเกิดปฏิกิริยาต่อหน่วย
actve
site
ค่า
active
site หมายถึงตำแหน่งอะตอมบนพื้นผิวที่เร่งปฏิกิริยาที่ต้องการ
แต่ในความเป็นจริงนั้นไม่ใช่ทุกอะตอมที่อยู่บนพื้นผิวจะเป็น
active
site แต่ปัญหาก็คือเราไม่สามารถวัดจำนวน
active
site ได้
ดังนั้นจึงมักใช้ค่าจำนวนอะตอมที่อยู่บนพื้นผิวมาแทนจำนวน
active
site การวัดจำนวนอะตอม
"โลหะ"
ที่อยู่บนพื้นผิวกระทำได้โดยใช้เทคนิคการดูดซับด้วย
probe
moleculeเช่น
CO
adsorption หรือ
H2
adsorption เพราะแก๊สเหล่านี้จะดูดซับเฉพาะบนอะตอมโลหะ
(oxidation
state = 0) ไม่เกิดการดูดซับบนไอออนบวกและไอออนลบ
ค่าจำนวนอะตอมโลหะที่อยู่บนพื้นผิวต่อจำนวนอะตอมโลหะที่ใส่เข้าไปทั้งหมดคือค่า
"การกระจายตัวของโลหะ"
หรือ
"dispersion"
ค่า
dispersion
นี้จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อผลึกโลหะบน
support
นั้นมีขนาดเล็กลง
(ดูรูปที่
๑ ประกอบ)
และว่าไปแล้วอันที่จริงผลึกโลหะที่เกิดขึ้นบน
support
ก็มักจะเป็นผลึกขนาดนาโนเมตรอยู่แล้ว
แต่การใช้คำว่า dispersion
มันไม่ตามกระแสคำว่า
"นาโน"
ที่คนเขาเห่อใช้กัน
ทำให้ช่วงหลัง ๆ
เห็นมีหลายรายเปลี่ยนวิธีการเรียกเป็นเรียก
"ผลึกขนาดนาโน"
แทน
ทั้ง ๆ ที่มันเป็นเรื่องเดิม
ๆ ไม่มีอะไรใหม่เลย
และบางทีมันก็ไม่เกี่ยวข้องกับความเป็น
"นาโนเมตร"
ของผลึก
มันเป็นเพราะตำแหน่ง active
site ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ต้องการนั้นเป็นตำแหน่งอะตอมที่อยู่ที่
"มุม"
หรือ
"ขอบ"
ของผลึก
และที่ปริมาณโลหะเท่ากัน
ถ้าได้ผลึกขนาดเล็กกว่าก็จะมีจำนวนอะตอมที่อยู่ที่
"มุม"
หรือ
"ขอบ"
ของผลึกมากกว่าเท่านั้นเอง
รูปที่
๑
ผลึกโลหะในรูปซ้ายและขวาประกอบด้วยอะตอมโลหะ
(วงกลม)
จำนวน
28
อะตอมเท่ากัน
แต่เฉพาะอะตอมที่อยู่บนพื้นผิว
(สีเหลือง)
ที่มีโอกาสเป็น
active
site อะตอมที่อยู่ใต้พื้นผิว
(สีส้ม)
ไม่มีโอกาสเป็น
active
site เพราะสารตั้งต้นเข้าหาไม่ได้
ค่า dispersion
คือจำนวนอะตอมสีเหลืองต่อจำนวนอะตอมทั้งหมด
(สีเหลือง
+
สีส้ม)
จะเห็นว่าเมื่อผลึกโลหะมีขนาดเล็กลง
(รูปขวา)
สัดส่วนอะตอมที่อยู่บนพื้นผิว
(หรือค่า
dispersion)
จะเพิ่มมากขึ้น
(จาก
13/28
เป็น
17/28)
การใช้ค่า
dispersion
นี้
"ใช้ไม่ได้"
กับกรณีของโลหะออกไซด์
เพราะเราไม่มี probe
molecule ที่เลือกดูดซับเฉพาะบนไอออนที่เราต้องการ
NH3
ที่ใช้กันนั้นมันเกาะทั้งบน
support
และ
oxide
ที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
ดังนั้นผลที่เห็นจากการวัด
NH3
adsorption คือปริมาณที่เกาะทั้งบน
support
และ
oxide
จะมีเว้นก็ต่อเมื่อ
support
ที่ใช้นั้นดูดซับ
NH3
ได้น้อยมากเมื่อเทียบกับสารประกอบโลหะออกไซด์ที่เติมเข้าไป
หรือในกรณีที่ความแรงในการจับ
NH3
ของ
support
นั้นแตกต่างไปจากความแรงในการจับ
NH3
ของโลหะออกไซด์ที่เราเติมเข้าไป
ในกรณีเหล่านี้เราอาจจะใช้ปริมาณ
NH3
ที่ตัวเร่งปฏิกิริยาดูดซับเอาไว้ได้มาเป็นตัวบ่งบอกการกระจายตัวของโลหะออกไซด์บนพื้นผิวได้
ที่ผ่านมานั้นเราเคยใช้วิธีการนี้ในการประมาณการกระจายตัวของโลหะออกไซด์ต่าง
ๆ ที่เราเติมลงไปบน TiO2
(anatase) เพราะโลหะออกไซด์ที่เราเคลือบลงไปบนพื้นผิว
TiO2
(anatase) นั้นจับ
NH3
ได้แน่นกว่าตัวพื้นผิวของ
TiO2
เอง
เราจึงใช้ปริมาณของ NH3
ที่คายออกที่อุณหภูมิสูง
(คายออกจาก
strong
acid site)
เป็นดัชนีหนึ่งที่ใช้บ่งบอกการกระจายตัวของโลหะออกไซด์ที่เราเคลือบลงไปบนพื้นผิว
TiO2
(anatase)
๒.๒
ค่า conversion
ของโลหะออกไซด์แต่ละชนิด
สารประกอบโลหะออกไซด์ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาได้
ไม่ได้หมายความว่ามันจะต้องให้ค่า
conversion
ที่สูง
มันเพียงแค่ทำให้ปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้เท่านั้นเอง
เวลาที่เขาจดสิทธิบัตรจึงมักจะอ้างสิทธิสารประกอบโลหะออกไซด์เหล่านี้เอาไว้ด้วย
การที่เราต้องวิเคราะห์ความสามารถในการทำปฏิกิริยาของสารประกอบโลหะออกไซด์เดี่ยวก่อน
จากนั้นจึงค่อยทำการวิเคราะห์ความสามารถในการทำปฏิกิริยาของสารประกอบโลหะออกไซด์ผสมก็เพราะต้องการศึกษาดูว่าเมื่อมีสารประกอบโลหะออกไซด์ตั้งแต่
2
ชนิดขึ้นไปอยู่ร่วมกัน
มันจะส่งผลในการทำปฏิกิริยากันอย่างไร
ซึ่งอาจเป็นรูปแบบ (ก)
ต่างคนต่างอยู่
(ข)
ส่งผลเสริมกัน
หรือ (ค)
ส่งผลหักล้างกัน
ในกรณีที่เป็นรูปแบบ
(ก)
ต่างคนต่างอยู่นั้น
ค่า conversion
ของตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะออกไซด์ผสมที่ได้จะ
"ประมาณเท่ากับ"
ค่า
conversion
ที่ได้จากตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะออกไซด์เดี่ยวแต่ละตัวรวมกัน
(แต่ทั้งนี้ต้องทำการทดลองในช่วงที่ให้ค่า
conversion
ที่ไม่มากเกินไป)
ในรูปแบบนี้มักเป็นกรณีที่โลหะออกไซด์สองชนิดที่เติมเข้าไปนั้นต่างคนต่างอยู่
คือไม่มีการหลอมรวมกันหรืออยู่ติดกัน
ถ้าเป็นตามรูปแบบ
(ข)
ส่งผลเสริมกัน
เราจะเห็นค่า conversion
ของตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะออกไซด์ผสม
"สูงกว่า"
ค่า
conversion
ที่ได้จากตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะออกไซด์เดี่ยวแต่ละตัวรวมกัน
และถ้าเป็นตามรูปแบบ
(ค)
ส่งผลหักล้างกัน
เราจะเห็นค่า conversion
ของตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะออกไซด์ผสม
"ต่ำกว่า"
ค่า
conversion
ที่ได้จากตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะออกไซด์เดี่ยวแต่ละตัวรวมกัน
ในรูปแบบ
(ข)
และ
(ค)
นั้นมักเป็นกรณีที่โลหะออกไซด์สองชนิดที่เติมเข้าไปนั้นอาจมีการหลอมรวมกันเป็นโลหะออกไซด์ตัวใหม่
หรือไอออนบวกของโลหะตัวหนึ่งเข้าไปแทรกอยู่ในสารประกอบออกไซด์ของโลหะอีกตัวหนึ่ง
หรือเป็นผลึกโลหะสองชนิดที่สัมผัสกันและมี
"อันตรกิริยา
-
interaction" กระทำต่อกัน
ส่วนที่อยู่ต่อจากนี้ให้ไปอ่านในฉบับ pdf ที่ส่งให้ทางอีเมล์
ส่วนที่อยู่ต่อจากนี้ให้ไปอ่านในฉบับ pdf ที่ส่งให้ทางอีเมล์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น