จากประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการสอนนิสิตทำการทดลองต่าง ๆ ให้ห้องปฏิบัติการมาเป็นเวลาหลายปี พบว่านิสิตส่วนใหญ่ (หรือเกือบทุกคน) เป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งที่ดี แต่อาจจะเรียกว่าดีเกินไปแบบ "เถรตรง" ก็ได้ กล่าวคือถ้ากำหนดวิธีการทำการทดลองต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้า นิสิตแต่ละรายก็จะทำการทดลองไปตามนั้น และก็ไม่คิดที่จะสังเกตอะไรถ้าหากว่าคู่มือการทำการทดลองไม่ได้กล่าวไว้ อย่างเช่นถ้าคู่มือการทำการทดลองบอกว่าให้สังเกตการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ นิสิตก็จะคอยเฝ้าดูแต่ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิหรือไม่ บางรายก็ดูแค่ว่าอุณหภูมิมันเปลี่ยนจริง ๆ แต่พอถามต่อว่าแล้วมันเปลี่ยนแบบเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ตอบไม่ได้ เพราะคู่มือการทดลองบอกว่าให้ดูว่าเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยน ไม่ได้บอกให้ดูว่าเปลี่ยนแบบเพิ่มขึ้นหรือลดลง หรือถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงสีด้วยในระหว่างการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ แต่ถ้าคู่มือไม่ได้บอกให้ดูการเปลี่ยนสี นิสิตก็จะไม่สนใจว่ามีการเปลี่ยนสีด้วยหรือไม่
การทดลองในระดับปริญญาตรีนั้นเป็นการทดลองเพื่อแสดงให้เห็นว่าทฤษฎีต่าง ๆ ที่เรียนกันมาในห้องเรียนนั้นเป็นจริง และการออกแบบการทดลองนั้นก็เพื่อให้ง่ายต่อผู้ที่ต้องทำการจัดเตรียมอุปกรณ์ สารเคมี ฯลฯ และเพื่อให้ง่ายแก่ผู้ที่ทำการตรวจรายงานการทดลอง แต่การทดลองในระดับบัณฑิตศึกษานั้นแตกต่างออกไป
การทดลองในระดับบัณฑิตศึกษาเป็นการทดลองเพื่อศึกษาว่าทฤษฎีที่ตั้งขึ้นมานั้นเป็นจริงหรือไม่ หรือศึกษาในสิ่งที่ยังไม่มีผู้ใดเคยทำการศึกษามาก่อน ระเบียบวิธีการทำการทดลองต้องเขียนขึ้นมากันเอง พารามิเตอร์ต่าง ๆ ที่ต้องทำการควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงก็ต้องกำหนดกันเอง ปัญหาหนึ่งที่ผู้ทำการทดลองมักประสบคือในการศึกษาเพื่อต้องการทราบว่าเมื่อพารามิเตอร์แต่ละตัวเปลี่ยนแปลงไปนั้นผลการทดลองที่ได้จะเป็นอย่างไร คำถามที่สำคัญที่ผู้ทำการทดลองต้องตอบให้ได้ก็คือ เมื่อทำการเปลี่ยนค่าพารามิเตอร์นั้น ค่าแต่ละจุด "ควรจะแตกต่างกันเท่าใด" เพราะถ้าแตกต่างกันน้อยเกินไปก็อาจทำให้ไม่เห็นผล แต่ถ้าแตกต่างกันมากเกินไปก็อาจได้ข้อมูลที่อยู่ต่างกันสุดขั้วเกินไปจนไม่อาจทราบได้ว่าผลการทดลองที่ได้นั้นมีความว่องไว (sensitive) ต่อการเปลี่ยนค่าพารามิเตอร์ดังกล่าวมากน้อยเพียงใด
Memoir ฉบับนี้คงไม่ได้ให้คำตอบแบบฟันธงไปว่า "ค่าแต่ละจุดควรจะแตกต่างกันเท่าใด" แต่จะขอยกตัวอย่างบางตัวอย่างที่เคยประสบมามาเล่าสู่กันฟัง
ตัวอย่างที่ 1 การสร้าง titration curve
ในการสอนวิชาปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์เรื่องการหาจุดยุติของการไทเทรตกรด-เบสด้วยการใช้พีเอชมิเตอร์วัดค่าพีเอชของสารละลายเมื่อหยดสารละลายมาตรฐาน (ในที่นี้สมมุติให้เป็นเบส) ลงไปในสารตัวอย่าง (ในที่นี้สมมุติว่าให้เป็นกรด) ในปริมาตรต่าง ๆ กัน แล้วนำปริมาตรสารละลายเบสที่หยด กับค่าพีเอชของสารละลายตัวอย่างที่วัดได้ มาเขียนเป็นกราฟที่เรียกว่า titration curve นั้น ผมจะบอกนิสิตเสมอว่า ในช่วงที่อยู่ห่างจากจุดสมมูล (ไม่ว่าจะก่อนถึงหรือเลยไปแล้ว) มากนั้น คุณอาจเติมเบสลงไปได้ทีละ 10-20 ml โดยที่ค่าพีเอชของสารละลายเปลี่ยนไปเพียงแค่ 0.1-0.3 หน่วย แต่ในช่วงที่เข้าใกล้จุดสมมูลหรือช่วงที่กำลังเคลื่อนที่ผ่านจุดสมมูลนั้น การเติมเบสลงไปเพียงแค่ 0.1 ml ก็สามารถทำให้ค่าพีเอชของสารละลายเปลี่ยนไปได้ถึง 1-3 หน่วย ดังนั้นถ้าทำการทดลองโดยกำหนดให้เติมเบสแต่ละครั้งในปริมาณที่เท่า ๆ กันก็ก่อให้เกิดปัญหาในการทำการทดลองได้ กล่าวคือถ้าเลือกเติมเบสทีละ 0.1 ml ตั้งแต่เริ่มทำการทดลอง ก็ไม่รู้ว่าจะทำการทดลองเสร็จในเวลา 3 ชั่วโมงหรือเปล่า แต่ถ้าเลือกเติมทีละ 0.5 ml ก็จะมองไม่เห็นตำแหน่งของจุดสมมูล จะเห็นเพียงแค่ตำแหน่งก่อนถึงจุดสมมูล และตำแหน่งที่เลยจุดสมมูลไปแล้ว
ดังนั้นเพื่อให้การทดลองเสร็จสิ้นในเวลาที่เหมาะสมและได้ผลการทดลองที่ถูกต้อง ในช่วงที่อยู่ห่างจากจุดสมมูลมากเราก็ควรต้องเติมเบสลงไปทีละมาก ๆ แต่ในช่วงที่เข้าใกล้จุดสมมูลเราต้องค่อย ๆ เติมเบสลงไปทีละน้อย ๆ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับนิสิตก็คือจะรู้ได้อย่างไรว่าขณะนั้นเราอยู่ห่างหรืออยู่ใกล้จุดสมมูล
สิ่งที่ต้องเฝ้าติดตามคือ "อัตราการเปลี่ยนแปลง" ซึ่งในที่นี้ก็คือ "ค่าพีเอชที่เปลี่ยนไป" หารด้วย "ปริมาตรเบสที่เติมเพิ่มเข้าไป" หรือ dpH/dV (ดูแต่ขนาด ไม่คิดเครื่องหมาย) ดังนั้นในระหว่างการทดลองนั้น ไม่ใช่สักแต่เพียงว่าเติมเบสลงไป แล้วก็อ่านค่าพีเอชแล้วก็เติมเบสเพิ่มเข้าไปอีก แล้วก็อ่านค่าพีเอช ..... แต่สิ่งที่ควรต้องทำคือ เติมเบสลงไป อ่านค่าพีเอช แล้วก็คำนวณค่า dpH/dV ว่ามีขนาดเท่าใด จากนั้นจึงใช้ค่า dpH/dV ที่คำนวณได้เป็นตัวตัดสินใจว่าครั้งต่อไปควรเติมเบสลงไปอีกเท่าไร (เท่าเดิม เพิ่มมากขึ้น หรือลดลง)
รูปที่ 1 กราฟการไทเทรตสารละลายกรด H2SO4 ด้วยสารละลายมาตรฐานเบส NaOH 0.1 M
รูปที่ 1 ข้างบนเป็นตัวอย่างที่ได้มาจากการทดลองการไทเทรตสารละลายกรด H2SO4 ด้วยสารละลายมาตรฐานเบส NaOH 0.1 Mที่ทำไว้ตั้งแต่วันพุธที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ในการทดลองนั้นผู้ทำการทดลองเกรงว่าจะพลาดบริเวณที่ค่าพีเอชมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ก็เลยค่อย ๆ หยดเบสลงมาทีละน้อย ๆ ผลก็คือกว่าจะเสร็จการทดลองก็ได้จุดสำหรับเขียนกราฟเกือบ 150 จุด
ตัวอย่างที่ 2 การเก็บตัวอย่าง
ในการทดลองหนึ่ง นิสิตผู้หนึ่งต้องทดสอบเสถียรภาพ (stability) และการเสื่อมสภาพ (deactivation) ของตัวเร่งปฏิกิริยา โดยการทำปฏิกิริยาที่อุณหภูมิสูงต่อเนื่องเป็นเวลา 7 วัน การตรวจดูว่าตัวเร่งปฏิกิริยามีการเสื่อมสภาพหรือไม่ อาศัยการเก็บตัวอย่างของแก๊สที่ออกมาจากเครื่องปฏิกรณ์ไปทดสอบ ถ้าตรวจพบการเพิ่มขึ้นของสารตั้งต้นหรือการลดลงของผลิตภัณฑ์ที่เกิดก็แสดงว่าตัวเร่งปฏิกิริยามีการเสื่อมสภาพ ปัญหาก็คือเราไม่อาจทราบได้ว่าตัวเร่งปฏิกิริยาจะเสื่อมสภาพด้วยอัตราเร็วเท่าใด ตลอดเวลา 7 วันนั้นตัวเร่งปฏิกิริยาอาจเสื่อมสภาพในวันแรกจนกระทั่งความว่องไว (activity) ลดลงจนคงที่ หรือตัวเร่งปฏิกิริยาค่อย ๆ เสื่อมสภาพลงตลอด 7 วันที่ทำการทดลอง ซึ่งจะทำให้เราเห็นความว่องไวของตัวเร่งปฏิกิริยาลดลงตลอดเวลา
เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่จะให้นิสิตผู้นั้นคอยเก็บตัวอย่างให้ถี่ที่สุดเท่าที่จะทำได้ตลอดระยะเวลา 7 วัน ดังนั้นความถี่ในการเก็บตัวอย่างจะต้องแปรเปลี่ยนตามอัตราการเสื่อมสภาพของตัวเร่งปฏิกิริยา สิ่งที่ต้องตรวจสอบว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่คือตัวเร่งปฏิกิริยาเกิดการเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วในช่วงนาทีหรือชั่วโมงแรก ๆ ของการใช้งานหรือไม่ ดังนั้นถ้าหากเราเก็บตัวอย่างแรกและตัวอย่างที่สองช้าเกินไป เราก็จะตรวจไม่พบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว (ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้ในบางปฏิกิริยานั้นเสื่อมสภาพจนความว่องไวลดลงจนคงที่ภายในเวลาไม่ถึง 15 นาที)
เมื่อเริ่มจับเวลาทำการทดลองนั้น ก็จะทำการเปิดให้แก๊สสารตั้งต้นไหลผ่านตัวเร่งปฏิกิริยา ดังนั้นตัวอย่างแรกที่จะเก็บได้จึงควรเก็บเมื่อประมาณว่าแก๊สสารตั้งต้นได้ไหลผ่านตัวเร่งปฏิกิริยาและระบบการไหลของแก๊สคงที่แล้ว ผลที่ได้จากตัวอย่างนี้จะเป็นตัวบอกความว่องไวเริ่มต้นของตัวเร่งปฏิกิริยาได้ดีที่สุด ส่วนการเก็บตัวอย่างที่สองนั้นควรทำเมื่อใดขึ้นอยู่กับว่าเราสามารถเก็บตัวอย่างเอาไว้เพื่อรอการวิเคราะห์ได้หรือไม่ ถ้าเราสามารถดึงเอาแก๊สตัวอย่างมาเก็บไว้ในภาชนะบรรจุเพื่อรอฉีด GC เราก็สามารถเก็บตัวอย่างที่สองในเวลาใดก็ได้ แต่ถ้าเป็นระบบที่ต่อตรงเข้ากับเครื่อง GC หรือเราไม่สามารถเก็บแก๊สตัวอย่างมารอการวิเคราะห์ (กล่าวคือเมื่อเก็บมาได้แล้วก็ต้องรีบนำไปฉีดเข้าเครื่อง GC เลย) การเก็บตัวอย่างที่สองจะทำได้ก็ต่อเมื่อเครื่อง GC วิเคราะห์ตัวอย่างแรกเสร็จ ดังนั้นการปรับตั้งเครื่อง GC ให้วิเคราะห์ตัวอย่างได้รวดเร็วจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้เราจะเก็บตัวอย่างที่สองได้ในเวลาไม่นานหลังจากที่ได้เก็บตัวอย่างแรก
รูปที่ 2 การออกซิไดซ์ 1-Propanol ด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา Co-Mg oxide บน Al2O3 ที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 48 ชั่วโมง
รูปที่ 2 เป็นผลการทดลองที่นิสิตปริญญาโทผู้หนึ่งทำไว้ในปีพ.ศ. 2544 จะเห็นว่าค่า conversion (จุดสีแดง) ของสารตั้งต้น (propane) ลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 10 ชั่วโมงแรก จากนั้นจึงค่อนข้างคงที่ การเก็บตัวอย่างในช่วงแรกจะเก็บทุก ๆ 30 นาที (เนื่องจาก GC วิเคราะห์ตัวอย่างหนึ่งใช้เวลาเกือบ 30 นาที) จากนั้นเมื่อเห็นค่า conversion มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ จึงยืดเวลาการเก็บตัวอย่างแต่ละตัวอย่างห่างกัน 1 ชั่วโมงจนถึง 6 ชั่วโมงในช่วงท้าย (ในความเป็นจริงนั้นในช่วง 24 ชั่วโมงแรกของการทดลองต้องหาเพื่อนที่ไว้วางใจในฝีมือได้มาช่วยทำการทดลอง เพราะยังต้องเฝ้าเก็บตัวอย่างที่ 1-2 ชั่วโมงอยู่)
ตัวอย่างที่ 3 อุณหภูมิทดสอบ
บ่อยครั้งที่เราทำการทดลองเพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิที่มีต่อ ปริมาณสารตั้งต้นที่ทำปฏิกิริยาไป ค่าการเลือกเกิดผลิตภัณฑ์ เสถียรภาพของตัวเร่งปฏิกิริยา ฯลฯ ในกรณีที่เป็นการทดลองในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่ง (fixed-bed) ที่เราทำกันอยู่ประจำนั้น มักจะเริ่มทำการทดลองโดยเริ่มจากอุณหภูมิต่ำก่อน (เช่น 150 องศาเซลเซียส) เมื่อระบบเข้าที่แล้วจึงเก็บตัวอย่างวิเคราะห์
ก่อนที่จะเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้นนั้นควรที่จะรอดูผลการวิเคราะห์ก่อนว่าใช้ได้หรือไม่ ถ้าตรวจแล้วพบว่าผลการวิเคราะห์นั้นยอมรับได้จึงค่อยเพิ่มอุณหภูมิระบบให้สูงขึ้น แต่ถ้าพบว่ายังใช้ไม่ได้ก็ให้เก็บตัวอย่างใหม่ การที่ต้องทำเช่นนี้เป็นเพราะถ้าเพิ่มอุณหภูมิระบบให้สูงขึ้นไปแล้วมาพบว่าตัวอย่างที่เก็บไว้ก่อนหน้าที่อุณหภูมิต่ำนั้นใช้ไม่ได้ เราจะไม่สามารถลดอุณหภูมิระบบลงมาเพื่อทำการทดลองที่อุณหภูมิต่ำใหม่ได้อีก เพราะเมื่อตัวเร่งปฏิกิริยาได้รับอุณหภูมิสูงแล้วอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ผันกลับได้ แต่สิ่งที่พบอยู่ประจำคือเมื่อเก็บตัวอย่างแล้วผู้ทดลองก็จะเพิ่มอุณหภูมิระบบเลย โดยไม่รอดูผลการวิเคราะห์ก่อน เนื่องจากต้องการให้เสร็จการทดลองเร็ว ๆ จะได้เอาเวลาไปทำอย่างอื่น ผลที่ตามมาคือต้องกลับมาทำการทดลองใหม่อยู่เสมอ
ในกรณีของระบบที่เป็นแบบ batch นั้นแตกต่างออกไป ตัวอย่างเช่นเราต้องการศึกษาผลของอุณหภูมิที่มีต่อการทำปฏิกิริยาในช่วงอุณหภูมิ 70-90 องศาเซลเซียส เราก็ควรทำการทดลองที่อุณหภูมิที่จุดปลาย 2 ข้างก่อน คือที่ 70 องศาเซลเซียสและที่ 90 องศาเซลเซียส ความแตกต่างของผลการทดลองที่ได้จากสองอุณหภูมินี้จะเป็นตัวกำหนดว่าในช่วง 70-90 องศาเซลเซียสนั้นเราควรทำการทดลองที่อุณหภูมิใดบ้าง ถ้าพบว่าแตกต่างกันมากเราก็อาจต้องทำการทดลองที่ 75 80 และ 85 องศาเซลเซียสเพิ่มเติม แต่ถ้าแตกต่างกันไม่มากเราก็อาจทำการทดลองเพียงแค่ที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียสที่เดียวพอ
อีกตัวอย่างหนึ่งได้แก่การศึกษาความคงทนต่ออุณหภูมิ (thermal stability) ของตัวเร่งปฏิกิริยา เช่นในกรณีที่เราคาดว่าตัวเร่งปฏิกิริยานั้นในสภาพใช้งานจริงไม่ควรเจออุณหภูมิสูงเกิน 500 องศาเซลเซียส เวลาที่จะทดสอบความทนต่ออุณหภูมิเราก็อาจนำตัวเร่งปฏิกิริยานั้นมาใช้งานที่ 550 หรือ 600 องศาเซลเซียส (หรือที่อุณหภูมิใด ๆ ที่เหมาะสมที่สูงเกินกว่า 500 องศาเซลเซียส) ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่สูงเกินว่าอุณหภูมิการใช้งานปรกติ
ตัวอย่างที่ 4 องค์ประกอบที่เปลี่ยนแปลงไป
ในการทดลองเพื่อหาผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณสาร (เช่น ปริมาณโลหะที่มีอยู่ในตัวเร่งปฏิกิริยา ความเข้มข้นของสารปนเปื้อนในสารตั้งต้น ค่าพีเอชของสารละลาย ฯลฯ) เราต้องทำการทดลองโดยการปรับเปลี่ยนปริมาณสารนั้น ๆ เพื่อดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น กรณีนี้ก็คล้ายคลึงกับการเลือกอุณหภูมิทดสอบ คือในสองการทดลองแรกเราควรเลือกจุดที่คิดว่าน่าจะแตกต่างกันจนเห็นผลก่อน จากนั้นจึงค่อยพิจารณาดูว่าจากผลการทดลองที่ได้มาสองผลนั้น ควรทำการเลือกการทดลองที่จุดต่อไปอย่างไร
ตัวอย่างเช่นสมมุติว่าเราต้องการศึกษาผลของพีเอชที่มีต่อการทำปฏิกิริยาในสารละลายในน้ำที่มีปริมาตรรวม 40 ml การทดลองแรกนั้นเราอาจทำการทดลองโดย
(ก) ใช้น้ำเพียงอย่างเดียว 40 ml ก่อนเพื่อใช้เป็นฐานเปรียบเทียบ
(ข) จากนั้นจึงทำการทดลองที่สองโดยอาจทำการผสมน้ำ 39 ml + กรด 1 ml เพื่อดูผลกระทบที่เกิดจากค่าพีเอชที่ลดลง
(ค) ถ้าพบว่าผลการทดลองที่ได้นั้นแตกต่างกันไม่มาก การทดลองครั้งที่สามก็อาจทำโดยการผสมน้ำ 37 ml + กรด 3 ml (ตรงนี้ผมแค่ยกตัวอย่างนะ กรุณาอย่าเถรตรงมากเกินไป เพราะในความเป็นจริงอาจเป็นน้ำ 38 ml + กรด 2 ml หรือน้ำ 35 ml + กรด 5 ml ก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างผลการทดลองสองครั้งแรก) หรือ
(ง) ถ้าพบว่ากรดที่เติมเข้าไปส่งผลกระทบอย่างมาก เราก็อาจปรับเป็นน้ำ 39.5 ml + กรด 0.5 ml หรือใช้น้ำ 39 ml + กรด 1 ml เหมือนเดิม แต่ลดความเข้มข้นของสารละลายกรดที่ใช้แทน
ในกรณีของการศึกษาปริมาณโลหะบนตัวเร่งปฏิกิริยาก็เช่นเดียวกัน เราควรเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาสองตัวที่มีปริมาณโลหะแตกต่างกันมากไว้ก่อน จากนั้นจึงนำตัวเร่งปฏิกิริยาสองตัวนี้ไปทำการทดลอง แต่สิ่งที่ต้องระวังคือบ่อยครั้งที่เราพบว่าการเติมโลหะเข้าไปในปริมาณน้อย ๆ (สมมุติว่าเป็น 1 wt%) กับการเติมโลหะเข้าไปในปริมาณมาก ๆ (สมมุติว่าเป็น 10 wt%) ให้ผลการทดลองที่ไม่ได้แตกต่างกันมาก สิ่งนี้ไม่ได้แปลว่าปริมาณโลหะไม่ส่งผลถึงความสามารถในการทำปฏิกิริยา แต่เป็นเพราะปริมาณโลหะที่ทำให้ตัวเร่งปฏิกิริยามีความว่องไวมากที่สุดนั้นต้องมีปริมาณที่เหมาะสม กล่าวคือไม่มากหรือน้อยเกินไป เพราะพอเรามาทำการทดลองโดยปรับปริมาณโลหะให้อยู่ในช่วง 1-10 wt% ก็อาจพบว่าปริมาณโลหะที่เหมาะสมที่ทำให้ตัวเร่งปฏิกิริยาว่องไวมากที่สุดคือ 3 wt% ก็ได้ ถ้าเติมไปน้อยหรือมากกว่านี้ก็จะทำให้ความว่องไวของตัวเร่งปฏิกิริยาลดลง
การทำการทดลองนั้นไม่ใช่สักแต่ว่าทำตามคำสั่งแบบไม่ให้ผิดเพี้ยน เพราะถ้าผมต้องการคนมาทำการทดลองเพื่อให้ทำแบบตามคำสั่งไม่ให้ผิดเพี้ยนแบบนี้ก็ไม่ต้องรับนิสิตป.โท หรือป.เอก หรอก รับใครก็ได้ที่คิดอะไรไม่เป็นมาทำการทดลองก็ได้ผลเหมือนกัน สิ่งสำคัญที่พวกคุณควรจะได้ไปในระหว่างการทำการทดลองคือการหัดสังเกต (ทั้ง ตาดู หูฟัง และจมูกดมกลิ่น) และการตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพราะเมื่อการทดลองเริ่มแล้วถ้าหยุดเมื่อใดก็ต้องกลับมาเริ่มใหม่หมด ซึ่งหมายถึงเสียเวลาไปทั้งวันโดยที่ไม่ได้อะไรเลย แต่ถ้าในขณะที่เราเจอปัญหาและเราสามารถแก้ปัญหานั้นได้ทัน (ภาวนาเสมอขอให้พวกคุณมีความสามารถเช่นนั้น) เราก็สามารถทำการทดลองต่อไปได้โดยที่อาจยืดเวลาการทดลองในวันนั้นออกไปหน่อย แต่ไม่ต้องมาเริ่มต้นใหม่หมดในอีกวันถัดมา
เรื่องที่ว่าควรต่างกันเท่าใดนั้นก็เป็นเรื่องยากที่จะให้ระบุเป็นตัวเลขลงไป เพราะมันเปรียบเสมือนการขับรถแล้วคุณต้องหยุดรถนั่นแหละ คุณตอบได้ไหมว่าควรจะเหยียบเบรคแรงเท่าใด จะค่อย ๆ เหยียบลงไปช้า ๆ หรือกระทืบลงไปทันที ซึ่งตรงนี้ขึ้นอยู่กับความเร็วรถที่คุณขับและระยะห่างระหว่างรถของคุณกับรถคันข้างหน้า หรือเส้นหยุดรถ หรือบางรายที่ขับรถเกียร์ธรรมดาเข้าก็จะบอกว่าถ้าขับมาเร็ว ๆ ก็ให้ลดเกียร์ลงต่ำก่อน แล้วค่อยเหยียบเบรค จะเห็นว่าการลดความเร็วรถได้อย่าง "ปลอดภัย" ไม่จำเป็นต้องใช้เบรคเพียงอย่างเดียวเสมอไป
ว่าแต่ว่าวันนี้ คุณอยากฝึกใช้ความคิดบ้างหรือยัง
บันทึกช่วยจำของกลุ่มวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะออกไซด์ บันทึกความจำของวิศวกรเคมีผู้ลงมือปฏิบัติ (mo.memoir@gmail.com)
วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2552
แต่ละจุดควรต่างกันเท่าใด MO Memoir : Friday 16 October 2552
ป้ายกำกับ:
การทดลอง,
การไทเทรต,
titration curve
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ตัวเร่งปฏิกิริยาและการทดสอบ
- การกำจัดสีเมทิลีนบลู
- การคำนวณพื้นที่ผิวแบบ Single point BET
- การคำนวณพื้นที่ผิวแบบ Single point BET ตอนที่ ๒ ผลกระทบจากความเข้มข้นไนโตรเจนที่ใช้
- การจำแนกตำแหน่งที่เป็นกรด Brönsted และ Lewis บนพื้นผิวของแข็งด้วยเทคนิค Infrared spectroscopy และ Adsorbed probe molecules
- การจำแนกตำแหน่งที่เป็นเบส Brönsted และ Lewis บนพื้นผิวของแข็งด้วยเทคนิค Infrared spectroscopy และ Adsorbed probe molecules
- การใช้ข้อต่อสามทางผสมแก๊ส
- การใช้ Avicel PH-101 เป็น catalyst support
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๑ ขั้นตอนของการเกิดปฏิกิริยาบนตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๒ การดูดซับบนพื้นผิวของแข็ง
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๓ แบบจำลองไอโซเทอมการดูดซับของ Freundlich
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๔ แบบจำลองไอโซเทอมการดูดซับของ Langmuir
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๕ แบบจำลองไอโซเทอมการดูดซับของ Temkin
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๖ แบบจำลองไอโซเทอมการดูดซับของ BET
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๗ ตัวอย่างไอโซเทอมการดูดซับของ BET
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๘ ตัวอย่างไอโซเทอมการดูดซับของ BET (๒)
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๙ ตัวอย่างไอโซเทอมการดูดซับของ BET (๓)
- การเตรียมตัวอย่างตัวเร่งปฏิกิริยาแบบผงให้เป็นแผ่นบาง
- การทดสอบตัวเร่งปฏิกิริยา - ผลแตกต่างหรือไม่แตกต่าง
- การทำปฏิกิริยา ๓ เฟสใน stirred reactor
- การบรรจุ inert material ใน fixed-bed
- การปรับ WHSV
- การปั่นกวนของแข็งให้แขวนลอยในของเหลว ตอนที่ ๑ ผลของความหนาแน่นที่แตกต่าง
- การปั่นกวนของแข็งให้แขวนลอยในของเหลว ตอนที่ ๒ ขนาดของ magnetic bar กับเส้นผ่านศูนย์กลางภาชนะ
- การปั่นกวนของแข็งให้แขวนลอยในของเหลว ตอนที่ ๓ ผลของรูปร่างภาชนะ
- การผสมแก๊สอัตราการไหลต่ำเข้ากับแก๊สอัตราการไหลสูง
- การระบุชนิดโลหะออกไซด์
- การลาก smooth line เชื่อมจุด
- การเลือกค่า WHSV (Weight Hourly Space Velocity) สำหรับการทดลอง
- การวัดความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง (อีกครั้ง)
- การวัดปริมาณตำแหน่งที่เป็นกรด-เบสบนพื้นผิวของแข็งด้วย GC
- การวัดปริมาณตำแหน่งที่เป็นกรด-เบสบนพื้นผิวของแข็งด้วย GC (๒)
- การวัดพื้นที่ผิว BET
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๑)
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๒)
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๓)
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๔)
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๕)
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๖)
- การไหลผ่าน Straightening vane และโมโนลิท (Monolith)
- เก็บตกจากการประชุมวิชาการ ๒๕๕๗ ตอนที่ ๑
- เก็บตกจากการประชุมวิชาการ ๒๕๕๗ ตอนที่ ๒
- ข้อควรระวังเมื่อใช้ออกซิเจนความเข้มข้นสูง
- ข้อพึงระวังในการแปลผลการทดลอง
- ค่า signal to noise ratio ที่ต่ำที่สุด
- จลนศาสตร์การเกิดปฏิกิริยาบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๑ Volcano principle
- จลนศาสตร์การเกิดปฏิกิริยาบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๒ แบบจำลอง Langmuir
- จลนศาสตร์การเกิดปฏิกิริยาบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๓ แบบจำลอง Langmuir-Hinshelwood
- จลนศาสตร์การเกิดปฏิกิริยาบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๔ แบบจำลอง Eley-Rideal
- จลนศาสตร์การเกิดปฏิกิริยาบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๕ แบบจำลอง REDOX
- ตอบคำถามเรื่องการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยา
- ตัวเลขมันสวย แต่เชื่อไม่ได้
- ตัวเลขไม่ได้ผิดหรอก คุณเข้าใจนิยามไม่สมบูรณ์ต่างหาก
- ตัวไหนดีกว่ากัน (Catalyst)
- แต่ละจุดควรต่างกันเท่าใด
- ท่อแก๊สระบบ acetylene hydrogenation
- น้ำหนักหายได้อย่างไร
- ปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจนและการแทนที่ไฮโดรเจนของอะเซทิลีน
- ปฏิกิริยาอันดับ 1 หรือปฏิกิริยาอันดับ 2
- ปฏิกิริยาเอกพันธ์และปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ในเบดนิ่ง
- ปั๊มสูบไนโตรเจนเหลวจากถังเก็บ
- ผลของแก๊สเฉื่อยต่อการเกิดปฏิกิริยา
- เผาในเตาแบบไหนดี (Calcination)
- พลังงานกระตุ้นกับปฏิกิริยาคายความร้อนในเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่ง
- เมื่อแก๊สรั่วที่ rotameter
- เมื่อพีคออกซิเจนของระบบ DeNOx หายไป
- เมื่อเส้น Desorption isotherm ต่ำกว่าเส้น Adsorption isotherm
- เมื่อ base line เครื่อง chemisorb ไม่นิ่ง
- เมื่อ Mass Flow Controller คุมการไหลไม่ได้
- เรื่องของสุญญากาศกับ XPS
- สแกนกี่รอบดี
- สมดุลความร้อนรอบ Laboratory scale fixed-bed reactor
- สรุปการประชุมวันพฤหัสบดีที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๓
- เส้น Cu Kα มี ๒ เส้น
- เห็นอะไรไม่สมเหตุสมผลไหมครับ
- อย่าลืมดูแกน Y
- อย่าให้ค่า R-squared (Coefficient of Determination) หลอกคุณได้
- อุณหภูมิกับการไหลของแก๊สผ่าน fixed-bed
- อุณหภูมิและการดูดซับ
- BET Adsorption-Desorption Isotherm Type I และ Type IV
- ChemiSorb 2750 : การเตรียมตัวอย่างเพื่อการวัดพื้นที่ผิว BET
- ChemiSorb 2750 : การวัดพื้นที่ผิวแบบ Single point BET
- ChemiSorb 2750 : ผลของอัตราการไหลต่อความแรงสัญญาณ
- Distribution functions
- Electron Spin Resonance (ESR)
- GHSV หรือ WHSV
- Ion-induced reduction ขณะทำการวิเคราะห์ด้วย XPS
- MO ตอบคำถาม การทดลอง gas phase reaction ใน fixed-bed
- MO ตอบคำถาม การวัดความเป็นกรด-เบสบนพื้นผิวของแข็ง
- Monolayer หรือความหนาเพียงชั้นอะตอมเดียว
- NH3-TPD - การลาก base line
- NH3-TPD - การลาก base line (๒)
- NH3-TPD - การไล่น้ำและการวาดกราฟข้อมูล
- NH3-TPD ตอน ตัวอย่างผลการวิเคราะห์ ๑
- NH3-TPD ตอน ตัวอย่างผลการวิเคราะห์ ๒
- Physisorption isotherms Type I และ Type IV
- Scherrer's equation
- Scherrer's equation (ตอนที่ 2)
- Scherrer's equation (ตอนที่ ๓)
- Scherrer's equation (ตอนที่ ๔)
- Supported metal catalyst และ Supported metal oxide catalyst
- Temperature programmed reduction ด้วยไฮโดรเจน (H2-TPR)
- Temperature programmed reduction ด้วยไฮโดรเจน (H2-TPR) ภาค ๒
- UV-Vis - peak fitting
- XPS ตอน การแยกพีค Mo และ W
- XPS ตอน จำนวนรอบการสแกน
- XRD - peak fitting
คณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรมเคมี
- การแก้ปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์สามัญปัญหาเงื่อนไขค่าเริ่มต้นด้วยระเบียบวิธี Bogacki-Shampine และ Predictor-Evaluator-Corrector-Evaluator (PECE)
- การแก้ปัญหาสมการอนุพันธ์สามัญ ด้วย ODE solvers ของ GNU Octave ตอนที่ ๑
- การแก้ปัญหาสมการอนุพันธ์สามัญ ด้วย ODE solvers ของ GNU Octave ตอนที่ ๒
- การแก้ปัญหาสมการอนุพันธ์สามัญ ด้วย ODE solvers ของ GNU Octave ตอนที่ ๓
- การแก้สมการเชิงอนุพันธ์สามัญด้วยการใช้ Integrating factor
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๑)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๑๐)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๑๑)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๑๒)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๑๓)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๒)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๓)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๔)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๕)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๖)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๗)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๘)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๙)
- การคำนวณค่าฟังก์ชันพหุนาม
- การปรับเรียบ (Smoothing) ข้อมูล (ตอนที่ ๑)
- การปรับเรียบ (Smoothing) ข้อมูล (ตอนที่ ๒)
- การปรับเรียบ (Smoothing) ข้อมูล (ตอนที่ ๓)
- การหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร x และ y
- ข้อพึงระวังในการใช้ฟังก์ชันพหุนามในการประมาณค่าในช่วง
- ข้อพึงระวังในการใช้ฟังก์ชันพหุนามในการประมาณค่าในช่วง (๒)
- ข้อพึงระวังในการใช้ฟังก์ชันพหุนามในการประมาณค่าในช่วง (๒) (pdf)
- ข้อพึงระวังในการใช้ฟังก์ชันพหุนามในการประมาณค่าในช่วง (๓)
- ข้อสอบเก่าชุดที่ ๑
- ข้อสอบเก่าชุดที่ ๒
- ค่าคลาดเคลื่อน (error)
- จำนวนที่น้อยที่สุดที่เมื่อบวกกับ 1 แล้วได้ผลลัพธ์ไม่ใช่ 1
- ใช่ว่าคอมพิวเตอร์จะคิดเลขถูกเสมอไป
- ตัวเลขที่เท่ากันแต่ไม่เท่ากัน
- ตัวอย่างการแก้ปัญหา สมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วยระเบียบวิธีนิวตัน-ราฟสัน
- ตัวอย่างการแก้ปัญหา สมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วยระเบียบวิธี Müller และ Inverse quadratic interpolation
- ตัวอย่างการแก้ปัญหา สมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วยระเบียบวิธี successive iteration
- ตัวอย่างการแก้ปัญหา สมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วยระเบียบวิธี successive iteration (pdf)
- ตัวอย่างการแก้ปัญหา สมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วย Function fzero ของ GNU Octave
- ตัวอย่างการคำนวณหาพื้นที่ใต้กราฟ ด้วยระเบียบวิธี Gaussian quadrature
- ตัวอย่างการคำนวณหาพื้นที่ใต้กราฟ ด้วยระเบียบวิธี Gaussian quadrature (pdf)
- ตัวอย่างผลของรูปแบบสมการต่อคำตอบของ ODE-IVP
- ตัวอย่างเพิ่มเติมบทที่ ๑
- ตัวอย่างเพิ่มเติมบทที่ ๒
- ตัวอย่างเพิ่มเติมบทที่ ๓
- ตัวอย่างเพิ่มเติมบทที่ ๔
- ทบทวนเรื่องการคูณเมทริกซ์
- ทบทวนเรื่อง Taylor's series
- ทศนิยมลงท้ายด้วยเลข 5 จะปัดขึ้นหรือปัดลง
- บทที่ ๑ การคำนวณตัวเลขในระบบทศนิยม
- บทที่ ๒ การแก้ปัญหาระบบสมการพีชคณิตเชิงเส้น
- บทที่ ๓ การแก้ปัญหาระบบสมการพีชคณิตไม่เชิงเส้น
- บทที่ ๔ การประมาณค่าในช่วง
- บทที่ ๕ การหาค่าอนุพันธ์
- บทที่ ๖ การหาค่าอินทิกรัล
- บทที่ ๗ การแก้ปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ ระบบสมการปัญหาเงื่อนไขค่าเริ่มต้น
- บทที่ ๘ การแก้ปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ ระบบสมการปัญหาเงื่อนไขค่าขอบเขต
- บทที่ ๙ การแก้ปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์ย่อย
- ปฏิกิริยาคายความร้อนใน CSTR (ตอนที่ ๑)
- ปฏิกิริยาคายความร้อนใน CSTR (ตอนที่ ๒)
- เปรียบเทียบการแก้ปัญหาสมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วย solver ของ GNU Octave
- เปรียบเทียบการแก้ Stiff equation ด้วยระเบียบวิธี Runge-Kutta และ Adam-Bashforth
- เปรียบเทียบระเบียบวิธี Runge-Kutta
- เปรียบเทียบ Gauss elimination ที่มีและไม่มีการทำ Pivoting
- เปรียบเทียบ Gauss elimination ที่มีและไม่มีการทำ Pivoting (Spreadsheet)
- ฟังก์ชันแกมมา (Gamma function) และ ฟังก์ชันเบสเซล (Bessel function)
- เมื่อ 1 ไม่เท่ากับ 0.1 x 10
- ระเบียบวิธี Implicit Euler และ Crank-Nicholson กับ Stiff equation
- เลขฐาน ๑๐ เลขฐาน ๒ จำนวนเต็ม จำนวนจริง
- Distribution functions
- LU decomposition ร่วมกับ Iterative improvement
- LU decomposition ร่วมกับ Iterative improvement (pdf)
- LU decomposition ร่วมกับ Iterative improvement (Spreadsheet)
- Machine precision กับ Machine accuracy
เคมีสำหรับวิศวกรเคมี
- กรด-เบส : อ่อน-แก่
- กรด-เบส : อะไรควรอยู่ในบิวเรต
- กราฟการไทเทรตกรดกำมะถัน (H2SO4)
- กราฟการไทเทรตกรดกำมะถัน (H2SO4) ตอนที่ ๒
- กราฟการไทเทรตกรดที่ให้โปรตอนได้ ๒ ตัว
- กราฟการไทเทรตกรดที่ให้โปรตอนได้ ๓ ตัว
- กราฟการไทเทรตกรดไฮโปคลอรัส (HOCl)
- กราฟอุณหภูมิการกลั่นของน้ำมันเบนซิน (Gasoline distillation curve)
- กลิ่นกับอันตรายของสารเคมี
- การกำจัดสีเมทิลีนบลู
- การเกิดปฏิกิริยาเคมี
- การเจือจางไฮโดรคาร์บอนในน้ำ
- การใช้ pH probe
- การใช้ Tetraethyl lead นอกเหนือไปจากการเพิ่มเลขออกเทน
- การดูดกลืนคลื่นแสงของแก้ว Pyrex และ Duran
- การดูดกลืนแสงสีแดง
- การเตรียมสารละลายด้วยขวดวัดปริมาตร
- การเตรียมหมู่เอมีนและปฏิกิริยาของหมู่เอมีน (การสังเคราะห์ฟีนิลบิวตาโซน)
- การทำน้ำให้บริสุทธิ์สำหรับห้องปฏิบัติการ
- การทำปฏิกิริยาของโพรพิลีนออกไซด์ (1,2-Propylene oxide) ตอนที่ ๑
- การทำปฏิกิริยาของโพรพิลีนออกไซด์ (1,2-Propylene oxide) ตอนที่ ๒
- การทำปฏิกิริยาของหมู่ Epoxide ในโครงสร้าง Graphene oxide
- การทำปฏิกิริยาต่อเนื่องของผลิตภัณฑ์
- การเทของเหลวใส่บิวเรต
- การน๊อคของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน และสารเพิ่มเลขออกเทนของน้ำมัน
- การเปลี่ยนพลาสติกเป็นน้ำมัน
- การเปลี่ยนเอทานอล (Ethanol) ไปเป็นอะเซทัลดีไฮด์ (Acetaldehyde)
- การเรียกชื่อสารเคมี
- การลดการระเหยของของเหลว
- การละลายของแก๊สในเฮกเซน (Ethylene polymerisation)
- การละลายเข้าด้วยกันของโมเลกุลมีขั้ว-ไม่มีขั้ว
- การวัดความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง (อีกครั้ง)
- การวัดปริมาณ-ความแรงของตำแหน่งที่เป็นกรดบนพื้นผิว
- การวัดปริมาณตำแหน่งที่เป็นกรด-เบสบนพื้นผิวของแข็งด้วย GC
- การวัดปริมาตรของเหลว
- การหาความเข้มข้นสารละลายมาตรฐานกรด
- การหาจุดสมมูลของการไทเทรตจากกราฟการไทเทรต
- การอ่านผลการทดลองการไทเทรตกรด-เบส
- การอ่านผลการทดลองการไทเทรตกรด-เบส (ตอนที่ ๒)
- การอ่านผลการทดลองการไทเทรตกรด-เบส (ตอนที่ ๓)
- แก๊สมัสตาร์ดกับกลิ่นทุเรียน
- ข้อควรระวังเมื่อใช้ออกซิเจนความเข้มข้นสูง
- คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับงานเคมีวิเคราะห์
- ความกระด้าง (Hardness) ของน้ำกับปริมาณของแข็งทั้งหมด ที่ละลายอยู่ (Total Dissolved Solid - TDS)
- ความดันกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี
- ความเป็นกรดของหมู่ไฮดรอกซิล (Hydroxyl group) ตอนที่ ๑
- ความเป็นกรดของหมู่ไฮดรอกซิล (Hydroxyl group) ตอนที่ ๒
- ความเป็นกรดของอัลฟาไฮโดรเจนอะตอม (alpha-Hydrogen atom) ตอน กรดบาร์บิทูริก (Barbituric acid)
- ความเป็นกรดของอัลฟาไฮโดรเจนอะตอม (alpha-Hydrogen atoms)
- ความเป็นขั้วบวกของอะตอม C และการทำปฏิกิริยาของอีพิคลอโรไฮดริน (epichlorohydrin)
- ความเป็นไอออนิก (Percentage ionic character)
- ความสัมพันธ์ระหว่างสีกับชนิดและปริมาณธาตุ
- ความสำคัญของเคมีวิเคราะห์และเคมีอินทรีย์ในงานวิศวกรรมเคมี
- ความเห็นที่ไม่ลงรอยกับโดเรมี่
- ค้างที่ปลายปิเปตไม่เท่ากัน
- คำตอบของ Cubic equation of state
- จากกลีเซอรอล (glycerol) ไปเป็นอีพิคลอโรไฮดริน (epichlorohydrin)
- จากเบนซาลดีไฮด์ (Benzaldehyde) ไปเป็นกรดเบนซิลิก (Benzilic acid)
- จากโอเลฟินส์ถึงพอลิอีเทอร์ (From olefins to polyethers)
- จาก Acetone เป็น Pinacolone
- จาก Alkanes ไปเป็น Aramids
- จาก Aniline ไปเป็น Methyl orange
- จาก Benzene ไปเป็น Butter yellow
- จาก Hexane ไปเป็น Nylon
- จาก Toluene และ m-Xylene ไปเป็นยาชา
- ดำหรือขาว
- ตกค้างเพราะเปียกพื้นผิว
- ตอบคำถามแบบแทงกั๊ก
- ตอบคำถามให้ชัดเจนและครอบคลุม
- ตำราสอนการใช้ปิเปตเมื่อ ๓๓ ปีที่แล้ว
- ไตรเอทานอลเอมีน (Triethanolamine)
- ถ่านแก๊ส หินแก๊ส แก๊สก้อน
- ทอดไข่เจียวให้อร่อยต้องใช้น้ำมันหมู
- ทำไมน้ำกระด้างจึงมีฟอง
- ที่แขวนกล้วย
- เท่ากับเท่าไร
- โทลูอีน (Toluene)
- ไทโอนีลคลอไรด์ (Thionyl chloride)
- นานาสาระเคมีวิเคราะห์
- น้ำด่าง น้ำอัลคาไลน์ น้ำดื่ม
- น้ำดื่ม (คิดสักนิดก่อนกดแชร์ เรื่องที่ ๑๑)
- น้ำตาลทราย ซูคราโลส และยาคุมกำเนิดสำหรับผู้ชาย
- น้ำบริสุทธิ์ (Purified water)
- ไนโตรเจนเป็นแก๊สเฉื่อยหรือไม่
- บีกเกอร์ 250 ml
- แบบทดสอบก่อนเริ่มเรียนวิชาเคมีสำหรับนิสิตวิศวกรรมเคมี
- ปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจนและการแทนที่ไฮโดรเจนของอะเซทิลีน (Hydrogenation and replacement of acetylenic hydrogen)
- ปฏิกิริยาการผลิต Vinyl chloride
- ปฏิกิริยาการออกซิไดซ์
- ปฏิกิริยา alpha halogenation และการสังเคราะห์ tertiary amine
- ปฏิกิริยา ammoxidation หมู่เมทิลที่เกาะอยู่กับวงแหวนเบนซีน
- ปฏิกิริยา Benzene alkylation
- ปฏิกิริยา Dehydroxylation
- ปฏิกิริยา Electrophilic substitution ของ m-Xylene
- ปฏิกิริยา Nucleophilic substitution ของสารประกอบ Organic halides
- ประโยชน์ของ Nitric oxide ในทางการแพทย์
- ปัญหาการสร้าง calibration curve ของ ICP
- ปัญหาการหาความเข้มข้นสารละลายกรด
- ปัญหาของไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัว
- โป้ง ชี้ กลาง นาง ก้อย
- ผลของค่าพีเอชต่อสีของสารละลายเปอร์แมงกาเนต
- ผลของอุณหภูมิต่อการแทนที่ตำแหน่งที่ 2 บนวงแหวนเบนซีน
- ฝึกงานภาคฤดูร้อน ๒๕๕๓ ตอนที่ ๑ อธิบายศัพท์
- พีคเหมือนกันก็แปลว่ามีหมู่ฟังก์ชันเหมือนกัน
- ฟลูออรีนหายไปไหน
- ฟอสฟอรัสออกซีคลอไรด์ (Phosphorus Oxychloride)
- ฟีนอล แอซีโทน แอสไพริน พาราเซตามอล สิว โรคหัวใจ และงู
- มุมมองที่ถูกจำกัด
- เมทานอลกับเจลล้างมือ
- เมื่อคิดในรูปของ ...
- เมื่อตำรายังพลาดได้ (Free radical polymerisation)
- เมื่อน้ำเพิ่มปริมาตรเองได้
- เมื่อหมู่คาร์บอนิล (carbonyl) ทำปฏิกิริยากันเอง
- รังสีเอ็กซ์
- เรื่องของสไตรีน (คิดสักนิดก่อนกด Share เรื่องที่ ๑)
- แลปการไทเทรตกรด-เบส ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา ๒๕๖๐
- ศัพท์เทคนิค-เคมีวิเคราะห์
- สรุปคำถาม-ตอบการสอบวันศุกร์ที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๒
- สีหายไม่ได้หมายความว่าสารหาย
- เสถียรภาพของอนุมูลอิสระ (๑)
- เสถียรภาพของอนุมูลอิสระ (๒)
- เสถียรภาพของอนุมูลอิสระ (๓)
- หมู่ทำให้เกิดสี (chromophore) และหมู่เร่งสี (auxochrome)
- หลอกด้วยข้อสอบเก่า
- อะเซทิลีน กลีเซอรีน และไทออล
- อะโรมาติก : การผลิต การใช้ประโยชน์ และปัญหา
- อัลคิลเอมีน (Alkyl amines) และ อัลคิลอัลคานอลเอมีน (Alkyl alkanolamines)
- อีเทอร์กับการเกิดสารประกอบเปอร์ออกไซด์
- อุณหภูมิ อัตราการเกิดปฏิกิริยา สมดุลเคมี
- เอา 2,2-dimethylbutane (neohexane) ไปทำอะไรดี
- เอาเบนซีนกับเอทานอลไปทำอะไรดี
- เอา isopentane ไปทำอะไรดี
- เอา maleic anhydride ไปทำอะไรดี
- เอา pentane ไปทำอะไรดี
- ไอโซเมอร์ (Isomer)
- ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์กับพอลิโพรพิลีน
- Acentric factor
- Aldol condensation กับ Cannizzaro reaction
- Aldol condesation ระหว่าง Benzaldehyde กับ Acetone
- A-Level เคมี ปี ๖๖ ข้อพอลิเอทิลีน
- Beilstein test กับเตาแก๊สที่บ้าน
- Benzaldehyde กับปฏิกิริยา Nitroaldol
- BOD และ COD
- BOD หรือ DO
- Carbocation - การเกิดและเสถียรภาพ
- Carbocation - การทำปฏิกิริยา
- Carbocation ตอนที่ ๓ การจำแนกประเภท-เสถียรภาพ
- Chloropicrin (Trichloronitromethane)
- Compressibility factor กับ Joule-Thomson effect
- Conjugated double bonds กับ Aromaticity
- Cubic centimetre กับ Specific gravity
- Dehydration, Esterification และ Friedle-Crafts Acylation
- Electrophilic addition ของอัลคีน
- Electrophilic addition ของอัลคีน (๒)
- Electrophilic addition ของ conjugated diene
- Electrophilic substitution ตำแหน่งที่ 1 บนวงแหวนเบนซีน
- Electrophilic substitution ตำแหน่งที่ 2 บนวงแหวนเบนซีน ตอน ผลของอุณหภูมิการทำปฏิกิริยา
- Electrophilic substitution ตำแหน่งที่ 3 บนวงแหวนเบนซีน
- Electrophilic substitution ตำแหน่งที่ 3 บนวงแหวนเบนซีน ตอน การสังเคราะห์ 2,4-Dinitrophenol
- Esterification of hydroxyl group
- Gibbs Free Energy กับการเกิดปฏิกิริยาและการดูดซับ
- Halogenation ของ alkane
- Halogenation ของ alkane (๒)
- HCl ก่อน ตามด้วย H2SO4 แล้วจึงเป็น HNO3
- I2 ในสารละลาย KI กับไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว
- Infrared spectrum interpretation
- Interferometer
- IR spectra ของโทลูอีน (Toluene) เอทิลเบนซีน (Ethylbenzene) โพรพิลเบนซีน (Propylbenzene) และคิวมีน (Cumene)
- IR spectra ของเบนซีน (Benzene) และไซลีน (Xylenes)
- IR spectra ของเพนทีน (Pentenes)
- Kjeldahl nitrogen determination method
- Malayan emergency, สงครามเวียดนาม, Seveso และหัวหิน
- MO ตอบคำถาม การวัดความเป็นกรด-เบสบนพื้นผิวของแข็ง
- Nucleophile กับ Electrophile
- PAT2 เคมี ปี ๖๕ ข้อการไทเทรตกรดเบส
- Peng-Robinson Equation of State
- Phenol, Ether และ Dioxin
- Phospharic acid กับ Anhydrous phosphoric acid และ Potassium dioxide
- pH Probe
- Picric acid (2,4,6-Trinitrophenol) และ Chloropicrin
- PV diagram กับการอัดแก๊ส
- Pyrophoric substance
- Reactions of hydroxyl group
- Reactions of hydroxyl group (ตอนที่ ๒)
- Redlich-Kwong Equation of State
- Redlich-Kwong Equation of State (ตอนที่ ๒)
- Soave-Redlich-Kwong Equation of State
- Standard x-ray powder diffraction pattern ของ TiO2
- Sulphur monochloride และ Sulphur dichloride
- Thermal cracking - Thermal decomposition
- Thiols, Thioethers และ Dimethyl thioether
- Van der Waals' Equation of State
- Vulcanisation
ประสบการณ์ Gas chromatograph/Chromatogram
- 6 Port sampling valve
- กระดาษความร้อน (thermal paper) มี ๒ หน้า
- การแก้ปัญหา packing ในคอลัมน์ GC อัดตัวแน่น
- การฉีดแก๊สเข้า GC ด้วยวาล์วเก็บตัวอย่าง
- การฉีดตัวอย่างที่เป็นของเหลวด้วย syringe
- การฉีด GC
- การใช้ syringe ฉีดตัวอย่างที่เป็นแก๊ส
- การดึงเศษท่อทองแดงที่หักคา tube fitting ออก
- การตั้งอุณหภูมิคอลัมน์ GC
- การติดตั้ง Integrator ให้กับ GC-8A เพื่อวัด CO2
- การเตรียมคอลัมน์ GC ก่อนการใช้งาน
- การปรับความสูงพีค GC
- การวัดปริมาณไฮโดรเจนด้วย GC-TCD
- ข้อสังเกตเกี่ยวกับ FPD (ตอนที่ ๒)
- ข้อสังเกตเกี่ยวกับ FPD (Flame Photometric Detector)
- โครมาโทกราฟแยกสารได้อย่างไร
- ชนิดคอลัมน์ GC
- ตรวจโครมาโทแกรม ก่อนอ่านต้วเลข
- ตัวอย่างการแยกพีค GC ที่ไม่เหมาะสม
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๑
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๒
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๓
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๔
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๕
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๖
- ทำไมพีคจึงลากหาง
- ผลกระทบของน้ำที่มีต่อการวัดคาร์บอนไดออกไซด์ ตอนที่ ๑
- ผลกระทบของน้ำที่มีต่อการวัดคาร์บอนไดออกไซด์ ตอนที่ ๒
- ผลกระทบของน้ำที่มีต่อการวัดคาร์บอนไดออกไซด์ ตอนที่ ๓
- พีคที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างน้ำกับ packing ในคอลัมน์ GC
- พีคประหลาดจากการใช้อากาศน้อยไปหน่อย
- มันไม่เท่ากันนะ
- เมื่อความแรงของพีค GC ลดลง
- เมื่อจุดไฟ FID ไม่ได้
- เมื่อพีค GC หายไป
- เมื่อพีค GC ออกมาผิดเวลา
- เมื่อพีค GC ออกมาผิดเวลา(อีกแล้ว)
- เมื่อเพิ่มความดันอากาศให้กับ FID ไม่ได้
- เมื่อ GC ถ่านหมด
- เมื่อ GC มีพีคประหลาด
- ลากให้ผ่านหรือไม่ให้ผ่าน
- สัญญาณจาก carrier gas รั่วผ่าน septum
- สารพัดปัญหา GC
- สิ่งปนเปื้อนในน้ำ DI
- สิ่งปนเปื้อนในน้ำ DI (ตอนที่ ๒)
- Chromatograph principles and practices
- Flame Ionisation Detector
- GC-2014 ECD & PDD ตอนที่ ๗ ข้อสังเกตเกี่ยวกับ ECD (Electron Capture Detector)
- GC detector
- GC - peak fitting ตอนที่ ๑ การหาพื้นที่พีคที่เหลื่อมทับ
- GC principle
- LC detector
- LC principle
- MO ตอบคำถาม การแยกพีค GC ด้วยโปรแกรม fityk
- MO ตอบคำถาม สารพัดปัญหาโครมาโทแกรม
- Relative Response Factors (RRF) ของสารอินทรีย์ กับ Flame Ionisation Detector (FID)
- Thermal Conductivity Detector
- Thermal Conductivity Detector ภาค 2
สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items - DUI)
- การก่อการร้ายด้วยแก๊สซาริน (Sarin) ในรถไฟใต้ดินกรุงโตเกียว MO Memoir : Friday 6 September 2567
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๐ ฟังก์ชันเข้ารหัสรีโมทเครื่องปรับอากาศ
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๑ License key
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๒ สารเคมี (Chemicals)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๓ ไม่ตรงตามตัวอักษร (สารเคมี)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๔ ไม่ตรงตามตัวอักษร (Heat exchanger)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๕ Sony PlayStation
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๖ เส้นใยคาร์บอน (Carbon fibre)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๗ The Red Team : Centrifugal separator
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๘ The Blue Team : Spray drying equipment
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๙ เครื่องสลายนิ่วในไตด้วยคลื่นกระแทก (Lithotripter)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑ ตัวเก็บประจุ (Capacitor)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๒๐ เรซินแลกเปลี่ยนไอออน (Ion-exchange resin)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๒๑ ไม่ตรงตามตัวอักษร (Aluminium tube)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๒๒ เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า (Defibrillator)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๒๓ เครื่องยนต์ดีเซล
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๒ เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๓ เครื่องแปลงความถี่ไฟฟ้า (Frequency Changer)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๔ อุปกรณ์เข้ารหัส (Encoding Device)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๕ Insulated Gate Bipolar Transistor (IGBT)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๖ Toshiba-Kongsberg Incident
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๗ รายงานผลการทดสอบอุปกรณ์
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๘ Drawing อุปกรณ์
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๙ ซอร์ฟแวร์ควบคุมการทำงานอุปกรณ์
- เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนสำหรับเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์
- แคลเซียม, แมกนีเซียม และบิสมัท กับการผลิตอาวุธทำลายล้างสูง
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๑
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๑๐
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๒
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๓
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๔
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๕
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๖
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๗
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๘
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๙
API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๐)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๑)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๒)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๓)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๔)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๕)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๒)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๓)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๔)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๕)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๖)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๗)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๘)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๙)
โน๊ตเพลง
- "กำลังใจ" และ "ถึงเพื่อน"
- "ใกล้รุ่ง" และ "อาทิตย์อับแสง"
- "คนดีไม่มีวันตาย" "หนึ่งในร้อย (A Major) และ "น้ำตาแสงใต้ (A Major)"
- "ความฝันอันสูงสุด" และ "ยามเย็น"
- "จงรัก" และ "ความรักไม่รู้จบ"
- "ฉันยังคอย" และ "ดุจบิดามารดร"
- "ชาวดง" และ "ชุมนุมลูกเสือไทย"
- "ตัดใจไม่ลง" และ "ลาสาวแม่กลอง"
- "เติมใจให้กัน" และ "HOME"
- "แต่ปางก่อน" "ความรักไม่รู้จบ" "ไฟเสน่หา" และ "แสนรัก"
- "ทะเลใจ" "วิมานดิน" และ "เพียงแค่ใจเรารักกัน"
- "ที่สุดของหัวใจ" "รักล้นใจ" และ "รักในซีเมเจอร์"
- "ธรณีกรรแสง" และ "Blowin' in the wind"
- "นางฟ้าจำแลง" "อุษาสวาท" และ "หนี้รัก"
- "แผ่นดินของเรา" และ "แสงเทียน"
- "พรปีใหม่" และ "สายฝน"
- "พี่ชายที่แสนดี" "หลับตา" และ "หากรู้สักนิด"
- เพลงของโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- "มหาจุฬาลงกรณ์" "ยูงทอง" และ "ลาภูพิงค์"
- "ยังจำไว้" "บทเรียนสอนใจ" และ "ความในใจ"
- "ร่มจามจุรี" และ "เงาไม้"
- "ลมหนาว" และ "ชะตาชีวิต"
- "ลองรัก" และ "วอลซ์นาวี"
- "ลาแล้วจามจุรี"
- "วันเวลา" และ "โลกทั้งใบให้นายคนเดียว"
- "วิหคเหินลม" และ "พรานทะเล"
- "สายชล" และ "เธอ"
- "สายใย" และ "ความรัก"
- "สายลม" และ "ไกลกังวล"
- "สายลมเหนือ" และ "เดียวดายกลางสายลม"
- "หน้าที่ทหารเรือ" และ "ทหารพระนเรศวร"
- "หนึ่งในร้อย" และ "น้ำตาแสงใต้"
- "หากันจนเจอ" และ "ลมหายใจของกันและกัน"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น