ในขณะที่ในตัวเมืองเขากำลังมีการย้ายสายไฟฟ้าที่พาดตามเสาไฟฟ้าลงใต้ดิน
เพื่อให้บ้านเมืองมันดูเรียบร้อยขึ้น
แต่ถนนแถวบ้านผมเขากลับทำตรงข้ามกัน
คือต้องย้ายสายไฟจากเดิมที่ฝังดินมาพาดเสาไว้เหนือดินแทน
เหตุผลก็เพราะป้องกันไม่ให้สายไฟโดนขโมยไปอีก
ถนนเส้นเลียบทางรถไฟสายใต้นี้สร้างเมื่อราว
ๆ ๑๐ ปีที่แล้ว ตอนที่เขาสร้างทางรถไฟ
(สายสีอะไรก็ไม่รู้)
ระหว่างตลิ่งชันกับบางซื่อ
พอสร้างใกล้เสร็จก็เจอกับน้ำท่วมใหญ่ปี
๒๕๕๔ เลยต้องมีการซ่อมแซมกันยกใหญ่
พอซ่อมแซมเสร็จก็มีโครงการทางด่วนเข้ามาอีก
เรียกว่ากว่าจะได้ใช้งานได้เต็มที่ก็เมื่อราว
ๆ ๒ ปีที่แล้วตอนเปิดใช้ทางด่วน
แต่ตอนนี้ก็กำลังมีรายการสร้างสะพานกลับรถเพิ่มอีก
จำได้ว่าถนนเส้นนี้ตอนสร้างเสร็จใหม่
ๆ มันก็มีไฟส่องสว่าง
แต่ต่อมามันก็มืดไป
ยังคิดว่าระบบไฟฟ้าคงมีปัญหา
มาทราบทีหลังจากคุณน้าข้างบ้านตอนเจ้าหน้าที่เขามาซ่อมแซมว่า
ที่ไฟมันดับไปก็เพราะสายไฟฟ้าโดนขโมย
คงเป็นเพราะสายไฟมันฝังดินอยู่
แค่เปิดฝาครอบที่โคนเสาโคมไฟก็สามารถลากเอาสายไฟออกไปได้แล้ว
พอเจ้าหน้าที่มาซ่อมแซมใหม่ก็เลยเปลี่ยนเป็นพาดสายเข้ากับตัวเสาโคมไฟเสียเลย
(รูปที่
๑ และ ๒)
เมื่อวันจันทร์มีธุระต้องใช้สะพานลอยเดินไปตลาดที่อยู่อีกฟากของทางรถไฟ
ก็เลยเพิ่งสังเกตเห็นว่าสะพานลอยก็คงจะโดนไปเหมือนกัน
คือโคมไฟส่องสว่างบนสะพานลอยมันหายไปทั้งตัวโคมหลายจุด
บางจุดตัวโคมก็ยังคงอยู่แต่สายถูกถอดออกไปหมด
(รูปที่
๓ -
๕)
รูปที่
๑ ถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ช่วงจากสะพานพระราม
๖ ไปยังสถานีรถไฟบางบำหรุ
เสาโคมไฟส่องสว่างริมถนนต้องย้ายสายไฟฟ้าจากเดิมที่เดินใต้ดินมาพาดสูง
(ตามแนวเส้นสีเหลือง)
เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกขโมยสายไฟไปอีก
รูปนี้ถ่ายจากสะพานลอยมองไปยังด้านไปสะพานพระราม
๖
รูปที่
๒ อีกฝั่งที่มุ่งไปยังสถานีรถไฟบางบำหรุก็ต้องทำแบบเดียวกัน
รูปที่
๓ สะพานลอยที่เชื่อมระหว่างซอยจรัญสนิทวงศ์
๗๕ (ซอยภาณุรังษี)
ฝั่งบางพลัด
กับหมู่บ้าน ส.ภาณุรังษี
ฝั่งบางกรวย ก็ไม่วายโดนเข้าไปเหมือนกัน
ดูเหมือนว่าจะโดนทั้งสายไฟ
โคมไฟ และหลอดไฟ
ถนนสามารถทำให้การเดินทางระหว่างสองจุดที่อยู่ไกลกันนั้นกระทำได้รวดเร็วขึ้น
และก็สามารถทำให้การเดินทางระหว่างสองจุดที่อยู่ใกล้กันนั้นต้องใช้เวลานานขึ้น
กรณีของถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ก็เป็นเช่นนี้
เพราะมันทำให้การเดินทางระหว่างถนนวงแหวนรอบนอกกับสะพานพระราม
๗ นั้นเร็วขึ้น
แต่สำหรับชุมชนสองฟากทางรถไฟแล้ว
มันตรงข้ามกัน
สุดซอยจรัญสนิทวงศ์
๗๕ ฝั่งบางพลัดกับหมู่บ้าน
ส.ภาณุรังษี
ฝั่งบางกรวยที่อยู่ฟากตรงข้ามของทางรถไฟนั้น
เดิมมีสะพานข้ามทางรถไฟเชื่อมอยู่
แต่พอมีการตัดถนนและทางรถไฟชานเมืองก็ทำให้ต้องรื้อสะพานดังกล่าวออก
การเดินทางด้วยรถระหว่างสองฝั่งจากเดิมที่อยู่คนละฟากของทางรถไฟกลายเป็นต้องวิ่งรถอ้อมกันร่วม
๒ กิโลเมตร (แถมรถติดมากอีกต่างหาก)
หรือแม้แต่สะพานลอยคนข้ามเองก็ตามที่มีระดับที่สูงมาก
จนผู้สูงอายุ (แถวนี้มีมากซะด้วย)
ลำบากที่จะใช้
แต่มันก็มีข้อดีอยู่เหมือนกันตรงที่
ทำให้การจราจรในซอยมันดีขึ้นมาก
เพราะรถภายนอกไม่จำเป็นต้องใช้ซอยนี้เป็นทางลัดอีกต่อไป
รูปที่
๔ เรียกว่าโดนถอดออกไปเกือบหมด
สภาพดูแล้วไม่คิดว่าจะเป็นการซ่อมแซมหรือปรับปรุง
รูปที่
๕ ยังมีเศษซากโคมไฟที่แตกทิ้งไว้ให้ดูเล่นบนสะพานลอยด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น