คำคู่หนึ่งที่ทำให้หลายคนที่เริ่มอ่าน
P&ID
สับสนคือ
"Gauge
(เกจ)"
กับ
"Indicator"
คำคู่นี้เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์วัดคุม
ถ้าพูดถึง gauge
จะหมายถึงอุปกรณ์วัดที่ต้องไปอ่านที่ตัวอุปกรณ์
ณ ตำแหน่งที่ติดตั้งตัวอุปกรณ์
ส่วนคำว่า indicator
มักหมายถึงตัวอุปกรณ์ที่ทำการส่งสัญญาณค่าที่วัดได้นั้นไปแสดงผลยังที่อื่น
เช่นห้องควบคุม
หรือไม่ก็บริเวณใกล้เคียงกับสถานที่ติดตั้งตัวอุปกรณ์นั้น
เช่นอาจเป็นเพราะอุปกรณ์วัดติดตั้งในตำแหน่งที่ไม่สะดวกในการเข้าไปอ่านค่า
แต่ก็มีเหมือนกันที่บางคนมองว่าถ้าเป็น
gauge
จะเป็น
mechanical
และถ้าเป็น
indicator
จะเป็นอิเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่างเช่น
pressure
gauge หรือเกจวัดความดัน
(ย่อว่า
PG)
ที่มีติดตั้งอยู่ทางด้านขาออกของปั๊มเป็นประจำ
ถ้าปั๊มตัวไหนมีการติดตั้งแค่า
PG
และอยากทราบความดันด้านขาออกของปั๊มตัวนั้น
เราก็ต้องเดินไปอ่านค่าจากเกจวัดความดันที่ปั๊มตัวนั้น
แต่ถ้ามีการติดตั้ง pressure
indicator (PI) เราก็สามารถนั่งอ่านค่านั้นอยู่ที่ห้องควบคุม
และในกรณีที่ต้องการเอาค่าที่อ่านได้ไปเป็นสัญญาณควบคุม
ก็จะใช้อุปกรณ์พวก indicator
เป็นตัววัดโดยนำค่าสัญญาณที่ตัว
indicator
อ่านได้นั้นส่งออกไปเป็นสัญญาณควบคุม
กลายเป็นอุปกรณ์ที่เรียกว่า
indicator
and controller ที่ย่อว่า
IC
ต่อท้ายสิ่งที่วัดและควบคุม
เช่น TIC
ก็หมายถึง
Temperature
indicator and controller
คือเป็นอุปกรณ์ที่วัดค่าอุณหภูมิและนำค่าที่อ่านได้นั้นไปเป็นสัญญาณควบคุมอุณหภูมิ
แต่ถ้าเป็นเพียงแค่ TI
ที่หมายถึง
Temperature
indicator
ก็จะเป็นเพียงแค่อุปกรณ์ที่แสดงค่าอุณหภูมิที่วัดได้ให้เราทราบเท่านั้น
อุปกรณ์วัดตัวหนึ่งที่มีการนำไปประยุกต์ใช้งานกันหลายหลายจนทำให้เกิดความสับสนได้คืออุปกรณ์วัด
"ความดัน"
เพราะนอกจากใช้บอกความดันในระบบโดยตรงแล้ว
ยังใช้ในการวัด "ระดับของเหลว"
และ
"อัตราการไหล"
ของทั้งของเหลวและแก๊สด้วย
ในการนำอุปกรณ์วัดความดันไปวัดระดับของเหลวนั้น
จะใช้การวัดผลต่างความดันระหว่างสองตำแหน่ง
โดยตำแหน่งหนึ่งอยู่เหนือผิวของเหลว
และอีกตำแหน่งหนึ่งอยู่ใต้ผิวของเหลว
(แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นก้นถังนะ
ต้องดูตำแหน่งที่ติดตั้งอุปกรณ์เป็นหลัก
เพราะบางทีเขาก็ไม่ได้ติดตั้งอยู่ที่ตำแหน่งที่ต่ำสุดของถัง)
การที่ต้องติดตั้งอุปกรณ์วัดความดันตัวหนึ่งไว้เหนือผิวของเหลวก็เพื่อไม่ให้ความดันเหนือผิวของเหลวส่งผลต่อค่าผลต่างความดันที่วัดได้
แต่ก็เคยเห็นเหมือนกันที่มีการติดตั้งตัววัดความดันที่ตำแหน่งเดียวคือที่ใต้ผิวของเหลว
ซึ่งกรณีนี้เป็นกรณีของการเก็บของเหลวที่ความดันบรรยากาศ
ส่วนการใช้อุปกรณ์วัดความดันวัดอัตราการไหลนั้นก็ใช้การวัดค่าผลต่างความดันระหว่างสองตำแหน่งบนเส้นทางการไหล
เช่นระหว่างความยาวของท่อ
venturi
หรือด้านหน้า-หลังของแผ่น
orifice
แต่การใช้การวัดความดันเป็นตัวบ่งบอกระดับของเหลวหรืออัตราการไหลนั้นมีสิ่งสำคัญที่ต้องระวังคือ
มันให้ค่าที่ถูกต้องเมื่อความหนาแน่นของของเหลวหรือแก๊สที่วัดนั้น
"คงที่"
และเท่ากับค่าที่ใช้ในการสอบเทียบ
(calibrate)
อุปกรณ์วัดนั้น
เพราะเคยมีเหมือนกันที่ผู้ปฏิบัติงานคิดว่าระดับของเหลวในถังเปลี่ยน
ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงนั้นไม่ได้เปลี่ยน
แต่ที่อุปกรณ์วัดแสดงค่าระดับของเหลวเปลี่ยนเป็นเพราะ
"ความหนาแน่น"
ของของเหลวในถังนั้นเปลี่ยนไป
(ดูตัวอย่างได้ใน
Memoir
ปีที่
๔ ฉบับที่ ๔๔๓ วันพุธที่ ๒
พฤษภาคม ๒๕๕๕ เรื่อง
"เมื่อระดับตัวทำละลายใน polymerisation reactor" เพิ่มสูงขึ้น)
๖
ภาพในชุดนี้จะเรียกว่าเป็น
check
list เสีย
๓ ภาพก็น่าจะได้
คือเป็นกึ่งแบบสอบถามเกี่ยวกับความจำเป็นที่ต้องมีอุปกรณ์วัดและการเลือกชนิดอุปกรณ์วัดความดันและอัตราการไหล
๒ ภาพ และเกี่ยวกับตัวกรอง
(strainer)
อีก
๑ ภาพ และอีก ๓ ภาพที่เหลือเป็นอุปกรณ์จิปาถะคือ
อุปกรณ์ลดความร้อนไอน้ำร้อนยวดยิ่ง
(desuperheater)
ที่ใช้เป็นไอน้ำร้อนยวดยิ่งเป็นไอน้ำอิ่มตัว
ระบบขับเคลื่อนกังหันไอน้ำ
และอุปกรณ์ลดการกระเพื่อมของการไหล
(pulsation
dampener)
รูปที่
๑ ตัวอย่าง check
list ความต้องการอุปกรณ์วัดระดับของเหลว
โดยเริ่มจากถามความต้องการเกจวัดระดับ
(LG
- Level Gauge) หรือไม่
ตำแหน่งที่ติดตั้ง
ต้องการอินดิเคเตอร์สำหรับวัดระดับ
(LI
- Level Indicator) หรือไม่
และต้องการสัญญาณแจ้งเตือน
(Alarm)
ด้วยหรือไม่
(มีได้ทั้งแจ้งเตือนระดับของเหลวที่สูงเกินไปหรือ
high
level alarm และแจ้งเตือนระดับของเหลวที่ต่ำเกินไปหรือ
low
level alarm) รายละเอียดการติดตั้งอุปกรณ์วัดคุมเหล่านี้จะไม่ปรากฏใน
P&ID
ของกระบวนการ
แต่จะไปอยู่ในรายละเอียดการติดตั้งอุปกรณ์
ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบอุปกรณ์
รูปที่
๒ ตัวอย่าง check
list
ความต้องการอุปกรณ์วัดและควบคุมอัตราการไหลหรือวาล์วควบคุมอัตราการไหล
โดยเริ่มจากต้องการให้มี
block
valve สำหรับวาล์วควบคุมหรือไม่
ยอมให้มีสาย bypass
วาล์วควบคุมหรือไม่
และให้ระบุชนิดวาล์วสำหรับสาย
bypass
ต้องการวาล์วระบาย
(drain)
ด้วยหรือไม่
อุปกรณ์ควบคุมนี้จะติดตั้งเข้ากับแผงควบคุม
(board
mounted) หรือไม่
และต้องการสัญญาณแจ้งเตือน
(ทั้งอัตราการไหลที่ต่ำเกินไปหรือสูงเกินไป)
ด้วยหรือไม่
พึงระลึกว่าอุปกรณ์วัดอัตราการไหลมักจะไม่ติดตั้งใกล้วาล์วควบคุม
เพราะตัวอุปกรณ์ต้องการการไหลที่ราบเรียบก่อนถึงตัวอุปกรณ์วัด
รูปที่
๓ ตัวกรองในที่นี้เป็นแบบไม่ต่อเนื่อง
คือเมื่อกรองจนตันก็ต้องถอดทำความสะอาด
ดังนั้นสำหรับระบบที่ทำงานต่อเนื่องจึงจำเป็นต้องมีตัวกรอง
๒ ตัวทำงานสลับกัน
คำถามในที่นี้เริ่มจากต้องมีท่อให้ความร้อน
(tracing)
หรือไม่
ต้องการท่อระบายแก๊ส (vent)
หรือไม่
ต้องการท่อระบายของเหลว
(drain)
หรือไม่
ต้องการระบบวัดการรั่วซึมด้วยหรือไม่
และต้องการอุปกรณ์วัดความดันคร่อมตัวกรองด้วยหรือไม่
อุปกรณ์วัดความดันคร่อม
(PDG)
บอกให้รู้ว่าตัวกรองตันหรือยัง
ถ้าความดันคร่อมสูงก็แสดงว่าตัวกรองตันแล้ว
รูปที่
๔
ในกรณีของโรงงานที่มีการผลิตไอน้ำจำนวนมากเกินความต้องการของการให้ความร้อน
(เช่นการผลิตเอทิลีนที่มีการผลิตไอน้ำที่
transfer
line cxchanger เพื่อลดอุณหภูมิแก๊สร้อน)
ก็อาจใช้ไอน้ำที่ผลิตได้นี้ในการขับเคลื่อนอุปกรณ์ขนาดใหญ่ที่สำคัญแทนการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อน
เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการสูญเสียการทำงานทันทีที่ไฟฟ้าดับ
ไอน้ำที่ใช้ในการขับเคลื่อนกังหันไอน้ำจะเป็นไอน้ำร้อนยวดยิ่ง
(superheated
steam)
และแทนที่จะควบแน่นไอน้ำความดันต่ำด้านขาออกให้กลายเป็นของเหลวเหมือนโรงไฟฟ้า
ก็นำเอาไอน้ำความดันต่ำด้านขาออกนี้ไปใช้ในส่วนอื่นแทน
รูปที่
๕ การส่งไอน้ำอิ่มตัว
(saturated
steam) เป็นระยะทางไกลจะมีปัญหาเรื่องการควบแน่นในเส้นท่อ
วิธีการเลี่ยงวิธีหนึ่งคือการส่งในรูปของไอน้ำร้อนยวดยิ่ง
(superheated
steam)
และค่อยลดอุณหภูมิไอน้ำร้อนยวดยิ่งนั้นลงด้วยการฉีดน้ำที่เกิดจากไอน้ำควบแน่น
(steam
condensate) เข้าไปผสม
เพื่อให้ได้ไอน้ำอิ่มตัว
ณ อุณหภูมิและความดันที่ต้องการ
อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ผสมนี้เรียกว่า
desuperheater
พึงสังเกตว่าขนาดของวาล์วควบคุมนั้นจะเล็กกว่าขนาดท่อ
(ในแบบจะเห็นมี
reducer
อยู่)
ซึ่งเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ตามปรกติสำหรับท่อขนาดใหญ่
รูปที่
๖ Dampener
เป็นอุปกรณ์ลดการกระเพื่อมของการไหลของของเหลว
(พวกปั๊มน้ำอัตโนมัติที่ใช้กันตามบ้านก็มักมีรวมอยู่ในตัว)
โครงสร้างประกอบด้วยถังที่มีอากาศ
(หรือแก๊สเฉื่อย)
อยู่ทางด้านบนและของเหลวอยู่ทางด้านล่าง
โดยมีแผ่นไดอะแฟรมที่เป็นวัสดุยืดหยุ่นกั้นระหว่างชั้นของเหลวกับอากาศ
เมื่อความดันขึ้นสูง
อากาศในถังจะถูกอัด
อัตราการไหลจะถูกหน่วงไม่ให้เพิ่มขึ้นมาก
ในทางกลับกันเมื่อความดันลดต่ำลง
อากาศในถังจะดันของเหลวในถังให้ไหลออกมาชดเชย
อัตราการไหลจะได้ไม่ลดต่ำลงมากเกินไป
ทำให้รูปแบบการไหลราบเรียบขึ้น
ไอน้ำอิ่มตัว
(saturated
steam) หรือไอน้ำที่จุดเดือดของน้ำที่ความดันนั้น
ๆ เป็นไอน้ำที่เหมาะกับการให้ความร้อน
ในขณะที่ไอน้ำร้อนยวดยิ่ง
(superheated
steam) หรือไอน้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจุดเดือดของน้ำที่ความดันนั้น
เป็นไอน้ำที่เหมาะกับการขับเคลื่อนกังหันไอน้ำ
แต่การส่งไอน้ำอิ่มตัวไปตามระบบท่อเป็นระยะทางไกลจะเกิดปัญหาการสูญเสียเนื่องจากการควบแน่น
วิธีการแก้ปัญหาวิธีการหนึ่งคือทำการส่งในรูปของไอน้ำร้อนยวดยิ่ง
และเมื่อจะใช้งานก็ให้เปลี่ยนไอน้ำร้อนยวดยิ่งนั้นเป็นไอน้ำอิ่มตัวด้วยการฉีดน้ำที่เป็นของเหลวเข้าไปผสม
อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ดังกล่าวมีชื่อว่า
Desuperheater
Steam
condensate
หรือน้ำที่เกิดจากการควบแน่นของไอน้ำนั้นไม่เหมือนกับน้ำป้อนเข้าหม้อน้ำหรือ
Boiler
Feed Water (BFW) ที่ใช้ในการผลิตไอน้ำ
น้ำที่นำไปผลิตไอน้ำนั้นจะยังมีแร่ธาตุต่าง
ๆ ละลายปนอยู่บ้าง ซึ่งเมื่อนำไปต้ม
แร่ธาตุเหล่านี้จะสะสมอยู่ในหม้อน้ำและต้องทำการระบายทิ้งเป็นระยะเพื่อไม่ให้สะสมมากเกินไป
ส่วนไอน้ำที่ระเหยออกไปนั้นจะไม่มีแร่ธาตุติดไปด้วย
ดังนั้นน้ำที่เกิดจากการควบแน่นของไอน้ำจึงไม่มีแร่ธาตุละลายปะปนเหมือนกับน้ำที่นำมาต้มเพื่อผลิตไอน้ำ
การลดความร้อนไอน้ำร้อนยิ่งยวดให้กลายเป็นไอน้ำอิ่มตัวด้วยการฉีดน้ำเข้าไป
จึงควรนำเอา steam
condensate มาฉีดผสม
เพราะถ้าเอาน้ำที่มีเกลือแร่ละลายปนอยู่
เกลือแร่เหล่านั้นจะตกตะกอนสะสมในระบบท่อได้
ปั๊มหรือคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ
(piston
type หรือ
reciprocating
type)
จะให้รูปแบบการไหลที่มีลักษณะกระเพื่อมเป็นจังหวะตามจังหวะการทำงานของลูกสูบ
ในส่วนของตัวเครื่องเองนั้นถ้าเป็นเครื่องที่มีหลายลูกสูบทำงานเหลื่อมจังหวะกัน
การไหลก็จะมีลักษณะรายเรียบขึ้น
ปัญหาเรื่องการไหลที่มีลักษณะกระเพื่อมจากอุปกรณ์พวกนี้
ถ้าเป็นกรณีของแก๊สก็แก้ไม่ยาก
ด้วยการติดตั้งถังพัก
โดยให้คอมเพรสเซอร์อัดแก๊สเข้าถังพัก
และดึงแก๊สจากถังพักไปใช้
ด้วยปริมาตรถังพักที่ใหญ่พอก็จะทำให้สามารถดึงแก๊สออกจากถังพักด้วยด้วยรูปแบบการไหลที่ไม่กระเพื่อมได้
ในกรณีของของเหลวจะมีปัญหามากกว่าเพราะของเหลวนั้นอัดตัวไม่ได้
แต่วิธีการแก้ก็มีรูปแบบที่อาจเรียกได้ว่าลอกเลียนแบบกันคือมีการติดตั้งถังพักที่เรียกว่า
dampener
แต่ในถังพักนี้มีการแบ่งบรรจุของเหลวและแก๊สโดยมีแผ่นไดอะแฟรมที่เป็นวัสดุยืดหยุ่นขวางกั้นเอาไว้
ในขณะที่ความดันของการไหลเพิ่มขึ้น
ของเหลวส่วนหนึ่งจะถูกอัดเข้าไปในถัง
ทำให้อัตราการไหลด้านขาออกนั้นไม่เพิ่มสูงตามอัตราการไหลที่ออกจากปั๊ม
ในทางกลับกันเมื่ออัตราการไหลด้านขาออกจากปั๊มลดต่ำลง
ความดันในถังจะดันให้ของเหลววที่สะสมอยู่ไหลออกมาชดเชย
ทำให้อัตราการไหลด้านขาออกนั้นไม่ลดต่ำลงตามอัตราการไหลที่มาจากปั๊ม
ทำให้รูปแบบการไหลราบเรียบขึ้น
ปั๊มน้ำอัตโนมัติที่ใช้กันตามบ้านที่ใช้สวิตช์ความดันเป็นตัวควบคุมการเปิด-ปิดปั๊ม
แม้ว่าจะเป็นปั๊มหอยโข่งก็มักจะมีตัว
dampener
นี้ติดตั้งอยู่
โดยมีขนาดเล็กติดตั้งอยู่ภายในฝาครอบตัวปั๊ม (รูปที่ ๗ และ ๘)
แต่บางยี่ห้อก็มีลักษณะเป็นถังกลมใบใหญ่ติดตั้งอยู่บนตัวปั๊ม
ในกรณีนี้ตัว dampener
จะช่วยทำให้ความดันในระบบท่อไม่เปลี่ยนแปลงเร็วเกินไปโดยเฉพาะเวลาที่เปิดน้ำให้ไหลน้อย
ๆ เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้ปั๊มน้ำเปิด-ปิดสลับกันตลอดเวลา
(คือพอเปิดน้ำใช้ปุ๊ม
ความดันในท่อจะตกลงทันที
ปั๊มก็จะทำงาน แต่ด้วยการไหลต่ำ
ๆ พอปั๊มทำงาน
ความดันในระบบท่อก็จะขึ้นสูงทันที
ปั๊มก็จะหยุดการทำงาน
และจะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อย
ๆ ตัว dampener
จะช่วยลดปัญหานี้)
รูปที่ ๖ ปั๊มน้ำอัตโนมัติที่ใช้กันตามบ้าน
รูปที่ ๗ พอเปิดฝาครอบออกก็จะเป็นดังนี้ ปั๊มเป็นชนิดปั๊มหอยโข่ง ตัว Dampener ระบุไว้ว่าบรรจุแก๊สไนโตรเจนที่ความดัน 1.2 kg/cm2
รูปที่ ๖ ปั๊มน้ำอัตโนมัติที่ใช้กันตามบ้าน
รูปที่ ๗ พอเปิดฝาครอบออกก็จะเป็นดังนี้ ปั๊มเป็นชนิดปั๊มหอยโข่ง ตัว Dampener ระบุไว้ว่าบรรจุแก๊สไนโตรเจนที่ความดัน 1.2 kg/cm2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น