พระราชบัญญัติ
จัดวางการรถไฟแลทางหลวง
พ.ศ.
๒๔๖๔
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม
๓๘ น่า ๑๒๓ วันที่ ๒๗ สิงหาคม
๒๔๖๔ (สะกดคำตามภาษาเก่านะ)
ส่วนที่
๗ ว่าด้วรถไฟหัตถกรรม
มาตรา
๑๔๐ รถไฟหัตถกรรมนั้นคือรถไฟที่ห้างหรือบริษัทซึ่งประกอบหัตถกรรม
หรือพาณิชย์กรรมได้สร้างขึ้นไว้ใช้เฉพาะแต่รับส่งคนงานและบรรทุกสิ่งของที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ
หรือสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้น
กับสิ่งอื่น ๆ
ที่จำเป็นจะต้องใช้สำหรับกิจการนั้นๆ
ห้ามมิให้เรียกหรือรับค่าโดยสารหรือค่าระวางบรรทุกสินค้าแต่อย่างหนึ่งอย่างใด
เป็นอันขาด
มาตรา
๑๔๑ รถไฟหัตถกรรมนั้นมี ๒
อย่างคือ
(๑)
รถไฟหัตถกรรมที่เดินเฉพาะแต่ภายในบริเวณที่ดินอันเปนที่ประกอบการของ
ห้างหรือบริษัทเท่านั้นอย่างหนึ่ง
แล
(๒)
รถไฟหัตถกรรมที่เดินอยู่ทั้งภายในแลภายนอกบริเวณที่ดินอันเป็นที่ประกอบการของห้างหรือบริษัทนั้นอีกอย่างหนึ่ง
ในอดีตนั้นในบ้านเรามีเอกชนหลายรายขออนุญาตสร้างและเดินรถไฟเพื่อใช้ในกิจการของบริษัทที่ไม่ใช่การรับส่งผู้โดยสาร
รถไฟเหล่านี้เรียกว่า
"รถไฟหัตถกรรม"
ซึ่งเท่าที่ค้นจากราชกิจจานุเบกษาพบว่ามักจะสร้างเพื่อการชักลากไม้
(สำหรับบริษัทที่ได้รับสัมปทานป่าไม้)
และการขนสินแร่
(สำหรับบริษัทที่ได้รับสัมปทานทำเหมืองแร่)
เมื่อสิ้นสุดการทำป่าไม้หรือเหมืองแร่
ทางรถไฟเหล่านี้ก็มักจะถูกรื้อถอนออกไป
หรือไม่ก็นำไปใช้ในกิจการอื่น
(เช่นขนอ้อยเข้าโรงงานน้ำตาล)
ก่อนที่จะถูกรื้อถอนออกไป
ในบรรดารถไฟประเภทนี้
รถไฟเล็กลากไม้ของบริษัทศรีมหาราชาที่ทำการชักลากไม้ในป่าภาคตะวันออกดูเหมือนจะเป็นระบบรถไฟที่มีความยาวมากที่สุด
เพราะมีปรากฏชัดเจนในแผนที่ประเทศไทยทั้งที่จัดทำโดยคนไทยเองและชาวต่างชาติ
โดยเส้นทางรถไฟสายนี้จะครอบคลุมการทำไม้ป่าภาคตะวันออกตอนกลางและตอนล่าง
ป่าภาคตะวันออกตอนเหนือด้านจังหวัดฉะเชิงเทรานั้นก็มีการทำไม้เช่นเดียวกัน
โดยบริษัทเอื้อวิทยาพาณิชย์จำกัด
ราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๔๘
หน้า ๑๓๘๑ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม
พ.ศ.
๒๔๗๔
ได้อนุญาตให้นายใช้ อื้อวิทยา
สร้างและเดินรถไฟจากป่าที่ได้รับสัมปทานมายังโรงเลื่อยที่ตำบลเกาะขนุน
เป็นระยะทางยาวประมาณ ๓๖
กิโลเมตร
แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดว่าปลายทางรถไฟอีกด้านหนึ่งนั้นอยู่ที่ใด
แต่ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม
๕๒ หน้า ๑๑๗๔ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม
พ.ศ.
๒๔๗๘
ได้ให้สัปทานนายใช้ อื้อวิทยา
สร้างและเดินรถไฟจากป่าที่ได้รับสัมปทานมายังโรงเลื่อยที่ตำบลเกาะขนุน
แต่คราวนี้ระยะทางเหลือเพียงแค่ประมาณ
๑๗ กิโลเมตรครึ่ง (รูปที่
๑)
ซึ่งเมื่อเทียบกับแผนที่ที่ค้นได้จากแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่ตำบลหนองแหน
และตำบลสำโรง อำเภอพนมสารคาม
จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ.
๒๔๘๕
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๘๑ วันที่ ๒๙
ธันวาคม พ.ศ.
๒๔๘๕
(รูปที่
๒)
ปลายทางอีกด้านน่าจะเป็นที่บ้านลาดกระทิง
รูปที่
๑ ราชกิจจานุเบกษาที่อนุญาตให้ในนายใช้
อื้อวิทยา สร้างและเดินรถไฟหัตถกรรม
รูปที่
๒
แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่ตำบลหนองแหน
และตำบลสำโรง อำเภอพนมสารคาม
จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ.
๒๔๘๕
ปรากฏเส้นทางรถไฟของบริษัทเอื้อวิทยาพาณิชย์
(ตามเส้นสีแดง)
จากบ้านเกาะขนุนไปยังสถานีปลายทางลาดกระทิง
และยังดูเหมือนว่ามีทางรถไฟอีกเส้นทางหนึ่ง
(เส้นสีเขียว)
ด้วย
ซึ่งไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นของใคร
ในหนังสือ
"The
Railway Atlas of Thailand, Laos and Cambodia" เขียนโดย
B.R.
Whyte Plate 13
แสดงแผนที่ทางรถไฟที่ระบุว่าเป็นเส้นทางรถไฟขนฟืนใกล้เขตกบินทร์บุรี
โดยกล่าวว่าเป็นเส้นทางรถไฟที่ไม่ทราบเจ้าของ
(รูปที่
๓)
แผนที่ดังกล่าวพิมพ์เผยแพร่ในปีค.ศ.
๑๙๔๑
(พ.ศ.
๒๔๘๔)
แต่ไม่ได้ระบุว่าแผนที่ฉบับดังกล่าวจัดทำขึ้นเมื่อใด
เมื่อเทียบกับพิกัดในแผนที่
(ให้ตำแหน่งเส้นรุ้งและเส้นแวงไว้ที่มุมขวาบน)
และตำแหน่งที่แผนที่นี้ระบุว่าเป็นแม่น้ำปราจีนบุรีแล้ว
สรุปได้ว่าเส้นทางที่ปรากฏคือเส้นทางรถไฟหัตถกรรมของบริษัทเอื้อวิทยาพาณิชย์นั่นเอง
รูปที่
๓ เส้นทางรถไฟที่ระบุว่าเป็นรถไฟขนฟืน
ไม่ทราบเจ้าของ (ในวงเส้นประสีน้ำเงิน)
อยู่ในเขตกบินทร์บุรี
ในรูปที่ ๑๓ ในหนังสือ "The
Railway Atlas of Thailand, Laos and Cambodia" เขียนโดย
B.R.
Whyte
แต่เมื่อเทียบกับพิกัดในแผนที่และตำแหน่งที่แผนที่นี้ระบุว่าเป็นแม่น้ำปราจีนบุรีแล้ว
สรุปได้ว่าเส้นทางที่ปรากฏคือเส้นทางรถไฟหัตถกรรมของบริษัทเอื้อวิทยาพาณิชย์นั่นเอง
เส้นทางดังกล่าวสูญหายไปเมื่อใดก็ไม่ทราบเหมือนกัน
ในหนังสือของ Whyte
นั้น
(หัวข้อ
๑.๓.๑.๘
หน้า ๑๑๓)
Whyte กล่าวว่าเส้นทางดังกล่าวยังมีอยู่ในช่วงทศวรรษปีค.ศ.
๑๙๓๐
(ช่วงปีพ.ศ.
๒๔๗๓
-
พ.ศ.
๒๔๘๓)
แต่ไม่มีหลักฐานปรากฏว่าเส้นทางดังกล่าวอยู่รอดพ้นสงคราม
(คือสงครามโลกครั้งที่สองที่สิ้นสุดในปีพ.ศ.
๒๔๘๘)
แต่ก็มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าเส้นทางดังกล่าวอยู่รอดพ้นสงครามโลกครั้งที่สอง
อย่างน้อยก็อยู่จนถึงปีพ.ศ.
๒๕๐๖
เพราะแผนที่แนบท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง
จัดตั้งสุขาภิบาลเกาะขนุน
อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๒๖ วันที่ ๑๙
มีนาคม พ.ศ.
๒๕๐๖
นั้นยังปรากฏว่ามีเส้นทางดังกล่าวที่เป็นสถานปลายทางที่โรงเลื่อยจักร์เอื้อวิทยา
(รูปที่
๔)
และในประกาศกำหนดเขตสุขาภิบาลก็มีการกล่าวถึงเขตสุขาภิบาลที่ลากผ่านแนวทางรถไฟของบริษัทเอื้อวิทยาจำกัด
รูปที่
๔
ผมลองเทียบกับแผนที่ดาวเทียมปัจจุบันแล้วทำให้คาดว่าแนวเส้นทางดังกล่าวน่าจะอยู่แถว
ๆ ถนนสาย 3245
ในปัจจุบัน
(รูปที่
๕)
ไปงานสัปดาห์หนังสือมาวันนี้ได้หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์รถไฟในประเทศไทย
เขียนโดยอาจารย์ชาวญี่ปุ่นอีก
๑ เล่ม รวมที่มีอยู่เดิมก็เป็น
๓ เล่มแล้ว คงจะไม่ทำการแปลออกมาตรง
ๆ แต่จะนำเอาข้อมูลในหนังสือเหล่านั้นกับข้อมูลที่ค้นมาได้จากที่ต่าง
ๆ มาเล่าสู่กันฟัง
เผื่อว่าใครมีโอกาสแวะไปตามสถานที่ต่าง
ๆ เหล่านั้น
จะได้รู้ว่าในอดีตนั้นสถานที่เหล่านั้นเคยมีสิ่งใด
รูปที่
๕ เทียบกับแผนที่ดาวเทียม
เกาะขนุนอยู่ในกรอบสีเขียว
ลาดกระทิงอยู่ในกรอบสีเหลือง
แนวทางรถไฟเดิมน่าจะอยู่แถว
ๆ ถนนสาย 3245
ในปัจจุบัน
ปลายทางด้านเกาะขนุนน่าจะอยู่ก่อนถึงโรงพยาบาลในปัจจุบัน