เอกสารฉบับนี้แจกจ่ายเป็นการภายใน
นำเนื้อหาลง blog
เพียงบางส่วน
เนื้อหาในเอกสารนี้เกี่ยวกับการอ่านค่าสัญญาณว่าเป็น
noise
ของ
base
line หรือเป็นพีคสัญญาณ
โดยใช้ตัวอย่างผลการวิเคราะห์
XPS
(x-ray photoelectron spectroscopy)
เทคนิค
photoelectro
spectroscopy
เป็นเทคนิคหนึ่งที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณสมบัติของอะตอมที่อยู่บนพื้นผิว
เทคนิคนี้ใช้การกระตุ้นตัวอย่างด้วยรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต
(ไม่ค่อยจะได้เห็นใช้กัน)
หรือรังสีเอ็กซ์พลังงานต่ำ
(พบเห็นตัวไป)
แหล่งกำเนิดรังสีเอ็กซ์พลังงานต่ำที่ใช้กันคือโลหะ
Al
หรือ
Mg
เมื่อรังสีเอ็กซ์พลังงานต่ำตกกระกับอะตอมของตัวอย่าง
พลังงานของรังสีเอ็กซ์จะถ่ายทอดให้กับอิเล็กตรอนในชั้นวงโคจรต่าง
ๆ ของอะตอม
ถ้าพลังงานของรังสีเอ็กซ์นั้นสูงกว่าพลังงานยึดเหนี่ยวที่อะตอมจับอิเล็กตรอนนั้นเอาไว้
อิเล็กตรอนนั้นก็จะหลุดออกมาจากอะตอมด้วยพลังงานจลน์ค่าหนึ่ง
(เท่ากับพลังงานของรังสีเอ็กซ์หักลบด้วยพลังงานที่ต้องใช้ในการเอาชนะแรงยึดเหนี่ยวอิเล็กตรอนตัวนั้นเอาไว้)
อิเล็กตรอนที่หลุดออกมานี้เรียกว่า
photo
electron เป็นอิเล็กตรอนที่มีพลังงานต่ำ
แม้ว่ารังสีเอ็กซ์จะสามารถซึมลึกลงไปในเนื้อตัวอย่าง
แต่จะมีเพียงอิเล็กตรอนที่หลุดออกมาจากอะตอมที่อยู่ใกล้พื้นผิวเท่านั้น
(ไม่เกิน
10
ชั้นอะตอม)
ที่สามารถหลุดออกมาจากชิ้นตัวอย่างโดยไม่ถูกอะตอมที่อยู่รอบ
ๆ จับเอาไว้
และจากการที่อิเล็กตรอนเหล่านี้มีพลังงานต่ำ
โอกาสที่จะวิ่งจากตัวอย่างไปจนถึงตัวรับสัญญาณก็จะน้อยไปด้วย
ดังนั้นการวิเคราะห์จึงจำเป็นต้องกระทำในภาวะที่เรียกว่า
"สุญญากาศยวดยิ่ง
-
Ultra High Vacuum (UHV)) หรือที่ระดับความดันประมาณ
10-10
mmHg หรือ
10-8
Pa
รูปที่
๑ รายละเอียดที่ผู้ทำการทดลองใช้ในการวัดตัวอย่างด้วยเครื่อง
XPS
ตรงนี้มีพิมพ์ผิดตรงที่คำว่า
"blinding
energy" ที่มีอักษร
"l"
เกินเข้ามา
คำที่ถูกต้องคือ "binding
energy" ที่แปลว่าพลังงานยึดเหนี่ยว
อันที่จริงสิ่งที่เครื่องนี้วัดคือพลังงานจลน์
(kinetic
energy) ของอิเล็กตรอนที่หลุดออกมาจากอะตอม
พอเอาไปหักออกจากพลังงานของรังสีเอ็กซ์ที่ใช้กระตุ้นให้อิเล็กตรอนหลุดออกมา
ก็จะได้ค่าพลังงานยึดเหนี่ยว
พลังงานจลน์
(kinetic
energy) ของอิเล็กตรอนที่หลุดออกมานั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย
เช่น
-
พลังงานของรังสีเอ็กซ์ที่ใช้
(ว่าใช้โลหะ
Mg
หรือ
Al
เป็นแหล่งกำเนิด)
-
ชั้นวงโคจรของอิเล็กตรอนที่หลุดออกมา
(ถ้ายิ่งเข้าใกล้นิวเคลียสก็จะมีพลังงานจลน์ที่ลดต่ำลง)
-
ธาตุที่เป็นตัวให้อิเล็กตรอน
และเลขออกซิเดชันของธาตุนั้น
-
อะตอมอื่นที่อยู่ข้างเคียงอะตอมที่ให้
photo
electron
แต่ในการรายงานผลการวิเคราะห์นั้นจะรายงานในรูปของพลังงานยึดเหนี่ยว
(binding
energy)
คือเอาพลังงานจลน์ของอิเล็กตรอนที่วัดได้ไปหักออกจากพลังงานของรังสีเอ็กซ์ที่ใช้ในการกระตุ้น
ถ้าพิจารณากันโดยใช้ค่าพลังงานยึดเหนี่ยวก็อาจรู้สึกได้ว่าดังนั้นผลการวิเคราะห์จึงไม่ควรขึ้นกับพลังงานรังสีเอ็กซ์ที่ใช้กระตุ้น
ซึ่งสำหรับธาตุส่วนใหญ่ก็ดูเหมือนจะเป็นเช่นนั้น
แต่เอาเข้าจริง ๆ
แล้วมันก็มีความแตกต่างอยู่บ้างเหมือนกัน
ทำให้เวลาเทียบผลการวิเคราะห์กับค่ามาตรฐานจึงจำเป็นต้องรู้ว่าใช้โลหะอะไรเป็นแหล่งกำเนิดรังสีเอ็กซ์
รูปที่
๒ ผลการวัด XPS
ตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะ
Pd
บนตัวรองรับ
TiO2
สังเกตแกน
x
นะว่าค่าทางซ้ายจะมากกว่าทางขวา
รูปที่
๓ ผลการวัด XPS
ตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะ
Pd
บนตัวรองรับ
TiO2
ด้วยเครื่องเดียวกันกับรูปที่
๒
ประโยชน์หนึ่งที่สำคัญของ
XPS
คือใช้วิเคราะห์เลขออกซิเดชันของธาตุและผลของอะตอมที่อยู่ข้างเคียง
กล่าวคือสำหรับไอออนของธาตุเดียวกัน
ไอออนที่มีเลขออกซิเดชันสูงกว่า
(เป็นบวกมากกว่า)
จะมีค่าพลังงานยึดเหนี่ยวที่สูงกว่า
เช่น photoelectron
ที่หลุดออกมาจากไอออน
Ti4+
จะมีค่าพลังงานยึดเหนี่ยวที่สูงกว่าที่หลุดออกมาจากอะตอม
Ti0
สำหรับอะตอมที่สร้างพันธะโควาเลนซ์กับอะตอมข้างเคียงนั้น
อะตอมข้างเคียงก็ส่งผลกระทบต่อพลังยึดเหนี่ยวของอะตอมนั้นด้วย
ขึ้นอยู่กับว่าอะตอมข้างเคียงนั้นเป็นตัวดึงหรือจ่ายอิเล็กตรอน
เช่นค่าพลังงานยึดเหนี่ยวของอิเล็กตรอนที่หลุดมาจากอะตอมคาร์บอนของ
-CH2-
(อะตอม
C
ที่อะตอมข้างเคียงเป็นอะตอม
C
และ
H)
จะต่ำกว่าค่าพลังงานยึดเหนี่ยวของอิเล็กตรอนที่หลุดออกมาจากอะตอมคาร์บอนของ
-CCl2
(อะตอม
C
ที่อะตอมข้างเคียงเป็นอะตอม
C
และ
Cl
โดย
Cl
ดึงอิเล็กตรอนออกจากอะตอม
C
ทำให้อะตอม
C
นั้นมีความเป็นขั้วบวก
การที่จะดึงเอาอิเล็กตรอนให้หลุดออกมาจึงยากขึ้นไปอีก)
การระบุชื่อ
photo
electron ที่หลุดออกมาจากอะตอมนั้นจะใช้ชื่อธาตุและวงโคจรเป็นตัวกำกับ
เช่น C
1s หมายถึงอิเล็กตรอนที่หลุดออกมาจากวงโคจร
1s
อะตอม
C
Pd 3d ก็หมายถึงอิเล็กตรอนที่หลุดออกมาจากวงโคจร
3d
ของ
Pd
สำหรับธาตุเบา
อิเล็กตรอนที่หลุดออกมานั้นอาจมาจากวงโครจรในสุด
(เช่น
O
1s) แต่สำหรับธาตุหนักแล้ว
อิเล็กตรอนที่หลุดออกมาจากหลุดออกมาจากวงโคจรชั้นกลาง
ๆ
เนื้อหาส่วนต่อไปจากนี้อยู่ในไฟล์ฉบับ pdf
เนื้อหาส่วนต่อไปจากนี้อยู่ในไฟล์ฉบับ pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น