ย่านพาโหม
น.
ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล
Paederia
วงศ์
Rubiaceae
ลำต้นมีขน
กลิ่นเหม็น เช่น ชนิด P.
Linearis Hook. f.
ใช้แต่งกลิ่นอาหารและทำยาได้,
ตดหมูตดหมา
ก็เรียก.
(พจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.
๒๕๔๒
พิมพ์ครั้งที่ ๑ พุทธศักราช
๒๕๔๖ หน้า ๙๐๓)
การเวกต้นนี้เจ้าของบ้านเดิมเขาปลูกเอาไว้
ถ้านับอายุจนถึงวันนี้ก็เลยสามสิบปีไปแล้ว
เดิมทีมันก็โตขึ้นและเลื้อยไปตามขอบกำแพงที่กั้นระหว่างบ้านและสวนร้าง
การเวกไม่ใช่ไม้เลื้อยที่อาศัยการพันลำต้นไปรอบ
ๆ ไม้อื่น
มันอาศัยมือเกาะรูปตะขอไว้เกาะเกี่ยวกับกิ่งไม้อื่นในการยึดเกาะ
แม้ว่ามันจะไม่ออกดอกบ่อยนัก
แต่ดอกการเวกก็กลิ่นหอมดี
อย่างไรก็ตามมีอยู่อย่างหนึ่งที่ผมไม่ค่อยชอบเกี่ยวกับต้นนี้ก็คือ
เวลาจะตัดแต่งกิ่งทีใด
ต้องคอยสังเกตให้ดี ๆ
เพราะมันเป็นที่ซ่อนตัวอย่างดีสำหรับงูเขียวหางไหม้
เพราะทั้งสีลำต้นและขนาดลำต้นมันกลมกลืนดีเหลือเกิน
ทีนี้พอจะทุบรั้วเพื่อเชื่อมที่ดินสองแปลงให้ติดกัน
จะตัดการเวกที่อยู่มานานทิ้งก็เสียดาย
ก็เลยต้องมีการสร้างซุ้มให้มันมีที่เลื้อยซะหน่อย
แม้ว่าจะเป็นเพียงแค่ซุ้มเล็ก
ๆ แต่ก็เป็นที่ทำให้มันอาศัยเลื้อยต่อไปยังต้นไม้ใหญ่ข้าง
ๆ และไต่ขึ้นไปบนตัวบ้านได้
ซุ้มนี้ไม่เพียงแต่เป็นที่สำหรับให้การเวกอาศัย
ด้วยการที่ใบมันดกทั้งปี
และใต้ซุ้มก็เป็นที่โปร่ง
ก็เลยมีนกมาทำรังออกไข่อยู่เป็นประจำ
นอกจากนี้ก็ยังมีไม้เลื้อยสารพัดชนิดที่ใครต่อใครเอาเมล็ดหรือฝักมาโปรยทิ้งไว้ข้าง
ๆ เลื้อยไต่ขึ้นเต็มไปหมด
ไม่ว่าจะเป็น ตำลึง อัญชัน
ตำลึง และ "ย่านพาโหม"
รูปที่ ๒ ซุ้มการเวกเล็ก ๆ ที่สุดท้ายก็กลายเป็นสถานที่ให้ไม้เลื้อยหลากหลายพันธุ์เจริญเติบโต
รูปที่ ๒ ซุ้มการเวกเล็ก ๆ ที่สุดท้ายก็กลายเป็นสถานที่ให้ไม้เลื้อยหลากหลายพันธุ์เจริญเติบโต
ย่านพาโหมนี้คุณแม่เอาเมล็ดพันธุ์จากบ้านทางใต้มาโรยเอาไว้
บอกว่าใบเอาไว้กินกับข้าวยำได้
ตอนแรกผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามันคืออะไร
นึกว่าเป็นวัชพืชขึ้นแข่งกับผักตำลึง
(ที่มันมีอยู่รอบบ้านไปหมด)
ดังนั้นเวลาตัดแต่งกิ่งไม้เลื้อยแต่ละที
ก็ต้องระวังไม่ไปตัดเอาลำต้นหลักของมัน
ไม่งั้นมันจะตายทั้งหมด
เอาแค่กำจัดกิ่งย่อยออกซะบ้าง
ไม่ให้รกเกินไป
รูปที่ ๓ ซากรังนกกางเขนที่มาอาศัยซุ้มการเวกทำรังออกไข่
รูปที่ ๓ ซากรังนกกางเขนที่มาอาศัยซุ้มการเวกทำรังออกไข่
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานบอกว่าบางทีก็เรียก
"ย่านพาโหม"
นี้ว่า
"ตดหมูตดหมา"
แต่พอค้นดูทางอินเทอร์เน็ตก็มีคนเรียกว่า
"ตูดหมูตูดหมา"
แต่ผมว่าชื่อ
"ตูดหมูตูดหมา"
มันน่าจะเป็นการเรียกที่เพี้ยนมาจาก
"ตดหมูตดหมา"
มากกว่า
เพราะถ้าเป็นการเรียกชื่อด้วยการใช้ลักษณะที่มี
"กลิ่นเหม็น"
ไม่ได้ใช้
"รูปร่าง"
ที่เหมือน
ดังนั้นคำว่า "ตด"
จึงตรงความหมายในขณะที่คำว่า
"ตูด"
นั้นจะไม่สื่อถึงอะไรเกี่ยวกับต้นนี้เลย
ที่เขียนเรื่องนี้ใช่ว่าเป็นเพราะมีความรู้ดีเกี่ยวกับต้นไม้
อันที่จริงเป็นเพราะไม่ค่อยรู้อะไรต่างหาก
พอได้เรียนรู้อะไรมาก็เอามาเขียนบันทึกไว้กันลืม
จะได้รู้ว่าแต่ละสิ่งที่อยู่รอบบ้านนั้นมันมีที่มาที่ไปอย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น